น้ำพุร้อน แหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพสู่อุตสาหกรรมท้องถิ่น

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          กรมทรัพยากรน้ำบาดาลจัดการประชุมสัมมนาโครงการศึกษา และสำรวจแหล่งน้ำพุร้อนเพื่อส่งเสริมการผลิตพลังงานความร้อนใต้พิภพและอุตสาหกรรมท้องถิ่น โดยมี นายสุพจน์ เจิมสวัสดิพงษ์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล เป็นประธานเปิดการประชุม ณ โรงแรมกรีนเลค รีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีผู้แทนจากหน่วยงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา นักวิชาการอิสระ สื่อมวลชน และประชาชนผู้สนใจร่วมรับฟัง
          สืบเนื่องจากปัจจุบันมีความต้องการใช้พลังงานเพิ่มมากขึ้นทุกปี แต่แหล่งพลังงานที่มีอยู่ กลับลดลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานฟอสซิล เช่น น้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ ประกอบกับ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และปัญหามลพิษที่ก่อให้เกิดสภาวะโลกร้อนเริ่มทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้หลายประเทศศึกษาวิจัยเพื่อหาพลังงานทดแทนจากธรรมชาติที่สะอาด เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานคลื่น พลังงานน้ำ และพลังงานความร้อนใต้พิภพ ที่สามารถพัฒนามาใช้ทดแทนพลังงานฟอสซิลได้ในอนาคต สำหรับประเทศไทย พบว่ามีน้ำบาดาลร้อนหรือแหล่งน้ำพุร้อนกระจายอยู่ จำนวน 112 แห่ง ตามภูมิภาคต่าง ๆ จัดเป็นพลังงานความร้อนใต้พิภพที่กำลังได้รับความสนใจและ มีความสำคัญไม่น้อยกว่าพลังงานอื่น ๆ ดังนั้น กรมทรัพยากรน้ำบาดาลจึงได้ดำเนินโครงการศึกษาและสำรวจแหล่งน้ำพุร้อนเพื่อส่งเสริมการผลิตพลังงานความร้อนใต้พิภพและอุตสาหกรรมท้องถิ่น ด้วยงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาน้ำบาดาล เพื่อศึกษาและสำรวจแหล่งน้ำพุร้อนที่เหมาะสมต่อการผลิตพลังงานความร้อนใต้พิภพ แนวทางการพัฒนาเทคนิคการเจาะและการสำรวจน้ำบาดาลในระดับลึกที่มีอุณหภูมิสูง รวมถึงแนวทางการพัฒนาแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพสู่อุตสาหกรรมท้องถิ่น โดยขณะนี้กรมทรัพยากร น้ำบาดาลได้คัดเลือกแหล่งน้ำพุร้อนที่มีแนวโน้มและศักยภาพความน่าจะเป็นแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ ที่เหมาะสมแล้ว จำนวน 16 พื้นที่ เพื่อสำรวจเบื้องต้น และจากนั้นจะคัดเลือกให้เหลือ 5 พื้นที่ เพื่อสำรวจธรณีวิทยาและศึกษารายละเอียดเชิงลึกในพื้นที่ และคัดเลือกพื้นที่ที่ดีที่สุด 1 แห่ง ดำเนินการเจาะบ่อสำรวจ ในระดับความลึก ไม่น้อยกว่า 1,000 เมตร เพื่อเป็นต้นแบบการพัฒนาแหล่งพลังงานใต้พิภพของ ประเทศไทยต่อไป

          การจัดประชุมสัมมนาครั้งนี้เป็นการระดมความคิดเห็นที่ทุกฝ่ายมีต่อแนวทางการศึกษาโครงการฯ และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับขอบเขตการดำเนินโครงการฯ ให้กับหน่วยงานและประชาชนทั่วไปได้รับทราบ รวมถึงข้อมูลศักยภาพของแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพของประเทศไทย ขั้นตอนการปฏิบัติงาน รูปแบบการพัฒนาแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพขึ้นมาใช้ประโยชน์ และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นแก่ประชาชนในพื้นที่ เช่น การตัดถนนเข้าพื้นที่ หรือการขนย้ายเครื่องมือ ซึ่งกรณีดังกล่าวจะเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น
          อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กล่าวเพิ่มเติมว่า พลังงานความร้อนใต้พิภพ ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย เพราะเมื่อหลายสิบปีก่อน เคยมีการทดลองผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานความร้อน ใต้พิภพมาแล้ว แต่การศึกษาและพัฒนาการผลิตต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากกระบวนการนำพลังงานมาต่อยอดผลิตกระแสไฟฟ้านั้นมีความสลับซับซ้อนและมีเทคนิคทางวิชาการเกี่ยวข้องหลากหลายสาขา แต่ปัจจุบัน องค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ มีการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง การติดต่อสื่อสารและขนส่งสะดวกสบายมากขึ้น จึงเป็นไปได้สูงที่ประเทศไทยจะสามารถพัฒนาแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมท้องถิ่น การพัฒนาเพื่อการท่องเที่ยว และการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร
 

ข่าวอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่+องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นวันนี้

DEEPAL เปิดตัวโครงการ DEEPAL Mobile Clinic ย้ำความมุ่งมั่นที่ไม่เปลี่ยนแปลงในการยืนเคียงข้างคนไทยในทุกวิกฤต เริ่มจากภาคเหนือและขยายการช่วยเหลือไปยังชุมชนท้องถิ่นทั่วประเทศไทย

DEEPAL ยังคงเดินหน้าส่งความช่วยเหลือ โดยมุ่งเน้นการฟื้นฟูสภาพความเป็นอยู่และบรรเทาปัญหาด้านสุขภาพในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย บริษัทได้ส่งมอบชุดปฐมพยาบาลและน้ำดื่มแก่หน่วยงานท้องถิ่นและครัวเรือนต่าง ๆ นอกจากนี้ DEEPAL ยังได้ร่วมมือจากกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลป่าแดด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินการลงพื้นที่ เพื่อเปิดคลินิกเคลื่อนที่ "DEEPAL Mobile Clinic" โดยใช้รถยนต์ DEEPAL S07 ในการดูแลรักษาสุขภาพผู้ประสบภัยอย่างใกล้ชิด ย้ำถึงความมุ่งมั่นที่จะยืนหยัดเคียงข้างคนไทยในทุกวิกฤต นายเซิน

เมื่อวันที่ 12 ตุลาคมที่ผ่านมา ดร.กฤษฎา โ... อำพลฟูดส์อาสา และพันธมิตร ร่วมกับ เพจอีจัน ลงพื้นที่มอบถุงยังชีพ ฟื้นฟูกำลังใจผู้ประสบอุทกภัยจังหวัดเชียงใหม่ — เมื่อวันที่ 12 ตุลาคมที่ผ่านมา ดร.กฤษฎา โส...

เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา บริษั... เฮงลิสซิ่ง ร่วมกิจกรรมมอบน้ำดื่ม Khun Chang Kian Big Cleaning day — เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา บริษัท เฮงลิสซิ่ง แอนด์ แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) ร่ว...

ดร.รจนา ตั้งกุลบริบูรณ์ ผู้อำนวยการ ศูนย์... วว. ร่วมประชุมวิชาการผลงานวิจัยมูลนิธิโครงการหลวง/สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง ประจำปีงบประมาณ 2565 — ดร.รจนา ตั้งกุลบริบูรณ์ ผู้อำนวยการ ศูนย์เชี่ยวชาญน...

เมื่อวันที่ 22 25 สิงหาคม พ.ศ. 2565 สถาบั... สวพส. จัดฝึกอบรม หลักสูตร "นักพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืนแบบโครงการหลวง รุ่นที่ 1 หรือ นพส.1" — เมื่อวันที่ 22 25 สิงหาคม พ.ศ. 2565 สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้...

นางสาวปรียานุช ทิพยะวัฒน์ รองเลขาธิการสำน... มกอช. จับมือโครงการหลวงฯ เตรียมความพร้อมการเป็นองค์กรด้านการตรวจแหล่งผลิตสินค้าเกษตร — นางสาวปรียานุช ทิพยะวัฒน์ รองเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและ...

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร นายระพีภัทร์ จันทรศ... กรมวิชาการเกษตร MOU สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง ร่วมวิจัย พัฒนา สนับสนุนพันธุ์พืช เทคโนโลยีการผลิตพืชที่เหมาะสมกับพื้นที่สูง มุ่งสนับสนุนภารกิจงานโครงการหลวง — อธิบดีกรมวิ...

เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2565 เวลา 10.00 น... ชาวเชียงใหม่ เฮ รมว เฮ้ง เปิด สำนักงานประกันสังคมแห่งใหม่ หวังมุ่งสู่บริการเป็นเลิศ — เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2565 เวลา 10.00 น. นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตร...

นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสห... อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์เยี่ยมชมร้านจำหน่ายผักอินทรีย์ของสหกรณ์ในจังหวัดเชียงใหม่ — นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ พร้อมด้วยนายสุริยะ คำปวง ...

บริษัท เฮงลิสซิ่ง จำกัด ผู้ให้บริการทางกา... เฮงลิสซิ่ง ทำความดีตอบแทนสังคม เดินหน้าโครงการ "อาสาป้องกันไฟป่าและหมอกควัน" ครั้งที่ 1 — บริษัท เฮงลิสซิ่ง จำกัด ผู้ให้บริการทางการเงินด้านสินเชื่อภายใต้...