อีเอบีซี เปิดตัวเอกสารท่าทีและจุดยืนประจำปี 2556

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--18 ก.ย.--อาซิแอม เบอร์สัน-มาร์สเตลเลอร์

อีเอบีซี เปิดตัวเอกสารท่าทีและจุดยืนประจำปี 2556 เสนอให้มีการพัฒนาด้านการกำกับดูแลและการบังคับใช้กฎระเบียบที่โปร่งใส รวมทั้งให้การเจรจาเอฟทีเอ ไทย-สหภาพยุโรปมีความคืบหน้า สมาคมศูนย์ส่งเสริมธุรกิจยูโรเปียน–อาเซียน (อีเอบีซี) นำเสนอเอกสารท่าทีและจุดยืนของภาคธุรกิจยุโรปในประเทศไทยประจำปี 2556 เมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 นับแต่การก่อตั้งอีเอบีซีช่วงปลายปี 2554 โดยนำเสนอมุมมองของภาคธุรกิจยุโรปในด้านการค้า การลงทุนระหว่างไทย–สหภาพยุโรป (อียู) พร้อมด้วยข้อเสนอแนะเพื่อขยายโอกาสทางการค้าการลงทุน รวมถึงสนับสนุนและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของไทย ทั้งนี้ ฯพณฯ นายเดวิด ลิปแมน เอกอัครราชทูต –หัวหน้าสำนักงานคณะผู้แทนคณะกรรมาธิการยุโรปประจำประเทศไทยได้ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน และนายร๊อลฟ-ดีเตอร์ ดาเนียล นายกอีเอบีซีได้นำเสนอวิสัยทัศน์และวัตถุประสงค์หลักในการจัดทำเอกสารท่าทีและจุดยืนเพื่อนำไปสู่การหารือสร้างความร่วมมือในการดำเนินการกับภาครัฐให้มีผลเป็นรูปธรรมอย่างเป็นทางการในโอกาสต่อไป ภายในงานมีผู้แทนจากภาครัฐบาลไทย เอกอัครราชทูตจากประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป คณะทูตานุทูต ผู้บริหารจากภาคธุรกิจของยุโรปและไทย และสื่อมวลชนไทยและต่างประเทศรวมประมาณ 200 คนเข้าร่วมงานกันอย่างคับคั่ง สำหรับเอกสารท่าทีและจุดยืนของภาคธุรกิจยุโรปในประเทศไทยประจำปี 2556 ฉบับนี้ มุ่งนำเสนอกรอบนโยบายการพัฒนาประเทศไทยให้มีศักยภาพในการแข่งขันกับนานาประเทศในระดับภูมิภาคได้มากขึ้น เพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ที่จะมีขึ้นในปี 2558 โดยได้สำรวจความคิดเห็นของภาคธุรกิจยุโรปในประเทศไทยเกี่ยวกับประเด็นปัญหาที่พบในการทำธุรกิจในประเทศไทยพร้อมด้วยข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว นายร๊อลฟ-ดีเตอร์ ดาเนียล นายกอีเอบีซี กล่าวว่า “ผมมีความภาคภูมิใจที่ได้จัดทำและเผยแพร่เอกสารท่าทีและจุดยืนของภาคธุรกิจยุโรปประจำปี 2556 ฉบับนี้ และเตรียมนำเสนอให้รัฐบาลไทยนำไปพิจารณาและปรับใช้เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศให้มีศักยภาพในการแข่งขันเพิ่มขึ้น และเสริมสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการค้าการลงทุนมากขึ้น” นายร๊อลฟ-ดีเตอร์ กล่าวบนเวทีในฐานะผู้แทนของกลุ่มสนับสนุนธุรกิจด้านประเด็นภาพรวม (cross-sectoral issues working group) ว่า ปัญหาที่จำเป็นต้องรีบเร่งแก้ไขตามที่ระบุไว้ในเอกสารท่าทีฉบับนี้ เพื่อให้ประเทศไทยมีศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น และดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศได้มากขึ้น ได้แก่ การยกระดับความโปร่งใสในการจัดทำนโยบายและการใช้กฎหมายและระเบียบข้อบังคับต่างๆ การพัฒนากระบวนการและขั้นตอนทางกฎหมายให้มีความคล่องตัวมากขึ้น และการเปิดเสรีของระบบเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจภาคบริการที่ปัจจุบันยังอยู่ล้าหลังประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน และการการสนับสนุนและเร่งผลักดันให้การเจรจาจัดทำข้อตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ระหว่างไทย-อียู ประสบความสำเร็จเพื่อขยายโอกาสทางการค้าการลงทุน นอกจากสามประเด็นสำคัญดังกล่าวข้างต้น ผู้แทนกลุ่มธุรกิจต่างๆ ของอีเอบีซี ได้แก่ ยานยนต์ อาหารและเครื่องดื่ม สุขภาพและเภสัชกรรม เทคโนโลยีการสื่อสารและสารนิเทศ ประกันภัย ทรัพย์สินทางปัญญา การคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ และพลังงานกับการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ได้กล่าวถึงประเด็นปัญหาต่างๆ พร้อมด้วยข้อเสนอแนะของแต่ละกลุ่มสนับสนุนธุรกิจตามที่เสนอไว้ในเอกสารท่าที หลังจากช่วงการนำเสนอประเด็นปัญหาของแต่ละกลุ่มธุรกิจ ได้เปิดให้มีการซักถามจากผู้เข้าร่วมงานซึ่งคำถามส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับผลการศึกษาเบื้องต้น และได้เสนอแนะในการขยายขอบเขตการจัดทำเอกสารท่าทีให้มีเนื้อหาครอบคลุมถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้เชิงอุตสาหกรรม ในตอนท้ายของงาน นายร๊อลฟ-ดีเตอร์ ได้กล่าวสรุปว่า “ปัจจุบัน ภูมิภาคอาเซียนมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเพื่อก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 โดยแต่ละประเทศต่างเตรียมตัวและทำงานอย่างหนักเพื่อพัฒนาตนเองให้พร้อมแข่งขัน ประเทศไทยจึงอาจตกอยู่ในสถานะที่เสียเปรียบกับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค หากไม่ใช้โอกาสนี้ในการเปิดเวทีการค้าและการลงทุนที่โปร่งใสเพื่อดึงดูดแรงงานที่มีคุณภาพ เทคโนโลยีที่ทันสมัย และเงินทุนเข้าประเทศเพื่อเสริมสร้างการเติบโตให้แก่ประเทศในระยะยาว อีเอบีซีหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เอกสารท่าทีและจุดยืนฉบับนี้จะเป็นแนวทางสำหรับผู้กำหนดนโยบายเพื่อนำไปใช้ในการวางแนวทางการพัฒนาประเทศไทยในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงในขณะนี้” สื่อมวลชนสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อ อีเอบีซี วิวัฒน์ จ่างตระกูล โทร: 02 670 0624 อีเมล [email protected] หรือ เยี่ยมชม www.eabc-thailand.eu อาซิแอม เบอร์สัน-มาร์สเตลเลอร์ (เอบีเอ็ม) โทร: 02 252 9871 อีเมล [email protected] -นท- สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวสหภาพยุโรป+ประเทศไทยวันนี้

