แพทย์ผู้เชี่ยวชาญร่วมเผยความก้าวหน้าด้านวิทยาการทางการแพทย์ล่าสุด กับนวัตกรรมการตรวจมะเร็งปากมดลูกแนวใหม่

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท โรช ไดแอกโนสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด นำโดย นายพิเชษฐพงษ์ ศรีสุวรรณกุล (กลาง)กรรมการผู้จัดการ พร้อมด้วย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์โทมัส ซี ไรท์ (ซ้าย) ศาสตราจารย์เกียรติคุณด้านพยาธิวิทยา และเซลล์ชีววิทยา จากศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และนายแพทย์วิสิทธิ์ สุภัครพงษ์กุล (ขวา) นายกสมาคมมะเร็งนรีเวชไทย ได้ร่วมเผยถึงความก้าวหน้าล่าสุดของนวัตกรรมการตรวจมะเร็งปากมดลูกในงานแถลงข่าว “ยกระดับการตรวจมะเร็งปากมดลูกแนวใหม่” เนื่องในโอกาสที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมวิชาการด้านพยาธิวิทยาระดับนานาชาติ (Congress of the International Academy of Pathology) ครั้งที่ 30 ณ โรงแรมเซนทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ โดยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและพยาธิแพทย์ชั้นนำทั้งในประเทศและทั่วโลกกว่า 1,200 คนมาร่วมงาน
          ความก้าวหน้าล่าสุดของนวัตกรรมการตรวจมะเร็งปากมดลูก คือ เทสต์ตรวจโปรตีน p16/Ki-67 หรือที่เรียกว่าp16/Ki-67 biomarker test และ เทสต์ตรวจโปรตีน p16 ในชิ้นเนื้อ หรือที่เรียกว่า p16 histology test ตัวช่วยให้การตรวจคัดกรองและวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูกทำได้ตั้งแต่เนิ่นๆ และมีความแม่นยำมากขึ้น
          นายแพทย์วิสิทธิ์ สุภัครพงษ์กุล นายกสมาคมมะเร็งนรีเวชไทย กล่าวว่า “มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 2 ในหญิงไทย จากสถิติในประเทศไทยพบผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ปีละ 8,184 ราย และคร่าชีวิตผู้ป่วยเฉลี่ยปีละ 4,513 ราย เฉลี่ยแล้วมีผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยมะเร็งปากมดลูกถึงวันละ 12.3 ราย2 ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่สามารถป้องกันและรักษาได้หากตรวจพบตั้งแต่ระยะเนิ่นๆ”
          สาเหตุหลักของการเกิดมะเร็งปากมดลูกมาจากเชื้อไวรัส human papilloma virusหรือที่เรารู้จักกันในชื่อ ‘ไวรัสเอชพีวี’ ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่มีมากกว่าร้อยสายพันธุ์ แต่มีอยู่ 14 สายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูงในการก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก โดยเชื้อไวรัสเอชพีวีสายพันธุ์ที่ 16 และ 18 ถือเป็นสายพันธุ์ที่อันตรายที่สุดซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกถึงร้อยละ 701 นอกจากนั้นแล้ว ยังมีเชื้อไวรัสเอชพีวีอีก 12 สายพันธุ์ที่เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งปากมดลูกในผู้ป่วยอีกร้อยละ 30 ถึงแม้ว่าเชื้อไวรัสเอชพีวี จะเป็นสาเหตุหลักของการเกิดมะเร็งปากมดลูก แต่ไม่ได้หมายความว่าผู้หญิงที่ติดเชื้อไวรัสเอชพีวีทุกคนจะกลายเป็นมะเร็งปากมดลูก เพราะปกติร่างกายสามารถขจัดเชื้อเอชพีวีออกไปได้เอง ในบางรายจึงเป็นการติดเชื้อชั่วคราวเท่านั้น
          ดังนั้น การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกขั้นปฐมภูมิอย่างแพปสเมียร์ควบคู่กับการตรวจหาเชื้อเอชพีวี ดีเอ็นเอ จะสามารถระบุการติดเชื้อเอชพีวี สายพันธุ์ 16 และ 18 ได้ แต่หากผลการตรวจแพปสเมียร์ปกติ และไม่พบการติดเชื้อเอชพีวี สายพันธุ์ 16 และ 18 แต่กลับพบการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีในกลุ่ม 12 สายพันธุ์อื่นๆ ที่มีความเสี่ยงสูง แพทย์อาจจะวินิจฉัยว่ายังไม่ต้องเข้ารับการตรวจคอลโปสโคป (ซึ่งเป็นการใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กทรอนิคขนาดใหญ่ เพื่อตรวจดูหาเซลล์ที่ผิดปกติบริเวณปากมดลูก) แต่ให้กลับมาตรวจซ้ำอีกครั้งใน 1 ปีข้างหน้า เช่นเดียวกันกับผู้ที่ผลตรวจแพปสเมียร์มีความผิดปกติเล็กน้อย ก็จะให้รอติดตามผลและมาตรวจคัดกรองอีกครั้งในอีก 1 ปีขึ้นอยู่กับความพร้อมของโรงพยาบาล
          ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์โทมัส ซี ไรท์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณด้านพยาธิวิทยา และเซลล์ชีววิทยา จากศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ประเทศสหรัฐอเมริกา อธิบายเพิ่มเติมว่า “ในระหว่างรอการกลับมาตรวจซ้ำเป็นระยะเวลา 1 ปีนั้น ผู้หญิงหลายคนอาจจะเกิดความเครียด วิตกกังวล และในบางรายอาจทำให้การรักษาเกิดความล่าช้าได้ ดังนั้น นวัตกรรมการตรวจคัดกรองแนวใหม่ด้วย เทสต์ตรวจโปรตีน p16/Ki-67 จะช่วยจำแนกได้ว่าผู้หญิงคนใดที่ติดเชื้อเอชพีวีหรือมีผลแพปสเมียร์ผิดปกติ มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูก และต้องเข้ารับการตรวจด้วยคอลโปสโคปทันทีแทนที่จะต้องรออีก 1 ปี”
          เทสต์ตรวจโปรตีน p16/Ki-67 นี้จะเป็นการตรวจหาโปรตีน p16 และ Ki-67 ไปพร้อมๆ กัน โดยใช้ตัวอย่างเดิมจากการตรวจแพปสเมียร์ หากพบโปรตีนทั้ง 2 ตัวก็จะแปลว่าผู้หญิงคนนั้นควรได้รับการตรวจคอลโปสโคปเพิ่มเติมต่อไป แต่หากผลการตรวจไม่พบโปรตีนทั้ง 2 ตัวพร้อมกัน ผู้หญิงคนนั้นก็สามารถกลับเข้าสู่กระบวนการตรวจคัดกรองตามปกติได้
          สำหรับผู้ที่ต้องเข้ารับการตรวจคอลโปสโคปและพบความผิดปกติ จะต้องทำการตัดตัวอย่างชิ้นเนื้อมาวินิจฉัย(biopsy) นวัตกรรมการตรวจที่เรียกว่า เทสต์ตรวจโปรตีน p16 ในชิ้นเนื้อ หรือ p16 histology test เข้ามาช่วยในขั้นตอนการวินิจฉัยรอยโรค โดยจะตรวจหาโปรตีน p16 เพียงตัวเดียว เพื่อยืนยันว่ามีหรือไม่มีรอยโรคก่อนมะเร็งที่รุนแรง เพื่อที่จะทำการรักษาได้อย่างถูกต้องและป้องกันการรักษาเกินความจำเป็นได้
          “เทสต์ตรวจโปรตีน p16 ในชิ้นเนื้อแสดงให้เห็นว่าสามารถเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัยโรคมะเร็งปากมดลูกได้ นั่นจึงเป็นเหตุผลให้วิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (College of American Pathologists) และองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้มีคำแนะนำให้ใช้เทสต์ตรวจโปรตีน p16 ในชิ้นเนื้อ และเมื่อประกอบเข้ากับการใช้เทสต์ตรวจโปรตีน p16/Ki-67 เพื่อใช้ตรวจผู้หญิงที่มีผลตรวจแพปสเมียร์ผิดปกติหรือมีการติดเชื้อเอชพีวี พยาธิแพทย์และสูตินรีแพทย์ก็จะมีเครื่องมืออันครบครันซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจวินิจฉัยและช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในกระบวนการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก” ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์โทมัส ซี ไรท์ กล่าวเสริม
          ปัจจุบัน นวัตกรรมใหม่การตรวจมะเร็งปากมดลูกของโรชทั้ง เทสต์ตรวจโปรตีน p16/Ki-67 (p16/Ki-67 biomarker test) และเทสต์ตรวจโปรตีน p16 ในชิ้นเนื้อ (p16 histology test) ได้รับการรับรองให้ใช้ในประเทศไทยแล้ว


