จอห์นสัน คอนโทรลส์เผยผลสำรวจในเอเชีย ชี้นโยบายรัฐบาลและความประหยัดคือปัจจัยหลักที่เจ้าของอาคารคำนึงในการพัฒนาประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 1,200 คนระบุปัจจัยที่ขับเคลื่อนและประเด็นที่ต้องบริหารจัดการ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพอาคารให้ดีขึ้น
ผลสำรวจดัชนีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพปี พ.ศ. 2556 (2013 Energy Efficiency Indicator – EEI) ของจอห์นสัน คอนโทรลส์ เผยเจ้าของอาคารในภูมิภาคเอเชียจะคำนึงถึงความประหยัดและนโยบายภาครัฐเป็นหลักในการจัดการประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ผลสำรวจนี้ระบุด้วยว่า ความสนใจในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในเอเชียมีอัตราเติบโตเพิ่มขึ้น 10 เปอร์เซ็นต์นับตั้งแต่ปีพ.ศ.2553 ในขณะที่การขาดแคลนเงินทุนและการคืนทุนที่ไม่เพียงพอเป็นอุปสรรคสำคัญในการดำเนินโครงการด้านพลังงานภายในองค์กร
การสำรวจดัชนีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพครั้งนี้นับเป็นครั้งที่เจ็ด ที่มีการรวบรวมความเห็นจากเจ้าของอาคารชั้นนำเพื่อสำรวจแนวโน้มของการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจัยขับเคลื่อนที่ก่อให้เกิดการปฏิบัติและอุปสรรคที่เกิดขึ้นทั่วโลก การสำรวจครอบคลุมถึงผู้บริหารระดับสูงมากกว่า 3,000 คนใน 10 ประเทศ ในทวีปเอเชียมีการสำรวจความเห็นของผู้บริหาร 1,263 ราย ที่กำกับดูแลด้านพลังงานในอาคาร ทั้งในประเทศออสเตรเลีย จีน อินเดียและล่าสุดคือสิงคโปร์ที่เข้าร่วมการสำรวจเป็นครั้งแรก
“ผลการสำรวจในปีนี้แสดงให้เห็นว่า เจ้าของอาคารในทวีปเอเชียมีความสนใจในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ขณะเดียวกันยังชี้ให้เห็นว่านโยบายสาธารณะและการลงทุนของเอกชนจะต้องสอดคล้องกันเพื่อแปรเปลี่ยนความสนใจให้เป็นการลงมือปฏิบัติ” โซเรน เบิร์ก รองประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจด้านประสิทธิภาพอาคารของจอห์นสัน คอนโทรลส์ เอเชีย กล่าว
ปัจจัยขับเคลื่อนในตลาดเอเชีย
การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการจัดการพลังงานกำลังเติบโตขึ้นเรื่อยในทวีปเอเชีย จากผลสำรวจชี้ว่าผู้บริหารจากประเทศจีน 61 เปอร์เซ็นต์ และอินเดีย 58 เปอร์เซ็นต์ มีความสนใจอย่างมากในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในระดับโลก โดยยืนยันว่าองค์กรของพวกเขาใส่ใจในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ผู้บริหารจากประเทศออสเตรเลีย 71 เปอร์เซ็นต์ และสิงคโปร์ 73 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นประเทศที่จัดอยู่ในกลุ่มประเทศซึ่งมีความอิ่มตัวทางการตลาดในภูมิภาคนี้ ระบุว่าการจัดการพลังงานมีความสำคัญอย่างยิ่ง
ปัจจัยสำคัญที่ช่วยผลักดันให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพขององค์กรธุรกิจในภูมิภาคเอเชียคือ ความประหยัดต้นทุนทางด้านพลังงาน อันเป็นปัจจัยเดียวกันกับองค์กรธุรกิจทั่วโลก ในขณะที่แรงจูงใจ ในด้านส่วนลดและนโยบายของรัฐบาลก็มีความสำคัญเช่นกัน เห็นได้จากผลสำรวจที่พบว่าความมั่นคงด้านพลังงานถือเป็นปัจจัยหลักสำหรับจีนและอินเดีย ส่วนสิงคโปร์และอินเดียเป็นเพียงสองประเทศเท่านั้น ที่มุ่งให้ความสำคัญกับการสร้างแบรนด์หรือภาพลักษณ์ที่ดีของแบรนด์ต่อสาธารณะมากที่สุด
ประเด็นในการบริหารจัดการ
ผลสำรวจระบุว่า อุปสรรคที่ขัดขวางการริเริ่มหาแนวทางเพื่อการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพนั้น มีความคล้ายคลึงกันทั่วโลก โดยผู้บริหารระดับสูงขององค์กรในประเทศสิงคโปร์และอินเดีย ระบุว่า อุปสรรคจากขาดแคลนเงินทุน การคืนทุนที่ไม่เพียงพอ ผลประกอบการที่ไม่มั่นคง การขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคในการดำเนินโครงการ สำหรับองค์กรธุรกิจในประเทศจีน จะพบว่า การคืนทุนที่ไม่เพียงพอเป็นอุปสรรคที่สูงสุดมากกว่าประเทศอื่น ส่วนในประเทศออสเตรเลียจะพบปัญหาทางด้านการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสูงสุด
จาก 1 ใน 4 ของผู้บริหารทั่วโลกกล่าวว่าการขาดแคลนเงินทุนเป็นอุปสรรคสูงสุดในการพัฒนาโครงการด้านประสิทธิภาพพลังงาน ซึ่งลดลงจาก 30 เปอร์เซ็นต์ในปี 2554 เป็น 26 เปอร์เซ็นต์ใน ปี 2555 ขณะเดียวกันก็มีความวิตกกังวลถึงความไม่แน่นอนในด้านความประหยัดและการดำเนินการโครงการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานเพิ่มขึ้นทั่วโลกจาก 12 เปอร์เซ็นต์ เป็น 15 เปอร์เซ็นต์
ถึงแม้ว่าตลาดทั่วทวีปเอเชียจะมีความแตกต่างกัน แต่ส่วนใหญ่นั้นมีความเห็นไปในทางเดียวกันว่ากันว่าแรงจูงใจอันมาจากสิทธิพิเศษด้านภาษี นับเป็นนโยบายพลังงานที่จะกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด โดยประเทศออสเตรเลียให้ความสำคัญกับนโยบายรัฐบาลสูงถึง 30 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่กฎระเบียบด้านอาคารที่เข้มงวด รวมถึงการประเมินมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศจีน ก็ช่วยส่งผลไปในที่ดี เช่นเดียวกับการสร้างสิทธิพิเศษด้านภาษี ส่วนสิงคโปร์นั้นได้ให้ความสำคัญอย่างมากกับราคาคาร์บอนเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในเอเชีย
ผลสำรวจประจำปีครั้งที่เจ็ดนี้ครอบคลุมความคิดเห็นของเจ้าของอาคารและผู้ประกอบการกว่า 3,000 แห่งทั่วโลก ดำเนินการโดยสถาบันจอห์นสัน คอนโทรลเพื่อประสิทธิภาพอาคาร ร่วมกับสมาคมการจัดการทรัพยากรอาคารระหว่างประเทศ (International Facility Management Association) และสถาบันที่ดินเมือง (Urban Land Institute)
สำหรับรายงานการสำรวจดัชนีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพประจำปี 2556 ฉบับสมบูรณ์ เข้าชมได้ที่ www.institutebe.com
เซี่ยงไฮ้ อิเล็กทริก (Shanghai Electric) (SEHK: 2727, SSE: 601727) ประกาศลงนามข้อตกลงความร่วมมือเชิงกลยุทธ์เพื่อสร้างห้องปฏิบัติการร่วม "คาร์บอนและดิจิทัล" ("Carbon & Digital" Joint Laboratory Strategic Cooperation Agreement) ร่วมกับ จอห์นสัน คอนโทรลส์ (Johnson Controls) ในระหว่างงานแสดงสินค้านำเข้านานาชาติจีน ประจำปี 2566 (China International Import Expo หรือ CIIE 2023) ซึ่งถือเป็นความเคลื่อนไหวที่จะช่วยเสริมสร้างพลังให้กับทั้งสองบริษัทในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนของเมือง
จอห์นสัน คอนโทรลส์ เผยบริษัททั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใส่ใจ "ความยั่งยืน" มากขึ้น เนื่องจากช่วยเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขัน
—
จากการสำรวจความคิดเห็นของผ...
ปตท. ผนึก จอห์นสัน คอนโทรลส์ รุกธุรกิจการให้บริการระบบบริหารจัดการอาคารอัจฉริยะ ยกระดับนวัตกรรมพลังงานยั่งยืน
—
ดร. บุรณิน รัตสมบัติ รองกรรมการผู้จัดการให...
จอห์นสัน คอนโทรลส์ สนับสนุนลูกค้าในเอเชียแปซิฟิกบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนและลดการปล่อยคาร์บอน
—
ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ศูนย์วัฒนธรรมโรสเธียเตอร์ และ...
ภาพข่าว: “YORK” สนับสนุนกาชาดไทย ร่วมใจฝ่าวิกฤต COVID-19
—
คุณอดิศร์ พฤกษ์พัฒนรักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ประจำประเทศไทย และภูมิภาคอินโดจีน บริษัท จอห์นสั...
Sunway Pyramid ห้างสรรพสินค้าในมาเลเซีย ประหยัดต้นทุนด้านพลังงานกว่า 3 ล้านริงกิตมา 7 ปีติดต่อกัน หลังติดตั้งเทคโนโลยีของจอห์นสัน คอนโทรลส์
—
โครงการติดตั...
เครื่องทำความเย็น YORK(R) YZ Chiller เพิ่มขนาดทะลุ 1,000 ตัน
—
เครื่องทำความเย็นที่เพิ่มขนาดแล้วจะจัดแสดงในงาน AHR Expo 2019 จอห์นสัน คอนโทรลส์ (Johnson C...