แผงเซลล์แสงอาทิตย์ ปตท.ได้รางวัลสุดยอดเทคโนโลยีเครื่องจักรกลยอดเยี่ยมจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

           สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติมอบรางวัลสุดยอดเทคโนโลยีเครื่องจักรกลยอดเยี่ยม และ รางวัลที่ 1 สาขาเครื่องจักรกลเพื่อพลังงานและสิ่งแวดล้อม ให้แก่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จากผลงานวิจัยและพัฒนาแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบโปร่งแสง เสนอโดย ดร.ณัฐพงษ์ บริรักษ์สันติกุล นักวิจัยสถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท. ณ ศูนย์การประชุมไบเทค บางนา
          นายวิจิตร แตงน้อย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท. เปิดเผยว่า ตามที่สถาบันวิจัย ปตท.ได้ส่งผลงานแผงเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดคัลเลอร์ฟูล พีวี (Colorful PV) เข้าร่วมประกวดรางวัลเทคโนโลยีเครื่องจักรกลยอดเยี่ยม 2557 จัดโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติปรากฏว่า ผลงานได้รับรางวัลที่ 1 สาขาเครื่องจักรกลเพื่อพลังงานและสิ่งแวดล้อม และ รางวัลสุดยอดเทคโนโลยีเครื่องจักรกลยอดเยี่ยม ทั้งนี้ จะมีการจัดแสดงนิทรรศการผลงานระหว่างวันที่ 18-20 กรกฎาคม 2557 เวลา 10.00-18.00 น. ที่ไบเทคบางนาเช่นกัน
          สำหรับพิธีมอบรางวัลเทคโนโลยีเครื่องจักรกลยอดเยี่ยม ประจำปี 2557 นั้น จัดขึ้นเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของคนไทย ซึ่งในปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องจักรกลที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพสูง ทำให้การผลิตในเชิงอุตสาหกรรมสามารถผลิตได้อย่างรวดเร็ว ลดต้นทุนการผลิตและสินค้าที่ผลิตมีคุณภาพสูง จึงเป็นการสร้างความแตกต่างโดยใช้องค์ความรู้ที่พัฒนาขึ้นมาเอง หรือต่อยอดองค์ความรู้ที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลยิ่งขึ้น อาศัยการบริหารจัดการความรู้ทางด้าน “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” มาปรับใช้ให้เกิดความเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้ นวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญาของคนไทยดังกล่าวยังจะช่วยให้ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมมีโอกาสเลือกผลงานของคนไทยไปใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ หรือเพิ่มมูลค่าผลผลิตได้อีกด้วย
          แผงเซลล์แสงอาทิตย์คัลเลอร์ฟูล พีวี ของสถาบันวิจัย ปตท. ซึ่งพัฒนาโดย ดร.ณัฐพงษ์ นั้น เป็นการนำเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดผลึกมาพัฒนา โดยทำให้มีสีสันสวยงามเพื่อเหมาะกับการใช้งานในด้านการตกแต่งอาคารทั้งภายในและภายนอก ในขณะที่ยังคงคุณสมบัติของการผลิตไฟฟ้าตามที่เป็นหน้าที่หลักของเซลล์แสงอาทิตย์
          ดร.ณัฐพงษ์ กล่าวว่า ข้อดีของแผงเซลล์แสงอาทิตย์คัลเลอร์ฟูล พีวี นั้น ประกอบด้วย 1.ความสามารถในการมองทะลุผ่านแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ซึ่งสามารถใช้เป็นวัสดุตกแต่งที่มีสีสันสวยงาม 2.ความสามารถในการลดการส่องผ่านของแสง UV ได้มากกว่า 99% และ ลดการส่องผ่านรังสี IR ได้ มากกว่า 40% ซึ่งรังสีเหล่านี้สามารถทำอันตรายต่อผิวหนังมนุษย์ได้ 3.ลดการสะท้อนของแสงแดดได้ มากกว่า 94% ที่เป็นอันตรายต่อนัยน์ตามนุษย์ หรือรบกวนสายตาผู้ที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียง 4.ป้องกัน และลดอุณหภูมิหรือความร้อนจากภายนอกที่จะเข้าสู่ภายในอาคารได้มากกว่า 9% ทำให้อาคารมีอุณหภูมิ ภายในต่ำและมีอากาศเย็นกว่าภายนอก 5.ประยุกต์ใช้เป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย ซึ่งเพิ่มมูลค่า และ ความสวยงามให้กับอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง และ 6.ส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กรหรืออาคารที่ติดตั้งแผงในด้านการอนุรักษ์พลังงานทดแทนและสิ่งแวดล้อม
          ทั้งนี้ ท่านที่สนใจรับชมตัวอย่างผลิตภัณฑ์แผงเซลล์แสงอาทิตย์คัลเลอร์ฟูล พีวี ได้ ณ บูธนิทรรศการระหว่างวันที่ 18-20 กรกฎาคม 2557 เวลา 10.00-18.00 น. ที่ไบเทคบางนา
 
 

ข่าวสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ+ณัฐพงษ์ บริรักษ์สันติกุลวันนี้

เอ็นไอเอ เร่งขยายสัดส่วนธุรกิจขนาดกลาง พร้อมปิดแก็ปเอสเอ็มอีไทยโตไม่สมดุล

ผ่าน "โครงการ INNOProductivity for SMEs" ดึงโมเดลศักยภาพองค์กรนวัตกรรม ผสานการเพิ่มผลิตภาพช่วยเอสเอ็มอีไทยด้วยผู้เชี่ยวชาญประเมินองค์กรปรับสมรรถนะลึกรายบุคคล กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ร่วมกับสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ (FTPI) และ บริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด (TRIS) เดินหน้าพัฒนาและสนับสนุนผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดย่อม ในการยกระดับศักยภาพด้านนวัตกรรมควบคู่กับการเพิ่มผลิตภาพอย่างเป็นระบบ เพื่อเติบ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ขอแสดงควา... ชีววิทยา ม.พะเยา สุดเจ๋ง! คว้า 1 ใน 5 ทีม นวัตกรรมสร้างสุข ได้รับเงินต่อยอดจาก NIA — คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ขอแสดงความยินดีกับนิสิตสาขาวิชาชีววิท...

ธนาคารไทยพาณิชย์ ร่วมกับ สำนักงานนวัตกรรม... ไทยพาณิชย์-NIA-depa ชูความสำเร็จหลักสูตร IBE 6 นำผู้ประกอบการ 109 บริษัทสู่เส้นทางความยั่งยืน — ธนาคารไทยพาณิชย์ ร่วมกับ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ องค์การม...

เอ็นไอเอครองแชมป์อันดับหนึ่ง "องค์การมหาช... เอ็นไอเอครองแชมป์อันดับหนึ่ง "องค์การมหาชน" ด้านนวัตกรรม-เทคโนโลยี 4 ปีซ้อน — เอ็นไอเอครองแชมป์อันดับหนึ่ง "องค์การมหาชน" ด้านนวัตกรรม-เทคโนโลยี 4 ปีซ้อน ...