กลุ่มมิตรผล แถลงวิสัยทัศน์กลุ่มธุรกิจพลังงานหมุนเวียน โดยมุ่งเป็นผู้นำด้านไฟฟ้าชีวมวลและเอทานอล ด้วยแนวคิดในการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า พร้อมเปิดตัวโครงการโซลาร์รูฟท็อปแห่งแรก ณ โรงไฟฟ้ามิตรผล ภูเขียว เพื่อช่วยเสริมความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศ ด้วยพลังงานทางเลือกที่หลากหลายและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
นายประวิทย์ ประกฤตศรี กรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจพลังงานหมุนเวียน กลุ่มมิตรผล กล่าวว่า "ในสถานการณ์ปัจจุบันที่น้ำมันและก๊าซธรรมชาติมีราคาแพงและค่อนข้างผันผวน ประกอบกับประเทศไทยต้องพึ่งพาแหล่งพลังงานจากต่างประเทศซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพด้านพลังงานในระยะยาว กลุ่มมิตรผลจึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาธุรกิจพลังงานหมุนเวียนคือ โรงไฟฟ้าชีวมวล และโรงงานผลิตเอทานอลอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการเสริมความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศ นอกจากนี้เรายังต่อยอดไปสู่พลังงานจากแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานสะอาดที่หมุนเวียนใช้ได้อย่างไม่มีวันหมด โดยเปิดตัวโครงการโซลาร์รูฟท็อปแห่งแรกที่โรงไฟฟ้ามิตรผล ภูเขียว ซึ่งคาดว่าจะสามารถผลิตไฟฟ้าได้มากกว่า 1.3 ล้านหน่วยต่อปี"
ที่ผ่านมา กลุ่มมิตรผลมีแนวคิดในการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเปลี่ยนของเหลือทิ้งให้เป็นสิ่งที่มีคุณค่า (From Waste to Value) ด้วยการนำวัสดุที่เหลือจากกระบวนการผลิตน้ำตาลคือชานอ้อย มาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าทดแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล และนำโมลาสมาหมักกับยีสต์เพื่อผลิตเป็นเอทานอลสำหรับผสมในน้ำมันแก๊สโซฮอล์ เพื่อลดการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ ทั้งหมดถือเป็นความใส่ใจในการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ลดการผลิตใหม่ และเพิ่มคุณค่าให้กับวัสดุที่เหลือใช้ได้อย่างสูงสุด
ปัจจุบัน กลุ่มมิตรผลมีโรงไฟฟ้าชีวมวลทั้งหมด 6 แห่ง ในจังหวัดสุพรรณบุรี สิงห์บุรี ขอนแก่น ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ และเลย มีกำลังการผลิตรวม 400 เมกะวัตต์ และมีสัญญาการขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคกว่า 200 เมกะวัตต์ นอกจากนี้ยังมีโรงงานผลิตเอทานอลจากโมลาส 3 แห่ง ในจังหวัดสุพรรณบุรี กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ และโรงงานผลิตเอทานอลจากน้ำอ้อยสด 1 แห่ง ที่จังหวัดตาก (ร่วมทุนกับ บมจ. ผาแดงอินดัสทรี และ บมจ. ไทยออยล์) โดยทั้ง 4 แห่งมีกำลังการผลิตรวมกว่า 380 ล้านลิตรต่อปี
"ในปีนี้ ภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยแทนการปลูกข้าวในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม เช่น นาดอน จึงคาดว่าจะทำให้มีพื้นที่ปลูกอ้อยเพิ่มมากขึ้น และมีแนวโน้มที่ผลผลิตอ้อยโดยรวมทั้งปีจะสูงกว่า 100 ล้านตัน ส่งผลให้ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับอ้อยและน้ำตาลอย่างโรงไฟฟ้าชีวมวล และโรงงานเอทานอล มีการเติบโตตามไปด้วย กลุ่มมิตรผลจึงรองรับการขยายตัวดังกล่าว ด้วยการขยายโรงไฟฟ้าชีวมวลและโรงงานผลิตเอทานอลในพื้นที่เดิม รวมทั้งเสริมเครื่องจักรซึ่งใช้เทคโนโลยีจากต่างประเทศที่สะอาด ปลอดภัย และทันสมัย เราเชื่อมั่นว่าในปีนี้กลุ่มธุรกิจพลังงานหมุนเวียนของเราจะสามารถเติบโตได้ถึง 10% และเป็นผู้นำด้านธุรกิจไฟฟ้าชีวมวลและเอทานอลได้อย่างต่อเนื่อง" นายประวิทย์ กล่าว
นอกจากนี้ กลุ่มมิตรผลยังมีแนวคิดในการพัฒนาโครงการพลังงานทดแทนที่สะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น จึงได้เปิดตัวโครงการโซลาร์รูฟท็อปแห่งแรก ณ โรงไฟฟ้ามิตรผล ภูเขียว โดยใช้งบประมาณลงทุนกว่า 56 ล้านบาท ในการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ขนาด 989 กิโลวัตต์ บนหลังคาอาคารบ่อเก็บโมลาส ซึ่งคาดว่าจะสามารถผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้มากกว่า 1.3 ล้านหน่วยต่อปี เทียบเท่ากับการลดใช้น้ำมันดิบได้มากกว่า 100 ตันต่อปี และช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้กว่า 700 ตันคาร์บอนต่อปี
"โครงการโซลาร์รูฟท็อปของโรงไฟฟ้ามิตรผล ภูเขียว นอกจากจะเป็นการใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่าแล้ว ยังช่วยให้ชุมชนได้มีแหล่งพลังงานสะอาดไว้ใช้อย่างมั่นคงในระยะยาว โดยในอนาคตหากกลุ่มมิตรผลได้รับการอนุมัติโครงการโซลาร์รูฟท็อปเพิ่มเติมจากภาครัฐ เราก็พร้อมที่จะดำเนินโครงการลักษณะนี้ในโรงงานแห่งอื่นๆ ทั่วประเทศ"
“ในส่วนของธุรกิจพลังงานหมุนเวียน กลุ่มมิตรผลจะยังคงมุ่งเน้นในธุรกิจโรงไฟฟ้าชีวมวล และโรงงานผลิตเอทานอล เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ต่อยอดจากอ้อยและน้ำตาลซึ่งเป็นจุดแข็งของเรามาอย่างยาวนาน ในขณะเดียวกันเราก็ศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการต่อยอดไปสู่ธุรกิจพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ ดังตัวอย่างของโครงการโซลาร์รูฟท็อปที่ได้เปิดตัวในวันนี้ เพราะเราเห็นความสำคัญของการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนที่หลากหลาย เพื่อช่วยเสริมความมั่นคงด้านพลังงาน และเป็นทางเลือกให้กับประเทศไทยในการรับมือความท้าทายด้านพลังงานที่มีมากขึ้นในอนาคต” นายประวิทย์ กล่าวสรุป
ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับนิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมโรงงานผลิตเยื่อและกระดาษ ณ จังหวัดปราจีนบุรี เยี่ยมชมกระบวนการผลิตเยื่อและกระดาษที่เลือกใช้เทคโนโลยีการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยระบบบริหารจัดการตามมาตรฐานคุณภาพ ISO 9001 และการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ISO 14001 นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้โมเดล "Circular Economy" หรือเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่ดั๊บเบิ้ล เอ นำมาใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน พร้อม
CHANGAN Automobile ชูนวัตกรรมสุดล้ำภายใต้แนวคิด "Together for a Smarter World" ในงาน Auto Shanghai 2025
—
CHANGAN Automobile ผู้นำเทคโนโลยียานยนต์อัจฉริยะ...
เอส แอนด์ พี รับมอบรางวัล G-Green ระดับประเทศ ประจำปี 2567 ทั้งสิ้น 12 แห่งภายใต้โครงการ Green Restaurant ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3
—
บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิ...
รอยัล คลิฟ พัทยา ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม กับการคว้ารางวัล G-Green ระดับดีเยี่ยม
—
รอยัล คลิฟ โฮเต็ล กรุ๊ปได้รับตราสัญลักษณ์ G-Green โรงแรมที่เป...
สำรวจนวัตกรรมการออกแบบล้ำสมัยและเทคโนโลยีความยั่งยืนชั้นนำของไต้หวันที่ Taiwan Excellence Pavilion - ARCHITECT EXPO 2025
—
Taiwan Excellence เตรียมพลิกโฉม...
บางกอกแลนด์ คว้ารางวัล "โครงการส่งเสริมที่อยู่อาศัยที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม" ในงานประกาศเกียรติคุณตราสัญลักษณ์ G-Green"
—
บริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน...
MSM รับตราสัญลักษณ์ G-Green
—
ประภัสรา นิมมานเทวินทร์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เมืองทอง เซอร์วิสเซส แอนด์ แมเน็จเม้นท์ จำกัด หรือ MSM เครือบางกอกแลนด์ ...
ซิกท์ รถเช่า ประเทศไทย รับมอบ XPENG G6 ล็อตใหญ่ 48 คัน เสริมทัพยานยนต์ไฟฟ้าระดับพรีเมียม พร้อมเปิดตัวสาขาที่ 17 วิภาวดี ดอนเมือง!
—
ซิกท์ รถเช่า ประเทศไทย...
กสิกรไทย เปิดรับสมัครทุน ป.โท 'KBank Annual Scholarship 2025' ให้โอกาสคนทำงานที่มีประสบการณ์ 1 ปีขึ้นไป เรียนฟรีมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลกในต่างประเทศ
—
กสิกรไทยเปิ...
TEI ผนึกกำลัง BP ร่วมมือสนับสนุนผู้ประกอบการ ก้าวสู่การผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
—
สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) ร่วมกับ ห้างหุ้นส่วนจำกัดบาง...