ตามรอย “ห้องเรียนเคมีดาว” ปลุกจิตวิญญาณนักทดลองน้อย ด้วยปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วน

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          ในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์ช่วงบ่ายที่มีนักเรียนกว่า 50 คนอยู่เต็มห้อง ยิ่งครึกครื้นขึ้นอีกหลังจากที่นายโกศล มั่นจิต คุณครูประจำวิชาวิทยาศาสตร์ในระดับมัธยมปลาย แห่งโรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร จังหวัดระยอง ขนกล่องพลาสติกขนาดประมาณแพคกระดาษเอสี่ ข้างในบรรจุสรรพสิ่งขนาดเล็ก อันประกอบด้วย เพทริดิช (แผ่นพลาสติกที่ใช้หยดสารละลาย) เข็มหมุด ถ่านไฟฉาย สายไฟปากคีบสองปลาย ไม้จิ้มฟัน และผังปฏิบัติการ มายื่นให้กับนักเรียนเพื่อกระจายไปยังนักเรียนกลุ่มต่าง ๆ
          “วันนี้ เราจะมาทำการทดลองการแยกน้ำด้วยเคมีไฟฟ้า และข้างในกล่องที่นักเรียนได้ไปนั้น คือชุดอุปกรณ์ปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วน นักเรียนทุกคนจะได้มีโอกาสทดลองและสรุปผลด้วยตัวของนักเรียนเอง” คุณครูโกศลเปิดการสอน
          ภายในห้อง นักเรียนทุกกลุ่มต่างขมักเขมันกับการทดลอง โดยมีครูโกศลคอยให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด วันนี้ โรงเรียน 21 แห่งในระยองได้รับโอกาสเป็นโรงเรียนนำร่องของโครงการ”ห้องเรียนเคมีดาว” ในการนำเทคนิคปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วน (Small-Scale Chemistry Laboratory) ซึ่งเป็นเทคนิคที่ได้รับการยอมรับจากยูเนสโก (UNESCO) และได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในระดับนานาชาติ มาใช้การจัดการเรียนการสอนจริงในห้องเรียน หลังจากที่คุณครูได้รับการฝึกอบรมเทคนิคดังกล่าวไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคมที่ผ่านมา
          จากข้อจำกัดของการศึกษาวิทยาศาสตร์ของไทยพบว่าส่วนใหญ่เน้นการเรียนแบบท่องจำ นักเรียนใช้จินตนาการเพื่อทำความเข้าใจตามทฤษฎีในตำรา และขาดโอกาสการเรียนรู้จากการทดลองจริง ทำให้เยาวชนไทยขาดแรงจูงใจและความสนใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ โครงการ” ห้องเรียนเคมีดาว” จึงเกิดขึ้นจากความตั้งใจของกลุ่มบริษัท ดาว เคมิคอล ประเทศไทย ในฐานะบริษัทวิทยาศาสตร์ชั้นนำของไทย และสมาคมเคมีแห่งประเทศไทยในพระอุปถัมภ์ของ ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้า จุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี ที่ต้องการให้นักเรียนได้ปฏิบัติการทดลองเคมีจริง ปลูกฝังความคิด การวิเคราะห์ การสังเกตและการแก้ปัญหาอย่างเป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้น รวมถึงสร้างโอกาสให้เยาวชนไทยเข้าถึงการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อันจะส่งผลต่อความก้าวหน้าในการศึกษาวิทยาศาสตร์ของประเทศไทยต่อไปในอนาคต
          การดำเนินโครงการ “ห้องเรียนเคมีดาว” เป็นการพัฒนาวิธีสอนของครูไปสู่วิธีการเรียนการสอนในห้องเรียน โดยให้การอบรมครูวิทยาศาสตร์ ซึ่งเน้นเนื้อหาหลักในการแนะนำเทคนิคการสอนทดลองเคมีอย่างปลอดภัย รวมถึงการอบรมเชิงปฏิบัติการ ถ่ายทอดความรู้ในการเรียนการสอนและการใช้อุปกรณ์การทดลองแบบย่อส่วน เพื่อสร้างความเข้าใจและเพิ่มทักษะการบูรณาการกระบวนการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสื่อการสอนที่ออกแบบเฉพาะให้เหมาะกับการเรียนวิทยาศาสตร์ของไทย ซึ่งการอบรมดังกล่าวได้รับการตอบรับจากครูวิทย์ในจังหวัดระยองเป็นอย่างดี
          เพื่อให้เห็นผลสัมฤทธิ์จากการอบรม โครงการ “ห้องเรียนเคมีดาว” จึงจัดกิจกรรมติดตามและประเมินผลการเรียนการสอนปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วนของครูวิทยาศาสตร์ที่เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ จำนวนทั้งหมด 61 คน ใน 21 โรงเรียน โดยการเยี่ยมชมขณะทำการสอนในห้องเรียน เพื่อให้คำแนะนำและเพิ่มเทคนิคการสอนปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วน พร้อมสังเกตการตอบสนองของนักเรียน การติดตามและประเมินผลนี้จะเป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพการเรียนการสอนในเบื้องต้น ว่าครูผู้สอนได้มีการนำความรู้และเทคนิคจากการเข้าอบรมมาประยุกต์ใช้ หรือพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับเนื้อหาวิชาของแต่ละระดับชั้นหรือไม่ รวมถึงกระตุ้นครูผู้สอนให้ใช้ความคิดสร้างสรรค์พัฒนารูปแบบการเรียนการสอน อันจะนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของเยาวชนซึ่งถือเป็นอนาคตของวงการวิทยาศาสตร์ไทย
นางภรณี กองอมรภิญโญ ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารองค์กรและกิจการสัมพันธ์ กลุ่มบริษัท ดาว เคมิคอล ประเทศไทย กล่าวว่า “โครงการ “ห้องเรียนเคมีดาว” ถือเป็นอีกหนึ่งในกิจกรรมเพื่อสังคมของดาว เคมิคอล โดยมุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ของไทยมีศักยภาพ ความเข้มแข็ง ที่นำไปสู่ความยั่งยืน และจากที่มีการติดตามผล ทำให้เห็นว่าครูได้รับความรู้และทักษะต่างๆ เพื่อใช้ในการสอนนักเรียน ขณะที่นักเรียนก็สามารถเรียนรู้ ต่อยอดกระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์ในการสร้างสรรค์การทดลองใหม่ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพดีมากขึ้น ทางทีมงาน“ห้องเรียนเคมีดาว” มีแนวคิดในพัฒนาหลักสูตรการอบรมอย่างต่อเนื่องในระยะยาว ทั้งเชิงลึกและเชิงกว้าง เพื่อขยายผลไปสู่การสร้างเครือข่ายครูวิทยาศาสตร์ ให้สามารถนำความรู้ไปถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเทคนิคการเรียนการสอนร่วมกันได้ อย่างไรก็ตาม การผลักดันให้เกิดการพัฒนาการศึกษาวิทยาศาสตร์ไม่ใช่เฉพาะแค่ดาว เคมิคอล หรือ สมาคมเคมีฯ เท่านั้น โรงเรียนก็มีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง ที่จะช่วยกันสนับสนุนและขับเคลื่อนโครงการให้สามารถดำเนินตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ในฐานะตัวกลางการถ่ายทอดความรู้ที่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ มีการทดลองที่น่าตื่นเต้นให้วิทยาศาสตร์กลายเป็นเรื่องที่น่าสนใจและจับต้องได้”
          รศ.ดร.ศุภวรรณ ตันตยานนท์ นายกกิตติคุณ สมาคมเคมีแห่งประเทศไทยฯ นักเคมีที่มีผลงานโดดเด่นในระดับนานาชาติ ได้ร่วมติดตามและให้คำแนะนำการเรียนการสอนการทดลองเคมี บอกถึงแนวความคิดในการเรียนวิทยาศาสตร์ด้วยอุปกรณ์การทดลอง เคมีแบบย่อว่า “การนำเอาปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วนมาใช้ในโรงเรียน อาจยังใหม่สำหรับครูผู้สอนและนักเรียนในประเทศไทย แต่เชื่อว่าครูและนักเรียนจะได้รับประโยชน์และความสนุกสนานกับการเรียนวิทยาศาสตร์โดยใช้อุปกรณ์และเทคนิคดังกล่าว อีกทั้งยังลดความเสี่ยงของการเกิดอันตรายด้วยหลักการการใช้สารเคมีปริมาณน้อยในการทดลอง หรือเท่าที่จำเป็น ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุทั้งเรื่องการลดโอกาสการเกิดอันตรายและลดปริมาณของเสียจากการทดลอง จึงเป็นการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญการทดลองเคมีแบบย่อสามารถทำการทดลองได้ง่ายสะดวกและรวดเร็ว จึงลดภาระผู้สอนในการจัดเตรียมอุปกรณ์และประหยัดเวลา เพื่อให้นักเรียนสามารถทำการทดลองได้อย่างทั่วถึง ขณะเดียวกันก็ส่งผลให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้สอนและผู้เรียน รวมถึงเป็นเครื่องมือช่วยในการสร้างความเข้าใจเนื้อหาวิชาได้มากขึ้น”
          หลังคาบวิทยาศาสตร์จบลง คุณครู โกศล มั่นจิต กล่าวว่า “หลังจากที่ได้นำการทดลองเคมีแบบย่อส่วนมาใช้ในการเรียนการสอนได้ระยะหนึ่งแล้วพบว่านักเรียนรู้สึกสนุกกับการเรียนวิทยาศาสตร์มากขึ้น สามารถจดจำและเข้าใจเนื้อหาได้ดีขึ้นจากการทำการทดลองด้วยตนเอง โดยการเรียนการสอนเริ่มจากการแนะนำให้เด็กรู้จักอุปกรณ์การทดลอง ควบคู่กับการอธิบายขั้นตอน และฝึกให้ทำการทดลองโดยศึกษาการจากคู่มือ เพื่อให้นักเรียนรู้จักการสังเกต คิดวิเคราะห์ และจดบันทึกผลการทดลองด้วยตนเอง ขณะเดียวกันก็พยายามชี้ให้เห็นว่าวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องใกล้ตัว สามารถนำไปปรับใช้ได้ในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ตัวครูเองต้องติดตามสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของเด็ก คอยให้คำชี้แนะ แต่ไม่ใช่ชี้นำ เพื่อให้เด็กสามารถพัฒนาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ให้ทัดเทียมกับนานาชาติ เพื่อการเตรียมความพร้อมให้กับเยาวชนในโอกาสที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปลายปีหน้า”
          ธนากร เกษียร นักเรียนระดับมัธยมศึกษา ปีที่ 6 โรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร กล่าวว่า “ก่อนหน้านี้การเรียนวิทยาศาสตร์ ครูผู้สอนจะใช้วิดีโอเป็นสื่อการเรียนการสอน มีการอธิบายตามเนื้อหาทฤษฏี ซึ่งบางครั้งเกิดความไม่เข้าใจ เนื่องจากไม่มีการทดลองจริงให้เห็นเป็นรูปธรรม เมื่อมีอุปกรณ์การทดลองเคมีแบบย่อส่วนเข้ามาช่วยเสริมการเรียนการทดลองในวิชาเรียน ผมรู้สึกตื่นเต้น มีความสนุกสนานกับการเรียนวิทยาศาสตร์มากขึ้น และสนุกกับการทดลอง รวมถึงยังทำให้ผมรู้สึกว่าวิทยาศาสตร์นั้นเป็นเรื่องใกล้ตัวเรามาก และไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด”
          ด้าน ทิพากร มาติน สมาชิกในกลุ่ม กล่าวเสริมว่า “อุปกรณ์การทดลองเคมีแบบย่อส่วน ช่วยทำให้เข้าใจทฤษฎีได้ง่ายมากขึ้น เพราะสามารถสังเกตการเปลี่ยนแปลงจากการทดลองได้ด้วยตนเอง ตั้งแต่เริ่มทำการทดลองจนเสร็จสิ้นการทดลอง ทำให้เกิดสมาธิและแรงจูงใจในการเรียนวิทยาศาสตร์มากขึ้น รวมถึงกระตุ้นให้รู้สึกอยากทำการทดลองในบทเรียนอื่นๆ ต่อไป”
          ขณะที่สมาชิกกลุ่มคนสุดท้าย จันทร์ทิมา โตเพ็ชร เผยว่า “รู้สึกดีใจและขอขอบคุณ กลุ่มบริษัท ดาว เคมิคอล ประเทศไทย ที่เห็นความสำคัญและสนับสนุนอุปกรณ์การทดลองวิทยาศาสตร์ นอกจากจะช่วยสร้างความน่าสนใจให้กับการเรียนวิทยาศาสตร์ในห้องเรียน แล้วยังรู้สึกถึงความปลอดภัยในระหว่างทำการทดลองอีกด้วย”
          การทดลองแยกน้ำด้วยเคมีไฟฟ้าข้องน้อง ๆ จบลง แต่ในห้องยังไม่เงียบสงบลง เพราะนักเรียนต่างคุยขึ้นการทดลองที่เกิดขึ้น แลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ได้พบเจอระหว่างการทดลอง ซักถามอาจารย์ถึงสิ่งที่ยังค้างคาในใจในเรื่องการทดลอง นี่แหละคือห้องเรียนวิทยาศาสตร์ที่มีชีวิตอย่างแท้จริง

ตามรอย “ห้องเรียนเคมีดาว” ปลุกจิตวิญญาณนักทดลองน้อย ด้วยปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วน
ตามรอย “ห้องเรียนเคมีดาว” ปลุกจิตวิญญาณนักทดลองน้อย ด้วยปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วน
ตามรอย “ห้องเรียนเคมีดาว” ปลุกจิตวิญญาณนักทดลองน้อย ด้วยปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วน
ตามรอย “ห้องเรียนเคมีดาว” ปลุกจิตวิญญาณนักทดลองน้อย ด้วยปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วน
 

ข่าวโรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร+โรงเรียนมาบตาพุดวันนี้

SCGC เดินหน้าส่งเสริม Eco School สร้างเยาวชนต้นแบบตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน จับมือภาครัฐและโรงเรียนลงนามความร่วมมือขับเคลื่อนการจัดการขยะ เพิ่มปริมาณการรีไซเคิล เน้นให้เยาวชนเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง

เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ SCGC ร่วมกับ เทศบาลเมืองมาบตาพุด สำนักงานนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และโรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร ลงนามข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) ขับเคลื่อนการจัดการขยะมูลฝอยผ่านภาคการศึกษา เพื่อปลูกฝังและพัฒนาเยาวชนต้นแบบด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในระดับมัธยมศึกษา เน้นให้เยาวชนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง โดยบูรณาการบทเรียนด้านการจัดการขยะของโรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร พร้อมจัดตั้งธนาคารขยะให้เป็นพื้นที่กิจกรรม และเรียนรู้เส้นทางของขยะรีไซเคิล รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการคัดแยกและรวบรวมขยะรี

กลุ่ม ปตท. จัดค่ายพัฒนาศักยภาพเยาวชน ดึงครูจากโครงการ “ The Coacher เสริมพลัง สร้างครู” ร่วมออกแบบการเรียนการสอนแบบ Active Learning ให้เด็กได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง

เชื่อเมื่อเด็กสนุกกับการเรียนรู้ ห้องเรียนจะกลายเป็น "พื้นที่ปลอดภัย" ที่เด็กสามารถแสดงพลังความคิดสร้างสรรค์ได้เต็มที่ ผศ.ดร.กิติเดช...

ภาพข่าว: เปิดตัว “โครงการ PTT Group Energy Plus พลังคนรุ่นใหม่ก้าวไกลสู่อนาคต นิทรรศการสัญจร ปี 2”

นางบรินดา กลัสนิมิ ประธานคณะอนุกรรมการชุมชนสัมพันธ์ กลุ่ม.ปตท. พื้นที่จังหวัดระยอง เป็นประธานจัดงานเปิดตัว “โครงการ PTT Group Energy Plus พลังคนรุ่นใหม่ก้าวไกลสู่อนาคต นิทรรศการสัญจร ปี 2”ให้กับโรงเรียน...

เยาวชนมาบตาพุดรักษ์โลกผ่านงานศิลป์ลดมลพิษเพื่อโลกยิ้ม...คนไทยยิ้ม....

หากน้องๆติดตามข่าวสารเป็นประจำ คงจะรู้จักกับนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง โดยเฉพาะข่าวคราวของผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและผลกระทบด้านสุขภาพ จากปัญหามลพิษที่มาจากโรงงานและผู้ประกอบการบางราย ดังนั้นเพื่อเป็นการปลุกจิตสำนึก และแสดงพลัง...

ภาพข่าว: แรงบันดาลใจผ่านงานศิลป์

นายชายน้อย เผื่อนโกสุม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และ การกลั่น จำกัด (มหาชน) (ที่4จากขวา) รับมอบสีและอุปกรณ์ศิลปะจากนายกฤศ ทองงาม ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท นานมี จำกัด (ที่3 จากขวา) ที่ให้การสนับสนุนในโครงการ “โรงเรียน...

โครงการ “PTTAR พาน้องเข้ามหาวิทยาลัย” ปีที่ 4 เพิ่มศักยภาพเยาวชนระยอง เตรียมความพร้อมสู่รั้วมหาวิทยาลัย

วันที่ 24 พฤษภาคม 2553 นายวริทธิ์ นามวงษ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารองค์กร บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน) (PTTAR) เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ “PTTAR พาน้องเข้ามหาวิทยาลัย” ณ...

กลุ่มปตท.ขอเชิญชมนิทรรศการ มหัศจรรย์แห่งปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ในงาน "วัฒนธรรม ศาสนา วิทยาศาสตร์ สร้างโอกาสเด็กระยอง" 26-29 ม.ค.2553

มูลนิธิเผยแผ่ศาสนาและพัฒนาคุณภาพชีวิต กระทรวงวัฒนธรรม กรมการศาสนา องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กลุ่ม ปตท. โรงพยาบาลรามาธิบดี และภาคีเครือข่าย...

กลุ่ม ปตท. จัดกิจกรรม วัฒนธรรม ศาสนา วิทยาศาสตร์ สร้างโอกาสเด็กระยอง

มูลนิธิเผยแผ่ศาสนาและพัฒนาคุณภาพชีวิต กระทรวงวัฒนธรรม กรมการศาสนา องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กลุ่ม ปตท. โรงพยาบาลรามาธิบดี และภาคีเครือข่าย ร่วมกันจัดงาน “วัฒนธรรม ศาสนา วิทยาศาสตร์ สร้างโอกาสให้เด็กระยอง”...