ฟิทช์ประกาศคงอันดับเครดิตของธนาคารและสถาบันการเงินไทยที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารต่างประเทศ 5 แห่ง

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

           ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของธนาคารและสถาบันการเงินในประเทศไทยที่เป็นบริษัทลูก (subsidiary) ของธนาคารต่างประเทศ 5 แห่ง โดยธนาคารยูโอบี (ไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ UOBT ธนาคาร ไอซีบีซี (ไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ ICBCT และ บริษัท ลีสซิ่งไอซีบีซี (ไทย) จำกัด หรือ ICBCTL ได้รับการคงอันดับเครดิตที่ ‘AAA(tha)’ ในขณะที่บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ MBKET ได้รับการคงอันดับเครดิตที่ ‘AA(tha)’ และธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) หรือ CIMBT ได้รับการคงอันดับเครดิตที่ ‘AA-(tha)’ แนวโน้มอันดับเครดิตของธนาคารและสถาบันการเงินทั้ง 4 แห่ง มีเสถียรภาพ ยกเว้น MBKET ที่มีแนวโน้มอันดับเครดิตเป็นลบ 
          พร้อมกันนี้ ฟิทช์ ยังประกาศคงอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว (Long-Term Foreign Currency Issuer Default Rating (IDR)) ของ UOBT และ CIMBT ที่ ‘A-’ และ ‘BBB’ ตามลำดับ รายละเอียดอันดับเครดิตทั้งหมดได้แสดงไว้ในส่วนท้าย 

          ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต
          อันดับเครดิตภายในประเทศของ UOBT, ICBCT, MBKET, และ CIMBT รวมทั้งอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศและอันดับเครดิตสนับสนุนของ UOBT และ CIMBT สะท้อนถึงมุมมองของฟิทช์ว่ามีความเป็นไปได้สูงที่ธนาคารและสถาบันการเงินทั้ง 4 แห่งจะได้รับการสนับสนุนเป็นพิเศษที่นอกเหนือจากในการดำเนินงานปรกติ (extraordinary support) จากธนาคารแม่ของธนาคารและสถาบันการเงินแต่ละแห่ง คือ United Overseas Bank Limited หรือ UOB (‘AA-’/แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ) Industrial and Commercial Bank of China หรือ ICBC (‘A’/แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ) Malayan Banking Berhad หรือ Maybank (‘A-’/แนวโน้มอันดับเครดิตเป็นลบและ CIMB Bank Berhad หรือ CIMB ฟิทช์มองว่าธนาคารและสถาบันการเงินในประเทศไทยทั้ง 4 แห่ง เป็นบริษัทลูกที่มีความสำคัญในเชิงกลยุทธ์ต่อธนาคารแม่ เนื่องจากมีการเชื่อมโยงการดำเนินงานอย่างสอดคล้องกันกับกลุ่ม (integration) ในระดับสูง การสนับสนุนทางการเงินที่ผ่านมาในอดีต และการถือหุ้นเกือบทั้งหมดจากธนาคารแม่

          อันดับเครดิตภายในประเทศของ ICBCTL สะท้อนถึงบทบาทของ ICBCTL ในการเป็นบริษัทลูกหลัก (core subsidiary) ของ ICBCT โดย ICBCTL มีบทบาทสำคัญต่อกลยุทธ์ของธนาคารในด้านธุรกิจสินเชื่อรายย่อย อีกทั้ง ICBCTL ยังมีสัดส่วนรายได้และขนาดสินทรัพย์ที่ใหญ่เมื่อเทียบกับธนาคารแม่ โดยสินเชื่อของ ICBCTL มีสัดส่วนเป็น 38% ของสินเชื่อรวมของ ICBCT ณ สิ้นปี 2556           
          
แนวโน้มอันดับเครดิตของ UOBT, ICBCT, ICBCTL, และ MBKET สอดคล้องกับแนวโน้มอันดับเครดิตของธนาคารแม่แต่ละแห่ง ในขณะที่แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพของ CIMBT สะท้อนถึงความคาดหมายของฟิทช์ที่เชื่อว่าความสามารถและโอกาสที่ธนาคารแม่จะให้การสนับสนุนพิเศษที่นอกเหนือจากในการดำเนินงานปรกติแก่ CIMBT ไม่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในอีก 1-2 ปีข้างหน้า
          อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน (Viability Rating) ของ UOBT ที่ระดับ ‘bb+’ สะท้อนถึงเครือข่ายธุรกิจในประเทศที่จำกัด แม้จะมีการปรับตัวดีขึ้นบ้างแล้ว รวมทั้งโครงสร้างเงินกู้ยืม (funding) และความสามารถในการทำกำไรที่ยังไม่แข็งแกร่งนักเมื่อเทียบกับธนาคารพาณิชย์ไทยรายอื่นที่มีอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินที่สูงกว่า อันดับเครดิตยังได้พิจารณาถึงการที่ UOBT มีรากฐานการบริหารความเสี่ยงที่ดี ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก UOB และการมีฐานะเงินกองทุนที่แข็งแกร่ง
          อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ CIMBT ที่ ‘bb-’ สะท้อนถึงเครือข่ายธุรกิจที่จำกัด รวมทั้งคุณภาพสินทรัพย์และฐานะเงินกองทุนที่อ่อนแอกว่าเมื่อเทียบกับธนาคารพาณิชย์ในประเทศและต่างประเทศ ในขณะที่อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญได้มีการปรับตัวดีขี้นบ้าง ฟิทช์คาดว่าความแข็งแกร่งทางการเงินโดยรวมของ CIMBT น่าจะยังคงอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับธนาคารพาณิชย์อื่นที่มีอันดับเครดิตใกล้เคียงกัน
          อันดับเครดิตตราสารหนี้ด้อยสิทธิสกุลเงินบาทที่มีลักษณะคล้ายทุนที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 (Upper Tier 2) ของ CIMBT ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ต่ำกว่าอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของ CIMBT อยู่ 2 อันดับ เนื่องจากตราสารดังกล่าวเป็นตราสารด้อยสิทธิและมีคุณสมบัติให้ธนาคารสามารถเลื่อนการชำระดอกเบี้ยได้ อันดับเครดิตของหุ้นกู้ด้อยสิทธิไม่มีหลักประกัน (lower Tier 2) อยู่ต่ำกว่าอันดับเครดิตของธนาคาร 1 อันดับ ซึ่งสะท้อนการที่หุ้นกู้ดังกล่าวมีลักษณะด้อยสิทธิในโครงสร้างเงินทุน (capital structure) และสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของฟิทช์ในการจัดอันดับเครดิตตราสารประเภทดังกล่าว
          ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต – อันดับเครดิตภายในประเทศ อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ และอันดับเครดิตสนับสนุน
          การเปลี่ยนแปลงในทางลบของอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศของ UOB, ICBC, และ Maybank อาจส่งผลกระทบในทิศทางเดียวกันต่ออันดับเครดิตของบริษัทลูก การเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญในความสามารถ และ/หรือ ระดับการสนับสนุนของธนาคารแม่ที่มีต่อบริษัทลูก อาจส่งผลกระทบต่ออันดับเครดิตของบริษัทลูก ตัวอย่างเช่น การลดลงอย่างมีนัยสำคัญของสัดส่วนการถือหุ้นของธนาคารแม่ในบริษัทลูก อาจส่งผลลบต่ออันดับเครดิตของบริษัทลูก
          การปรับตัวดีขี้นอย่างมีนัยสำคัญของความแข็งแกร่งทางการเงินโดยรวมของ CIMB อาจส่งผลให้อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศและอันดับเครดิตภายในประเทศของ CIMBT ได้รับการปรับเพิ่ม ในทางกลับกันการปรับตัวลดลงอย่างมีนัยสำคัญอาจส่งผลให้อันดับเครดิตดังกล่าวได้รับการปรับลดอันดับ
          เนื่องจากอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของ UOBT ถูกจำกัดโดยเพดานอันดับเครดิต (Country Ceiling) ของประเทศไทยที่ ‘A-’ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงของเพดานอันดับเครดิตของประเทศไทย จะส่งผลกระทบในทิศทางเดียวกันต่ออันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของ UOBT 
          อันดับเครดิตภายในประเทศของ UOBT, ICBCT, และ ICBCTL เป็นอันดับเครดิตที่อยู่ในระดับสูงสุด จึงไม่มีปัจจัยใดที่อาจทำให้อันดับเครดิตได้รับการปรับเพิ่ม การปรับเพิ่มอันดับเครดิตสากลสกุลเงินในประเทศระยะยาว (Long-Term Local Currency IDR) ของประเทศไทย โดยที่อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศของ ICBC ยังคงอยู่ในระดับเดิม อาจทำให้อันดับเครดิตในประเทศของ ICBCT และ ICBCTL ถูกปรับลดอันดับ

          ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต – อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน
          อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ UOBT อาจได้รับการปรับเพิ่มอันดับ หากธนาคารสามารถรักษาความสามารถในการทำกำไรที่ปรับตัวดีขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง โดยเป็นการเติบโตอย่างระมัดระวังโดยไม่ทำให้ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (risk appetite) เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามโอกาสในการปรับเพิ่มอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินยังมีจำกัดหากธนาคารยังคงมีอัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญต่ำกว่าธนาคารพาณิชย์อื่นในต่างประเทศที่มีอันดับเครดิตคล้ายกัน ในขณะเดียวกัน ผลการดำเนินการที่ปรับตัวแย่ลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งอาจส่งผลให้คุณภาพสินทรัพย์และฐานะเงินกองทุนของธนาคารปรับตัวอ่อนแอลง อาจส่งผลกระทบในเชิงลบต่ออันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ UOBT
          การปรับตัวดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญและต่อเนื่องของฐานะการเงินโดยรวมของ CIMBT เทียบกับธนาคารพาณิชย์อื่นในกลุ่มเดียวกัน น่าจะส่งผลกระทบในเชิงบวกต่ออันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคาร ทั้งนี้การปรับตัวดีขึ้นดังกล่าวอาจสะท้อนได้จากการปรับตัวดีขึ้นของอัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญในด้านต่างๆ เช่น คุณภาพสินทรัพย์ สภาพคล่อง และเงินกองทุน อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ CIMBT อาจถูกปรับลดลง หากธนาคารมีผลการดำเนินงานที่ปรับตัวแย่ลงอย่างมาก และมีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงที่อ่อนแอลงต่ำกว่าอัตราเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์อื่น แต่อย่างไรก็ตามฟิทช์เชื่อว่าเหตุการณ์ดังกล่าวไม่น่าจะเกิดขึ้นในระยะสั้น 
          UOB มีสัดส่วนการถือหุ้นใน UOBT ที่ 99.7% และ CIMB มีสัดส่วนการถือหุ้นใน CIMBT ที่ 93.7% ในขณะที่ ICBC มีสัดส่วนการถือหุ้นใน ICBCT ที่ 97.7% โดย ICBCT ถือหุ้นใน ICBCTL ที่ 99.99% และ กลุ่ม Maybank ถือหุ้น 83.5% ใน MBKET 
          UOBT เป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีขนาดสินทรัพย์รวมใหญ่เป็นอันดับ 8 ของประเทศไทย ณ สิ้นปี 2556 ในขณะที่ CIMBT อยู่ในอันดับที่ 10 และ ICBCT เป็นอันดับที่ 13 

          รายละเอียดของอันดับเครดิตมีดังต่อไปนี้:
          UOBT:
          - อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวคงอันดับที่ ‘A-’; แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
          - อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้นคงอันดับที่ ‘F2’
          - อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินคงอันดับที่ ‘bb+’
          - อันดับเครดิตสนับสนุนคงอันดับที่ ‘1’
          - อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวคงอันดับที่ ‘AAA(tha)’; แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
          - อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นคงอันดับที่ ‘F1+(tha)’

          CIMBT:
          - อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวคงอันดับที่ ‘BBB’; แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
          - อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้นคงอันดับที่ ‘F3’
          - อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินคงอันดับที่ ‘bb-’
          - อันดับเครดิตสนับสนุนคงอันดับที่ ‘2’
          - อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวคงอันดับที่ ‘AA-(tha)’; แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
          - อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นคงอันดับที่ ‘F1+(tha)’
          - อันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ระยะสั้น ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน คงอันดับที่ ‘F1+(tha)’
          - อันดับเครดิตตราสารหนี้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 (upper Tier 2) คงอันดับที่ ‘A(tha)’
          - อันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ด้อยสิทธิไม่มีหลักประกัน (lower Tier 2) คงอันดับที่ ‘A+(tha)’

          ICBCT:
          - อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวคงอันดับที่ ‘AAA(tha)’; แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
          - อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นคงอันดับที่ ‘F1+(tha)’

          ICBCTL:
          - อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวคงอันดับที่ ‘AAA(tha)’; แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
          - อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นคงอันดับที่ ‘F1+(tha)’
          - อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของหุ้นกู้ค้ำประกันโดย ICBCT คงอันดับที่ ‘AAA(tha)’ แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
          - อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของหุ้นกู้ ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน คงอันดับที่ ‘AAA(tha)’
          -อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นของโครงการหุ้นกู้ระยะสั้น ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกันคงอันดับที่ ‘F1+(tha)’

          MBKET:
          - อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวคงอันดับที่ ‘AA(tha)’; แนวโน้มอันดับเครดิตเป็นลบ
          - อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นคงอันดับที่ ‘F1+(tha)’
 
 
 
 

ข่าวo:eco+o:finวันนี้

IROYAL ตั้งเป้าหมายเป็น Growth Stock มั่นใจปีนี้เติบโตสูง 50-60 %

บริษัท อินเตอร์รอแยล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ IROYAL เปิดกลยุทธ์แผนธุรกิจประจำปี 2568 เดินหน้าขยายฐานกลุ่มลูกค้าไปยังกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ ต่อยอดจากจุดแข็งที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านให้บริการด้านวิศวกรรม และผลิตภัณฑ์สำหรับโรงไฟฟ้าและโรงงานอุตสาหกรรมมากว่า 45 ปี สู่การเป็น One-stop service ที่ใส่ใจลูกค้าเป็นศูนย์กลาง พร้อมเสนอโซลูชั่นเฉพาะทางตามความต้องการของลูกค้า (Customization) ในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีอัตราการเติบโตสูง โดยเป้าหมายปี 2568 นี้ IROYAL จะสร้างการเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง มั่น

Mr. Bundit Sapianchai, Director and Actin... EXIM Thailand Joins Hands with RSPO to Uplift Thailand's Palm Oil Industry toward Sustainability with Competitiveness on Global Trade Front amid Increasingly Strict Environmental and Human Rights Rules — Mr. Bundit ...

นายบัณฑิต สะเพียรชัย กรรมการ และรักษาการก... EXIM BANK จับมือ RSPO ยกระดับอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันไทยสู่ความยั่งยืนและแข่งขันได้ในตลาดการค้าโลกที่เข้มงวดด้านสิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชนมากยิ่งขึ้น — นายบัณฑิต ส...

ทีมวิจัย มจธ. พัฒนาอะลูมิเนียมผสมชนิดใหม่... มจธ. พัฒนา"อะลูมิเนียมทนร้อน"ชนิดใหม่ เสริมแกร่งด้วยนิกเกิลและธาตุหายาก ตอบโจทย์อุตสาหกรรม EV — ทีมวิจัย มจธ. พัฒนาอะลูมิเนียมผสมชนิดใหม่ที่มีคุณสมบัติทนค...

Intel Foundry เตรียมเผยโรดแมปเทคโนโลยีกระ... Intel Foundry จับมือพันธมิตรและลูกค้า เผยวิสัยทัศน์เทคโนโลยีการผลิตและกลยุทธ์ขับเคลื่อนอุตสาหกรรม — Intel Foundry เตรียมเผยโรดแมปเทคโนโลยีกระบวนการผลิต แร...

แผ่นระบายความร้อนแบตเตอรี่แบบไบโอนิกช่วยเ... มาห์เล เตรียมจัดแสดงโซลูชันอี-โมบิลิตี้พร้อมรับอนาคต ที่งานซับคอน ไทยแลนด์ 2025 — แผ่นระบายความร้อนแบตเตอรี่แบบไบโอนิกช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความยั่งยืนขอ...

Bionic battery cooling plate enhances bat... MAHLE to showcase future-ready e-mobility solutions at SUBCON Thailand 2025 — Bionic battery cooling plate enhances battery performance and sustainability...

เอสซีจี ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดงาน INTERCEM As... เอสซีจี โชว์ศักยภาพผู้นำอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ระดับภูมิภาค ในงาน INTERCEM Asia 2025 พร้อมต่อยอดโอกาสทางธุรกิจสู่อนาคตที่ยั่งยืน — เอสซีจี ร่วมเป็นเจ้าภาพจัด...

บีโอไอ ผนึกกำลังสมาคมส่งเสริมการรับช่วงกา... บีโอไอผนึกพันธมิตร จัดงาน SUBCON Thailand 2025 เชื่อมโยงผู้ซื้อทั่วโลกจับคู่ธุรกิจไทย คาดสะพัดกว่า 2 หมื่นล้านบาท — บีโอไอ ผนึกกำลังสมาคมส่งเสริมการรับช่ว...

นายเหวียน วัง เยิน ผู้จัดการทั่วไป พร้อมด... อมตะ แสดงความยินดีในโอกาสเปิดโรงงานทามากาวา เวียดนาม — นายเหวียน วัง เยิน ผู้จัดการทั่วไป พร้อมด้วยผู้บริหารจากบริษัท อมตะซิตี้ ฮาลอง จ๊อยท์ สต็อค คอมพานี...