เครือข่ายด้านวัคซีนชี้!! ไทยควรผลิตวัคซีนได้เอง โดยเฉพาะวัคซีนพื้นฐานสำหรับเด็ก เพื่อลดการพึ่งพาต่างประเทศ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          “วัคซีน” ถือเป็นความสำเร็จด้านการแพทย์สมัยใหม่ที่ช่วยในการป้องกันและควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ วัคซีนทำให้ประชากรโลกมีอายุยืนยาวขึ้น สามารถป้องกันการตายได้กว่าปีละ 15 ล้านคน หลายประเทศทั่วโลกจึงให้ความสำคัญกับการผลิตวัคซีนไว้ใช้เองเพื่อลดการพึ่งพาต่างประเทศ รวมทั้งประเทศไทย โดยเฉพาะวัคซีนพื้นฐานสำหรับเด็ก เพื่อปกป้องเด็กจากโรคร้ายต่างๆ ให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ
          ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจอาจารย์สาขาโรคติดเชื้อภาควิชากุมารเวชศาสตร์คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดลในฐานะหน่วยงานเครือข่ายด้านการวิจัยพัฒนาและการผลิตวัคซีนในประเทศกล่าวว่าวัคซีนที่เคยวิจัยมีหลายชนิด เช่น วัคซีนโรต้า วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก วัคซีนป้องกันไข้สมองอักเสบเจอี วัคซีนคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ซึ่งพบว่าวัคซีนที่ประสบความสำเร็จอย่างกว้างขวางในการนำมาใช้ คือ วัคซีนคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน เพราะมีการใช้มานาน ปัญหาค่อนข้างน้อย มีความครอบคลุมในการให้บริการค่อนข้างสูง ส่วนวัคซีนโรต้าซึ่งเป็นวัคซีนป้องกันโรคอุจจาระร่วงอย่างรุนแรงในเด็ก ก็เป็นวัคซีนอีกชนิดหนึ่งที่กระทรวงสาธารณสุขมีแผนจะบรรจุเป็นวัคซีนพื้นฐานหรือวัคซีนภาคบังตามแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคแห่งชาติ ซึ่งได้มีโครงการนำร่องทดสอบการให้วัคซีนชนิดนี้ในพื้นที่ จ.สุโขทัยมาแล้วกว่า 2 ปี ผลการทดสอบวัคซีนเป็นที่น่าพอใจมาก มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคอุจจาระร่วงจากเชื้อไวรัสโรต้าอย่างรุนแรงได้ถึงร้อยละ 95 วัคซีนมีความปลอดภัยสูง ประชาชนให้การยอมรับและนำบุตรหลานมารับวัคซีนโรต้า เจ้าหน้าที่สามารถให้วัคซีนโรต้าพร้อมกับวัคซีนอื่นที่อยู่ในแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคได้เป็นอย่างดี และในอนาคตอันใกล้ก็จะเห็นเด็กไทยได้ใช้วัคซีนโรต้า ที่จะเป็นความสำเร็จพอๆ กับวัคซีนตับอักเสบบี วัคซีนคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ที่เด็กไทยทั่วประเทศได้ใช้อย่างครอบคลุม
          ศ.พญ.กุลกัญญา กล่าวต่ออีกว่าหากจะให้บอกถึงประโยชน์ของวัคซีนสำหรับเด็กๆแล้วถือว่ามาหาศาลมาก วัคซีนเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการควบคุมและป้องกันโรค ช่วยให้เด็กรุ่นใหม่ปลอดภัยจากโรคมากมาย โดยเฉพาะวัคซีนพื้นฐานหรือวัคซีนตามแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคแห่งชาติ ซึ่งเด็กไทยทุกคนจำเป็นต้องได้รับวัคซีนเหล่านี้เพื่อควบคุมไม่ให้เกิดการระบาดของโรคร้ายอย่างในอดีต ถ้าหากไทยเราสามารถผลิตวัคซีนได้เองตั้งแต่ต้นจนได้ผลิตภัณฑ์โดยไม่ต้องพึ่งพาต่างประเทศก็จะดีมาก นอกจากจะช่วยให้เด็กทุกคนได้รับวัคซีนพื้นฐานอย่างทั่วถึงแล้ว เรายังมีวัคซีนเพียงพอที่จะใช้ในยามที่จำเป็นอีกด้วย โดยการใช้วัคซีนในการควบคุมป้องกันโรค มี 2 ประเภท คือ 1. การใช้ในสถานการณ์ปกติ เป็นการป้องกันทั้งก่อนและหลังการสัมผัสกับโรค และ 2. การใช้ในสถานการณ์กรณีฉุกเฉิน
