ไอเกอร์ ไบโอ ได้รับอนุญาตให้ใช้ Lonafarnib ในการรักษาโรคหายากเป็นครั้งแรกในวงการ เพื่อรักษาผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ดี (HDV)

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          ไอเกอร์ ไบโอฟาร์มาซูติคัลส์ อินคอร์ปอเรตเต็ด (Eiger BioPharmaceuticals Incorporated) เปิดเผยว่า Lonafarnib ได้รับอนุญาตให้ใช้ในการรักษาโรคหายาก (Orphan Designation) จากองค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) และองค์การยาแห่งสหภาพยุโรป (EMA) โดยกฎหมาย Orphan Drug Act (ODA) ของสหรัฐอนุญาตให้ใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์ชีวภาพ (ยา) ในการรักษาโรคหรือภาวะที่พบเห็นได้ไม่บ่อยครั้ง การได้รับคุณสมบัติยารักษาโรคหายากส่งผลให้องค์กรที่ให้การสนับสนุนการพัฒนายาในโครงริเริ่มมีคุณสมบัติที่เหมาะสมที่จะดำเนินการ นอกจากนี้ การได้รับคุณสมบัติยารักษาโรคหายากยังมีขึ้นในช่วงของการปกป้องหรือต่อต้านการเปิดตลาด Lonafarnib เป็นยาชนิดแรกของวงการที่ใช้ในการทดลองรักษาผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ดี (HDV)

          โลโก้ - http://photos.prnewswire.com/prnh/20141221/165715LOGO

          "เรายึดมั่นกับพันธกิจในการพัฒนาการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบที่มีความซับซ้อนที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไวรัสตับอักเสบ ดี ซึ่งยังไม่มียารักษาที่ได้รับการอนุญาตจาก FDA อยู่ในขณะนี้" เดวิด คอรี ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของไอเกอร์กล่าว "เรารู้สึกดีใจที่ FDA และ EMA อนุมัติให้ Lonafarnib เป็นยารักษาโรคหายากครั้งแรกในวงการ ซึ่งเป็นแนวทางใหม่ที่มีศักยภาพในการรักษา HDV ซึ่งเป็นโรคที่ยังไม่สามารถรักษาหายได้"

          เกี่ยวกับ Lonafarnib

          Lonafarnib เป็นสารที่จัดเรียงอนุภาคในขั้นสุดท้ายเพื่อยับยั้ง farnesyl transferase ซึ่งเป็นเอ็นไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของโปรตีนผ่านทางกระบวนการเพิ่มโมเลกุลไม่ละลายน้ำในโปรตีน (prenylation) HDV จะอาศัยอยู่ในเซลล์โปรตีนนี้ในกระบวนการฟักเป็นตัวเต็มวัยในเซลล์ตับ Lonafarnib จะช่วยยับยั้งไม่ให้เกิดกระบวนการเพิ่มโมเลกุลไม่ละลายน้ำในโปรตีนในการแบ่งตัวของ HDV ภายในเซลล์ของตับ และสกัดความสามารถในการแพร่ขยายตัวของไวรัส เนื่องจากการเพิ่มโมเลกุลไม่ละลายน้ำในโปรตีนเป็นเพียงที่พักและไม่ได้ถูกควบคุมโดย HDV ในขณะที่ Lonafarnib ยังยับยั้งไม่ให้เกิดกระบวนการเพิ่มโมเลกุลไม่ละลายน้ำในโปรตีน ในทางทฤษฎีแล้ว การรักษาด้วย Lonafarnib จึงเป็นการป้องกันที่ดีขึ้น สำหรับการกลายพันธุ์ของไวรัส ซึ่งเป็นสาเหตุของการต้านยาโดยทั่วไปนั้น คาดว่า ไม่มีความเป็นไปได้ที่ HDV จะต่อต้านการรักษาด้วย Lonafarnib

          ทั้งนี้ Lonafarnib ยังไม่ได้รับอนุญาตให้วางจำหน่ายในตลาด

          เกี่ยวกับโรคไวรัสตับอักเสบ ดี

          โรคไวรัสตับอักเสบ ดี เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ดี (Hepatitis D Virus: HDV) และถือเป็นไวรัสตับอักเสบชนิดรุนแรงที่สุดในมนุษย์ ไวรัสตับอักเสบ ดี เกิดขึ้นร่วมกับโรคไวรัสตับอักเสบ บี (HBV) เท่านั้น ส่งผลให้โรคตับมีความรุนแรงมากกว่าการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี เพียงชนิดเดียวและยังนำไปสู่การเร่งสร้างเนื้อเยื่อ, มะเร็งตับ, และระบบตับล้มเหลว HDV เป็นไวรัสที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสุขภาพของผู้คนทั่วโลกประมาณ 15 ล้านราย HDV มีความแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาคของโลกและถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มโรคหายาก (Orphan Designation) ในสหรัฐ (ต่ำกว่า 200,000 ราย), ยุโรป (ต่ำกว่า 5 ใน100,000 ราย) และญี่ปุ่น (ต่ำกว่า 50,000 ราย)  มีรายงานผู้ติดเชื้อ HDV ทั่วโลกประมาณ 4-6% ของผู้ป่วยเป็นโรคไวรัสตับอักเสบ บี ชนิดเรื้อรัง ในบางภูมิภาค ซึ่งรวมถึง จีน รัสเซีย เอเชียกลาง ตุรกี อเมริกาใต้ HDV มีสัดส่วนสูงถึง 40% ของผู้ป่วยที่ติดเชิ้อ HBV

          เกี่ยวกับไอเกอร์

          ไอเกอร์เป็นบริษัทเอกชนในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพที่มุ่งเน้นในเรื่อง การวิจัย การพัฒนา และการทำการตลาดนวัตกรรมด้านการรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ บริษัทให้ความสำคัญกับการพัฒนา Lonafarnib เพื่อทำการรักษาไวรัสตับอักเสบ ดี (HDV) ซึ่งเป็นไวรัสตับอักเสบชนิดที่มีความรุนแรงมากที่สุด Lonafarnib ยังไม่ได้รับอนุญาตให้วางจำหน่ายในตลาด ในขณะที่โครงการวิจัยของไอเกอร์เน้นไปที่การค้นพบเป้าหมาย, โมเลกุลรักษาขนาดเล็ก และการตรวจสอบทางชีวะ (biomarker) เพื่อใช้ในการรักษาและติดตามความรุนแรงของโรคตับ กรุณาดูรายละเอียดเกี่ยวกับไอเกอร์และผลการวิจัยและพัฒนาของบริษัทได้ที่ www.eigerbio.com

          นักลงทุน กรุณาติดต่อ:
          จิม แชฟเฟอร์
          ไอเกอร์ ไบโอ อิงค์
          โทร: +1-919-345-4256
          อีเมล: [email protected]
 

 


ข่าวผู้ติดเชื้อ+ไบโอฟาร์มาวันนี้

สคร.12 สงขลา แนะประชาชน 7 กลุ่มเสี่ยง ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ลดป่วยรุนแรง และเสียชีวิต ยึดหลัก "ปิด ล้าง เลี่ยง หยุด"

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา แนะนำประชาชน 7 กลุ่มเสี่ยง เข้ารับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza) เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ลดการเจ็บป่วยรุนแรง และเสียชีวิต พร้อม ยึดหลัก "ปิด ล้าง เลี่ยง หยุด" ป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ จากรายงานสถานการณ์ไข้หวัดใหญ่ ของกรมควบคุมโรค พบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น แนะนำประชาชนควรฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ เพื่อลดความรุนแรงของโรคและการเสียชีวิต พร้อมเน้นย้ำให้ดูแลสุขภาพ ยึดหลัก "ปิด ล้าง เลี่ยง หยุด" ป้องกันตนเองจากโรคไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดใหญ่ เป็น

นางสาวพิศมัย เรืองศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักก... รร.สังกัด กทม. ส่งเสริมการให้ความรู้เรื่องเพศศึกษา-ยอมรับความหลากหลายทางเพศ — นางสาวพิศมัย เรืองศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา (สนศ.) กทม. กล่าวถึงการส่งเ...

กทม. เน้นย้ำการปฏิบัติตามมาตรการส่วนบุคคล-เฝ้าระวังการแพร่ระบาดโรคไอกรนในสถานศึกษา

นางภาวิณี รุ่งทนต์กิจ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักอนามัย (สนอ.) กทม. กล่าวกรณีพบการระบาดของโรคไอกรนในนักเรียนโรงเรียนแห่งหนึ่งในเขตปทุมวันว่า สนอ. ได้รับรายงานผู้ป่วยยืนยันไอกรนจากโรงพยาบาลจำนวน 1 ราย ...

APCO เปิดตัว Quickest ByeByeHIV เป็นโครงก... APCO จับมือ "มูลนิธิพอ" เดินหน้าโครงการ "Quickest ByeByeHIV" ให้ผู้ติดเชื้อแข็งแรงเหมือนปกติ ภายใน 6 เดือน — APCO เปิดตัว Quickest ByeByeHIV เป็นโครงการ C...

รคฝีดาษลิงหรือเอ็มพอกซ์ (Mpox) มีการแพร่ร... แพทย์รามาธิบดี แนะวิธีป้องกันโรคฝีดาษลิง ควรตระหนักแต่ไม่ตื่นตระหนก พร้อมตั้งรับความช่วยเหลือสำหรับผู้ป่วยยากไร้ และการวิจัยโรคอุบัติใหม่ — รคฝีดาษลิงหรือ...

นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำน... รพ. สังกัด กทม. เตรียมพร้อมเฝ้าระวังโรคฝีดาษลิง หากพบผู้ต้องสงสัยให้แยกกักตัวทันที — นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่าว...

สถานการณ์โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์กลับมามีแ... "GoCheck: นวัตกรรมการตรวจวัดสารพันธุกรรมโรคหนองในแท้แบบรู้ผลเร็วใน 15 นาที" รางวัลประกาศเกียรติคุณผลงานประดิษฐ์คิดค้น วช. ปี พ.ศ. 2567 — สถานการณ์โรคติดต่...

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงข... สคร.12 สงขลา ร่วมรณรงค์ วันเอดส์โลก 1 ธันวาคม 2566 เน้นย้ำ Let Communities Lead: ทุกภาคส่วน ร่วมกัน ยุติเอดส์ — สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขล...

สังเกตไหมว่าช่วงฤดูปลายฝนต้นหนาวแบบนี้ คน... Beko แชร์เทคนิคผ้าสะอาดปลอดฝุ่น ปลอดโรคฝ่าภัยสุขภาพในวันที่อากาศแปรปรวน — สังเกตไหมว่าช่วงฤดูปลายฝนต้นหนาวแบบนี้ คนรอบตัวทยอยป่วยกันเยอะมาก เพราะสภาพอากาศ...

สภาพอากาศและความชื้นจากฝนที่ตกหนักอย่างต่... ทำไมประชากรกลุ่มเสี่ยงจึงเปราะบาง? เตรียมความพร้อมเพื่อดูแลคนที่คุณรัก — สภาพอากาศและความชื้นจากฝนที่ตกหนักอย่างต่อเนื่องในฤดูกาลนี้ เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคั...