ซีพีเอฟ เปิดยุทธศาสตร์ 5 ปี แผนฟื้นป่าชายเลน พุ่งเป้า ดิน น้ำ ป่า คงอยู่ยั่งยืน

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

           บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหารจำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เปิดแผนยุทธศาสตร์ป่าชายเลน 5 ปี ภายใต้ “โครงการ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน” เน้นสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมเชิงรุกและป้องกันและสร้างจิตสำนึกการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนและเพิ่มความหลายหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน ตั้งเป้าฟื้นฟูพื้นที่ป่า กว่า 2,000 ไร่

          ซีพีเอฟ ด้วยความร่วมมือจากหน่วยงานราชการและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (Biodiversity-Based Economy Development Office) สถาบันการศึกษา เครือข่าย ชุมชนและภาครัฐ เพื่อให้ยุทธศาสตร์การอนุรักษ์ ฟื้นฟูป่าชายเลนมีความยั่งยืนอย่างแท้จริง 

          น.สพ.สุจินต์ ธรรมศาสตร์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร สายงานเพาะลี้ยงสัตว์น้ำและสายงานวิจัยและพัฒนาพันธุ์สัตว์และเทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์น้ำ เปิดเผยว่า “โครงการ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน” เป็นแผนยุทธศาตร์ปลูกป่าชายเลนที่เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2557-2561 โดยมุ่งอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลนผ่านความร่วมมือในเชิงบูรณาการของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อร่วมบรรเทาปัญหาสถานการณ์ป่าชายเลนในปัจจุบัน ซึ่งป่าชายเลนมีส่วนสำคัญต่อการรักษาและส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพหรือความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทางทะเล ที่สัมพันธ์และเชื่อมโยงโดยตรงต่อ “ความมั่นคงทางอาหาร” ของประชากรโลก ในฐานะที่ ซีพีเอฟ เป็นผู้นำในธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารครบวงจร จึงเห็นความสำคัญและความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน ซึ่งเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยให้ทรัพยากรธรรมชาติคงอยู่ อีกทั้งเป็นหลักประกันต่อความมั่นคงทางอาหารและอาชีพของคนในสังคม เพื่อสร้างความมั่นคงของชีวิตและเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนให้ดีขึ้น 

          “หลักการในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน สอดคล้องกับพันธกิจของซีพีเอฟในเรื่อง “ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม” เป็นส่วนหนึ่งของภารกิจในการเดินไปสู่เป้าหมาย “ดินน้ำป่าคงอยู่” ซึ่งเป็น 1 ใน 3 เสาหลัก ของทิศทางความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืน โดยบริษัทมีความมุ่งมั่นในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับ การบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Environment Conservation and Climate Change Mitigation)” น.สพ.สุจินต์ กล่าว 

          นายวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดอาวุโส ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน กล่าวว่า ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ 5 ปี ได้มีการกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินการไว้ 5 จังหวัด คือ สมุทรสาคร สุราษฎร์ธานี ชุมพร พังงา และระยอง โดยในปี 2557 กำหนดพื้นที่นำร่องปลูกป่าชายเลนไว้ 

          3 จังหวัด คือ ชุมพร สมุทรสาคร และระยอง ครอบคลุมพื้นที่กว่า 1,100 ไร่ โดยในแต่ละพื้นที่จะมีการศึกษาสภาพแวดล้อมของพื้นที่ก่อนนำไปสู่การจัดการกิจกรรมที่เหมาะสม ซึ่งจะเน้นการอนุรักษ์ ดูแลรักษาพื้นที่ป่าชายเลนให้คงสภาพตามธรรมชาติ ไม่ถูกรบกวนหรือทำลายให้เสื่อมโทรมโดยการกระทำของมนุษย์ ขณะเดียวกันก็เร่งฟื้นฟูและปรับปรุงสภาพป่าเสื่อมโทรมให้กลับมามีสภาพสมบูรณ์

          นอกจากนี้ ซีพีเอฟ ยังให้ความสำคัญเรื่องความร่วมมือระหว่างเครือข่ายและภาคประชาสังคม รวมทั้งการส่งเสริมกระบวนการเข้าถึงความรู้เพื่อเพิ่มคุณค่าของป่าชายเลนและระบบนิเวศชายฝั่ง การอนุรักษ์และฟื้นฟูเพื่อเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเฉพาะการการติดตามและรายงานผลเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการพัฒนาอย่างยั่งยืน

          นายวุฒิชัย กล่าวต่อไปว่า โครงการยุทธศาสตร์ “ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน” เป็นการต่อยอดโครงการปลูกป่าชายเลนของ ซีพีเอฟ ที่ดำเนินการมาแล้วตั้งแต่ปี 2536 และจนถึงปี 2556 บริษัทมีการปลูกป่าไปแล้วจำนวนทั้งสิ้น 301,027 ต้น ครอบคลุมพื้นที่ 5,600 ไร่ ใน 17 จังหวัด อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจติดตามผลของบริษัทพบว่าต้นไม่ที่ปลูกคงเหลือทั้งหมด 84,000 ต้น จำนวน 123.8 ไร่ เนื่องจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม 

          “โครงการนี้เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของโรดแมพ ซีพีเอฟ ในการดำเนินธุรกิจที่มุ่งให้เกิดความยั่งยืนทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคู่ค้าและคู่ธุรกิจ ที่ต้องดำเนินธุรกิจร่วมกันอย่างรับผิดชอบต่อสังคม ตามโรดแมพ 3 เสาหลักของบริษัท คือ อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดิน น้ำ ป่า คงอยู่” นายวุฒิชัย กล่าวย้ำ

          นายสมบัติ กาญจนไพหาร หัวหน้าศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 2 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เปิดเผยว่า จากความสำคัญและสถานการณ์พื้นที่ป่าชายเลนที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน จึงเป็นที่มาของแผนแม่บทการจัดการป่าชายเลนประเทศไทย ซึ่งมีเป้าหมายในการบริหารจัดการพื้นที่ป่าชายเลนไม่น้อยกว่า 1.52 ล้านไร่ ควบคู่ไปกับการสร้างเสริมเครือข่ายในการอนุรักษ์คุ้มครอง และป้องกันป่าชายเลนที่ถือเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่าอย่างมหาศาลต่อระบบนิเวศชายฝั่ง 

          “การดำเนินโครงการ ปลูก-ปัน-ป้อง ป่าชายเลน ได้นำแนวคิดการพัฒนาบนพื้นฐานความตระหนักรู้ในคุณค่า การใช้ประโยชน์อย่างรับผิดชอบ และการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม มาใช้เป็นกรอบในการดำเนินงาน ซึ่งถือเป็นต้นแบบที่ดีของโครงการความร่วมมือในเชิงบูรณาการ และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรป่าชายเลนของประเทศ ทั้งนี้ เพื่อร่วมกันอนุรักษ์ ฟื้นฟูป่าชายเลน รวมถึงส่งเสริมความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรป่าชายเลนและความหลากหลายทางชีวภาพให้เกิดความเข้มแข็งและยั่งยืนอย่างแท้จริง” 

          นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) กล่าวเสริมว่า จากโครงการความร่วมมือปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน ที่มีการวางแนวทางการติดตามและประเมินผล 

          ทางเบโด้ได้ใช้กลไกการประเมินคุณค่าและวัดผลเชิงนิเวศของป่าชายเลน หรือ PES (Payments for Ecosystem Services) ซึ่งประโยชน์ที่ได้รับจะทำให้ทราบมูลค่าของผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเป็นเชิงปริมาณ อาทิ มูลค่าของเนื้อไม้ มูลค่าการควบคุมระบบดูดซับน้ำฝนและระบายน้ำให้กับลำธาร มูลค่าการควบคุมการกัดชะพังทลายของดิน มูลค่าการบรรเทาความรุนแรงของอากาศ และมูลค่าการดูดซับกาซเรือนกระจก เป็นต้น ซึ่งจะทำให้การดำเนินโครงการสามารถติดตามและประเมินผลก่อนและหลังการดำเนินงานได้.

ข่าวสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ+กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งวันนี้

ซีพีเอฟส่งมอบกองทุนฯถึงมือชุมชนปากน้ำประแส จ.ระยอง ดูแลรักษาป่าชายเลนยั่งยืน

มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์ ร่วมกับ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ส่งมอบกองทุนชุมชนเพื่ออนุรักษ์ป่าชายเลนและส่งเสริมอาชีพชุมชน ต่อยอด"โครงการปลูก ปัน ป้องป่าชายเลน" และกองทุนท่องเที่ยวชุมชน ให้ชุมชนปากน้ำประแส จังหวัดระยอง ใช้เป็นกองทุนหมุนเวียนดูแลป่าและเป็นแหล่งทุนพัฒนาอาชีพ ส่งเสริมชุมชนร่วมอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลนยั่งยืน นายวีรพงษ์ ลาภสาร รองกรรมการผู้จัดการ ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ซีพีเอฟร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ(องค์การมหาชน)

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ นำนักศึกษาสาข... ภาพข่าว: นักศึกษาสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ เยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้ ซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน ปากน้ำประแส จ.ระยอง — สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ นำ...

ซีพีเอฟ นำร่องโครงการ “ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน” ที่ จ.ชุมพร

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ จับมือกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) และเครือข่ายภาคประชาคม ดำเนินโครงการ “ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน” นำร่องในจังหวัดชุมพร ...

บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) ผู้ด... ซีพี แอ็กซ์ตร้า จับมือ BEDO จัดอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตและใช้ประโยชน์แมลงโปรตีน BSF เสริมแกร่ง เพิ่มรายได้ ให้เกษตรกรทั่วภูมิภาค — บริษัท ซีพี แอ็กซ์...

บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน... ร่วมยกระดับสินค้าBCGชุมชนเชิงพาณิชย์ เหล็กสหวิริยาMOUวิสาหกิจ-BEDOพัฒนา — บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือ "เอสเอสไอ" โดยนายผดุงศักดิ์ ปราณ...

บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) ผู้ด... ซีพี แอ็กซ์ตร้า ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น และสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพฯ ลงนาม MOU สานต่อโครงการ "เปลี่ยนขยะเป็นประโยชน์" สนับสนุนให้เกษตรกรเพาะเลี้ยงแมลงโปรตีน (BSF) ตั้งเป้าลดขยะอาหารเป็นศูนย์ ภายในปี 2573 — บริษัท ซีพี...

นายดิษทัต ปันยารชุน ประธานเจ้าหน้าที่บริห... OR จับมือ BEDO ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชีวภาพ เพิ่มรายได้ชุมชน ผ่าน "โครงการไทยเด็ด" — นายดิษทัต ปันยารชุน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลี...

กาญจนา เรืองสิริวิชญกุล ผู้จัดการทั่วไป โ... โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการให้การต้อนรับผู้อำนวยการ สพภ. — กาญจนา เรืองสิริวิชญกุล ผู้จัดการทั่วไป โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา ศูนย์ราชการ และคอนเวนชันเซ็นเต...

มบส. จัดกิจกรรมส่งเสริมองค์ความรู้ ใช้ประ... มบส. จัดกิจกรรมส่งเสริมองค์ความรู้ ใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ — มบส. จัดกิจกรรมส่งเสริมองค์ความรู้ ใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชนมาให้คว...