          “ประเทศไทยมีเด็กเกิดใหม่ปีละ 800,000 คน ทุกปี เด็กไทยทั่วประเทศควรได้รับวัคซีนซึ่งเป็นวัคซีนพื้นฐานฟรี ได้แก่ วัคซีน ตับอักเสบบี วัคซีน คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน วัคซีนหัด หัดเยอรมัน คางทูม วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี การผลิตวัคซีนได้เองภายในประเทศจึงเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นอย่างมาก เพราะจะช่วยให้เด็กไทยทุกคนมีโอกาสเข้าถึงวัคซีนได้อย่างเท่าเทียมได้รับการปกป้องจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนและเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ การซื้อวัคซีนจากต่างประเทศ ควรใช้เป็นวิธีสำรองเมื่อเรามีปัญหาในการผลิตบางปี หรือบางตัวที่เรายังผลิตไม่ได้” ศ.พญ.กุลกัญญากล่าวย้ำในตอนท้าย
          ด้านดร.นพ.จรุง เมืองชนะ ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ (องค์การมหาชน)กล่าวว่าวัคซีนเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการควบคุมและป้องกันโรค สำหรับประเทศไทยรัฐบาลได้ประกาศนโยบายและแผนยุทธศาสตร์วัคซีนแห่งชาติสนับสนุนให้มีการผลิตวัคซีนได้เองภายในประเทศ และได้มีการตั้งสถาบันวัคซีนแห่งชาติมาทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย แนวทางการส่งเสริมและการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อการวิจัย ส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตวัคซีน โดยร่วมมือกับหน่วยงานเครือข่ายที่ทำการวิจัยพัฒนา ผลิต ควบคุมคุณภาพ และการใช้วัคซีนซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานคุณภาพต่างๆ ได้แก่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.), กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, กรมควบคุมโรค, องค์การเภสัชกรรม, สถานเสาวภา สภากาชาดไทย, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย, บริษัทไบโอเนท-เอเชีย จำกัด, มหาวิทยาลัยหลายแห่ง เป็นต้น เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนและผลักดันการพัฒนางานด้านวัคซีนของประเทศให้มีเข้มแข็งและก้าวหน้า เพื่อประโยชน์ในการพึ่งพาตนเองสร้างความมั่นคงด้านวัคซีนในการมีวัคซีนพื้นฐานไว้ใช้ทั้งในภาวะจำเป็นและฉุกเฉิน และนอกจากนี้จะมีการสร้างความร่วมมือในระดับนานาชาติด้วย เช่น ความร่วมมือระดับภูมิภาคอาเซียน เป็นต้น
          “ทั้งนี้จากการทบทวนสถานการณ์การวิจัยพัฒนาเพื่อการผลิตวัคซีนของประเทศ นโยบายและแผนยุทธศาสตร์วัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. 2548 พบว่าวัคซีนที่ประเทศควรผลิตเองตั้งแต่ต้นมี 5 ชนิด ได้แก่ 1) วัคซีนป้องกันไข้สมองอักเสบเจอี (JE) 2) วัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี (DTP-HB) 3) วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ (Seasonal influenza และ Pandemic influenza) 4) วัคซีนป้องกันไข้เลือดออก (Dengue) 5) วัคซีนป้องกันวัณโรคชนิดใหม่ (New TB) ซึ่งการที่ประเทศไทยจะสามารถผลิตวัคซีนได้เองและสามารถส่งออกได้ หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต้องหันมาช่วยกัน สนับสนุนผู้ผลิตซึ่งประเทศไทยมีศักยภาพด้านการผลิตวัคซีนเท่าเทียมกับต่างประเทศ มีบุคลากรที่มีศักยภาพเทียบเท่ากับต่างประเทศ เพียงแค่ขาดการสนับสนุนที่จริงจังเท่านั้นเอง” ดร.นพ.จรุงกล่าวทิ้งท้าย

เครือข่ายด้านวัคซีนชี้!! ไทยควรผลิตวัคซีนได้เอง โดยเฉพาะวัคซีนพื้นฐานสำหรับเด็ก เพื่อลดการพึ่งพาต่างประเทศ
เครือข่ายด้านวัคซีนชี้!! ไทยควรผลิตวัคซีนได้เอง โดยเฉพาะวัคซีนพื้นฐานสำหรับเด็ก เพื่อลดการพึ่งพาต่างประเทศ
เครือข่ายด้านวัคซีนชี้!! ไทยควรผลิตวัคซีนได้เอง โดยเฉพาะวัคซีนพื้นฐานสำหรับเด็ก เพื่อลดการพึ่งพาต่างประเทศ
เครือข่ายด้านวัคซีนชี้!! ไทยควรผลิตวัคซีนได้เอง โดยเฉพาะวัคซีนพื้นฐานสำหรับเด็ก เพื่อลดการพึ่งพาต่างประเทศ
 

ข่าวกุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ+สถาบันวัคซีนแห่งชาติวันนี้

สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย สนับสนุนวัคซีนไฟเซอร์ ฝาแดง สายพันธุ์ Omicron XBB.1.5 จำนวน 3,000 โดส ให้กับสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร

สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย นำโดย ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงกุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ นายกสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย (ที่ 4 จากซ้าย) รณรงค์ให้เด็กไทยมีสุขภาพดี ห่างไกลโรคโควิด 19 สนับสนุนวัคซีนไฟเซอร์ ฝาแดง สายพันธุ์ Omicron XBB.1.5 จำนวน 3,000 โดส ให้กับสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ภายใต้กิจกรรม “สร้างเสริมภูมิคุ้มกันป้องกันโควิด 19 ในเด็กเล็ก” ส่งเสริมเด็กเล็กอายุ 6 เดือนถึง 4 ปี รับวัคซีนโควิด 19 พร้อมสร้างการรับรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องของวัคซีนป้องกันโควิด 19 ในเด็กเล็ก เพื่อลดการ

งานสัมมนาวิชาการ Golden Hours in Pediatrics (37) : “The Good, The Bad & The Ugly of Vaccination”

วิทยากร • ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล • ผศ.นพ.ชนเมธ เตชะแสนศิริ หน่วยโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี...

ภาพข่าว: “คู่มือเลี้ยงลูก” ฉบับครบรอบ 25 ปี

สำนักพิมพ์รักลูกบุ๊กส์ จัดงานเปิดตัวหนังสือ “คู่มือเลี้ยงลูก” ฉบับปรับปรุงข้อมูลใหม่ทางการแพทย์ ผลงานอันทรงคุณค่าของ ศ. (เกียรติคุณ) พญ.ชนิกา ตู้จินดา โดยได้รับเกียรติจาก ศ.พญ.พิมล ศรีสุภาพ และ รศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ กุมารแพทย์คณะ...

สำนักพิมพ์รักลูกบุ๊กส์ เปิดตัวหนังสือ “คู่มือเลี้ยงลูก” ฉบับครบรอบ 25 ปี

สำนักพิมพ์รักลูกบุ๊กส์ สื่อในเครือ บริษัท รักลูกกรุ๊ป จำกัด เปิดตัวหนังสือ “คู่มือเลี้ยงลูก” ฉบับครบรอบ 25 ปี ผลงานอันทรงคุณค่าของ ศ. (เกียรติคุณ) พญ.ชนิกา ตู้จินดา ผู้เขียนที่คุณพ่อคุณแม่รุ่นต่อรุ่นให้ความไว้วางใจ เปรียบ...