โรงงานผู้ผลิตรายใหญ่ในจังหวัดระยองถูกจับในข้อหาใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายและไม่มีไลเซ้นต์ในคอมพิวเตอร์เกือบทุกเครื่องที่ใช้ดำเนินธุรกิจ
เจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) ได้รับแจ้งว่ามีการใช้ซอฟต์แวร์โดยไม่มีไลเซ้นต์ในโรงงานผลิตโลหะที่มีมูลค่าทางธุรกิจสูงถึง 4,000 ล้านบาท ในจังหวัดระยอง โดยโรงงานดังกล่าวมีบทบาทสำคัญในระบบซัพพลายเชนของอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทย เจ้าหน้าที่ตำรวจพบคอมพิวเตอร์จำนวน 114 เครื่องที่ติดตั้งซอฟต์แวร์ที่ไม่มีไลเซ้นต์ของออโตเดสก์ ไมโครซอฟท์ และไทยซอฟต์แวร์เอ็นเตอร์ไพรส์ ซอฟต์แวร์ดังกล่าวถูกใช้งานในทุกฝ่ายของโรงงาน ได้แก่ ฝ่ายบริหาร ทรัพยากรบุคคล และการเงิน ผู้ถือหุ้นใหญ่ของโรงงานแห่งนี้คือชาวญี่ปุ่น ถือ 90 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่อีก 10 เปอร์เซ็นต์ เป็นของผู้ถือหุ้นชาวไทย คดีนี้ถือเป็นหนึ่งในคดีจับกุมซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประเทศไทย
เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าตรวจค้นการใช้ซอฟต์แวร์ไม่มีไลเซ้นต์ในการดำเนินธุรกิจ 21 ครั้งในเดือนพฤษภาคม พบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ติดตั้งซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายรวมทั้งหมด 260 เครื่อง ซอฟต์แวร์บางตัวมีมูลค่าเชิงพาณิชย์มากกว่า 100,000 บาท ถึงแม้ซอฟต์แวร์พจนานุกรมที่ผลิตโดย บริษัท ไทยซอฟต์แวร์เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด จะมีราคาจำหน่ายประมาณ 300 บาท แต่ก็เป็นหนึ่งในซอฟต์แวร์ที่ถูกละเมิดลิขสิทธิ์มากที่สุดในประเทศไทย
องค์กรธุรกิจอีกหลายแห่งที่ถูกเข้าตรวจค้นและจับกุมในข้อหาใช้ซอฟต์แวร์ไม่มีไลเซ้นต์ในเดือนพฤษภาคม ได้แก่ องค์กรที่ทำธุรกิจด้านการวิจัย ขายสินค้า ออกแบบ ผลิตสินค้า ก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ ขนส่ง วิศวกรรม และให้คำปรึกษาทางธุรกิจ องค์กรธุรกิจที่เป็นโรงงานผลิตเป็นหนึ่งในกลุ่มที่ถูกเข้าตรวจค้นและจับกุมมากที่สุดในเดือนพฤษภาคม พร้อมโรงงานผลิตเครื่องจักร ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับแสงสว่าง เฟอร์นิเจอร์ อิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์ และผลิตภัณฑ์ยาง
ในช่วงห้าเดือนแรกของปีนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้บุกตรวจค้นและจับกุมองค์กรธุรกิจเกือบ 100 แห่ง พร้อมเครื่องคอมพิวเตอร์ 987 เครื่อง ที่มีซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย
“การใช้ซอฟต์แวร์ผิดฎหมายเพื่อดำเนินธุรกิจ ไม่เพียงแต่ละเมิดพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 แต่ยังก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อระบบความปลอดภัยของเครื่องคอมพิวเตอร์” พ.ต.อ.ชัยณรงค์ เจริญไชยเนาว์ รองผู้บังคับการและโฆษก บก.