TIJ มอบเงินสนับสนุนโครงการฝึกวิชาชีพผู้ต้องขังหญิงเชียงใหม่

11 Nov 2014
สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทยหรือ TIJ มอบเงินงบประมาณสนับสนุนโครงการฝึกอบรมวิชาชีพ การทอผ้าไทยให้กับผู้ต้องขังหญิง เป็นจำนวนทั้งสิ้น 218,400 (สองแสนหนึ่งหมื่นแปดพันบาทถ้วน) แก่คณะผู้แทนจากทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ เพื่อนำไปใช้อนุรักษ์และปรับปรุงวัสดุและอุปกรณ์สำหรับทอผ้าไหม และจัดสรรเป็นค่าใช้จ่ายจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านการทอผ้าไหมมาฝึกอบรมวิชาชีพให้แก่ผู้ต้องขังหญิง
TIJ มอบเงินสนับสนุนโครงการฝึกวิชาชีพผู้ต้องขังหญิงเชียงใหม่

ในโอกาสนี้ ผู้แทน TIJ นำโดยเอกอัครราชทูต อดิศักดิ์ ภาณุพงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันฯ นายนัทธี จิตสว่าง รองผู้อำนวยการ และนางยศวันต์ บริบูรณ์ธนา ผู้อำนวยการโครงการพัฒนาพฤตินิสัย ร่วมหารือกับ นางอารีรัตน์ เทียมทอง ผู้อำนวยการทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ เกี่ยวกับความพร้อมของทัณฑสถานฯ ในการดำเนินโครงการฯ ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดสหประชาชาติ ว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำและมาตราการที่มิใช้การคุมขังสำหรับผู้กระทำผิดหญิง หรือ ข้อกำหนดกรุงเทพ (The Bangkok Rules) ในข้อกำหนดที่ 42 1.) ผู้ต้องขังหญิงควรเข้าถึงโปรแกรมที่จัดกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างครบถ้วนและเท่าเทียม โดยคำนึงถึงความต้องการเฉพาะของผู้หญิง และข้อกำหนดที่ 54 เจ้าพนักงานเรือนจำพึงตระหนักว่าผู้ต้องขงหญิงที่มีภูมิหลังทางด้านวัฒนธรรมและศาสนาที่แตกต่างกัน ย่อมมีความต้องการที่แตกต่างกันเป็นการเฉพาะ ซึ่งอาจทำให้เกิดการเลือกปฏิบัติในการเข้ารับบริการหรือเข้าร่วมโปรแกรมต่างๆ ในเรือนจำได้ ดังนั้น เจ้าพนักงานเรือนจำควรจัดโปรแกรมและให้บริการที่มีความสอดคล้องกับความต้องการที่เป็นพิเศษดังกล่าว โดยมีการปรึกษากับกลุ่มผู้ต้องขังหญิงหรือกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง

นางอารีรัตน์ ได้เล่าถึงความพยามยามของทัณฑสถานฯ ในการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังหญิงให้กลับตนเป็นพลเมืองดี สามารถอยู่ร่วมกับสังคมภายนอกได้ภายหลังพ้นโทษ โดยทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ ได้ดำเนินการฝึกอบรมวิชาชีพต่างๆ อย่างหลากหลายให้กับผู้ต้องขังหญิง เพื่อให้มีทักษะประสบการณ์ มีทางเลือกในการประกอบอาชีพสุจริตภายหลังพ้นโทษ เช่น วิชาชีพนวดแผนไทย วิชาชีพการประกอบอาหารและเครื่องดื่ม วิชาชีพซักอบรีด วิชาชีพเสริมสวย วิชาชีพตัดเย็บเสื้อผ้า วิชาชีพช่างไม้เครื่องเรือน วิชาชีพเย็บปักถักร้อย และวิชาชีพทอผ้าไทยพื้นบ้าน

ทั้งนี้ การฝึกอบรมวิชาชีพต่างๆ ได้คำนึงถึงความถนัด ความต้องการฝึกอบรมของผู้ต้องขัง ความสอดคล้องเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น ความเหมาะสมกับกับสภาพพื้นฐานของผู้ต้องขังกลุ่มชนเผ่าต่างๆ ซึ่งการดำเนินการจัดฝึกอบรมวิชาชีพต่างๆ