โพลล์สำรวจประชาชนต่อการใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานกรรมการอาวุโส,อาจารย์พรพิสุทธิ์ มงคลวนิช ประธานกรรมการ,ดร.พิสิฐ พฤกษ์สถาพร กรรมการรองผู้อำนวยการ, ดร.กุลธิดา เสาวภาคย์พงศ์ชัย กรรมการรองผู้อำนวยการ และอาจารย์วัฒนา บุญปริตร กรรมการรองผู้อำนวยการ สำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ระดับอุดมศึกษาร่วมแถลงผลสำรวจพฤติกรรมและความคิดเห็นในการใช้บริการรถโดยสารประจำทางสาธารณะของประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพและปริมณฑล
          จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,128 คน สามารถสรุปผลได้ ดังนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 51.24 ขณะที่ร้อยละ 48.76 เป็นเพศชาย กลุ่มตัวอย่างเกือบหนึ่งในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 31.56 มีอายุเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 25 ถึง 34 ปี นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีคิดเป็นร้อยละ 37.23 และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นลูกจ้าง/พนักงานในห้างร้านหรือบริษัทเอกชน ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจและนักเรียน/นักศึกษาคิดเป็นร้อยละ 30.41 ร้อยละ 24.73 และร้อยละ 22.25 ตามลำดับ
          ในด้านพฤติกรรมการใช้บริการรถโดยสารประจำทางสาธารณะนั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 36.35 ระบุว่าในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมาตนเองใช้บริการรถโดยสารประจำทางสาธารณะประมาณ 5 – 6 วันต่อสัปดาห์ รองลงมาใช้บริการเป็นประจำทุกวัน และใช้บริการประมาณ 2 – 4 วัน/สัปดาห์ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 26.68 และร้อยละ 24.38 ตามลำดับ โดยสาเหตุสำคัญสูงสุด 5 อันดับที่กลุ่มตัวอย่างใช้บริการรถโดยสารประจำทางสาธารณะคือ ราคาค่าบริการไม่สูง คิดเป็นร้อยละ 82.54 ไม่มีพาหนะส่วนตัวในการเดินทาง คิดเป็นร้อยละ 80.23 ประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าการใช้พาหนะส่วนตัว คิดเป็นร้อยละ 76.42 ไม่สะดวกในการนำพาหนะส่วนตัวไป คิดเป็นร้อยละ 71.72 และเข้าถึงจุดหมายปลายทางได้สะดวก คิดเป็นร้อยละ 68.09
          ส่วนปัญหาที่กลุ่มตัวอย่างพบมากที่สุด 5 อันดับจากการใช้บริการรถโดยสารประจำทางสาธารณะ ได้แก่ ปริมาณรถให้บริการมีน้อย/ไม่เพียงพอ คิดเป็นร้อยละ 82.09 พนักงานขับรถแข่งกันแย่งผู้โดยสาร คิดเป็นร้อยละ 79.34 จอดรถไม่ตรงป้าย/ไม่ทุกป้าย คิดเป็นร้อยละ 77.48 สภาพยานพาหนะไม่พร้อมให้บริการ เช่น หน้าต่างเสีย ประตูเสีย คิดเป็นร้อยละ 75.53 และยานพาหนะไม่มีความปลอดภัย คิดเป็นร้อยละ 72.78 สำหรับสิ่งที่กลุ่มตัวอย่างต้องการให้บริการรถโดยสารประจำทางสาธารณะปรับปรุงมากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ อบรมคุณภาพการขับรถให้มีความปลอดภัย คิดเป็นร้อยละ 83.69 ปรับปรุงมาตรฐานการให้บริการ เช่น จอดให้ตรงป้าย จอดทุกป้าย คิดเป็นร้อยละ 81.56 ปรับปรุงสภาพยานพาหนะให้มีความปลอดภัย คิดเป็นร้อยละ 78.81 ปรับปรุงอุปกรณ์ เช่น ประตู หน้าต่าง บันได ให้ใช้งานได้สะดวก คิดเป็นร้อยละ 75.89 และเพิ่มปริมาณรถให้มากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 72.52
          ในด้านความคิดเห็นต่อการให้บริการของรถโดยสารประจำทางสาธารณะนั้น กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งหรือคิดเป็นร้อยละ 57.18 ไม่เชื่อว่าการขึ้นค่าบริการรถโดยสารประจำทางสาธารณะจะส่งผลให้คุณภาพการบริการโดยรวม/ความปลอดภัยเพิ่มขึ้น ขณะที่มีกลุ่มตัวอย่างไม่ถึงหนึ่งในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 30.41 เชื่อว่าการนำเอารถโดยสารประจำทางสาธารณะใหม่มาให้บริการจะส่งผลให้คุณภาพการบริการโดยรวม/ความปลอดภัยเพิ่มขึ้นได้ ขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 54.96 ไม่เชื่อว่าการนำเอารถโดยสารประจำทางสาธารณะใหม่มาให้บริการจะส่งผลให้คุณภาพการบริการโดยรวม/ความปลอดภัยเพิ่มขึ้นได้ แต่อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างถึงร้อยละ 59.22 เชื่อว่าการเพิ่มสวัสดิการต่าง ๆ ให้กับพนักงานขับรถ/พนักงานเก็บเงินจะส่งผลให้คุณภาพการบริการโดยรวมของรถโดยสารประจำทางสาธารณะดีขึ้น
          ส่วนระดับคะแนนความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างต่อการให้บริการของรถโดยสารประจำทางโดยรวมนั้นอยู่ที่ 5.36 จากคะแนนเต็ม 10 และเมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า จากคะแนนเต็ม 10 กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อราคาค่าบริการสูงสุดโดยได้คะแนน 6.38 ส่วนด้านที่ได้รับความพึงพอใจน้อยที่สุด 2 ด้าน ได้แก่ ความปลอดภัยในการเดินทางและจำนวนพาหนะที่ให้บริการโดยได้คะแนน 4.75 และ 4.63 ตามลำดับ


ข่าวสำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์+สยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์วันนี้

สยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ เผย 5 เหตุผลที่ไม่รับผู้พิการทางสายตาเข้าเรียนหรือทำงาน

ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานกรรมการอาวุโสสำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (STC) เผยผลการสำรวจ "ทัศนคติของประชาชนทั่วไปต่อผู้พิการทางสายตากับการอยู่ร่วมกันในสังคม" โดยสำรวจระหว่างวันที่ 25 ถึง 30 เมษายน พ.ศ. 2562 จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,102 คน ข้อมูลจากสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ณ วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ประเทศไทยมีจำนวนผู้พิการทางสายตาเฉพาะที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ 181,821 คน แต่มีการประมาณการว่าทั่วประเทศมีผู้พิการทางสายตาที่ยัง

ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานกรรมการอาวุโ... สยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ เผย 5 เหตุผลที่ไม่รับผู้พิการทางสายตาเข้าเรียนหรือทำงาน — ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานกรรมการอาวุโสสำนักวิจัยสยามเทคโนโลยี...

ศ. ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานกรรมการอาวุ... สยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ เผย “วัยรุ่น 61.02% ตื่นเต้นจะได้ใช้สิทธิ์เลือกตั้งครั้งแรก” — ศ. ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานกรรมการอาวุโสสำนักวิจัยสยามเทค...

ศ. ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานกรรมการอาวุ... สยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์เผย “5 เหตุผลทำไม? ครูถึงหนี้เงินกู้” — ศ. ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานกรรมการอาวุโสสำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ ...