เปิดบ้านศูนย์สมอง “Brain Power สมองฟิต ชีวิตเฟิร์ม” โรงพยาบาลกรุงเทพผนึก 5 คลินิกดูแลด้านสมองและระบบประสาท

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          สมองเปรียบเสมือนศูนย์บัญชาการของร่างกาย จึงจำเป็นต้องดูแลเอาใจใส่ให้สมองของเราฟิต เพื่อร่างกายที่แข็งแรง โรงพยาบาลกรุงเทพ ระดมความพร้อมของทีมแพทย์ด้านสมองและระบบประสาท “เปิดบ้านศูนย์สมอง Brain Power สมองฟิตชีวิตเฟิร์ม” โดยแพทย์สหสาขาจาก 5 คลินิก ได้แก่ คลินิกป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง, คลินิกลมชัก, คลินิกความจำ, คลินิกปวดศีรษะ และคลินิกพาร์กินสันและการเคลื่อนไหวผิดปกติ ให้บริการดูแลสุขภาพสมองคนไข้เต็มรูปแบบ
          นพ. ชาญพงค์ ตังคณะกุล ผู้อำนวยการศูนย์สมองและระบบประสาทกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพกล่าวว่า ศูนย์สมองและระบบประสาทกรุงเทพ ให้ความสำคัญกับการดูแลผู้ป่วยโรคสมองแบบครบครัน ด้วยการเน้นด้านการให้ความรู้ เพื่อป้องกันการเกิดโรคด้านสมองและระบบประสาท ซึ่งเป็นโรคที่คนไทยเป็นมากเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศ เพื่อให้เข้าถึงการรักษาตลอดจนความพร้อมที่จะดูแลสุขภาพด้านสมอง ศูนย์สมองและระบบประสาทกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ นอกจากจะพร้อมด้วยทีมแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ ที่ได้รับการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องและที่สำคัญคือ พร้อมด้วยอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ทันสมัยอย่างครบครัน ยังจำแนกเป็นคลินิกเฉพาะทาง 5 ด้านคือ คลินิกป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง, คลินิกลมชัก, คลินิกความจำ, คลินิกปวดศีรษะ และคลินิกพาร์กินสันและการเคลื่อนไหวผิดปกติ ศูนย์สมองและระบบประสาทกรุงเทพได้รับรองมาตรฐานระดับสูงในด้านการป้องกัน และดูแลรักษาพยาบาลเฉพาะโรคหลอดเลือดสมอง หรือที่เรียกกันว่า โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต จาก JCI (Joint Commission International) ประเทศอเมริกา ชี้ให้เห็นถึงความพร้อมด้านการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเป็นอย่างมาก จึงเกิดเป็น คลินิกป้องกันโรคหลอดเลือดสมองเน้นการบริการ โดยมีทีมแพทย์สหสาขาวิชา ทั้งทางด้านสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต ทีมพยาบาล นักกายภาพบําบัด นักโภชนาการ นักจิตบําบัด เภสัชกร เพื่อคอยดูแลผู้ป่วย อีกทั้งให้ความรู้ญาติผู้ป่วยเมื่อผู้ป่วยสามารถกลับไปรักษาตัวที่บ้านได้ ส่วนคลินิกระบบประสาท เป็นการดูแลด้านอายุรกรรมประสาท ที่ครอบคลุมโรคต่าง ๆ อาทิ ปวดศีรษะเรื้อรัง ไมเกรน เวียนศีรษะบ่อยๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ โรคอัมพฤกษ์จากหลอดเลือดสมองตีบ แตก หรือตัน โรคลมชักหรืออาการวูบ โรคการเคลื่อนไหวผิดปกติ และพาร์กินสัน ปวดแสบปวดร้อน จากเส้นประสาทอักเสบ โรคสมองเสื่อม โรคของเส้นประสาท เช่น ชามือ ชาเท้า เป็นต้น โรคหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต หรือที่เรียกรวมๆว่า สโตรค (stroke) นั้นเป็นสาเหตุของความพิการและการเสียชีวิต เกิดจากการที่หลอดเลือดซึ่งพาออกซิเจนไปเลี้ยงสมองอุดตัน ทําให้สมองขาดออกซิเจน และเกิดความเสียหายส่งผลกระทบต่อการพูด และการเคลื่อนไหวของร่างกาย อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ในกรณีที่รุนแรง อาการของโรคหลอดเลือดสมอง มักเริ่มจากแขนขาอ่อนแรง หรือชาบริเวณใบหน้าซีกใดซีกหนึ่ง ตาข้างใดข้างหนึ่งพร่ามัวหรือมองไม่เห็น มีปัญหาด้านการพูดหรือการเข้าใจบทสนทนา ปวดศีรษะเฉียบพลันแบบไม่มีสาเหตุ รวมถึงอาการวิงเวียนหรือวูบแบบเฉียบพลัน การดูแลสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองคือ การใช้ชีวิตแบบใส่ใจในสุขภาพ เช่น ควบคุมความดันโลหิต ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกําลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ และหมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจํา เป็นวิธีที่ดีในการลดปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง
          ด้าน ดร.นพ. โยธิน ชินวลัญช์ อายุรแพทย์สมองและระบบประสาท กล่าวถึง โรคลมชักเกิดขึ้นได้ตลอดชีวิต ตั้งแต่แรกคลอด วัยเด็ก วันรุ่น วัยผู้ใหญ่จนถึงผู้สูงอายุแต่กลุ่มที่พบมากได้แก่วัยเด็กและวัยสูงอายุที่มีโอกาสพบโรคนี้ได้ราว 1.5-1.8% และส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย คลินิกลมชักจึงเกิดขึ้น เพื่อดูแลผู้ป่วยโรคลมชัก โดยทีมแพทย์ เพื่อการรักษาที่มีมาตรฐานและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยโรคลมชักด้วยแพทย์เฉพาะทาง และบริการให้คำปรึกษาเมื่อมีอาการชักหรือสงสัยว่าเป็นโรคลมชัก เพื่อให้คำแนะนำที่เหมาะสมต่ออาการหรือปัญหา ลดความเสี่ยงต่ออันตรายที่เกิดขึ้นขณะชัก อาการชักที่แสดงออกไม่จําเป็นต้องเกร็งกระตุกเสมอไป โดยรูปแบบของอาการมีความหลากหลายและเกี่ยวเนื่องสมองที่ควบคุมส่วนต่างๆ ของร่ายกาย เช่น หากพบความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับสมองส่วนที่ควบคุมแขน อาการที่เห็นได้ชัดคือ แขน ขา มือ ใบหน้าหรือซีกหนึ่งมีการเกร็งกระตุกอย่างชัดเจน ในขณะที่ความผิดปกติเกิดขึ้นกับสมองส่วนควบคุมความจํา อารมณ์และพฤติกรรม สิ่งที่แสดงออกคือ อาการเหม่อลอย นิ่ง และไม่รู้สึกตัว ความผิดปกติของเซลล์สมองที่เกิดขึ้นจากพันธุกรรมเป็นตัวกําหนดและปัจจัยภายนอกจากอุบัติเหตุมีส่วนทําให้การวางเซลล์สมองผิดปกติและเมื่อใดที่ไฟฟ้าเกิดลัดวงจร อาการชักก็จะปรากฏให้เห็นอาการชักอาจเกิดขึ้นชั่วขณะ แล้วหายไปก่อนที่จะเกิดซ้ำคล้ายแบบเดิมเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งการกระตุ้นในรูปแบบซ้ำๆ ทําให้สมองถูกทําลายอยู่เป็นประจํา เป็นปัจจัยสําคัญที่ทําให้เด็กมีพัฒนาการทางสมองช้าลง การเรียนรู้ที่ผิดปกติและเสี่ยงที่จะสมองพิการได้ในอนาคต การตรวจเอ็กซเรย์สมอง ตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง 24 ชั่วโมง การตรวจทางรังสีและEEG, MRI brain, SPECT PET จะช่วยยืนยันจุดกําเนิดความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับสมองได้ นําไปสู่การวางแผนรักษา มีการใช้เทคนิคใหม่ EEG simultaneous fMRI brain, high density EEG 128 channel ซึ่งเป็นการตรวจบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมองพร้อมกับการตรวจ MRI brain และการทำงานของสมอง fMRI brain ทำให้สามารถตรวจหาจุดกำเนิดไฟฟ้าส่วนที่ผิดปกติได้แม่นยำขึ้น
          นพ.ชาคร จันทร์สกุล อายุรแพทย์สมองและระบบประสาท กล่าวว่า อาการปวดศีรษะเป็นอาการที่มีผู้ป่วยเข้ามาปรึกษาแพทย์เป็นจำนวนมาก เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น อาการปวดศีรษะไมเกรน อาการปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อตึงตัว (tension-type headache) หรือจากโรคหรือภาวะต่างๆ ที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น เนื้องอกในสมอง เลือดออกในสมอง การติดเชื้อในสมองหรือเยื่อหุ้มสมอง เป็นต้น คลินิกปวดศีรษะที่โรงพยาบาลกรุงเทพมีวิธีสำหรับคัดกรองการปวดศีรษะประเภทต่างๆ และเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยที่ทันสมัย ช่วยในการวิเคราะห์ปัญหาได้ตรงจุด ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว คลินิกปวดศีรษะยังมีวิธีการรักษาอาการปวดศีรษะที่หลากหลาย เช่น การใช้ค็อกเทลหรือตัวยาหลายชนิดร่วมกันเพื่อช่วยรักษาอาการปวดศีรษะเฉียบพลัน ซึ่งวิธีนี้จะดีกว่าการฉีดยาเพื่อลดอาการปวดตามปกติเพราะยังช่วยลดการกลับมาปวดศีรษะซ้ำอีกภายใน 24 ชั่วโมงได้ นอกจากนี้ยังมีการทำหัตถการทางการแพทย์เพื่อลดอาการปวดศีรษะ เช่น การฉีดยาเข้าไปบริเวณเส้นประสาทหลังท้ายทอย (occipital nerve block) หรือการฉีดโบทูลินัมท็อกซิน (โบท็อกซ์) บางครั้งอาการปวดศีรษะของผู้ป่วยอาจจะมีสาเหตุมากกว่าหนึ่งอย่าง การรักษาแบบบูรณาการโดยอาศัยความร่วมมือจากแผนกต่างๆ ในโรงพยาบาลจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ผู้ป่วยส่วนหนึ่งจะได้รับการรักษากับแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู แพทย์ฝังเข็มจีน หรือจิตแพทย์ เพื่อให้ได้รับผลการรักษาที่ดี นอกจากนี้ที่โรงพยาบาลกรุงเทพยังมีเทคโนโลยีซึ่งอาจจะนำมาใช้ในระยะปวดศีรษะเฉียบพลันได้ เช่น การรักษาด้วยการกระตุ้นไฟฟ้ากระแสตรงผ่านกระโหลกศีรษะ(Transcranial Magnetic Stimulation:TMS) โดยอาศัยคลื่นแม่เหล็ก (magnetic pulses) และไฟฟ้ากระแสตรง (direct current) มีวัตถุประสงค์เพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในของสมองตามแนวทางที่เรียกว่า Non Invasive Brain Stimulation (NIBS) จัดว่าเป็นวิธีการที่ปลอดภัยมีผลกระทบต่อสมองเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับการรักษาด้วยวิธีการอื่น การรักษาด้วยวิธีนี้ไม่ต้องดมยาสลบ ไม่จําเป็นต้องฝังสายไฟหรือเครื่องมือใดๆไว้ในร่างกาย. ผู้ป่วยสามารถมารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกและเดินทางกลับบ้านได้หลังการรักษา
          ไบโอฟีดแบค (biofeedback) เป็นเทคโนโลยีการรักษาที่ช่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย สามารถรับรู้สัญญาณการทํางานจากอวัยวะต่างๆ ในสถานการณ์เครียด โกรธ เจ็บปวด ผ่อนคลาย มีความสุข และนําการรับรู้ดังกล่าวมาปรับใช้ และควบคุมร่างกาย เช่น อัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ อุณหภูมิของร่างกาย การเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ และการทํางานของต่อมเหงื่อ เป็นต้น การบําบัดด้วยเครื่องมือไบโอฟีดแบค เจ้าหน้าที่จะทําการติดอุปกรณ์ตรวจวัดสัญญาณลงบริเวณร่างกายซึ่งไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดแต่อย่างใด และกระตุ้นให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย วิธีนี้ยังทําให้ผู้ป่วยลดการรับประทานยาได้อีกด้วย
          นพ. อภิชาติ พิศาลพงศ์ อายุรแพทย์สมองและระบบประสาท กล่าวว่า คลินิกโรคพาร์กินสันเเละการเคลื่อนไหวผิดปกติ ให้การดูแลรักษาโรคเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติจะครอบคลุมไปถึงการเคลื่อนไหวที่ช้าเกินไปเช่น โรคพาร์กินสัน(Parkinson's Disease) ซึ่งนอกจากการเคลื่อนไหวที่ช้า แล้วผู้ป่วยจะมีอาการสั่น เกร็งปวดของกล้ามเนื้อ และสูญเสียการทรงตัวร่วมด้วยซึ่งปัจจุบันโรคนี้จะพบได้มากขึ้นจากสังคมที่มีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ส่วนการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติที่เร็วเกินไปได้เเก่อาการสั่น (tremor) อาการกระตุก(myoclonus, tics disorders) อาการบิดเกร็งกระตุกของกล้ามเนื้อ(dystonia) หรืออาการเคี้ยวปาก หรืออาการคล้ายรำละคร (chorea) เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้ต้องพยายามตรวจค้นเพื่อหาสาเหตุ เพื่อการรักษาที่ต้นเหตุ ปัจจุบันมีการตรวจด้วยเครื่องสแกนสมองชนิดCT, MRI และ PET Scan โดยเฉพาะ F-DOPA PET จะใช้เพื่อวินิจฉัยยืนยันโรคพาร์กินสันโดยเฉพาะได้อย่างละเอียดเพิ่มขึ้น ส่วนการรักษาโรคพาร์กินสันที่ได้ผลคือการรักษาด้วยยาทดแทนโดปามีนที่ขาดไป ปัจจุบันมียาอยู่หลายชนิดที่มีประสิทธิภาพสูงทำให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้น ส่วนในกลุ่มที่เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยามานาน(motor fluctuations) สามารถรักษาด้วยวิธีฝังelectrode เพื่อกระตุ้นสมองส่วนลึก(deep brain stimulation) ร่วมด้วย เพื่อลดปริมาณยาที่ใช้และลดผลข้างเคียงจากการใช้ยาลงได้ โดยการผ่าตัดจะแบ่งเป็นสองขั้นตอนโดยขั้นตอนแรกจะทำการผ่าตัดเพื่อฝังelectrode ขนาดเล็กเข้าไปที่สมองส่วน subthalamic nucleus โดยทำการผ่าตัดที่สมองทั้งสมองข้างโดยเจาะรูเล็กๆที่กระโหลกศีรษะ เเละจะมีการทดสอบว่าผู้ป่วยอาการดีขึ้นไหมโดยการกระตุ้นสมองส่วนนั้นโดยที่ผู้ป่วยยังรู้ตัวตลอดเวลา เมื่อสำเร็จแล้วจะทำการผ่าตัดขั้นตอนที่สองคือผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าขนาดเล็ก (IPG DBS battery) ไว้ที่หน้าอกเเล้วเชื่อมต่อกับสายelectrode ในสมอง หลังจากนั้น3-4สัปดาห์จะทำการตั้งโปรเเกรมตัวเครื่องที่หน้าอก เเละดูการตอบสนองของอาการของผู้ป่วยโดยสามรถลดอาการเกร็ง สั่นเเละช่วยให้การเคลื่อนไหวดีขึ้น โดยการเปิดปิดเครื่องหรือตั้งโปรเเกรมสามารถทำได้จากภายนอกโดยตัวremote programmer โดยเเพทย์หรือตัวผู้ป่วยเองก็สามารถทำได้โดยมีเครื่อง patient self programmer เช่นเดียวกัน
          ส่วนการรักษาด้วย botulinum toxin injection เป็นการรักษาโรคหน้ากระตุก(Hemifacial spasm) โรคคอบิดเกร็ง (cervical dystonia) กล้ามเนื้อเกร็งจากโรคอัมพฤกษ์อัมพาต(muscle spasticity) เพื่อลดการเกร็ง การกระตุก เเละความปวดจากการเกร็งของกล้ามเนื้อลงได้ สารนี้จะไปยับยั้งการทำงานของกล้ามเนื้อชั่วคราว (transient focal muscle paralysis)โดยไปยับยั้งการปล่อยสาร acetyl choline ที่ปลายประสาทที่ต่อกับกล้ามเนื้อ หลังฉีดยาจะไม่ออกฤทธิ์ทันทีต้องใช้เวลา 3-4 วันเเละจะออกฤทธิ์สูงสุดในสัปดาห์ที่ 2 เเละผลของการรักษาจะอยู่ได้นานถึง 2-3เดือน นอกจากนี้สารนี้ยังสามารถลดการหลั่งเหงื่อซึ่งเป็นต้นเหตุของกลิ่นตัวได้อีกด้วย
          นพ. พิพัฒน์ ชุมเกษียร แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู เผยว่า ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูระบบประสาท ให้บริการประเมินสมรรถนะความสามารถและโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างครบครัน ด้วยรูปแบบเฉพาะรายตามสภาพการสูญเสียความสามารถ เพื่อคืนความสุขให้ผู้ป่วยและญาติได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติหรือใกล้เคียงปกติของผู้ป่วยทั้งสี่กลุ่ม คือโรคหลอดเลือดสมอง,พาร์กินสัน-การเคลื่อนไหวผิดปกติ,ลมชัก และ ปวดศีรษะ ดังนี้

          บริการฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้ป่วยทางระบบประสาท ( เป้าหมาย) โรคหลอดเลือดสมอง พาร์กินสัน ลมชัก ปวดศีรษะ

          1. การฝึกกลืนปลอดภัย
          (ป้องกันสำลักอาหาร) 
          2.การพูดและสื่อสาร(สื่อสารได้ดีขึ้น) 
          3.เดินได้อย่างปลอดภัย(ป้องกันล้ม) 
          4.Vienna Test and CogniPlus Training
          ( เพิ่มเชาวน์ปัญญา) 
          5.ประเมินและปรับท่าทาง(ให้ท่าถูกต้อง) 
          6.การยศาสตร์ (ออกแบบอุปกรณ์และสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการทำงาน) 
          โรคหลอดเลือดสมอง พาร์กินสัน ลมชัก ปวดศีรษะ
          7.การกลับเข้าทำงานหลังเจ็บป่วย(ได้งานที่เหมาะสมกับศักยภาพความสามารถ) 
          8.LASER Therapy  ปวด 
          การประเมินและการฝึกทางเชาวน์ปัญญา(Vienna Test and CogniPlus Training) ผู้ป่วยทางสมองควรได้รับการประเมินและฝึกทุกราย ที่สามารถสื่อสารเข้าใจและร่วมมือทำได้ ผลลัพธ์ที่ได้จะมีรายงานผลเทียบกับค่าเฉลี่ยของคนที่มีอายุและเพศเดียวกัน (เทียบคนอื่น) และรายงานผลเทียบกับตนเองดูพัฒนาการจากการฝึกต่อเนื่อง (เทียบตนเอง)
          การฝึกกลืนปลอดภัยเพื่อป้องกันสำลักอาหาร, การพูดและสื่อสารเพื่อสื่อสารให้ดีขึ้น, การเดินอย่างปลอดภัยเพื่อป้องกันลม เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องประเมินและฝึก ในผู้ป่วยทางสมองแทบทุกราย
          ประเมินและปรับท่าทางให้ท่าถูกต้อง Posture Analysisโปรแกรมวิเคราะห์โครงร่างภายนอกของ คอ บ่า หลัง เพื่อประเมินความสมดุลในการทํางานของกล้ามเนื้อและลดอาการปวดศีรษะ การจัดท่าทางการนอน นั่ง ยืน เดิน ให้เหมาะสมในคนไข้โรคหลอดเลือดสมองและพาร์กินสัน
          LASER Therapy เป็น LASER กําลังต่ำ ที่ให้พลังงานต่ำกว่า 500 มิลลิวัตต์ เป็นเป็นเครื่องมือทางกายภาพบําบัดที่ให้การรักษาผ่านผิวหนังโดยไม่ทําลายเนื้อเยื่อ ผลการรักษาเพื่อกระตุ้นหรือเร่งกระบวนการซ่อมแซมเนื้อเยื่อและการระงับความรู้สึกเจ็บปวด
เปิดบ้านศูนย์สมอง “Brain Power สมองฟิต ชีวิตเฟิร์ม” โรงพยาบาลกรุงเทพผนึก 5 คลินิกดูแลด้านสมองและระบบประสาท
เปิดบ้านศูนย์สมอง “Brain Power สมองฟิต ชีวิตเฟิร์ม” โรงพยาบาลกรุงเทพผนึก 5 คลินิกดูแลด้านสมองและระบบประสาท
เปิดบ้านศูนย์สมอง “Brain Power สมองฟิต ชีวิตเฟิร์ม” โรงพยาบาลกรุงเทพผนึก 5 คลินิกดูแลด้านสมองและระบบประสาท
เปิดบ้านศูนย์สมอง “Brain Power สมองฟิต ชีวิตเฟิร์ม” โรงพยาบาลกรุงเทพผนึก 5 คลินิกดูแลด้านสมองและระบบประสาท
 


ข่าวโรงพยาบาลกรุงเทพผนึก+ชาญพงค์ ตังคณะกุลวันนี้

9 แชมป์โรคสมอง... อย่ามองข้าม

บทความสาระการแพทย์ 9 แชมป์โรคสมอง... อย่ามองข้าม โดย นพ. ชาญพงค์ ตังคณะกุล ผู้อำนวยการศูนย์สมองและระบบประสาทกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ สมอง เป็นอวัยวะที่ต้องทำงานอยู่ตลอดเวลา การดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจให้แข็งแรง ลดความเครียด ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการดูแลสมองให้ทำงานได้ดี ซึ่ง นพ. ชาญพงค์ ตังคณะกุล ผู้อำนวยการศูนย์สมองและระบบประสาทกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ ให้ข้อมูลว่า ในปัจจุบันโรคด้านสมองและระบบประสาท เป็นโรคที่คนไทยเป็นมากเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย โดยวันนี้คุณหมอจะพาไปรู้จักกับ 9 แชมป์

นพ.นิวัติ อินทรวิเชียร ผู้ช่วยผู้อำนวยการ... ภาพข่าว: รพ.กรุงเทพเปิดบ้านศูนย์สมอง Brain Power สมองฟิตชีวิตเฟิร์ม — นพ.นิวัติ อินทรวิเชียร ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลกรุงเทพ เป็นประธานใน “งานแถลงข่าวเ...

ภาพข่าว: งาน Stroke Care ครั้งที่ 7 ชีวีเป็นสุขหลังเป็นอัมพาต

นพ. กฤตวิทย์ เลิศอุตสาหกูล รองประธานคณะผู้บริหาร ศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพ เป็นประธานเปิดงานสัมมนา “Stroke Care ครั้งที่ 7 ชีวีเป็นสุขหลังเป็นอัมพาต” โดยมี นพ.ชาญพงค์ ตังคณะกุล ผู้อำนวยการศูนย์สมองและระบบประสาทกรุงเทพ และ นพ. พิพัฒน์...

ภาพข่าว: เปิดนวัตกรรมใหม่

นายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ประธานคณะผู้บริหารกลุ่มและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) เป็นประธานในพิธีเปิด “เครื่องเอกซเรย์ตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคหลอดเลือด Bi-plane DSA” เพื่อช่วยวินิจฉัยและรักษาโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดทั่วร่างกาย โดยมี...

ภาพข่าว: เปิดนวัตกรรมใหม่

นายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ประธานคณะผู้บริหารกลุ่มและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) เป็นประธานในพิธีเปิด “เครื่องเอกซเรย์ตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคหลอดเลือด Bi-plane DSA” เพื่อช่วยวินิจฉัยและรักษาโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดทั่วร่างกาย โดยมี...

ภาพข่าว: “สัมมนา...โรคหลอดเลือดสมองตีบ ตัน แตก”

นายแพทย์สมชาย จันทร์สว่าง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกรุงเทพ ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงานสัมมนาเรื่อง “อย่าประมาท...โรคหลอดเลือดสมองตีบ ตัน แตก” โดยมี นายแพทย์ชาญพงค์ ตังคณะกุล ผู้อำนวยการศูนย์สมองและระบบประสาทกรุงเทพ และ นายแพทย์นันทศักดิ์ ทิศาวิภาต ศัลย...

ศูนย์สมองและระบบประสาทกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ จัดงานสัมมนา เรื่อง “อย่าประมาท...โรคหลอดเลือดสมองตีบ ตัน แตก”

ศูนย์สมองและระบบประสาทกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ ขอเชิญผู้ที่สนใจ ร่วมงานสัมมนา เรื่อง “อย่าประมาท...โรคหลอดเลือดสมองตีบ ตัน แตก” ร่วมฟังสาระความรู้ ในหัวข้ออาทิ “วิทยาการก้าวหน้า รักษาโรคหลอด...

โรงพยาบาลกรุงเทพ จัดงานสัมมนา เกี่ยวกับ โรคหลอดเลือดสมอง

ศูนย์สมองและระบบประสาทกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ ขอเชิญผู้ที่สนใจ ร่วมงานสัมมนา เรื่อง “อย่าประมาท...โรคหลอดเลือดสมองตีบ ตัน แตก” ร่วมฟังสาระความรู้ ในหัวข้ออาทิ “วิทยาการก้าวหน้า รักษาโรคหลอดเลือดสมอง” โดย นพ. ฑิตพงศ์ ส่งแสง, “สัญญาณเตือน......

“อย่าประมาท...โรคหลอดเลือดสมองตีบ ตัน แตก”

ศูนย์สมองและระบบประสาทกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ ขอเชิญผู้ที่สนใจ ร่วมงานสัมมนา เรื่อง “อย่าประมาท...โรคหลอดเลือดสมองตีบ ตัน แตก” ร่วมฟังสาระความรู้ ในหัวข้ออาทิ “วิทยาการก้าวหน้า รักษาโรคหลอดเลือดสมอง” โดย นพ. ฑิตพงศ์ ส่งแสง, “สัญญาณเตือน...โรคหลอด...