พิธีลงนามความร่วมมือ “โครงการแลกเปลี่ยนความรู้และทักษะทางการแพทย์ด้านออโธปิดิกส์ ระหว่างศูนย์กระดูกและข้อกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ และแผนกศัลยศาสตร์ออโธปิดิกส์ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด”

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          ศูนย์กระดูกและข้อกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ ร่วมกับ แผนกศัลยศาสตร์ออโธปิดิกส์ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด“พิธีลงนามความร่วมมือในโครงการแลกเปลี่ยนความรู้และทักษะทางการแพทย์ด้านออโธปิดิกส์” เพื่อการศึกษาวิจัยด้านศัลยกรรมออโธปิดิกส์ และเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านกระดูกและข้อ
          นายแพทย์สุทร บวรรัตนเวช ผู้อำนวยการอาวุโส ศูนย์กระดูกและข้อกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า ปัจจุบันนี้ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุทำให้พบปัญหาเกี่ยวกับโรคกระดูกและข้อเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ภาวะกระดูกพรุน ภาวะกระดูกหักที่เกิดจากโรคกระดูกพรุน โรคข้อเสื่อม เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าการรักษาผู้ป่วยกระดูกเป็นหน้าที่หลักของศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์โดยทั่วไปอยู่แล้ว แต่ผู้ป่วยส่วนหนึ่งยังคงประสบปัญหาภายหลังการรักษา เช่น กระดูกติดผิดรูป กระดูกไม่ติด เกิดความพิการ มีอาการเจ็บปวด หรือไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เหมือนเดิม ปัญหาเหล่านี้ส่วนหนึ่งอาจเกิดจาก ผู้ป่วยได้รับการตรวจวินิจฉัยไม่ครบถ้วน การรักษาที่เกินความจำเป็น (Over treatment) หรือการรักษาที่น้อยกว่าที่สมควร (Under treatment) ซึ่งอาจเกิดจากศัลยแพทย์ขาดทักษะหรือความชำนาญ นอกจากนี้ปัญหาส่วนหนึ่งยังเกิดจากอุปกรณ์ในห้องผ่าตัดไม่พร้อม เนื่องจากการรักษาโรคทางด้านกระดูกนั้นมีความสลับซับซ้อน ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์จึงต้องศึกษาและฝึกฝนเพิ่มเติมจนมีทักษะและความชำนาญในการดูแลรักษาผู้ป่วยเพื่อให้เกิดผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพ
          ในโอกาสนี้ ทางรพ.กรุงเทพมีความยินดีที่ได้ร่วมมือกับแผนกศัลยศาสตร์ออโธปิดิกส์ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ในการลงนามความร่วมมือแลกเปลี่ยนความรู้และทักษะทางการแพทย์ด้านออโธปิดิกส์ เพื่อกำหนดกรอบความร่วมมือของศูนย์กระดูกและข้อกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ และแผนกศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ มหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด ในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์เพื่อการพัฒนาความก้าวหน้าในการวินิจฉัยและดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านกระดูกและข้อ ซึ่งทั้ง 2 องค์กรมุ่งประโยชน์ไปยังการให้การดูแลและรักษาอย่างมีคุณภาพและเป็นเลิศทางด้านออร์โธปิดิกส์ ข้อตกลงดังกล่าวประกอบไปด้วยความร่วมมือในการศึกษา การวิจัย และการประชุมสัมมนาทางการแพทย์เพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรทางการแพทย์ ทั้งนี้โรงพยาบาลกรุงเทพ เป็นโรงพยาบาลเอกชนที่มีความพร้อมในด้านเครื่องมือและเทคโนโลยีทางการแพทย์ทันสมัยตลอดจนมีบุคลากรทางการแพทย์ที่จะให้การดูแลและรักษาผู้ป่วยอย่างเต็มที่ ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง นอกจากนี้เรายังได้ถ่ายทอดความรู้และเทคนิคต่างๆ ให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ เพื่อสร้างความชำนาญในการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วย ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เพื่อตอกย้ำความมุ่งมั่นที่จะให้การดูแลสุขภาพของคนไทยให้มีความเท่าเทียมและได้มาตรฐานระดับสากล
เกี่ยวกับแผนกศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์มหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด
          แผนกศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ มหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด มุ่งเน้นความเป็นเลิศในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาทางด้านออร์โธปิดิกส์และมุ่งพัฒนาความรู้ผ่านการศึกษาวิจัยทางคลินิก เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในระดับสากลในเรื่องการให้การศึกษาสำหรับบุคคลากรทางการแพทย์และยังได้รับรางวัลและการรับรองต่างๆ อย่างมากมาย เป็นศูนย์รวมความเชี่ยวชาญในหลายสาขาของออร์โธปิดิกส์ ไม่ว่าจะเป็นการรักษาและซ่อมแซมข้อต่อ การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม เวชศาสตร์การกีฬา การผ่าตัดกระดูกสันหลัง มือและข้อมือ การผ่าตัดข้อไหล่ ข้อศอก ข้อเท้ารวมถึงการฟื้นฟูและทำกายภาพบำบัด

          เกี่ยวกับศูนย์กระดูกและข้อกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ

          ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลกรุงเทพ ให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านออร์โธปิดิกส์อย่างครบครันและครอบคลุมในทุกช่วงอายุ โดยให้การรักษาด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านออร์โธปิดิกส์ในทุกอนุสาขา เช่น ผู้เชี่ยวชาญในการรักษากระดูกหัก การรักษาและซ่อมแซมข้อต่อ การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม การผ่าตัดทางมือและจุลศัลยศาสตร์ การรักษาโรคกระดูกในเด็กและเวชศาสตร์การกีฬา เป็นต้น พร้อมให้บริการผู้ป่วยด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัยเพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีและมีประสิทธิภาพที่สุดเพื่อให้ผู้ป่วยหายดีและกลับไปใช้ชีวิตตามปกติในเวลาอันรวดเร็ว
พิธีลงนามความร่วมมือ “โครงการแลกเปลี่ยนความรู้และทักษะทางการแพทย์ด้านออโธปิดิกส์ ระหว่างศูนย์กระดูกและข้อกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ และแผนกศัลยศาสตร์ออโธปิดิกส์ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด”
พิธีลงนามความร่วมมือ “โครงการแลกเปลี่ยนความรู้และทักษะทางการแพทย์ด้านออโธปิดิกส์ ระหว่างศูนย์กระดูกและข้อกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ และแผนกศัลยศาสตร์ออโธปิดิกส์ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด”
 


ข่าวมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด+มหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ดวันนี้

"นีแมนน์" เฉือนเพลย์ออฟคว้าแชมป์ พีไอเอฟ ซาอุดิ อินเตอร์เนชั่นแนลฯ "รัชชานนท์" จบที่ 9 ร่วม

วาคิน นีแมนน์ โปรมือ 124 ของโลกจากชิลี เฉือนเพลย์ออฟชนะ คาเมรอน สมิธ แชมป์เมเจอร์จากออสเตรเลีย และ คาเร็บ เซอร์รัท ดาวรุ่งจากลิฟกอล์ฟชาวอเมริกัน คว้าแชมป์พีไอเอฟ ซาอุดิ อินเตอร์เนชั่นแนล พาวเวอร์บาย ซอฟต์แบงก์ อินเวสต์เมนท์ แอดไวเซอร์ส ที่สนามริยาด กอล์ฟ คลับ ประเทศซาอุดิอาระเบีย เมื่อวันที่ 7 ธันวาคมที่ผ่านมา พร้อมเบียดขึ้นครองมือหนึ่งอินเตอร์เนชั่นแนล ซีรีส์ คว้าตั๋วลุยลิฟกอล์ฟฤดูกาลหน้า ขณะที่ ทีเค-รัชชานนท์ ฉันทนานุวัฒน์ นักกอล์ฟสมัครเล่นจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ทำผลงานดีสุดในกลุ่มผู้เล่นชาว

คนไทยในเวทีโลก...12 นักวิจัย สถาบันเทคโนโ... 12 นักวิจัย สจล. ติดอันดับ World's Top 2% ที่มีผู้อ้างอิงมากที่สุดระดับโลก — คนไทยในเวทีโลก...12 นักวิจัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (...

Exness ส่งหัวหน้าแผนก 20 คนไปเรียนที่บัณฑิตวิทยาลัยธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด

เมื่อต้นปีที่ผ่านมา Exness (เอกซ์เนสส์) โบรกเกอร์ผู้ให้บริการสินทรัพย์หลากหลายประเภท ได้เปิดตัวโปรแกรมพัฒนาศักยภาพผู้บริหารระดับกลาง (Middle Management Excellence Program) หรือ MMEP โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ...

โครงการไนต์-เฮนเนสซี สกอลาร์ มอบทุนการศึกษามากเป็นประวัติการณ์ในปี 2566

โครงการไนต์-เฮนเนสซี สกอลาร์ มอบทุนการศึกษา 85 ทุนให้แก่นักศึกษากลุ่มที่ 6 จาก 29 ประเทศ เพื่อศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาใน 38 หลักสูตรของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด โครงการไนต์-เฮนเนสซี สกอลาร์ (Knight-Hennessy Scholars) ของมหาวิทยาลัยส...

นักวิทยาศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดและผู้คิดค้นการโปรแกรมเซลล์ย้อนกลับ รับหน้าที่ดูแลการวิจัยทั้งหมดให้เทิร์น ไบโอ

วิตโตริโอ เซบาสเตียโน ซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วโลกในฐานะผู้บุกเบิกวงการวิทยาศาสตร์ ได้ขยายบทบาทหน้าที่ในบริษัทที่เขาเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง ในขณะที่บริษัทแห่งนี้ใกล้ถึงขั้นดำ...

กสิกรไทยมุ่งมั่นปั้นสตาร์ทอัพไทยฝันให้ไกล... กสิกรไทยเดินหน้าปั้นสตาร์ทอัพไทยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ จับมือ The Stanford Thailand Research Consortium ร่วมผนึกกำลังสนับสนุนงานวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด — กสิกรไทยมุ่...

โครงการไนต์-เฮนเนสซี สกอลาร์ โดยมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ประกาศรายชื่อนักศึกษากลุ่มที่ 5 ตัวแทนจาก 27 ประเทศและ 35 หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา

โครงการไนต์-เฮนเนสซี สกอลาร์ ประกาศรายชื่อนักศึกษาใหม่ 70 ราย โดยเป็นครั้งแรกที่มีนักศึกษามาจากเบลเยียม , จาเมกา , ญี่ปุ่น , ลิเบีย , เปรู , ซาอุดีอาระเบีย , เซอร์...

Stanford Thailand Research Consortium จัดสัมมนาออนไลน์ หัวข้อ 'Future Thailand - Innovation in Education and Workforce Development' ถกประเด็นช่องว่างทางทักษะในการพัฒนากำลังคน

โครงการ Innovative Teaching Scholars (ITS) ซึ่งเป็นโครงการริเริ่มด้านการวิจัยที่สำคัญของ Stanford Thailand Research Consortium...

โครงการ Knight-Hennessy Scholars โดยมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ประกาศรายชื่อนักศึกษาประจำปี 2564 ตัวแทนจาก 26 ประเทศและ 37 หลักสูตรระดับอุดมศึกษา

โครงการ Knight-Hennessy Scholars (https://kh.stanford.edu/) ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ประกาศรายชื่อนักศึกษากลุ่มใหม่จำนวน 76 คนประจำปีการศึกษา 2564 ...