ปอศ. กล่าว “เรารู้ว่าซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายทำให้เกิดช่องโหว่สำหรับการจู่โจมเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์และฐานข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต การฉ้อโกงทางการเงิน การขโมยข้อมูล และการทำลายระบบความปลอดภัยของเครื่องคอมพิวเตอร์ และเราเชื่อว่าเครือข่ายองค์กรอาชญกรรมข้ามชาติมีส่วนเชื่อมโยงกับการแจกจ่ายซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายสำหรับใช้งานฟรี เพื่อเปิดช่องทางให้เข้ามาขโมยข้อมูล สำหรับประเทศไทย เราต้องลดและป้องกันไม่ให้มีการใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายและไม่มีไลเซ้นต์ เพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีที่ปลอดภัย”
ภายใต้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ผู้ที่กระทำความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์จะมีโทษจำคุกหรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ที่แจ้งเบาะแสการใช้งานซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์และไม่มีไลเซ้นต์ผ่านทางสายด่วนที่ 02-714-1010 หรือรายงานทางออนไลน์จะได้รับเงินรางวัลสูงสุด 250,000 บาท โดยข้อมูลของผู้แจ้งเบาะแสจะถูกปิดไว้เป็นความลับ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเข้าชมได้ที่ www.stop.in.th
นักวิจัยของแคสเปอร์สกี้ แลป ได้เปิดเผยกลโกงโดยการแพร่กระจายไมน์นิ่งซอฟต์แวร์และติดตั้งในเครื่องพีซีของผู้ใช้ผ่านซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายที่ใช้กันทั่วไปในการทำงานและเพื่อความบันเทิง เช่น ซอฟต์แวร์ตกแต่งภาพและข้อความ เป็นต้น เครื่องพีซีจะถูกใช้เป็นตัวสร้างเงินดิจิทัล หรือ คริปโตเคอเรนซี่ (cryptocurrency) เพื่อสร้างกำไรให้กับโจรไซเบอร์ ปัจจุบัน ตลาดเงินดิจิทัลได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วทั้งจำนวนและมูลค่าการลงทุน โจรไซเบอร์ก็ได้จับตามองการเติบโตนี้อย่างใกล้ชิด ความตื่นตัวต่อเงินดิจิทัลทำให้ผู้ใช้จำนวนมากเริ่ม
เจ้าหน้าที่ตำรวจเพิ่มความเข้มงวดจับกุมองค์กรธุรกิจละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์
—
กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) ได...
เพิ่มเงินรางวัลสำหรับเบาะแสการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ในองค์กรธุรกิจขึ้นถึง 4 เท่าเป็น 1 ล้านบาท
—
บีเอสเอ | พันธมิตรซอฟต์แวร์ เพิ่มเงินรางวัลให้กับผู้แจ...
บก.ปอศ. โชว์ผลงานยอดเยี่ยมในไตรมาสแรก ตรวจค้นองค์กรธุรกิจพบคอมพิวเตอร์กว่า 617 เครื่องติดตั้งใช้งานซอฟต์แวร์เถื่อนมูลค่ากว่า 97
—
เจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคั...
เปิดตัวโครงการ 'Safe Software, Safe Nation’
—
การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยมีโอกาสสูงที่จะเผชิญกับภัยและความเสี่ยงบน...
ผลสำรวจบีเอสเอชี้ภัยคุกคามระบบความปลอดภัยคอมพิวเตอร์เป็นเหตุผลหลักที่ทำให้คนไม่เลือกใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย
—
อัตราการติดตั้งซอฟต์แวร์โดยไม่มีสัญญาอนุญาตให้...
ภาพข่าว: บก. ปอศ. เชิญผู้ผลิตพีซีและผู้จำหน่ายปลีก ร่วมระดมสมองลดปัญหาซอฟต์แวร์เถื่อน
—
พ.ต.อ.ชัยณรงค์ เจริญไชยเนาว์ รองผู้บังคับการและโฆษก บก. ปอศ. (กลาง...