'เวฟ บีซีจี' บุกบริการให้คำปรึกษาด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจกแบบครบวงจร มุ่งขยายลูกค้าอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ธุรกิจโรงแรม ขานรับดีมานด์เร่งเปลี่ยนผ่านสู่มาตรฐานตามข้อกำหนด "Green Hotel Plus และ EU"

บริษัท เวฟ บีซีจี จำกัด (WAVE BCG) ผู้ให้บริการ Climate Solution ครบวงจร วางแผนเชิงรุกเจาะกลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ขานรับธุรกิจโรงแรม แพลตฟอร์มออนไลน์ เปลี่ยนผ่านสู่มาตรฐานการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนระดับสากล (Sustainable Tourism) ตามข้อกำหนดสหภาพยุโรป (EU) เปิดบริการให้คำปรึกษาด้านการจัดการโรงแรมอย่างยั่งยืน ชูเกณฑ์มาตรฐาน Green Hotel Plus เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับชุมชน สอดรับกับนโยบาย Green Tourism และความยั่งยืนระดับโลก นายกรกช สงวนปิยะพันธ์ ประธาน

องค์กรพิทักษ์สัตว์สากล ซิเนอร์เจีย แอนนิม... ไข้หวัดนกระบาดในบราซิล สัญญาณเตือนถึงเวลาเปลี่ยนระบบอาหารโลก — องค์กรพิทักษ์สัตว์สากล ซิเนอร์เจีย แอนนิมอล (Sinergia Animal) ออกโรงเรียกร้องทั่วโลกเร่งปฏิ...

"รมว.นฤมล" เร่งผลักดันจัดทำข้อเสนอกรอบนโย... รมว.นฤมล ผลักดันกฎระเบียบว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่าของสหภาพยุโรป (EUDR) — "รมว.นฤมล" เร่งผลักดันจัดทำข้อเสนอกรอบนโยบายระดับชาติในการปฏิบัติต...