สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการบริหารการนำเข้าสินค้าหมวดเหล็กและเหล็กกล้าที่มีโควตาตามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) เพื่อพิจารณากำหนดปริมาณโควตานำเข้าเหล็กแผ่นรีดร้อนจากประเทศญี่ปุ่นสำหรับปี 2558 มีปริมาณรวม 530,000 ตัน ลดลงจากปี 2557 เหตุภาครัฐต้องการเน้นให้ใช้ผลิตภัณฑ์เหล็กภายในประเทศ รวมทั้งกำลังการผลิตเหล็กในประเทศยังเหลืออยู่จำนวนมาก และบางผลิตภัณฑ์ไม่จำเป็นต้องใช้เหล็กนำเข้า
นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารการนำเข้าสินค้าหมวดเหล็กและเหล็กกล้าที่มีโควตาตามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ณ กรมการค้าต่างประเทศ โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมร่วมเป็นกรรมการและเป็นผู้แทนฝ่ายไทยเจรจากับฝ่ายญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2557 ว่า ในการประชุมมีการพิจารณากำหนดปริมาณโควตานำเข้าเหล็กแผ่นรีดร้อนจากประเทศญี่ปุ่นสำหรับปี 2558 ซึ่งภายใต้ความตกลงฯ ไทยจะยกเว้นภาษีศุลกากรในบางพิกัดเป็นระยะเวลา 10 ปี (ปี 2550-2559) โดยเหล็กแผ่นรีดร้อนเหล่านี้จะใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า อุตสาหกรรมท่อเหล็ก อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ การประชุมครั้งนี้ คณะกรรมการบริหารการนำเข้าฯ ได้พิจารณากำหนดโควตาโดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของ ความตกลง JTEPA ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดสมดุลใน 4 ด้าน คือ (1) การสร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมการผลิตเหล็กในประเทศไทย (2) การสร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมการผลิต “ผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นต้องใช้เหล็กแผ่นที่มีคุณสมบัติเฉพาะจากญี่ปุ่น” ในประเทศไทย (3) การนำเข้าเหล็กจากประเทศญี่ปุ่น และ (4) การได้รับ ความร่วมมือจากผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเหล็กของญี่ปุ่นในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเหล็กไทย
จากประเด็นเหล่านี้ทำให้ปริมาณโควตานำเข้าเหล็กแผ่นรีดร้อนจากประเทศญี่ปุ่นสำหรับปี 2558 ลดลงจากปีก่อน เนื่องจากภาครัฐต้องการจะส่งเสริมให้อุตสาหกรรมต่อเนื่องได้ใช้ผลิตภัณฑ์เหล็กภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น เพราะอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศยังมีกำลังการผลิตเหลืออยู่เป็นจำนวนมากและผลิตภัณฑ์บางชนิดไม่จำเป็นต้องใช้เหล็กที่นำเข้าจากต่างประเทศ นอกจากนี้ ภาครัฐยังต้องการให้ปริมาณโควตานำเข้าสมดุลกับ การดำเนินโครงการความร่วมมือทางด้านวิชาการของฝ่ายญี่ปุ่นในการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กไทยในช่วง 7 ปี ที่ผ่านมาอาจกล่าวได้ว่าความร่วมมือในการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กของไทยนั้นยังไม่บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งผลจาก
การพิจารณาของคณะกรรมการบริหารการนำเข้าสินค้าหมวดเหล็กและเหล็กกล้าที่มีโควตาตามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น มีดังนี้
1. เหล็กแผ่นรีดร้อนกัดกรดเคลือบน้ำมัน (Q9) ปริมาณ 210,000 ตัน
2. เหล็กแผ่นรีดร้อนหน้ากว้างสำหรับนำไปรีดเย็นต่อ (ที่มีส่วนผสมของคาร์บอนน้อยกว่า 0.01%) (Q10) ปริมาณ 150,000 ตัน
3. เหล็กแผ่นรีดร้อนหน้ากว้างสำหรับนำไปรีดเย็นต่อเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ (ที่มีส่วนผสมของคาร์บอน 0.01-0.1 %) (Q11) ปริมาณ 170,000 ตัน
ทั้งนี้ คณะกรรมการบริหารการนำเข้าสินค้าหมวดเหล็กและเหล็กกล้าที่มีโควตาตามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น จะมีการทบทวนปริมาณโควตานำเข้าเหล็กแผ่นรีดร้อนจากประเทศญี่ปุ่นสำหรับปี 2558 อีกครั้งในราวเดือนมิถุนายน 2558 เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการและสถานการณ์ที่อาจเปลี่ยนแปลงไป
สศอ. สรุปผลสำเร็จ FTA รอบ 10 ปี เพิ่มขึ้นแต่ยังไม่น่าพอใจ หันให้ความสนใจระดับภูมิภาคมากกว่า ทวิภาคี เผยไทยยังใช้สิทธิประโยชน์ FTA ไม่เต็มที่ ทั้งภาคส่งออกและนำเข้า ย้ำต้องผลักดันให้ไปสู่ความเป็น Trading Nation ให้ได้ เตือนให้เฝ้าจับตา FTA สหรัฐ และ EU ทวิภาคีใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า เนื่องในโอกาสที่การจัดทำ FTA หรือข้อตกลงการค้าเสรีของไทยที่ทำกับประเทศต่างๆ ครบรอบ 10 ปีในปีนี้ หากมองย้อนถึงความสำ
สศอ.ชี้ทิศทางอุตสาหกรรมไทยปี 2558 โต 3%
—
สศอ. ชี้ทิศทางอุตสาหกรรมไทย ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ( GDP) ของภาคอุตสาหกรรมปีนี้ ยังคงอัตราการเติบโตใน...
สศอ.ชี้แนวทางลงทุนในอุตสาหกรรมแรงงานเข้มข้น ขยายฐานการผลิตแฟชั่นไปต่างแดน
—
สศอ. เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาอุตสาหกรรมแฟชั่นใช้แรงงานเข้มข้นในฐานการผลิตต่างแดน เ...