ฟิทช์ประกาศลดอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด

14 Oct 2014
บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ ได้ประกาศลดอันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน (Viability Rating ) ของธนาคารแสตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด มหาชน (SCBT) เป็น ‘bbb’ จากเดิม ‘bbb+’ และปรับแนวโน้มอันดับเครดิตสำหรับอันดับเครดิตสากลสกุลเงินในประเทศระยะยาว (Long-Term Local-Currency IDR) เป็นลบจากแนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ โดยยังคงอันดับเครดิตดังกล่าวที่ ‘A+’

ในขณะเดียวกันฟิทช์ได้ประกาศคงอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว (Long-Term Foreign-Currency IDR) ของ SCBT ที่ ‘A-’ แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ และคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว (National Long-Term Rating) ที่ ‘AAA(tha)’ แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ รายละเอียดของอันดับเครดิตทั้งหมดแสดงอยู่ด้านท้าย

ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต อันดับเครดิตสากล – อันดับเครดิตภายในประเทศและอันดับเครดิตสนับสนุนอันดับเครดิตสากล อันดับเครดิตภายในประเทศและอันดับเครดิตสนับสนุน (Support Rating) สะท้อนถึงการที่ฟิทช์เชื่อว่ามีความเป็นไปได้อย่างสูงมากที่ธนาคาร SCBT จะได้รับการสนับสนุนจากธนาคารแม่ Standard Chartered Bank (SC; ‘AA-’/แนวโน้มอันดับเครดิตเป็นลบ) หากมีความจำเป็น ฟิทช์มองว่า SCBT เป็นธนาคารลูกที่มีความสำคัญในเชิงกลยุทธ์ต่อ SC เนื่องจาก SCBT มีการดำเนินงานที่เชื่อมโยงกัน (Integration) อย่างใกล้ชิดกับธนาคารแม่ กอปรกับ SC ได้ให้ความช่วยเหลือในด้านการเงินแก่ SCBT มาอย่างต่อเนื่องในอดีต และ SC ยังคงถือหุ้นใน SCBT เกือบทั้งหมด (99.99%)

แนวโน้มอันดับเครดิตเป็นลบสำหรับอันดับเครดิตสากลสกุลเงินในประเทศระยะยาวสอดคล้องกับการปรับแนวโน้มอันดับเครดิตเป็นลบของ SC เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2557 (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในรายงาน Fitch revises Standard Chartered’s Outlook to Negative; Affirm IDR ‘AA-’ ที่ www.fitchratings.com) แต่อย่างไรก็ตามอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวยังคงมีแนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพเนื่องจากอันดับเครดิตดังกล่าวถูกจำกัดโดยเพดานอันดับเครดิตของประเทศไทย (Country Ceiling) ที่ ‘A-’ และการเปลี่ยนของอันดับเครดิตสากลระยะยาวของ SC อาจจะไม่ส่งผลกระทบต่ออันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของ SCBTปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต – อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน

การปรับลดอันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน (Viability Rating) สะท้อนถึงคุณภาพของสินทรัพย์ที่ด้อยลง โดยสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็น 7.7 พันล้านบาท หรือ 7.3% ของสินเชื่อรวม ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 2557 (จาก 6.3 พันล้านบาท หรือ 6.1% ณ สิ้นเดือนธ.ค. 2556) อีกทั้งสภาพแวดล้อมทางธุรกิจยังคงมีแนวโน้มที่อ่อนแอ ดังนั้นคุณภาพของสินทรัพย์อาจปรับตัวด้อยลงอีก เงินกองทุนที่แข็งแกร่งของ SCBT ช่วยเพิ่มความสามารถในการรองรับความเสี่ยง โดยธนาคารมีเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่ 21.3% ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 2557 (เทียบกับค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมที่ 13%) อย่างไรก็ตามฟิทช์เชื่อว่าธนาคารอาจจะต้องเผชิญกับความเสี่ยงเพิ่มเติมในอนาคตจึงทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องดำรงเงินกองทุนไว้ในระดับสูง

ความเสี่ยงในด้านคุณภาพของสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นน่าจะส่งผลให้ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญปรับตัวเพิ่มขึ้น อีกทั้งสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ยังคงอ่อนแออาจส่งผลให้ความสามารถในการทำกำไรปรับตัวแย่ลง อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ SCBT ยังสะท้อนถึงความช่วยเหลือในการดำเนินงานตามปกติจากธนาคารแม่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของเครือข่ายต่างประเทศ การจัดหาเงินทุน สภาพคล่องและการบริหารความเสี่ยง

ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต – อันดับเครดิตสากล อันดับเครดิตภายในประเทศและ อันดับเครดิตสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงของอันดับเครดิตสากลของ SC อาจส่งผลกระทบต่ออันดับเครดิตสากลสกุลเงินในประเทศระยะยาวของ SCBT แต่อาจไม่ส่งผลกระทบต่ออันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวซึ่งปัจจุบันถูกจำกัดโดย เพดานอันดับเครดิตของประเทศไทย

การปรับตัวลดลงของแนวโน้มที่ SC จะให้การสนับสนุนแก่ SCBT (ซึ่งอาจแสดงได้จากการลดลงของสัดส่วนการถือหุ้นใน SCBT อย่างมีนัยสำคัญ) อาจส่งผลกระทบในเชิงลบต่ออันดับเครดิต แต่อย่างไรก็ตามฟิทช์เชื่อว่าเหตุการณ์ดังกล่าวไม่น่าจะเกิดขึ้นในระยะอันใกล้นี้

การเปลี่ยนแปลงของเพดานอันดับเครดิตของประเทศไทยอาจส่งผลกระทบในทิศทางเดียวกันต่ออันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของ SCBTปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต – อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน

การปรับตัวอ่อนแอลงอย่างมีนัยสำคัญและต่อเนื่องของคุณภาพสินทรัพย์และการปรับตัวลดลงอย่างมากของระดับเงินกองทุน อาจส่งผลให้เกิดการปรับลดอันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน อาจได้รับการปรับเพิ่มอันดับหากโครงสร้างความเสี่ยงของธนาคารปรับตัวดีขึ้นซึ่งจะส่งผลให้คุณภาพของสินทรัพย์ปรับตัวดีขึ้นโดยที่ฐานะเงินกองทุนและกำไรของธนาคารจะต้องไม่ปรับตัวอ่อนแอลงอย่างมีนัยสำคัญรายละเอียดของอันดับเครดิตทั้งหมดของ SCBT มีดังนี้- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวคงอันดับที่ ‘A-’ แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้นคงอันดับที่ ‘F2’- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินในประเทศระยะยาวคงอันดับที่ ‘A+’ ปรับแนวโน้มอันดับเครดิตเป็นลบจากเดิมแนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินในประเทศระยะสั้นคงอันดับที่ ‘F1’- อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินปรับลดอันดับเป็น ‘bbb’ จาก ‘bbb+’- อันดับเครดิตสนับสนุนคงอันดับที่ ‘1’- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวคงอันดับที่ ‘AAA(tha)’ แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นคงอันดับที่ ‘F1+(tha)’-อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นของโครงการหุ้นกู้ระยะสั้นไม่ด้อยสิทธิไม่มีหลักประกันคงอันดับที่ ‘F1+(tha)’