คลาเรียนท์เปิดโรงงานสร้างใหม่ในอินโดนีเซียอย่างเต็มรูปแบบ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

           · การขยายตัวของหน่วยการผลิตที่ทังเกอรัง (Tangerang) ช่วยเพิ่มกำลังการผลิตและสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลาย ครอบคลุมถึงความสามารถสนับสนุนการผลิตให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
          · การรองรับและตอบสนองต่อความต้องการของตลาด ทั้งในและต่างประเทศ ทั้งในเรื่องของผลิตภัณฑ์แม่สี, ผลิตภัณฑ์แม่สีเม็ดพลาสติก, ผลิตภัณฑ์เพื่อการดูแลตนเอง และส่วนประกอบสำหรับผลิตภัณฑ์เพื่อการดูแลที่ใช้ในบ้านและงานอุตสาหกรรม
          · ความคิดริเริ่มเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของชุมชนในพื้นที่ใกล้เคียง: โครงการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาของคลาเรียนท์ (Clariant School Adoption)

           คลาเรียนท์ บริษัทผู้นำระดับโลกทางด้านธุรกิจเคมีภัณฑ์พิเศษ เปิดโรงงานสร้างใหม่ เพิ่มศักยภาพในการผลิต และการให้บริการสำหรับลูกค้าในประเทศอินโดนีเซีย รวมทั้งประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก (South East Asia and Pacific - SEA&P) หลังจากที่มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการที่โรงงานผลิตที่ทังเกอรัง (Tangerang) ในวันนี้ ความสามารถทางการผลิตที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด รวมไปถึงการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตให้มีความทันสมัยจะช่วยรองรับความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของผลิตภัณฑ์แม่สี, ผลิตภัณฑ์แม่สีเม็ดพลาสติก, ผลิตภัณฑ์เพื่อการดูแลตนเอง, ส่วนประกอบสำหรับผลิตภัณฑ์เพื่อการดูแลที่ใช้ในบ้านและงานอุตสาหกรรม 

          การลงทุนของหน่วยธุรกิจผลิตภัณฑ์พิเศษเพื่องานอุตสาหกรรมและการอุปโภคบริโภค (Business Units Industrial & Consumer Specialties), หน่วยธุรกิจแม่สีเม็ดพลาสติก (Masterbatches) และหน่วยธุรกิจแม่สี (Pigments) จะช่วยเน้นย้ำให้เห็นถึงคำมั่นสัญญาของคลาเรียนท์ ที่มุ่งเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจในระยะยาว ด้วยการยกระดับการให้บริการสำหรับลูกค้าในอินโดนีเซีย รวมทั้งประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก ในการนี้ คลาเรียนท์ มีสำนักงานอยู่ที่อินโดนีเซียทั้งหมด 8 แห่ง พร้อมบุคลากรอีกกว่า 800 คน ซึ่งกระจายตัวปฏิบัติงานอยู่ที่โรงงานการผลิต 6 แห่ง และศูนย์ให้บริการทางเทคนิคอีก 3 แห่ง นอกจากนี้ คลาเรียนท์ ยังเป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำในประเทศอินโดนีเชียและประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก ไม่ว่าจะเป็นทางด้านแม่สี, พลาสติก, น้ำมันและก๊าซ, สารเร่งปฏิกิริยา (Catalysts) และการกลั่นน้ำมันเพื่อการบริโภค โดยในช่วงปี 2556 ที่ผ่านมา คลาเรียนท์ ประจำภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก สามารถสร้างยอดขายคิดเป็นในส่วนของภูมิภาคเอเชียได้มากถึง 30% และคิดเป็น 7% ของยอดขายทั่วโลก
          การขยายศักยภาพการผลิตและการให้บริการของหน่วยการผลิตที่ทังเกอรังมีรายละเอียดที่สำคัญดังนี้:
- การเพิ่มกำลังการผลิตและห้องปฏิบัติการ เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มากขึ้นเป็นสองเท่า เพื่อสนับสนุนงานบริการลูกค้า ในทั้งส่วนของผลิตภัณฑ์เพื่อการดูแลตนเองและผลิตภัณฑ์เพื่อการดูแลที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม โดยหน่วยการผลิตต่าง ๆ ที่พัฒนาขึ้นนี้ก็ได้รับการรับรองตามมาตรฐานคุณภาพการผลิตเครื่องสำอาง ISO 22716 (ISO 22716 Cosmetics Good Manufacturing Practice (GMP) certification)
- ในส่วนของหน่วยการผลิตแห่งใหม่ของแม่สีเม็ดพลาสติก (masterbatches) ก็มีการเพิ่มกำลังการผลิตให้มากขึ้นเป็นสองเท่า โดยที่ยังสามารถเพิ่มได้มากยิ่งขึ้นอีก การลงทุนในครั้งนี้จะช่วยเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์และความพร้อมในการให้บริการของคลาเรียนท์ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ภายในประเทศ ทั้งในเรื่องของรูปแบบผลิตภัณฑ์และเครื่องอุปโภคบริโภค
- ในส่วนของหน่วยการผลิตผลิตภัณฑ์แม่สี ก็มีการเพิ่มกำลังการผลิตให้มากขึ้นเป็นสองเท่าเพื่อตอบสนองต่อตลาดที่มีความต้องการใช้งานผลิตภัณฑ์แม่สีคุณภาพสูง มีปริมาณอัตราสารอินทรีย์ที่ระเหยออกมาได้ต่ำ (VoC) เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสิ่งแวดล้อมของสถาบันรับรองมาตรฐานต่าง ๆ เช่น Blue Angel และมาตรฐานสิ่งแวดล้อมของภูมิภาคอื่นที่คล้ายคลึงกัน
- หน่วยการผลิตที่ทังเกอรังได้รับการรับรองตามมาตรฐานระบบการจัดการด้านพลังงาน หรือ ISO 50001 Energy Management System ซึ่งช่วยสร้างภาพลักษณ์ให้กับคลาเรียนท์ในเรื่องของการประหยัดพลังงานอย่างเป็นระบบรวมไปถึงการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 
          นายฮาริออล์ฟ คอทมาน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของคลาเรียนท์ ได้อธิบายเพิ่มเติม โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของแผนกลยุทธ์การลงทุนในประเทศอินโดนีเซียระหว่างพิธีเปิดโรงงานนี้ว่า “คลาเรียนท์ มุ่งหวังที่จะเห็นอนาคตที่สดใสในธุรกิจในเอเชีย ซึ่งขณะนี้ มีศูนย์กลางอยู่ที่อินโดนีเซีย เพื่อสนับสนุนให้คลาเรียนท์มีการเติบโตอย่างยั่งยืนได้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก การลงทุนทั้งในส่วนของกำลังการผลิต, ผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย และงานบริการต่าง ๆ จะแสดงให้เห็นว่าคลาเรียนท์มีความเชื่อมั่นในศักยภาพ และการขยายตัวของตลาดในอินโดนีเซีย และยังเน้นย้ำในเรื่องของคำมั่นสัญญาของคลาเรียนท์ ที่จะรองรับและตอบสนองต่อความต้องการของตลาดที่เพิ่มมากขึ้นทั้งในและต่างประเทศ”
          
          นอกจากนั้น คลาเรียนท์ อินโดนีเซีย ยังมีความกระตือรือร้น ที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อสังคมประเภทต่าง ๆ ในบริเวณใกล้เคียง เพื่อเน้นย้ำให้เห็นถึงคำมั่นสัญญาของคลาเรียนท์ที่จะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ประเทศชาติเติบโตอย่างยั่งยืน

ในปี 2555 และ 2556 ที่ผ่านมา คลาเรียนท์อินโดนีเซียประสบความสำเร็จในการจัดตั้ง “โครงการพัฒนาศักยภาพครู (Teacher Development Program)” ด้วยเหตุนี้ ทางบริษัทฯ จึงเกิดความคิดริเริ่มและมีความพยายามที่จะพัฒนาและสนับสนุนทางด้านการศึกษาของชุมชนให้ดียิ่งขึ้น โดยการจัดตั้งโครงการใหม่ที่มีชื่อว่า “โครงการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาของคลาเรียนท์ (Clariant School Adoption)” ในส่วนของโครงการใหม่นี้ คลาเรียนท์ อินโดนีเซียได้เข้าร่วมกับมูลนิธิ Putera Sampoerna เพื่อสนับสนุนทุนการศึกษาสำหรับชั้นเรียนพิเศษและทุนสำหรับฝึกอบรมแบบปฏิบัติงานจริง (On-the-Job Training) ให้กับผู้ประกอบวิชาชีพครูที่ประจำอยู่ในโรงเรียนของรัฐในพื้นที่ชุมชนใกล้เคียง โดยมีระยะเวลาในการฝึกอบรมมากกว่า 6 เดือน โครงการใหม่นี้มีเป้าหมายที่จะให้ความช่วยเหลือและพัฒนาศักยภาพครูเพื่อที่จะได้สามารถให้การศึกษาแก่เด็ก ๆ ต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ข่าวคุณภาพการศึกษา+อินโดนีเซียวันนี้

"คุรุสภา"ขับเคลื่อน Thailand Teacher Academy พัฒนาครูด้วยองค์ความรู้เฉพาะด้านอย่างมืออาชีพ

ผศ.ดร.อมลวรรณ วีระธรรมโม เลขาธิการคุรุสภา กล่าวว่า จากนโยบาย "เรียนดี มีความสุข" ของพลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ที่มุ่งสร้าง "การศึกษาเท่าเทียม" เพื่อต่อยอดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทุกระดับให้ทันสมัย ได้มาตรฐานสากลอย่างเร่งด่วนและรวดเร็ว ซึ่งสอดรับกับบทบาทหน้าที่ของคุรุสภาตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 ที่กำหนดให้คุรุสภากำหนดนโยบายและแผนพัฒนาวิชาชีพ รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาวิชาชีพทางการศึกษา ดังนั้นสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา โดยสถาบันคุรุพัฒนา

เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักงานรับรองมาตรฐานและป... สมศ. ผนึก สกร. ร่วมประเมินนำร่องตัวชี้วัดประกันคุณภาพภายนอกเขตบางบอน — เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา หรือ สมศ. ลงพื้นที่ทด...

ศาสตราจารย์ ดร.องอาจ นัยพัฒน์ ผู้อำนวยการ... สมศ. เน้นย้ำการประเมินคุณภาพภายนอก ปี 67-71 ลดวันประเมิน On site ขยายสู่รูปแบบออนไลน์ สร้างมาตรฐานในการแข่งขันระดับอาเซียน — ศาสตราจารย์ ดร.องอาจ นัยพัฒน์...

เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักงานรับรองมาตรฐานและป... ศาสตราจารย์ ดร.องอาจ นัยพัฒน์ รับตำแหน่งผู้อำนวยการ สมศ. — เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา หรือ สมศ. ร่วมแสดงความยินดีกับ "ศ...

ศาสตราจารย์ ดร.สุรินทร์ คำฝอย รองผู้อำนวย... บทบาทสถาบันอุดมศึกษาเอกชนกับอนาคตการศึกษาไทย — ศาสตราจารย์ ดร.สุรินทร์ คำฝอย รองผู้อำนวยการ กลุ่ม ยุทธศาสตร์กำลังคนในระบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย...

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศ... เปิดมุมมองการประเมินคุณภาพภายนอกปี 2567 - 2571 ในรูปแบบ "การประเมินเพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา" — สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา หรือ สมศ. เป...

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศ... สมศ. ชวนสถานศึกษา เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการนำผลประเมินไปใช้พัฒนาคุณภาพ — สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.) ขอเชิญชวนสถา...

รศ.ดร. รัชนี เจริญ คณบดีคณะอุตสาหกรรมเกษต... คณะอุตสาหกรรมเกษตรดิจิทัล มจพ. วิทยาเขตปราจีนบุรี ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับ บริษัท ครัวการบินกรุงเทพ จำกัด — รศ.ดร. รัชนี เจริญ คณบดีคณะอุตสาหกรรมเกษต...

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) ผู้นำเทคโ... แอลจีสนับสนุน 'โครงการร้อยพลังการศึกษา' มอบโน้ตบุ๊ก LG gram 50 เครื่อง ให้แก่มูลนิธิยุวพัฒน์ มุ่งส่งเสริมการเรียนรู้ในพื้นที่ห่างไกล — แอลจี อีเลคทรอนิคส์...

ด้วยความมุ่งมั่นในการส่งเสริมคุณภาพการศึก... เฉียวเป่า เมททัล สนับสนุนการศึกษาผ่าน มูลนิธิ EDF — ด้วยความมุ่งมั่นในการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาโดยเฉพาะกลุ่มนักเรียนด้อยโอกาส ผู้แทนบริษัทเฉียวเป่า เมท...