Cisco Global Cloud Index คาดการณ์ ‘แทรฟฟิกคลาวด์’ แซงหน้า ‘แทรฟฟิกดาต้าเซ็นเตอร์’

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          แทรฟฟิกคลาวด์จะครองสัดส่วนมากกว่า 2 ใน 3 ของแทรฟฟิกดาต้าเซ็นเตอร์ทั่วโลกภายในปี 2560 และจะเพิ่มขึ้นกว่า 4 เท่าจากปี 2555 ถึง 2560

          ในรายงานประจำปีฉบับที่สาม “ดัชนีคลาวด์ทั่วโลกของซิสโก้ (2555-2560)” (Cisco® Global Cloud Index (2012 – 2017)) ซิสโก้คาดการณ์ว่า แทรฟฟิกคลาวด์ทั่วโลก ซึ่งเป็นส่วนที่เติบโตเร็วที่สุดของแทรฟฟิกดาต้าเซ็นเตอร์ จะเพิ่มขึ้น 4.5 เท่า หรือเติบโตเฉลี่ย 35 เปอร์เซ็นต์ต่อปี จาก 1.2 เซตตาไบต์ต่อปีในช่วงปี 2555 เป็น 5.3 เซตตาไบต์ภายในปี 2560 แทรฟฟิกดาต้าเซ็นเตอร์โดยรวมทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น 3 เท่า จนแตะระดับ 7.7 เซตตาไบต์ต่อปี ภายในปี 2560

          หนึ่งเซตตาไบต์เท่ากับหนึ่งพันล้านเทราไบต์ โดย 7.7 เซตตาไบต์เท่ากับ:
          - การสตรีมเพลง 107 ล้านล้านชั่วโมง เทียบเท่ากับ การสตรีมเพลงต่อเนื่องประมาณ 1.5 ปี ของประชากรทั้งโลกในปี 2560 
          - การประชุมผ่านเว็บ 19 ล้านล้านชั่วโมง เทียบเท่ากับ การประชุมผ่านเว็บราว 14 ชั่วโมงต่อวันของพนักงานบริษัททั้งโลกในปี 2560
          - การสตรีมวิดีโอที่มีความละเอียดสูง (HD) ความยาว 8 ล้านล้านชั่วโมง เทียบเท่ากับ การสตรีมวิดีโอ HD ประมาณ 2.5 ชั่วโมงต่อวันของประชากรทั้งโลกในปี 2560
          ประมาณ 17 เปอร์เซ็นต์ของแทรฟฟิกดาต้าเซ็นเตอร์จะเพิ่มขึ้นจากผู้ใช้ที่เข้าถึงระบบคลาวด์สำหรับการท่องเว็บ วิดีโอสตรีมมิ่ง การทำงานร่วมกัน และอุปกรณ์ที่มีการเชื่อมต่อ โดยทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของ Internet of Everything ซึ่งหมายถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงผู้คน ข้อมูล กระบวนการ และสิ่งต่างๆ ทั้งหมดเข้าด้วยกัน
          แทรฟฟิกดาต้าเซ็นเตอร์อื่นๆไม่ได้เกิดจากผู้ใช้ (end-users) โดยตรง แต่เกิดจากดาต้าเซ็นเตอร์และเวิร์กโหลดของระบบคลาวด์คอมพิวติ้งที่ใช้ในกิจกรรมต่างๆที่มองไม่เห็น สำหรับช่วงปี 2555-2560 ซิสโก้คาดการณ์ว่า 7 เปอร์เซ็นต์ของแทรฟฟิกดาต้าเซ็นเตอร์จะถูกสร้างขึ้นระหว่างดาต้าเซ็นเตอร์ ซึ่งโดยเบื้องต้นแล้วเป็นผลมาจากการรีพลิเคตข้อมูลและการอัพเดตซอฟต์แวร์/ระบบ นอกจากนี้แทรฟฟิกดาต้าเซ็นเตอร์เอีก 76 เปอร์เซ็นต์จะยังคงอยู่ภายในดาต้าเซ็นเตอร์ และถูกสร้างขึ้นโดยสตอเรจและข้อมูลทีถูกจัดเก็บในสภาพแวดล้อมแบบเวอร์ช่วลไลซ์
          "ผู้คนทั่วโลกยังคงต้องการเข้าถึงเนื้อหาคอนเทนต์ของบุคคล ธุรกิจ และเนื้อหาด้านความบันเทิงทุกที่บนทุกอุปกรณ์ ทรานแซคชั่นแต่ละรายการในระบบเวอร์ช่วลไลซ์และคลาวด์จะก่อให้เกิดผลกระทบอย่างต่อเนื่องบนเครือข่าย" ดั๊ก เมอร์ริท รองประธานอาวุโสฝ่ายการตลาดผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นของซิสโก้ กล่าว "เนื่องจากแนวโน้มที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องนี้ เราจึงคาดการณ์ว่าปริมาณแทรฟฟิกคลาวด์ทั้งภายใน, ระหว่าง และภายนอกดาต้าเซ็นเตอร์ จะเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในช่วง 4 ปีข้างหน้า"
          นายวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีนของซิสโก้ กล่าวว่า “ในประเทศไทย การปรับใช้คลาวด์เป็นไปอย่างรวดเร็วและแพร่หลายมาก ประเทศไทยงคงเป็นหนึ่งในตลาดที่เติบโตเร็วที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ขณะที่รัฐบาลและผู้ให้บริการ (Service Providers) ยังคงมีบทบาทในการผลักดันในการปรับใช้คลาวด์ และใช้เป็นกลยุทธ์ในการลงทุนเพื่อส่งเสริมประเทศไทยให้เป็น “ศูนย์กลางการให้บริการคลาวด์” (Cloud Service Hub) ของภูมิภาคในอีกสามปี เพื่อสร้างรายได้และสร้างโอกาสในการทำงาน 
          จากผลการสำรวจของสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ และศูนย์วิจัยกสิกรไทยเผยว่าตลาดคลาวด์คอมพิวติ้งในประเทศไทยปีนี้คาดว่าจะอยู่ระหว่าง 2.22 – 2.33 พันล้านบาท และอัตราการเติบโตจะเพิ่มเป็น 22.1 % จาก 16.7% เทียบกับปีที่ผ่านมา จากผลการวิจัยจะเห็นได้ว่าองค์กรธุรกิจขยายการเติบโตด้วยการปรับใช้การบริการคลาวด์ (Cloud-based Optimized Service) และคลาวด์ก็กำลังเปลี่ยนรูปแบบการทำงานและการดำเนินงานของธุรกิจในปัจจุบัน 
          ประเทศไทยมีการใช้บริการคลาวด์ (Cloud-based service) ในอัตราทีสูงและถูกนำไปใช้ในองค์กรธุรกิจทุกระดับ รวมถึงธุรกิจเอสเอ็มบี ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างแทรฟฟิกคลาวด์ ด้วยแทรฟฟิกของคลาวด์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว องค์กรธุรกิจมีความจำเป็นที่จะต้องมีแพลตฟอร์มที่จะรองรับแทรฟฟิกคลาวด์ และทรานสฟอร์มโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีไปสู่ “คลาวด์คอมพิวติ้ง” และ “การทำงานร่วมกันผ่านคลาวด์” (Cloud-based collaboration) อีกทั้งองค์กรธุรกิจควรที่จะพัฒนาระบบเพื่อรองรับการทำงานกับแพลตฟอร์มคลาวด์โดยเฉพาะ”
          จากมุมมองระดับภูมิภาค รายงานดัชนีคลาวด์ทั่วโลกของซิสโก้ (Cisco Global Cloud Index) คาดการณ์ว่าจากนี้จนถึงปี 2560 ภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาจะมีอัตราการเติบโตของแทรฟฟิกคลาวด์สูงสุดโดยเฉลี่ย 57 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ตามมาด้วยภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกโดยเฉลี่ย 43 เปอร์เซ็นต์ต่อปี และภูมิภาคยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก โดยเฉลี่ย 36 เปอร์เซ็นต์ต่อปี

          ภาพรวม:

