ธุรกิจถ่ายภาพ เป็นธุรกิจที่มีเงินหมุนเวียนจำนวนมาก จากการสำรวจของเครือข่ายช่างภาพอิสระ ร้อยละ 55 ของช่างภาพไม่ได้มีคุณวุฒิการศึกษาด้านการถ่ายภาพ การจ้างงานเป็นลักษณะพิจารณาแฟ้มสะสมงานและความพอใจ ซึ่งยังไม่มีมาตรฐานคุณภาพผลงานและมาตรฐานอัตราจ้างที่เหมาะสม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ได้จัดทำโครงการความร่วมมือกับสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ(องค์การมหาชน) แถลงผลการจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ กลุ่มอาชีพธุรกิจถ่ายภาพ พร้อมกับการมอบเกียรติบัตรให้กับคนในแวดวงธุรกิจถ่ายภาพ ที่ผ่านการทดสอบวัดระดับคุณวุฒิวิชาชีพ ช่างถ่ายภาพทั่วไป และช่างถ่ายภาพบุคคล
การจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ กลุ่มอาชีพธุรกิจถ่ายภาพ เป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของกลุ่มคนในแวดวงวิชาชีพด้านการถ่ายภาพ ซึ่งประกอบไปด้วย ภาคการศึกษานำโดย สาขาวิชาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ และภาคธุรกิจที่มีส่วนเกี่ยวข้องในวิชาชีพด้านการถ่ายภาพ อาทิ สมาพันธ์สมาคมการถ่ายภาพแห่งประเทศไทย สมาคมธุรกิจการถ่ายภาพ ผู้ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ หนังสือ วารสารที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายภาพ ผู้ทรงคุณวุฒิทางการถ่ายภาพ ตลอดจนนักถ่ายภาพที่มีชื่อเสียง เป็นการดำเนินงานภายใต้การสนับสนุนของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)
โครงการนี้ได้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2556 และดำเนินงานโดยวิธีการที่ได้ศึกษาจากรูปแบบมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพของหลายๆ ประเทศที่เคยมีการจัดทำโครงการนี้ ตลอดจนการระดมความคิดจากคนในวิชาชีพและผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อหารูปแบบมาตรฐานและคุณวุฒิที่เหมาะสมกับบริบทของวิชาชีพนี้ในประเทศไทย ก่อนนำไปออกแบบมาตรฐานอาชีพ จัดระดับคุณวุฒิ ประชาพิเคราะห์ และกระบวนการทดสอบ แล้วทำการทดลองโดยเปิดรับสมัครให้คนในวิชาชีพและผู้ที่สนใจมาทดสอบสมรรถนะของตนเองตามแบบมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพที่จัดทำขึ้นมา ซึ่งมีช่างภาพอาสาสมัครเข้ามาทดสอบจำนวน 31 คน ในคุณวุฒิช่างภาพทั่วไปและช่างภาพบุคคล
โครงการที่จัดทำขึ้นมานี้ จะเข้ามาช่วยกำหนดและยืนยันคุณสมบัติ ทักษะ ความรู้ ความสามารถ อย่างเป็นรูปธรรมที่จับต้องและเชื่อถือได้ ให้กับผู้ประกอบอาชีพนี้ทั้งระบบตั้งแต่ อาชีพช่างภาพ พนักงานในธุรกิจให้บริการตกแต่งภาพ รับอัดขยายภาพถ่าย และยังช่วยกำหนดอัตราค่าตอบแทนที่เหมาะสมตามความสามารถ ตรงตามคุณภาพงานระหว่างผู้ว่าจ้างกับผู้รับงาน โดยเฉพาะกลุ่มช่างภาพอิสระที่มีความสามารถสูงแต่ไม่มีคุณวุฒิการศึกษาด้านการถ่ายภาพ หรือใบรับรองความสามารถในการทำงาน
ในขณะเดียวกันก็ยังจะมีประโยชน์ต่อสถานประกอบการธุรกิจถ่ายภาพ ที่จะรับบุคลากรเข้าทำงาน ก็จะได้รับความเป็นธรรมในการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน เพราะผู้ประกอบอาชีพที่ผ่านการรับรองจากสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพแล้ว ก็จะทำให้ผู้ประกอบการมีความมั่นใจในการรับเข้าทำงานตามสายงาน และระดับที่ผ่านการรับรองโดยที่ไม่ต้องเสียเวลาในการฝึกสอนใหม่ ซึ่งมักเป็นปัญหาของสถานประกอบการที่ได้ฝึกสอนบุคลากรจนมีความสามารถดีแล้ว ก็มักจะออกไปทำงานที่ใหม่ที่จ้างงานด้วยอัตราที่สูงกว่า
ผลการจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ กลุ่มอาชีพธุรกิจถ่ายภาพ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประวัติ เลิศจันทรางกูร อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ซึ่งเป็นหัวหน้าโครงการ ได้เปิดเผยถึงผลการจัดทำมาตรฐานอาชีพธุรกิจถ่ายภาพว่า หลังจากที่คณะทำงานซึ่งล้วนแต่เป็นผู้ที่คร่ำหวอดในแวดวงธุรกิจถ่ายภาพทั้งสิ้นได้ร่วมกันทำการศึกษามาร่วม 10 เดือนว่า
คณะทำงาน ได้มีมติร่วมในการกำหนดบทบาทของงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ กลุ่มอาชีพธุรกิจถ่ายภาพ จะประกอบไปด้วย 4 สายงานดังนี้
1. สายงานถ่ายภาพ ประกอบด้วยรูปแบบงาน 3 หน้าที่ คือ 1. ถ่ายภาพทั่วไป 2. ถ่ายภาพบุคคล 3. ถ่ายภาพสื่อสารมวลชน
2. สายงานผลิตภาพ ประกอบด้วยรูปแบบงาน 4 หน้าที่ คือ 1. ผลิตภาพ 2. ปรับแต่งภาพ 3. ออกแบบกราฟิก 4. ควบคุมคุณภาพ
3. สายงานจำหน่ายอุปกรณ์ร้านถ่ายภาพ ประกอบด้วยรูปแบบงาน 4 หน้าที่ คือ 1. ขายอุปกรณ์ 2. บริหารจัดการ 3. บริหารงานบุคลากร 4. ส่งเสริมการตลาด
4. สายงานพัฒนาธุรกิจถ่ายภาพ ประกอบด้วยรูปแบบงาน 2 หน้าที่ คือ 1.จัดฝึกอบรม 2. เผยแพร่องค์ความรู้
เมื่อกำหนดลักษณะบทบาทและหน้าที่ของสายงาน ในกลุ่มอาชีพธุรกิจถ่ายภาพแล้ว คณะกรรมการจึงได้ทำการศึกษาเพื่อกำหนดมาตรฐานอาชีพของสายงานโดยจัดทำเพียง 2 สายงานก่อน คือ สายงานถ่ายภาพและสายงานผลิตภาพ เป็นโครงการนำร่องในปีนี้
ผลจากการจัดทำมาตรฐานอาชีพ ในสายงานถ่ายภาพและผลิตภาพ เมื่อนำไปจัดระดับคุณวุฒิวิชาชีพ ก็ได้คุณวุฒิวิชาชีพธุรกิจถ่ายภาพจำนวน 11 คุณวุฒิ ในแต่ละคุณวุฒิก็จะจัดระดับชั้นตามคุณลักษณะการปฏิบัติงาน ที่กำหนดโดยกรอบคุณวุฒิวิชาชีพแห่งชาติซึ่งมี 7 ระดับ คุณวุฒิวิชาชีพธุรกิจถ่ายภาพ ทั้งสองสายงานในแต่ละคุณวุฒิ ก็มีระดับชั้นที่แตกต่างกัน เริ่มต้นที่ระดับชั้นที่ 2 สูงสุดที่ระดับชั้นที่ 5 เพื่อเป็นเกณฑ์สำหรับนำไปใช้ในการทดสอบสมรรถนะของบุคคลในคุณวุฒิต่างๆ ตามระดับความสามารถ
ผู้ที่สนใจข้อมูลเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของโครงการ สามารถเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.thaivqphotobusiness.org หรือติดต่อสอบถามได้ที่ สาขาวิชาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ โทร. 02-287-9634 ,084-6488552
อาดิดาส ประเทศไทย จัดงาน "RUN LIKE A CHAMPION WITH AMOS KIPRUTO" เชิญสุดยอดนักวิ่งมาราธอนระดับโลก เจ้าของแชมป์ลอนดอน มาราธอน ปี 2022 "อามอส คิปรูโต" มาร่วมแบ่งปันเทคนิคการฝึกซ้อมวิ่งสไตล์อีลีท พร้อมร่วมลงสนามวิ่งเคียงข้างนักวิ่งจาก adidas Runners Bangkok กว่า 200 คน ในระยะทาง 5.2 กิโลเมตร ร่วมกับนักกีฬาชาวไทย อย่าง นายสัญชัย นามเขต และ นายปฏิการ เพชรศรีชา หรือ โค้ชเดี่ยว อดีตนักวิ่งทีมชาติไทยมากความสามารถ ณ สนามกีฬากลางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ หรือ UTK Stadium ในฐานะผู้นำ
เอช เซม สนับสนุนการเรียนรู้ด้านยานยนต์ไฟฟ้า
—
คุณมัญชรี สงเคราะห์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอช เซม มอเตอร์ จำกัด (คนซ้าย) มอบรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า เอช เซม...
ส.อ.ท. เปิดศูนย์การเรียนรู้ พลิกโฉมพื้นที่ธุรกิจสู่แหล่งเรียนรู้นวัตกรรมทางธุรกิจ
—
วันจันทร์ที่ 16 มกราคม 2566 นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรร...
วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ลงนามข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ
—
วิทยาลัยวิทยา...
มทร.กรุงเทพ จัดประชุมวิชาการ UTK Cretech 2021
—
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ขอเชิญชวนทุกท่านเข้าร่วมพิธีเปิดงานประชุมวิชาการ...
สมุทรสาครเปิด3เส้นทางท่องเที่ยวชุมชนใหม่
—
พัฒนาการจังหวัดสมุทรสาคร เป็นประธานเปิดกิจกรรมพัฒนาเส้นทางและแหล่งท่องเที่ยวของหมู่บ้านท่องเที่ยว จ...
ม.เทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพจัดติวGAT ฟรี!!
—
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ขอเชิญชวนน้องๆ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และระดับชั้น ปวช.ร่วมกิจกรรมแนะแนว...
ภาพข่าว: ได้แล้วผู้ชนะจากโครงการ 40ปี ปตท. PLANT TOGETHER !!
—
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ บริษัท เจเอสแอล โกลบอลมีเดีย จำกัด จัดประกวดสร้างพื้นที่ส...
มทร.กรุงเทพวิจัยปลาดุก(อุ๊ย)หนุนผู้เลี้ยงทำครบวงจร
—
จากความย่ำแย่ของเศรษฐกิจส่งผลกระทบกับเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาดุกพื้นที่บ้านดอนตะเคียนในตำบลยุ้งทะลาย อำเ...