ฟิทช์ประกาศคงอันดับเครดิตธนาคารรัฐ 6 แห่งในประเทศไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศคงอันดับเครดิตธนาคารรัฐ 6 แห่งได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (BAAC) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (GH Bank) ธนาคารออมสิน (GSB) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (IBANK) และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank)
          สำหรับรายละเอียดของอันดับเครดิตทั้งหมดแสดงไว้ในส่วนท้าย

          ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต 
          อันดับเครดิตทั้งหมดสะท้อนถึงมุมมองของฟิทช์ว่ามีความเป็นไปได้อย่างสูงที่ธนาคารดังกล่าวจะได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ รัฐบาล(โดยกระทรวงการคลัง) เป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดใน EXIM GSB และ GH Bank และถือหุ้นเกือบทั้งหมดใน BAAC และ SME Bank
          อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว (IDRs) ของ EXIM อยู่ในระดับเดียวกันกับรัฐบาล (‘BBB+’/ แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ) ในขณะที่อันดับเครดิตภายในประเทศของ EXIM SME Bank และ GH Bank อยู่ในระดับสูงสุดเนื่องจากมีความสัมพันธ์กับรัฐบาลในระดับสูง นอกจากการมีรัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้น อันดับเครดิตยังคงได้รับการสนับสนุนจากสถานะทางกฎหมายของธนาคารเหล่านี้ที่เป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจ รวมถึงบทบาทหน้าที่ของธนาคารในการสนับสนุนนโยบายรัฐและความสำคัญในเชิงกลยุทธต่อรัฐบาล 
          อันดับเครดิตสนับสนุนของ GSB และ BAAC สะท้อนถึงบทบาทที่สำคัญของธนาคารในการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล GSB ได้รับประโยชน์จากการระบุไว้อย่างชัดเจน (explicit guarantee) ในเรื่องการค้ำประกันหนี้สินจากภาครัฐ ในขณะที่ BAAC ได้รับการชดเชยในกรณีที่ธนาคารได้รับความเสียหายเนื่องจากการดำเนินงานตามนโยบายรัฐในรูปแบบของ deficiency guarantee
          อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว และอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของ IBANK อยู่ต่ำกว่าอันดับเครดิตของรัฐบาล 2 อันดับ เนื่องจากในพระราชบัญญัติจัดตั้งธนาคาร ไม่มีการระบุถึงการสนับสนุนจากรัฐบาลอย่างชัดเจน และการมีสัดส่วนการถือหุ้นโดยตรงจากภาครัฐที่จำกัดไว้ไม่เกิน 49% รวมทั้งบทบาทหน้าที่ของธนาคารในการสนับสนุนนโยบายรัฐและความสำคัญในเชิงกลยุทธต่อรัฐบาลที่น้อยกว่า เมื่อเทียบกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจแห่งอื่น 
          แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพของ EXIM IBANK SME Bank และ GH Bank สะท้อนถึงความคาดหวังของ ฟิทช์ว่าการสนับสนุนของภาครัฐต่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจจะเป็นไปอย่างต่อเนื่องและไม่เปลี่ยนแปลง

          ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต 
          การเปลี่ยนแปลงอันดับเครดิตโดยทั่วไปน่าจะเป็นไปในทิศทางเดียวกับอันดับเครดิตของประเทศไทย ยกเว้นการเปลี่ยนแปลงของอันดับเครดิตภายในประเทศ การเปลี่ยนแปลงอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของประเทศไทยจะส่งผลกระทบต่ออันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว และอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำของ EXIM และ IBANK อย่างไรก็ตามอันดับเครดิตภายในประเทศของธนาคารรัฐไม่น่าจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของประเทศไทย เนื่องจากรัฐบาลน่าจะยังมีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ (default risk) ต่ำที่สุดในประเทศ

          อันดับเครดิตสนับสนุนของธนาคารอาจได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของความสามารถของรัฐบาลไทยในการให้การสนับสนุนธนาคารอย่างทันท่วงที การเปลี่ยนแปลงอันดับเครดิตเป็นกลุ่มระดับ ‘A’ จากกลุ่มระดับ ‘BB’ จะบ่งบอกถึงความสามารถในการสนับสนุนที่เปลี่ยนแปลงไป และอาจส่งผลกระทบส่งอันดับเครดิตสนับสนุนของธนาคารรัฐได้เช่นกัน

          การเปลี่ยนแปลงของมุมมองของฟิทช์ต่อโอกาสของการได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ และความสามารถของรัฐบาลไทยในการสนับสนุนอาจส่งผลกระทบต่ออันดับเครดิตของธนาคารรัฐทั้ง 6 แห่งได้ การแก้ไขกฎหมาย หรือ การเปลี่ยนแปลงสถานะทางกฎหมายและสัดส่วนการถือหุ้น ที่อาจส่งผลให้โอกาสที่ธนาคารจะได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐลดลง อาจส่งผลให้อันดับเครดิตสนับสนุน และอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว ถูกปรับลดลงได้ อย่างไร อย่างไรก็ดีฟิทช์ยังมองว่าเหตุการณ์ดังกล่าวยังไม่น่าจะเกิดขึ้น เนื่องจากธนาคารดังกล่าวมีหน้าที่หลักในการดำเนินนโยบายของรัฐ

          รายละเอียดของอันดับเครดิตทั้งหมด มีดังนี้
          BAAC 
          - อันดับเครดิตสนับสนุนคงอันดับที่ ‘2’

          EXIM:
          - อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวคงอันดับที่ ‘BBB+’ แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
          - อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้นคงอันดับที่ ‘F2’ 
          - อันดับเครดิตสนับสนุนคงอันดับที่ ‘2’
          - อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำคงอันดับที่ ‘BBB+’ 
          - อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวคงอันดับที่ ‘AAA(tha)’ แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
          - อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นคงอันดับที่ ‘F1+(tha)’

          GH Bank
          - อันดับเครดิตสนับสนุนคงอันดับที่ ‘2’
          - อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวคงอันดับที่ ‘AAA(tha)’ แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
          - อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นคงอันดับที่ ‘F1+(tha)’

          GSB 
          - อันดับเครดิตสนับสนุนคงอันดับที่ ‘2’


          IBANK
          - อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวคงอันดับที่ ‘BBB-’ แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
          - อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้นคงอันดับที่ ‘F3’
          - อันดับเครดิตสนับสนุนคงอันดับที่ ‘2’
          - อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำคงอันดับที่ ‘BBB-’
          - อันดับเครดิตในประเทศระยะยาวคงอันดับที่ ‘AA(tha)’ แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
          - อันดับเครดิตในประเทศระยะสั้นคงอันดับที่ ‘F1+(tha)’

          SME Bank 
          - อันดับเครดิตในประเทศระยะยาวคงอันดับที่ ‘AAA(tha)’ แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
          - อันดับเครดิตในประเทศระยะสั้นคงอันดับที่ ‘F1+(tha)’


ข่าวธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย+ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยวันนี้

SME D Bank ร่วมบรรยายพิเศษหลักสูตร "2MORROW SCALER" ชู BCG Model กุญแจพาธุรกิจก้าวไกลเติบโตไร้พรมแดน

นายโมกุล โปษยะพิสิษฐ์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank ร่วมเป็นวิทยากร บรรยายพิเศษ กับ ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ในงานเสวนาหัวข้อ "Scale ธุรกิจไร้พรมแดน ด้วยความเข้าใจแหล่งทุน" จัดขึ้นเพื่อมอบความรู้ให้แก่ผู้เข้าร่วมหลักสูตร "2MORROW SCALER" รุ่น 7 ซึ่งเป็นหลักสูตรเพื่อผู้ประกอบการ และผู้บริหารยุคใหม่ โดย SME D Bank ธนาคารเพื่อเอสเอ็มอีไทย พร้อมสนับสนุนผ่านกระบวนการ

นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคา... SME D Bank ลุยโครงการเติมความรู้บัญชีภาษี ปูทางพาเอสเอ็มอีถึงแหล่งทุนดอกเบี้ยต่ำเพียง 3%ต่อปี — นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนา...

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่... SME D Bank รับมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ องค์กรโดดเด่นขับเคลื่อนเปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่ความยั่งยืน — ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ห...