          - รายงานดัชนีคลาวด์ทั่วโลกของซิสโก้ (ปี 2555-2560) มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินแนวโน้มและการเติบโตของแทรฟฟิกอินเทอร์เน็ตโปรโตคอล (ไอพี) บนดาต้าเซ็นเตอร์และระบบคลาวด์ รายงานดังกล่าวนับเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับการศึกษาเกี่ยวกับแทรฟฟิกเครือข่ายที่มีอยู่ โดยมอบข้อมูลเชิงลึกและแนวโน้มใหม่ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อดาต้าเซ็นเตอร์และคลาวด์ ข้อมูลคาดการณ์ดังกล่าวมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น เพราะ “เน็ตเวิร์ก” และ “ดาต้าเซ็นเตอร์” มีการทำงานที่เชื่อมโยงกันมากขึ้นเพื่อให้บริการด้านคลาวด์
          - รายงานดัชนีคลาวด์ทั่วโลกของซิสโก้ประกอบด้วยข้อมูลคาดการณ์เกี่ยวกับ “การเปลี่ยนผ่านเวิร์กโหลด” (Workload Transition) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเวิร์กโหลดกำลังเปลี่ยนย้ายจาก “ดาต้าเซ็นเตอร์ในรูปแบบเดิมๆ” ไปสู่ “เซิร์ฟเวอร์คลาวด์แบบเวอร์ช่วลไลซ์” (Virtualized Cloud Servers) เพิ่มมากขึ้น
          - นอกจากนี้ ข้อมูลคาดการณ์ดังกล่าวยังประกอบด้วย รายละเอียดความพร้อมทางด้านคลาวด์ของแต่ละภูมิภาค ซึ่งตรวจสอบความสามารถของเครือข่ายพื้นฐานและเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของแต่ละภูมิภาคทั่วโลก จากเกือบ 150 ประเทศ เพื่อรองรับแอพพลิเคชั่นและบริการคลาวด์คอมพิวติ้งสำหรับองค์กรธุรกิจและผู้ใช้ทั่วไป
          - ดัชนีคลาวด์ทั่วโลกของซิสโก้สร้างขึ้นจากการสร้างแบบจำลองและการวิเคราะห์แหล่งข้อมูลหลักและแหล่งข้อมูลรองที่หลากหลาย รวมถึงแทรฟฟิก 40 เทราไบต์ต่อเดือนที่สุ่มตัวอย่างจากดาต้าเซ็นเตอร์ทั่วโลกในช่วงปีที่ผ่านมา รวมถึงการทดสอบเครือข่ายกว่า 90 ล้านครั้ง และรายงานวิจัยตลาดขององค์กรอื่นๆ 

          ข้อมูล/ประเด็นสำคัญ:

          - แทรฟฟิกดาต้าเซ็นเตอร์ทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น 3 เท่าภายในปี 2560 – ซิสโก้คาดการณ์ว่าแทรฟฟิกดาต้าเซ็นเตอร์จะเพิ่มขึ้น 3 เท่าจาก 2.6 เซตตาไบต์ต่อปีในช่วงปี 2555 เป็น 7.7 เซตตาไบต์ต่อปีในช่วงปี 2560 หรือเท่ากับอัตราการเติบโตเฉลี่ย 25 เปอร์เซ็นต์
          - แทรฟฟิกคลาวด์ทั่วโลกจะเติบโตรวดเร็วกว่าแทรฟฟิกดาต้าเซ็นเตอร์ทั่วโลกโดยรวม – การเปลี่ยนย้ายไปสู่บริการคลาวด์ส่งผลให้แทรฟฟิกคลาวด์ทั่วโลกเพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็วกว่าแทรฟฟิกดาต้าเซ็นเตอร์ทั่วโลก โดยแทรฟฟิกดาต้าเซ็นเตอร์ทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น 3 เท่า (เฉลี่ย 25 เปอร์เซ็นต์ต่อปี) จากปี 2555 ถึง 2560 ขณะที่แทรฟฟิกคลาวด์ทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น 4.5 เท่า (เฉลี่ย 35 เปอร์เซ็นต์ต่อปี) ในช่วงเวลาเดียวกัน
          - แทรฟฟิกคลาวด์ทั่วโลกจะคิดเป็นสัดส่วนกว่าสองในสามของแทรฟฟิกดาต้าเซ็นเตอร์ทั่วโลก - ในปี 2555 แทรฟฟิกคลาวด์จะเพิ่มขึ้นจาก 46 เปอร์เซ็นต์ของแทรฟฟิกดาต้าเซ็นเตอร์ทั้งหมด (98 เอ็กซาไบต์ต่อเดือน หรือ 1.2 เซตตาไบต์ต่อปี) เป็น 69 เปอร์เซ็นต์ของแทรฟฟิกดาต้าเซ็นเตอร์ทั้งหมด (443 เอ็กซาไบต์ต่อเดือน หรือ 5.3 เซตตาไบต์ต่อปี) ภายในปี 2560
          - การเติบโตของแทรฟฟิกคลาวด์ ในระดับภูมิภาค: ภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาจะมีอัตราการเติบโตของแทรฟฟิกคลาวด์สูงสุดในช่วงปี 2555-2560 - ดัชนีคลาวด์ทั่วโลกของซิสโก้รายงานข้อมูลคาดการณ์สำหรับการเติบโตของแทรฟฟิกคลาวด์ในแต่ละภูมิภาคดังนี้
                    - ในปี 2555 อเมริกาเหนือสร้างแทรฟฟิกคลาวด์มากที่สุด (469 เอ็กซาไบต์ต่อปี) ตามมาด้วยเอเชีย-แปซิฟิก (319 เอ็กซาไบต์ต่อปี) และยุโรปตะวันตก (225 เอ็กซาไบต์ต่อปี)
                    - ภายในปี 2560 อเมริกาเหนือจะสร้างแทรฟฟิกคลาวด์มากที่สุด (1.886 เซตตาไบต์ต่อปี) ตามมาด้วยเอเชีย-แปซิฟิก (1.876 เซตตาไบต์ต่อปี) และยุโรปตะวันตก (770 เอ็กซาไบต์ต่อปี)
                    - การเปลี่ยนผ่านเวิร์กโหลด: ในช่วงปี 2555 ถึง 2560 เวิร์กโหลดจะเพิ่มขึ้น 2.3 เท่า โดยเวิร์กโหลดคลาวด์จะเพิ่มขึ้น 3.7 เท่า – ในปี 2555 เวิร์กโหลด 39 เปอร์เซ็นต์จะได้รับการประมวลผลในระบบคลาวด์ และอีก 61 เปอร์เซ็นต์จะได้รับการจัดการในดาต้าเซ็นเตอร์ทั่วไป
                    - ปี 2557 จะเป็นปีแรกที่เวิร์กโหลดส่วนใหญ่เปลี่ยนย้ายไปสู่ระบบคลาวด์ โดย 51 เปอร์เซ็นต์ของเวิร์กโหลดทั้งหมดจะได้รับการประมวลผลในระบบคลาวด์ เปรียบเทียบกับ 49 เปอร์เซ็นต์ที่จะถูกประมวลผลในระบบไอทีทั่วไป
                    - ภายในปี 2560 เกือบสองในสามหรือ 63 เปอร์เซ็นต์ของเวิร์กโหลดจะได้รับการประมวลผลโดยดาต้าเซ็นเตอร์แบบคลาวด์ ขณะที่ 37 เปอร์เซ็นต์จะได้รับการประมวลผลโดยดาต้าเซ็นเตอร์ทั่วไป
                    - อัตราส่วนของเวิร์กโหลดต่อคลาวด์เซิร์ฟเวอร์ที่ไม่ได้ทำเวอร์ช่วลไลซ์จะเพิ่มขึ้นจาก 6.5 ในปี 2555 เป็น 16.7 ภายในปี 2560 เมื่อเปรียบเทียบกัน อัตราส่วนเวิร์กโหลดต่อเซิร์ฟเวอร์ในดาต้าเซ็นเตอร์รุ่นเก่าที่ไม่ได้ทำเวอร์ช่วลไลซ์จะเพิ่มขึ้นจาก 1.7 ในปี 2555 เป็น 2.3 ภายในปี 2560
          - การเติบโตของเวิร์กโหลด แยกตามภูมิภาค: ภายในปี 2560 ภูมิภาคอเมริกาเหนือจะประมวลผลเวิร์กโหลดคลาวด์มากที่สุด ตามมาด้วยภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก - ดัชนีคลาวด์ทั่วโลกของซิสโก้ประกอบด้วยข้อมูลคาดการณ์สำหรับการเติบโตของเวิร์กโหลดในแต่ละภูมิภาค
                    - ในปี 2555 อเมริกาเหนือมีเวิร์กโหลดคลาวด์มากที่สุด (15.2 ล้านหรือ 47 เปอร์เซ็นต์ของเวิร์กโหลดคลาวด์ทั่วโลก) ตามมาด้วยเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งมีเวิร์กโหลด 6.8 ล้าน หรือเท่ากับ 21 เปอร์เซ็นต์ของเวิร์กโหลดคลาวด์ทั่วโลกในปี 2555
                    - ภายในปี 2560 อเมริกาเหนือจะประมวลผลเวิร์กโหลดคลาวด์มากที่สุด (48.2 ล้านหรือ 41 เปอร์เซ็นต์ของเวิร์กโหลดคลาวด์ทั่วโลก) ตามมาด้วยเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งมีเวิร์กโหลด 36.5 ล้าน หรือเท่ากับ 31 เปอร์เซ็นต์ของเวิร์กโหลดคลาวด์ทั่วโลกภายในปี 2560
                    - ในช่วงปี 2555 ถึง 2560 ภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตของเวิร์กโหลดคลาวด์สูงสุด (เฉลี่ย 45 เปอร์เซ็นต์ต่อปี) ตามมาด้วยเอเชีย-แปซิฟิก (เฉลี่ย 40 เปอร์เซ็นต์ต่อปี) และยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก (เฉลี่ย 31 เปอร์เซ็นต์ต่อปี)
                    - ข้อมูลระดับโลก ไม่รวมภูมิภาคตะวันออกกลาง แอฟริกา และเอเชีย-แปซิฟิก เวิร์กโหลดดาต้าเซ็นเตอร์แบบเดิมๆ (ที่ไม่ใช่เวิร์กโหลดคลาวด์) จะเพิ่มขึ้นในอัตราเลขสองหลักต่อปี จากปี 2555 ถึง 2560

