อาจารย์มหาวิทยาลัยขอนแก่นเผย ทุน คปก.สร้างโอกาสเพิ่มนักวิจัยในประเทศ และดร.ในภาคอีสาน

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          อาจารย์มหาวิทยาลัยขอนแก่น เผย ทุน คปก.สร้างโอกาสเพิ่มนักวิจัยในประเทศ และดร.ในภาคอีสาน ระบุนักศึกษาไทยมีความสามารถสูง แต่ขาดโอกาสและทุนทรัพย์ พร้อมแนะนำหากอยากเป็นนักวิจัยและนักวิทยาศตร์ต้องรู้จักพอเพียง
          ศ.ดร.โสพิศ วงศ์คำ อาจารย์ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเปิดเผยว่า เคยได้มีโอกาสรับรางวัลนักวิทยศาสตร์ดีเด่นประจำปี 2556 จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ จากการวิจัยพบยีนที่สัมพันธ์กับการก่อและแพร่ลุกลามของมะเร็งท่อน้ำดี ที่เกิดจากการติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับ สู่การรักษาแนวใหม่ ซึ่งการที่ทำให้ตนเองประสบความสำเร็จได้นั้น นอกเหนือกจาการที่ตั้งใจ ฝึกฝน ในการใฝ่หาความรู้ และมีความตื่นตัวในการท่อยากจะวิจัยพัฒนาอยู่ตลอดเวลาแล้ว เรื่องของโอกาสก็เป็นส่วนสำคัญอย่างมาก
          ทั้งนี้ที่ผ่านมาพบว่าประเทศไทยมีบุคลลกรที่มีความสามารถอยู่จำนวนมาก แต่ขณะเดียวกันจำนวนนักวิจัยในประเทศไทยกลับมีได้ไม่มากนัก เนื่องมาจากการขาดแคลนทุนในการสนับสนุนอย่างจริงจัง ทำให้การผลิตนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ในประเทศไทยมีจำกัด ประกอบกับมีนักศึกษาจำนวนไม่น้อยแม้ว่าจะมีความรู้ความสามารถสูง แต่ขาดแคลนในแง่ของทุนทรัพย์ก็ไม่สามารถที่จะวิจัย พัฒนา ได้อย่างเต็มศักยภาพ
          “อาจารย์สอนที่คณะแพทย์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งมองเห็นปัญหาหลายด้าน ทั้งโอกาสต่าง ๆในการส่งเสริมให้เกิดนักวิจัยมากๆโดยเฉพาะนักศึกษาในมหาวิทยาลัยแถบภาคอีสาน จนได้มีโอกาสทราบว่ามีทุนที่ให้กับนักศึกษาปริญญาเอก ในการศึกษาในประเทศ คือ โครงการทุนกาญจนาภิเษก หรือ คปก. ภายใต้การดำเนินงานของ สกว. อาจารย์ก็รีบติดต่อขอข้อมูลทันที” ศ.ดร.โสพิศเล่าและว่า
โครงการทุนกาญจนาภิเษก หรือ คปก. ถือเป็นการให้ทุนที่ดีมาก เพราะไม่ได้วัดแค่ความรู้ความสามารถของผู้ขอรับทุน แต่เอาตัวครูเป็นคนแข่ง ซึ่งก็สร้างแรงบันดาลใจ สร้างแรงขับให้กับตนเอง เพราะหมายถึงว่าถ้าเราทำได้ เด็กในภาคอีกสานก็จะมีโอกาสมากขึ้น เพราะบางครั้งการสอบแข่งขันเพื่อรับทุนการศึกษาอย่างเดียวของผู้ต้องการทุนก็อาจไม่ใช่ตัวชี้วัดความสำเร็จได้
          โดยที่ผ่านมาได้เริ่มเข้ารับทุนจากคือ โครงการทุนกาญจนาภิเษก หรือ คปก. ตั้งแต่รุ่นที่ 2 ส่งนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นเข้าสู่ทุนนี้มาไม่น้อยกว่า 10 ทุน สิ่งสำคัญที่ได้รับนอกเหนือจากทุนและโอกาสของนักศึกษาเองแล้ว คือผู้ที่ได้รับทุนยังสามารถสร้างคอนเนคชั่นกับต่างประเทศได้มากกว่าอาจารย์ เนื่องจากกลยุทธ์ของคปก.คือการพยายาให้นักศึกษาที่ได้รับทุนนี้ได้คิดโจทย์งานวิจัยที่มีคุณภาพอย่างสูง จนเกิดความสนใจจากต่างประเทศ จนปัจจุบันมีอาจารย์จากต่างประเทศมาหาเรามากขึ้นเพื่อเรียนรู้แลกเปลี่ยนกันและกัน จากเดิมที่ต้องส่งนักเรียนไทยไปเรียนที่ต่างประเทศเท่านั้น
          ศ.ดร.โสพิศ เปิดเผยอีกว่า โครงการทุนกาญจนาภิเษก หรือ คปก. มีความเข้มข้นในการคัดเลือกนักศึกษาเพื่อรับทุนไม่น้อย โดยนอกจากจะผ่านเกรนมาตรฐานของมหาวิทยาลัย ยังต้องผ่านเกณฑ์ของภาค และต้องเข้าสู่กระบวนการของ คปก. ด้วย ดังนั้นสิ่งที่ยากสำหรับอาจารย์คือการพัฒนานักศึกษาแพทย์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นให้มีความเป็นนักวิจัยมืออาชีพนอกเหนือจากการเป็นแพทย์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายความสามารถทั้งตัวอาจารย์และนักศึกษา ที่ผ่านมายังไม่เคยมีนักศึกษาท่านใดที่พิจารณาสนับสนุนให้รับทุนแล้วไม่ได้ ซึ่งปัจจุบันมีนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับดุษฎีบัณทิต จากทุน คปก.แล้ว 7 คน ทำให้คณะอื่น ๆ เกิดแรงบันดาลใจในการที่จะส่งเสริมนักศักษาให้ได้รับทุน คปก.
          “อยากให้นักศึกษาที่ได้รับทุน คปก. มีความภูมิใจที่ได้รับ เหมือนที่ อาจารย์ภิมใจที่ได้เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา และที่สำคัญอยากให้นักศึกษาทุกคนที่ได้รับทุนนี้เข้าใจว่า เป็นความหวังดีจากผู้ใหญ่ที่อยากเห็นประเทศไทยพัฒนา มีนักวิจัยที่มีความรู้ความสามารถอย่างเต็มประสิทธิภาพ นำความรู้ที่ได้กลับคืนให้กับสังคมในการพัฒนาประเทศชาติบ้านเมือง ซึ่งเชื่อมั่นว่าทุนจากโครงการทุนกาญจนาภิเษก เป็นทุนในประเทศที่ประสบความสำเร็จสูงสุดที่สามารถสร้าวนักวิจัยในประเทศได้อย่างมีคุณภาพ”
          ศ.ดร.โสพิศกล่าวทิ้งท้ายว่าสำหรับนักศึกษาที่อยากจะได้รับทุนนี้นั้น ไม่ใช่แค่เรียนเก่งแต่ต้องกลับไปถามตัวเองก่อนว่า มีมุมองความสนใจในการเป็นนักวิจัยอย่างไร มีความสุขจากการค้าหาสิ่งใหม่ๆหรือไม่ และที่สำคัญนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ต้องรู้จักพอเพียง

อาจารย์มหาวิทยาลัยขอนแก่นเผย ทุน คปก.สร้างโอกาสเพิ่มนักวิจัยในประเทศ และดร.ในภาคอีสาน
อาจารย์มหาวิทยาลัยขอนแก่นเผย ทุน คปก.สร้างโอกาสเพิ่มนักวิจัยในประเทศ และดร.ในภาคอีสาน
 

ข่าวมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี+วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวันนี้

อาจารย์วิศวกรรมเครื่องกล มจธ. รับรางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ประจำปี 2567

เมื่อเร็วๆ นี้ ณ โรงแรม ดิ แอทธินี โฮเทล กรุงเทพฯ มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) โดยกลุ่มบริหารเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Technology Innovation Management Group: TMA-TIMG) ได้จัดให้มีงาน Outstanding Technologist Awards and Techno Forum 2024 ภายใต้หัวข้อ AI for Deep Tech เพื่อเป็นเวทีในการแบ่งปันความรู้และวิทยาการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เล็งเห็นความสำคัญของความร่วมมือและการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปสู่ภาคธุรกิจ และเพื่อเป็นการเชิดชู

นักวิทยาศาสตร์ผู้ศึกษาวิจัยที่มีผลประโยชน... นักวิจัยด้านกุ้ง จาก จุฬาฯ - สวทช. คว้ารางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี 2567 — นักวิทยาศาสตร์ผู้ศึกษาวิจัยที่มีผลประโยชน์สูงต่อการเลี้ยงกุ้ง จาก จุฬาลงกรณ์มห...

มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพ... ร่วมแสดงความยินดี กับสุดยอดนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2566 ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ ลาดพร้าว — มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ จ...

ศ.ดร.นพ. วิปร วิประกษิต อาจารย์ประจำสาขาโ... นักวิจัยโลหิตวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล คว้ารางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2565 — ศ.ดร.นพ. วิปร วิประกษิต อาจารย์ประจำสาขาโลหิตวิทยาและอองโคโลยี มหาวิทยาล...

สองนักวิจัย…จาก สวทช. และ จุฬาฯ คว้ารางวั... สองนักวิจัย...จาก สวทช. - จุฬาฯ คว้ารางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2563 — สองนักวิจัย…จาก สวทช. และ จุฬาฯ คว้ารางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2563 ...