วว. จัดสัมมนาวิชาการ “การนำเสนอผลงานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาภายใต้โครงการสร้างภาคีในการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาโท-เอก ประจำปี 2556”

04 Sep 2013

กรุงเทพฯ--4 ก.ย.--วว.

จากการที่ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ดำเนิน “โครงการการสร้างภาคีในการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาโท-เอก”ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 จนถึงปัจจุบัน โดยมุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ โดยผ่านความร่วมมือลงนามร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เป็นสมาชิกของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ประกอบด้วย 27 สถาบันและร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาแห่งอื่นๆ ทั้งประเทศอีก 5 สถาบัน ซึ่งโครงการฯประสบผลสำเร็จมีนักศึกษาเข้าร่วมโครงการจำนวน 260 คน ประกอบด้วยนักศึกษาระดับปริญญาโท 231 คน และระดับปริญญาเอก 29 คน

ในการนี้ วว. กำหนดจัดสัมมนาวิชาการ “การนำเสนอผลงานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาภายใต้โครงการสร้างภาคีในการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาโท-เอก ประจำปี 2556” ในวันศุกร์ที่ 6 กันยายน 25556 เวลา 8.30-16.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 5 อาคารถ่ายทอดเทคโนโลยี วว. เทคโนธานี ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้นำเสนอผลงาน อีกทั้งเป็นเวทีให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อคิดเห็นเชิงวิชาการ เพื่อพัฒนางานวิจัยให้มีคุณภาพมากขึ้น

**หมายเหตุ**

วว.จัดรถรับ-ส่งผู้สื่อข่าว จาก วว.บางเขน อาคาร 1 เวลา 08.00 น.

กรุณาสำรองที่นั่งที่ กองประชาสัมพันธ์ (ภายในวันที่ 5 กันยายน 2556 เวลา 16.00 น.)

โทร. 02 577 9359-60 โทรสาร 02 577 9362 E-mail : [email protected]

กำหนดการสัมมนาวิชาการ

08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน

09.00 – 09.10 น. กล่าวรายงานความเป็นมาของโครงการ โดย ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น ผู้อำนวยการโครงการสร้างภาคีในการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาโท-เอก

09.10 – 09.20 น. พิธีเปิดการสัมมนา โดย นายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

09.20 – 10.50 น. เสวนา เรื่อง แนวโน้มของโครงการภาคีบัณฑิตในอนาคต โดย 1. ศาสตราจารย์ ดร.ประมวญ เทพชัยศรี รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2. ดร.วิสิทธิ์ ลือธรรมจักร ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 3. ดร.สุภาพ อัจฉริยศรีพงศ์ รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนา ด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย 4. ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น ผู้อำนวยการโครงการสร้างภาคีในการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาโท-เอก ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย 5. ดร.โศรดา วัลภา (ผู้ดำเนินรายการ) เลขานุการโครงการสร้างภาคีในการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาโท-เอก นักวิจัยอาวุโส สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

10.50 – 11.00 น. รับประทานอาหารว่าง

11.00 – 16.00 น. การนำเสนอผลงานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาภายใต้โครงการสร้างภาคีในการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาโท-เอก โดยแบ่งเป็น 2 ห้อง ดังนี้ ห้องประชุมชั้น 5 คนละ 25 นาที ห้องสัมมนา 1 คนละ 25 นาที

ห้องประชุมชั้น 5

11.00 – 11.25 น. 1. การเตรียมนาโนคอมพอสิทของยางธรรมชาติกับอนุภาคนาโนอินทรีย์และอนินทรีย์ นางสาวสุภาพร พรหมศร อาจารย์ที่ปรึกษา : ดร.ปรียาภรณ์ ไชยสัตย์ ดร.อมร ไชยสัตย์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ดร.สมพร มูลมั่งมี ฝ่ายวิทยาศาสตร์ชีวภาพ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

11.25 – 11.45 น. 2. การเตรียมพอลิแอลแลคติกแอซิดแคปซูลหุ้มปุ๋ยยูเรีย นางสาววราภรณ์ บุญตั้ง อาจารย์ที่ปรึกษา : ดร.ปรียาภรณ์ ไชยสัตย์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ดร.สมพร มูลมั่งมี ฝ่ายวิทยาศาสตร์ชีวภาพ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

11.45 – 12.05 น. 3. การคัดเลือกเชื้อราสาเหตุโรคแมลงเพื่อควบคุมเพลี้ยไฟฝ้าย (Thrips palmi) นางสาวจิตรา เกาะแก้ว อาจารย์ที่ปรึกษา : ดร.ดวงพร สุวรรณกุล คณะเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยรังสิต ดร.อนวัช สุวรรณกุล ฝ่ายเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

12.05 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00 -13.25 น. 4. ผลของเอทิลีนที่มีต่อกระบวนการย่อยสลายคลอโรฟิลล์ในมะนาวหลังการเก็บเกี่ยว โดยเทคนิควิธีโครมาโตกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง นางสาวโสภิดา ศรีวิลัยวรรณ อาจารย์ที่ปรึกษา : ดร.อัณณ์ชญาน์ มงคลชัยพฤกษ์ ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดร.อนวัช สุวรรณกุล ฝ่ายเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

13.25 -13.45 น. 5. การสร้างลายพิมพ์ดีเอ็นเอและการยับยั้งการแสดงออกของยีน Polyphenol oxidase ในสับปะรดด้วยเทคนิค RNA interference นางกัลยา รัตนถาวรกิติ อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ.ดร.วิภา หงษ์ตระกูล ภาควิชาพันธุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดร.อนวัช สุวรรณกุล ฝ่ายเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

13.45 – 14.05 น. 6. การคัดเลือกข้าวเหนียว (Oryza sativa L.) ทนเค็มในสภาพหลอดทดลอง นางสาววริศา พิลาโฮม อาจารย์ที่ปรึกษา : รศ.ดร.สุมนทิพย์ บุนนาค ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ดร.อนวัช สุวรรณกุล ฝ่ายเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

14.05 -14.25 น. 7. การสกัด 2-acetyl-1-pyrrolidine และ สารประกอบให้กลิ่นจากใบเตยด้วยวิธีการเพอร์แวบพอเรชั่น นางสาวนริศา เหละดุหวิ อาจารย์ที่ปรึกษา : รศ.ดร.ณัฎฐา เลาหกุลจิตต์ รศ.ดร.อรพิน เกิดชูชื่น ภาควิชาเทคโนโลยีชีวเคมี คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ดร.โศรดา วัลภา ฝ่ายเทคโนโลยีอาหาร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

14.25 – 14.45 น. 8. การกำจัดขยะอินทรีย์โดยใช้หนอนแมลงวันลาย (Hermetia illucens L.) นางสาวชวลี ณรงค์ อาจารย์ที่ปรึกษา : รศ.ดร.นิภาพรรณ กังสกุลนิติ รศ.ดร.เนาวรัตน์ เจริญค้า ภาควิชาวิศวกรรมสุขาภิบาล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ดร.สุริยา สาสนรักกิจ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

14.45 – 15.05 น. 9. การศึกษาประสิทธิภาพของการกำจัดโพแทสเซียมไอออนจากไบโอดีเซลดิบด้วยเรซินและซิลิกาจากเถ้าแกลบ นายธีระวัฒน์ อัจฉฤกษ์ อาจารย์ที่ปรึกษา : รศ.คณิตา ตังคณานุรักษ์ รศ.ดร.นิพนธ์ ตังคณานุรักษ์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดร.ศิริพร ลาภเกียรติถาวร ฝ่ายนวัตกรรมวัสดุ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

15.05 – 15.25 น. รับประทานอาหารว่าง

15.25 – 16.00 น. สรุปการสัมมนาและประกาศรางวัลสำหรับการเสนอผลงานดีเด่น

ห้อง สัมมนา 1

11.00 – 11.25 น. 1. การสังเคราะห์เมทานอลจากแก๊สเชื้อเพลิงในรูปของเสลอร์รีบนตัวเร่งปฎิกิริยา คอปเปอร์/ซิงค์ออกไซด์/อะลูมินา นางสาวกันทิมา เกริกเกียรติสกุล อาจารย์ที่ปรึกษา : ดร.อุณาโลม เวทย์วัฒนะ ฮาร์ทลี่ ภาควิชาวิศวกรรมเคมีและกระบวนการ คณะบัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติสิรินธรไทย-เยอรมัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ดร.ธเนศ อุทิศธรรม ฝ่ายเทคโนโลยีพลังงาน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

11.25 – 11.45 น. 2. การหาปริมาณโครเมตในตัวอย่างน้ำโดยเทคนิคการสกัดแบบคู่ไอออนและตรวจวัดด้วยเทคนิคยูวี-วิสิเบิลสเปกโตรโฟโตเมทรี นางสาววรินดา แก้วมณีวงษ์ อาจารย์ที่ปรึกษา : ดร.อภิญญา นวคุณ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา คุณพัทธนันท์ นาถพินิจ ฝ่ายเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

11.45 – 12.05 น. 3. การผลิตกรดแลคติกจากน้ำเสียโรงงานแป้งมันสำปะหลังโดยการหมักแบบขั้นตอนเดียวด้วยเชื้อแลคติกแอสิดแบคทีเรียที่สามารถย่อยแป้ง นางสาวสิริรัตน์ ตอสูงเนิน อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ.ดร.กรรณิการ์ ชูเกียรติวัฒนา ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ดร.สมชาย ดารารัตน์ ฝ่ายเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

12.05 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.05 – 13.25 น. 4. การผลิตพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอตจากน้ำเสียอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังในระบบ ซีเควนซิ่งแบชรีแอคเตอร์ นางสาวนิธินาถ เฉลิมรัมย์ อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ.ดร.กรรณิการ์ ชูเกียรติวัฒนา ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ดร.สมชาย ดารารัตน์ ฝ่ายเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

13.25 – 13.45 น. 5. การวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการไพโรไลซิสของกากสบู่ดำ นางสาวศนิพร จั่นจตุรพันธ์ อาจารย์ที่ปรึกษา : รศ.ดร.อรพินท์ เจียรถาวร ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดร.วาสนา ฆ้องวงศ์ ฝ่ายนวัตกรรมวัสดุ ดร.ศิริพร ลาภเกียรติถาวร ฝ่ายนวัตกรรมวัสดุ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

13.45 – 14.05 น. 6. การเตรียมและใช้ตัวกลางจากวัสดุเหลือใช้เพื่อการกำจัดฟอสฟอรัส นางสาวมธุรส วังชนะชัย อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ.ดร.พงศ์ศักดิ์ หนูพันธ์ ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดร.ศิริพร ลาภเกียรติถาวร ฝ่ายนวัตกรรมวัสดุ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

14.05 – 14.25 น. 7. การหาสภาวะที่เหมาะสมของการแซคคาริฟิเคชันด้วยเอนไซม์ของฟางข้าวหลังจากการปรับสภาพ ด้วยเบสที่อุณหภูมิห้องโดยใช้วิธีการพื้นที่ผิวสะท้อน นายกิตติ อรสูญ อาจารย์ที่ปรึกษา : รศ.ดร.มานะ อมรกิจบำรุง ภาควิชาเทคโนโลยีพลังงาน คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ดร.ธีรภัทร ศรีนรคุตร ฝ่ายเทคโนโลยีพลังงาน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

14.25 – 14.45 น. 8. การผลิตไบโอดีเซลจากหยีน้ำโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาของแข็งเพื่อให้เกิดกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นางสาวศศิกานต์ ปานปราณีเจริญ อาจารย์ที่ปรึกษา : รศ.ดร.วิทยา ปั้นสุวรรณ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดร.ชนากานต์ เพิ่มฉลาด ฝ่ายเทคโนโลยีพลังงาน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

14.45 – 15.05 น. 9. การผลิตพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอตจากระบบซีเควนซิ่งแบชรีแอคเตอร์ที่บำบัดน้ำเสียชุมชนสังเคราะห์ผสมกับของเสียกลีเซอรอล นางสาวจงรักษ์ ภาสกานนท์ อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ.ดร.กรรณิการ์ ชูเกียรติวัฒนา ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ดร.สมชาย ดารารัตน์ ฝ่ายเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

15.05 – 15.25 น. รับประทานอาหารว่าง

15.25 – 16.00 น. สรุปการสัมมนาและประกาศรางวัลสำหรับการเสนอผลงานดีเด่น -นท-