          ความพร้อมของคลาวด์:

          เพื่อประเมินความพร้อมของคลาวด์ มีการวิเคราะห์คุณสมบัติที่หลากหลายของเครือข่ายพื้นฐานและเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ และมีการวิเคราะห์ความเร็วในการอัพโหลดและดาวน์โหลดที่เป็นค่าเฉลี่ย (Average) และค่ากลาง (Median) โดยค่ากลางถูกเพิ่มเข้าไปในปีนี้เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับความผันแปรของความพร้อมทางด้านคลาวด์สำหรับผู้ใช้ในแต่ละประเทศ โดยมีการจัดหาข้อมูลเกี่ยวกับคุณลักษณะทางด้านประสิทธิภาพของเครือข่ายสำหรับแต่ละภูมิภาค เช่น เอเชีย-แปซิฟิก ยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก ละตินอเมริกา ตะวันออกกลางและแอฟริกา อเมริกาเหนือ และยุโรปตะวันตก สำหรับการศึกษานี้ มีการใช้หมวดหมู่การสุ่มตัวอย่างดังต่อไปนี้:
          - Basic Cloud Apps / Network Requirements
Download Speed: Up to 750 kbps; Upload Speed: Up to 250 kbps; Latency: Above 160 ms
          - ความต้องการเบื้องต้นสำหรับคลาวด์แอพ และเครือข่าย
          ความเร็วในการดาวน์โหลด: สูงสุด 750 kbps; ความเร็วในการอัพโหลด: สูงสุด 250 kbps; การหน่วงเวลา: มากกว่า 160 มิลลิวินาที
          ตัวอย่างบริการพื้นฐานสำหรับผู้บริโภค: การสื่อสารด้วยข้อความ (อีเมล, ข้อความ Instant Message), การท่องเว็บ, ที่เก็บเนื้อหาส่วนบุคคล (ไม่ใช่มัลติมีเดีย), อี-แบงค์กิ้ง, เกมแบบผู้เล่นคนเดียว, โซเชียลเน็ตเวิร์ก (ข้อความเท่านั้น), การสตรีมวิดีโอ/เพลงขั้นพื้นฐาน
ตัวอย่างบริการพื้นฐานสำหรับธุรกิจ: การสื่อสารด้วยข้อความ (อีเมล, ข้อความ Instant Message), VoIP, การประชุมผ่านเว็บ
          - ความต้องการระดับกลางสำหรับคลาวด์แอพ และเครือข่าย
          ความเร็วในการดาวน์โหลด: สูงสุด 751–2,500 kbps; ความเร็วในการอัพโหลด: 251–1,000 kbps; การหน่วงเวลา: 159–100 มิลลิวินาที
          ตัวอย่างบริการระดับกลางสำหรับผู้บริโภค: ระบบบ้านอัจฉริยะ, ที่เก็บคอนเทนต์มัลติมีเดียเฉพาะบุคคล, การซื้อสินค้าออนไลน์, เกมแบบผู้เล่นหลายคน, โซเชียลเน็ตเวิร์ก (มัลติมีเดีย/อินเทอร์แอคทีฟ), การสตรีมเพลง/วิดีโอ HD, การสนทนาทางวิดีโอผ่าน IM
          ตัวอย่างบริการระดับกลางสำหรับธุรกิจ: ERP/CRM, การประชุมด้วยเสียงบนเครือข่ายไอพี, การประชุมทางวิดีโอ
ความต้องการระดับสูงสำหรับคลาวด์แอพ และเครือข่าย
          ความเร็วในการดาวน์โหลด: สูงกว่า 2,500 kbps; ความเร็วในการอัพโหลด: สูงกว่า 1,000 kbps; การหน่วงเวลา: น้อยกว่า 100 มิลลิวินาที
          ตัวอย่างบริการระดับสูงสำหรับผู้บริโภค: Connected Education, Connected Medicine, การสนทนาด้วยวิดีโอ HD, การสตรีมวิดีโอ Super HD, การสตรีมวิดีโอ 3D
          ตัวอย่างบริการระดับสูงสำหรับธุรกิจ: ออฟฟิศเสมือนจริง, การประชุมด้วยเสียงแบบ HD, การประชุมด้วยวิดีโอแบบ HD
          ปัจจุบันทุกภูมิภาคมีเครือข่ายพื้นฐาน (Fixed Network) ที่สามารถรองรับบริการคลาวด์ระดับกลางได้
          - เครือข่ายพื้นฐานของเอเชีย-แปซิฟิก อเมริกาเหนือ ยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก ยุโรปตะวันตก และละตินอเมริกา สามารถรองรับคลาวด์แอพพลิเคชั่นระดับสูง
          - ทุกภูมิภาคมีเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Network) ที่สามารถรองรับบริการคลาวด์ได้ในบางระดับ
          - เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของเอเชีย-แปซิฟิก ตะวันออกกลางและแอฟริกา และละตินอเมริกา สามารถรองรับคลาวด์แอพพลิเคชั่นระดับพื้นฐาน
          - เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก อเมริกาเหนือ และยุโรปตะวันตก สามารถรองรับคลาวด์แอพพลิเคชั่นระดับกลาง
          - ดัชนีชี้ให้เห็นว่ามีบางประเทศที่มีประสิทธิภาพของเครือข่ายพื้นฐานและเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่สูงกว่าค่าความพร้อมทางด้านคลาวด์โดยเฉลี่ยของภูมิภาค เช่น ในฮ่องกงและสิงคโปร์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ประสิทธิภาพของเครือข่ายพื้นฐานและเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถรองรับคลาวด์แอพพลิเคชั่นขั้นสูงได้
          *การใช้งานหลายแอพพลิเคชั่นพร้อมๆกันต้องอาศัยประสิทธิภาพเครือข่ายที่สูงกว่าข้อกำหนดที่ระบุไว้ข้างต้นสำหรับการสนับสนุนแต่ละแอพพลิเคชั่น ข้อกำหนดสำหรับการใช้งานหลายแอพพลิเคชั่นพร้อมกันมีระบุไว้ใน “การคาดการณ์และระเบียบวิธีวิจัยสำหรับดัชนีคลาวด์ทั่วโลกของซิสโก้, 2555 – 2560”
Cisco Global Cloud Index คาดการณ์ ‘แทรฟฟิกคลาวด์’ แซงหน้า ‘แทรฟฟิกดาต้าเซ็นเตอร์’
 

ข่าวดาต้าเซ็นเตอร์+เซ็นเตอร์วันนี้

PLANET ผนึก PSTC Academy ยกระดับทักษะ Data Center ในไทย รองรับการเติบโต อุตสาหกรรมสมัยใหม่ S-curve industries

PLANET ผนึก PSTC Academy สถาบันอบรมเสริมความรู้ด้านดาต้าเซ็นเตอร์ ยกระดับทักษะดิจิทัลไทย ร่วมพัฒนาหลักสูตรและศูนย์ฝึกอบรม Data Center, Cloud, AI, IoT และ Cybersecurity แบบครบวงจร ตอบโจทย์ยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก รองรับการเติบโตของอุตสาหกรรม ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ (S-curve industries) นายประพัฒน์ รัฐเลิศกานต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แพลนเน็ต คอมมิวนิเคชั่น เอเชีย จำกัด (มหาชน) หรือ PLANET ผู้ให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัลแบบครบวงจร เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)

ในงาน Computex ที่ผ่านมา Qualcomm ประกาศค... Qualcomm ประกาศความพร้อมก้าวสู่ยุคใหม่ของ AI และดาต้าเซ็นเตอร์ ในงาน Computex 2025 ที่ผ่านมา — ในงาน Computex ที่ผ่านมา Qualcomm ประกาศความร่วมมือกับ Nvid...

นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเค... ศุภชัย นำกลุ่มซีพีจับมือ GIP และ True IDC เร่งเครื่องโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลไทยสู่ระดับโลก — นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP...