ไทย จับมือร่วมสมาชิก GACD มุ่งวิจัยลดโรค NCD

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          เมื่อวันที่ 6 พ.ย. 2557 ที่ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย ศ.นพ.สมเกียรติ วัฒนศิริชัยกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และ ดร.อแลงค์ โบเดท์ ประธานสถาบันวิจัยสาธารณสุขแคนาดา (Canadian Institute of Health Research: CIHR) ร่วมกันแถลงข่าวพร้อมลงนามความร่วมมือไทย – แคนาดา สู่การเป็นประเทศสมาชิก Global Alliance for Chronic disease หรือ GACD ภาคีเครือข่ายการวิจัยด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรังระหว่างประเทศ เพื่อส่งเสริมการวิจัยด้านสุขภาพระหว่างประเทศ ในประเด็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
          ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ กล่าวว่า จากปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ Non communicable Chronic diseases (NCD) อาทิ โรคความดันโลหิต เบาหวาน โรคหัวใจ มะเร็ง เป็นปัญหาสาธารณสุขที่ส่งผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนาประเทศ ที่ประเทศไทยและทั่วโลกให้ความสำคัญ โดยทางรัฐบาลไทย พร้อมที่จะผลักดันให้เกิดการเคลื่อนไหวระดับนานาชาติ เพื่อเสริมสร้างการจัดทำยุทธศาสตร์ในการป้องกันและควบคุมโรค ซึ่งสอดคล้องกับการดำเนินยุทธศาสตร์ เรื่องการยกระดับคุณภาพการบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพประชาชนตามนโยบายของรัฐบาล
          “ความร่วมมือในครั้งนี้ ไม่ได้มีเพียงเฉพาะกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วเท่านั้น แต่ยังมีการดึงประเทศที่กำลังพัฒนาได้เข้าร่วมเป็นเครือข่าย เพื่อทำงานด้านการวิจัย สนับสนุน และรับทุนวิจัย โดยมุ่งเน้นการนำผลงานวิจัยมาใช้ประโยชน์ในการดูแล รักษา ป้องกัน รวมทั้งพัฒนาทางด้านการแพทย์ เพื่อลดความรุนแรงจากโรค NCD ในอนาคต” รองนายกฯ กล่าว
          ดร.อแลงค์ โบเดท์ กล่าวว่า GACD ประกอบด้วยประเทศสมาชิกที่เป็นสถาบันวิจัยทางด้านสุขภาพจากประเทศต่างๆ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป อินเดีย อังกฤษ แอฟริกาใต้ ออสเตรเลีย และแคนาดา มีบทบาทและยุทธศาสตร์การทำงานป้องกันและแก้ปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยสนับสนุนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคเรื้อรังประเภทไม่ติดต่อ 5 กลุ่มโรค ได้แก่ โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด มะเร็ง ปอด เบาหวานชนิดที่ 2 รวมทั้งโรคสมองและภาวะความผิดปกติทางจิต
          “ไทยเป็นหนึ่งในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ทางประเทศสมาชิก GACD ได้ร่วมกันพิจารณาว่ามีศักยภาพและมีความพร้อม โดยเฉพาะการที่ประเทศไทยมีระบบหลักประกันสุขภาพที่เป็นต้นแบบให้กับนานาประเทศ และมีการดำเนินงานวิจัยและมีโครงสร้างพื้นฐานทางด้านสาธารณสุข ที่พร้อมต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง” ประธานสถาบันวิจัยสาธารณสุขแคนาดา กล่าว
ทางด้าน ศ.นพ.สมเกียรติ วัฒนศิริชัยกุล ผู้อำนวยการ สวรส. กล่าวว่า สถานการณ์โรค NCD ในไทย จัดเป็นกลุ่มโรคที่เป็นภาระโรคและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรไทย 5 อันดับแรก ได้แก่ ปัญหาโรคเรื้อรังจากการดื่มสุราและสูบบุหรี่ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวาน อุบัติเหตุทางถนน และโรคมะเร็ง ปัจจุบันค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพของประเทศ คิดเป็น 4.2% ของ GDP ประเทศ หากปล่อยไว้เช่นนี้คาดว่าอีก 10 ปีข้างหน้า GDP อาจจะสูงถึง 6.6% โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในกุล่มโรค NCD นั้น การดูแลรักษาต่อผู้ป่วย 1 คน จะมีมูลค่าสูงมาก
          สวรส. ในฐานะสมาชิกเครือข่ายองค์กรบริหารงานวิจัยแห่งชาติ (คอบช.) มองว่า การเข้าร่วมเป็นสมาชิก GACD ในครั้งนี้ จะเป็นการเพิ่มศักยภาพให้ประเทศไทยได้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ วิธีการใหม่ๆ การแบ่งบันข้อมูล ตลอดจนเกิดเครือข่ายความร่วมมือของนักวิจัยในระดับสากลที่กว้างขวางและเพิ่มประสิทธิภาพของระบบสุขภาพในการจัดการกับปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งมากขึ้น โดยเฉพาะการสร้างงานวิจัยให้ใช้ประโยชน์ได้จริง โดยการผลักดันเข้าสู่ระบบสุขภาพในเชิงการกำหนดเป็นมาตรการหรือนโยบายสุขภาพที่ส่งผลกับประชาชนโดยรวม
ไทย จับมือร่วมสมาชิก GACD มุ่งวิจัยลดโรค NCD
ไทย จับมือร่วมสมาชิก GACD มุ่งวิจัยลดโรค NCD
ไทย จับมือร่วมสมาชิก GACD มุ่งวิจัยลดโรค NCD
 


ข่าวสถาบันวิจัยสาธารณสุขแคนาดา+สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขวันนี้

สกสว. ร่วมพลิกระบบบริการสุขภาพไทยด้วยงานวิจัยระดับมาสเตอร์พีซ สู้วิกฤตการเปลี่ยนแปลงโลก และระบบสาธารณสุข ชี้ปี 63 - 67 หนุนงบประมาณ งานวิจัยด้านแพทย์และสุขภาพรวมแล้วกว่า 10,000 ล้านบาท

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และหน่วยงานวิจัยในระบบสุขภาพ จำนวน 24 หน่วยงาน ร่วมเดินหน้าจัดระบบสนับสนุนและบูรณาการการวิจัยด้านระบบสุขภาพและการแพทย์ โดยมุ่งให้เกิดการขับเคลื่อนงานวิจัยให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการสร้างผลลัพธ์และผลกระทบทางสุขภาพของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจัดขึ้นภายในงานการประชุมวิชาการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ปี 2567 "ร่วมพลิกระบบสุขภาพไทย ด้วยงานวิจัยคุณภาพ" โดยมี พล.ร.ท.นพ.นิกร เพชรวีรกุล

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ร่วมกับ โรช ไทยแ... สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข จับมือ โรช ไทยแลนด์ ลงนาม MOU หนุนการพัฒนาระบบสุขภาพให้ชาวไทย — สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ร่วมกับ โรช ไทยแลนด์ ลงนาม MOU เพื่อการพ...

เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2566 ณ โรงแรมเรดิส... สมาคมมนุษยพันธุศาสตร์ เปิดเวทีวิชาการ "ก้าวถัดไปกับจีโนมิกส์ประเทศไทย" ชูความร่วมมือทางพันธุศาสตร์มนุษย์ พัฒนาระบบบริการสุขภาพ-อุตสาหกรรมการแพทย์ในอนาคต — เมื่อวันที่...

เมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2566 ที่ผ่านมา นพ.นพพร... เดินหน้าความร่วมมือด้านจีโนมิกส์ประเทศไทย - อังกฤษ เตรียมพัฒนาแนวทางนำข้อมูลพันธุกรรมใช้ประโยชน์วิจัย วินิจฉัยรักษา ในไทย — เมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2566 ที่ผ่า...

ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพ... ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ พัฒนาเชิงรุกให้บริการตรวจเลือดเพื่อระบุอัลไซเมอร์ และจุลินทรีย์ในลำไส้ — ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโ...

9 ส.ค. เชิญร่วมฟังเสวนา Jump to Future : ... 9 ส.ค. เชิญร่วมฟังเสวนา Jump to Future : ก้าวสู่ยุคดิจิตอล เสริมสร้างบริการกับแชทบอทผู้ดูแลสุขภาพจิตตลอด 24 ชม. — 9 ส.ค. เชิญร่วมฟังเสวนา Jump to Future :...

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ได้จัดเว... สวรส. ถกบทเรียนวิจัยแก้วิกฤตโควิดกับการขับเคลื่อนนโยบาย สู่มาตรการลดช่องว่างสังคมไทย — สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ได้จัดเวทีเสวนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้...

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) จัดประชุ... สวรส. สรุปผลผลักดันวิจัยโควิด หนุนใช้ออกแบบมาตรการรัฐ ผ่อนปรนล็อคดาวน์ประเทศ บอร์ดแนะเร่งวิจัยต่อเนื่องครอบคลุมระยะกลาง-ยาว — สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สว...

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) จัดประชุ... สวรส. เดินหน้าศูนย์บริการทดสอบการแพทย์จีโนมิกส์ ถอดรหัสพันธุกรรมคนไทยมาตรฐานสากล 5 หมื่นราย — สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) จัดประชุมคณะที่ปรึกษาด้านกา...