ข่าวพิเชษฐพงษ์ ศรีสุวรรณกุล+วิสิทธิ์ สุภัครพงษ์กุลวันนี้

ภาพข่าว: โรชกระตุ้นวงการแพทย์ ตื่นตัวกับนวัตกรรมการตรวจมะเร็งปากมดลูกแนวใหม่ ปกป้องหญิงไทยห่างไกลมะเร็งร้าย

เมื่อเร็วๆ นี้ นายพิเชษฐพงษ์ ศรีสุวรรณกุล (กลาง) กรรมการผู้จัดการ บริษัท โรช ไดแอกโนสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด จัดงานแถลงข่าว “ยกระดับการตรวจมะเร็งปากมดลูกแนวใหม่” โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์โทมัส ซี ไรท์ (ซ้าย) ศาสตราจารย์เกียรติคุณด้านพยาธิวิทยา และเซลล์ชีววิทยา จากศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และนายแพทย์วิสิทธิ์ สุภัครพงษ์กุล (ขวา) นายกสมาคมมะเร็งนรีเวชไทย มาร่วมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกที่พบมากเป็นอันดับ 2 ในหญิงไทย พร้อมทั้ง

กลุ่มบริษัทโรช นำโดย มร.ฟิลลิป เมเยอร์ (ซ... ภาพข่าว: โรช มอบเงินบริจาคเพื่อการศึกษาผ่านโครงการ “โรช ชิลเดรนส์ วอล์ค” — กลุ่มบริษัทโรช นำโดย มร.ฟิลลิป เมเยอร์ (ซ้ายสุด)ผู้จัดการทั่วไป บริษัท โรช ไทยแ...

คุณพิเชษฐพงษ์ ศรีสุวรรณกุล (ที่ 2 จากซ้าย... ภาพข่าว: โรช ไดแอกโนสติกส์ ประเทศไทย ร่วมต้อนรับนักเทคนิคการแพทย์ทั่ว ไทยกว่า 500 คน ในงาน Roche Scientific Days 2016 — คุณพิเชษฐพงษ์ ศรีสุวรรณกุล (ที่ 2 ...

ภาพข่าว: 12 ปี แห่งการให้ โรช รวมใจระดมทุนเพื่อน้อง ในกิจกรรม Roche Children’s Walk 2015

เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท โรช ไทยแลนด์ จำกัด นำโดย เภสัชกรหญิงกฤษณา วินิจธรรมกุล (ที่ 3จากซ้าย) ผู้อำนวยการฝ่ายทะเบียนผลิตภัณฑ์ และบริษัท โรช ไดแอกโนสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด นำโดย นายพิเชษฐพงษ์ ศรีสุวรรณกุล (ที่ 2...

ภาพข่าว: โรช ร่วมรณรงค์ป้องกันมะเร็งปากมดลูก กระตุ้นหญิงไทยตรวจคัดกรองด้วยเอชพีวี ดีเอ็นเอ

เมื่อเร็วๆ นี้ นายพิเชษฐพงษ์ ศรีสุวรรณกุล (กลาง) กรรมการผู้จัดการ บริษัท โรช ไดแอกโนสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด จัดงานแถลงข่าว “เอชพีวี ไวรัสร้ายที่ผู้หญิงต้องรู้” เนื่องในโอกาสที่เดือนมกราคมเป็นเดือนแห่งการรณรงค์...

ภาพข่าว: โรช ไดแอกโนสติกส์ ประเทศไทย ทำบุญรับปีใหม่บริจาคโลหิต ณ สภากาชาดไทย

เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท โรช ไดแอกโนสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด จัดงาน Roche Blood Donor Day นำพนักงานทำบุญต้อนรับปีใหม่ด้วยการบริจาคโลหิตให้กับศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติสภากาชาดไทย โดยมีพนักงานมาร่วมงานอย่างพร้อมเพรียง นำโดย คุณพิ...

ภาพข่าว: จัดบรรยายให้ความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูก

เมื่อเร็วๆ นี้ นายพิเชษฐพงษ์ ศรีสุวรรณกุล (ซ้ายสุด) กรรมการผู้จัดการ บริษัท โรช ไดแอกโนสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (Mr. Pichetphong Sri Suwankul, Managing Director of Roche Diagnostics (Thailand) Ltd) เป็นประธานในงานเปิดตัววิธีทดสอบใหม่ล่าสุดของโรช...

ภาพข่าว: โรช ไดแอกโนสติกส์ จัดงาน Children’s Charity Night หาทุนสนับสนุน กองทุนโรคมะเร็งในเด็ก

นายพิเชษฐพงษ์ ศรีสุวรรณกุล กรรมการผู้จัดการ ร่วมกับ นายโรแลนด์ ดิกเกิ้ลมานน์ กรรมการผู้จัดการ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค นำพนักงาน บริษัท โรช ไดแอกโนสติกส์ [ประเทศไทย] จำกัด จัดโครงการ Children’s Charity Night...

ภาพข่าว: โรช ไดแอกโนสติกส์ จัดบรรยาย New Paradigm of Diagnostics Testing 2010

นายพิเชษฐพงษ์ ศรีสุวรรณกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท โรช ไดแอกโนสติกส์ [ประเทศไทย] จำกัด (ขวาสุด) เป็นประธานจัดงานบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “New Paradigm of Diagnostics Testing 2010” โดยมี ศ.พญ.นวพรรณ จารุรักษ์ (ที่ 2 จากขวา) ผู้...