นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขับเคลื่อนให้เอ็มไอที เคมบริดจ์ และอิมพิเรียล ก้าวสู่ระดับความเป็นผู้นำในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกโดย Quacquarelli Symonds ประจำปี 2557 (QS World University Rankings 2014)

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          www.TopUniversities.com/rankings2014   #QSWUR

          การมุ่งเน้นด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ส่งผลกระทบสูงในระดับโลกเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญของความเป็นผู้นำในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกโดย Quacquarelli Symonds (QS World University Rankings)

          (Logo: http://photos.prnewswire.com/prnh/20140915/705973 )

          นับเป็นปีที่สามแล้วที่เอ็มไอทีเป็นผู้นำในการจัดอันดับดังกล่าว โดยมีการอ้างอิงถึงต่อคณะเพิ่มขึ้นถึง 14% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า อิมพิเรียล คอลเลจ ลอนดอน ก็มีการรายงานถึงการเพิ่มขึ้น 14% เช่นเดียวกันจากมาตรวัดนี้ โดยเปรียบเทียบกับเคมบริดจ์ซึ่งเพิ่มขึ้น 11% และฮาร์วาร์ดซึ่งเพิ่มขึ้น 2% การเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยในมิตินี้ของมหาวิทยาลัยทั้ง 10 อันดับแรกอยู่ที่ 7% แคลเทคยังคงเป็นมหาวิทยาลัยอันดับต้นของโลกที่มีการอ้างอิงถึงมากที่สุดในด้านการวิจัย

          สถาบันทั้งสิบอันดับแรกได้รับคะแนนดีเยี่ยมในด้านชื่อเสียงทางการศึกษา ชื่อเสียงในการจ้างงาน อัตราส่วนของจำนวนนักศึกษาต่อคณะ หรือมาตรการด้านคณะอาจารย์ผู้สอนและนักศึกษาต่างชาติ ผลการดำเนินงานของอิมพิเรียล คอลเลจ ลอนดอน ในด้านของการมีการอ้างอิงถึงต่อคณะ ได้ช่วยให้สถาบันสามารถเลื่อนอันดับได้มากที่สุดในบรรดามหาวิทยาลัยสิบอันดับแรก โดยก้าวแซงฮาร์วาร์ด ยูซีแอล และอ๊อกฟอร์ด มาอยู่ที่อันดับสองของโลกร่วมกับมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์

สิบอันดับแรกของโลก

2557

2556

สถาบัน

 

1

1

สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (เอ็มไอที)

 

2=

3

มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์

 

2=

5

อิมพิเรียล คอลเลจ ลอนดอน

 

4

2

มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

 

5=

6

มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด

 

5=

4

ยูซีแอล (ยูนิเวอร์ซิตี้ คอลเลจ ลอนดอน)

 

7

7

มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด

 

8

10

สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย (แคลเทค)

 

9

10

มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน

 

10

8

มหาวิทยาลัยเยล

 

(C) QS Quacquarelli Symonds 2004-2014 www.TopUniversities.com/rankings2014


          ทั้งนี้ มีทั้งหมด 31 ประเทศที่ติดอันดับในจำนวน 200 อันดับแรก โดยสหรัฐฯ เป็นประเทศในระดับแนวหน้าด้วย 51 สถาบัน นำหน้าสหราชอาณาจักร (29) เยอรมนี (13) เนเธอร์แลนด์ (11) แคนาดา (10) ญี่ปุ่น (10) และ ออสเตรเลีย (8)

          สำหรับสถาบันที่เลื่อนอันดับได้เร็วที่สุดนับตั้งแต่ปี 2552 สิบสถาบันแรกคือ เอ็มไอที มหาวิทยาลัยซุงคยุนควัน (เกาหลี) อีพีเอฟแอล (สวิตเซอร์แลนด์) สแตนฟอร์ด แอลเอ็มยู มึนเชิ่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนานยาง (สิงคโปร์) มหาวิทยาลัยโคเรีย มหาวิทยาลัยเจ้อเจียง (จีน) ควีนแมรี่ มหาวิทยาลัยลอนดอน และ อีทีเอช ซูริค โดยแปดสถาบันจากจำนวนนี้แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

          “ในยุคแห่งภาวะเศรษฐกิจซบเซา แหล่งเงินทุนของทั้งภาครัฐบาลและเอกชนต่างก็มุ่งเน้นความสำคัญมากยิ่งขึ้นที่การศึกษาวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ (STEM) ที่ส่งผลกระทบสูง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะดำเนินการในสถาบันที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษ” เบน เซาว์เตอร์ หัวหน้าฝ่ายการวิจัยของ QS กล่าว “สถาบันที่เน้นด้านเทคโนโลยีต่างๆ กำลังเพิ่มการมุ่งเน้นไปที่การแข่งขันเพื่อความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมในระดับโลก ด้วยงบประมาณของแหล่งเงินทุนภาครัฐที่มีอยู่อย่างจำกัดมากขึ้นเรื่อยๆ ดูเหมือนว่าสถาบันเหล่านี้จะมุ่งเน้นมากยิ่งขึ้นกว่าเดิมในการทำงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการแพทย์ ซึ่งมีแนวโน้มในการสร้างรายได้สูง”

          การจัดอันดับมหาวิทยาลัยของ QS ทำให้เราได้เห็นถึงวิวัฒนาการของการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมานานนับศตวรรษ ซึ่งช่วยชี้แนวทางให้แก่บรรดาผู้บริหารสถาบันการศึกษา รวมทั้งนักศึกษาทั้งหลายที่ QS มีความมุ่งมั่นในการให้บริการแก่พวกเขา

 


ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี+และเทคโนโลยีวันนี้

FoSTAT และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ จับมือ ProPak Asia 2025 จัดสัมมนา ปั้นอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารสู่มาตรฐานสากล ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ และ สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย (FoSTAT) และ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ผู้จัดงาน ProPak Asia 2025 งานแสดงเทคโนโลยี เครื่องจักร และโซลูชันด้านกระบวนการผลิต การแปรรูป และบรรจุภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรมอาหาร อาหารแปรรูป เครื่องดื่ม และบรรจุภัณฑ์ ยังคงยึดมั่นในพันธกิจที่จะส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตไทยให้แข็งแกร่งเป็นฟันเฟืองสำคัญของเศรษฐกิจประเทศ เพื่อเดินหน้ายกระดับองค์ความรู้สู่ผู้ประกอบการในทุกภูมิภาค ดังนั้นทั้ง 3

สวทช. จับมือมูลนิธิ SOS และ จ.ปทุมธานี สร... สวทช. จับมือมูลนิธิ SOS และ จ.ปทุมธานี สร้างชุมชนรักษ์อาหาร ดัน "ปทุมธานีฟูดแบงก์โมเดล" ต้นแบบการจัดการอาหารส่วนเกินระดับท้องถิ่น — สวทช. จับมือมูลนิธิ SO...

กระทรวง อว. โดย สวทช. กรมควบคุมโรค กระทรว... กระทรวง อว. โดย สวทช. - กรมควบคุมโรค กระทรวง สธ. ผนึกกำลังใช้ระบบ DDC-Care Platform เทคโนโลยีรับมือโรคระบาดข้ามพรมแดน — กระทรวง อว. โดย สวทช. กรมควบคุมโรค...

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโล... สำหรับนักเรียนทุน พสวท. ระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2567 — สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดค่ายวิทยาศาสตร์ภาคฤดูร้อนสำหรับนักเรียนทุ...

ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกร... วว. จับมือพันธมิตรไทย-จีน เสริมสร้างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม — ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยวิทย...

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระท... วว. นำเสนอนวัตกรรมเพิ่มมูลค่า "ข้าว" ภายใต้ ครม. สัญจร จังหวัดนครพนม/กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 — นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทร...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... สวทช. โดย นาโนเทค เฟ้นหา 8 ผู้ประกอบการ ต่อยอดนวัตกรรมสมุนไพรสู่ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยศูนย์นาโนเท...

ดร.กุศลิน มุสิกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบั... สสวท. ประกาศชัยครู - นักเรียน ยอดฝีมือ เวทีประกวดงานวิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม GLOBE SRC 2025 — ดร.กุศลิน มุสิกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนว...

"การใช้สื่อชุดกิจกรรม IPST SMART BOX สร้า... สสวท. อบรมครูวิทย์และเทคโนโลยี 4 ภาค สมัครได้ถึง 3 พฤษภาคมนี้ — "การใช้สื่อชุดกิจกรรม IPST SMART BOX สร้างผลงานโดยไม่เขียนโปรแกรม" สถาบันส่งเสริมการสอนวิท...

ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัย... วว. ต้อนรับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในโอกาสเยี่ยมชมโครงสร้างพื้นฐาน วทน. — ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโ...