แอร์บัสและสภาคณบดีคณะวิศวกรรมโลกมอบรางวัลเพื่อยกย่องผู้ริเริ่มนำความหลากหลายมาสู่ด้านวิศวกรรม

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          โดยผู้ผ่านการคัดเลือกรอบสุดท้าย 3 คนประกอบด้วยผู้สมัครจากออสเตรเลีย 1 คนและอีก 2 คนจากสหรัฐอเมริกา
          แอร์บัส บริษัทผู้ผลิตเครื่องบินชั้นนำ และสภาคณบดีคณะวิศวกรรมโลก (Global Engineering Deans Council: GEDC) องค์กรระหว่างประเทศชั้นนำด้านการวิศวศึกษา ได้คัดเลือกผู้สมัครจำนวนหนึ่งสำหรับ GEDC Airbus Diversity Award ประจำปี 2557 โดยผู้ผ่านการคัดเลือก 3 คนสุดท้ายประจำปีนี้เป็นผู้สมัครจากประเทศออสเตรเลียและสหรัฐอเมริกา และได้รับการคัดเลือกจากผู้สมัครกว่า 20 คนจากทั้งหมด 12 ประเทศ
          รางวัลอันทรงเกียรตินี้ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อมอบให้กับบุคคลผู้ริเริ่มปฏิบัติการเชิงรุกในการนำความหลากหลายมาสู่สถานศึกษาและมหาวิทยาลัยด้านวิศวกรรมต่างๆ เพื่อเป็นการตอบแทนผู้ริเริ่มจากทั่วโลกที่สนับสนุนให้คนรุ่นใหม่โดยไม่คำนึงถึงประวัติและภูมิหลังให้ได้รับการศึกษาและสำเร็จการศึกษาในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ โดยการมอบรางวัลนี้มีวัตุประสงค์ในระยะยาวเพื่อเพิ่มความหลากหลายระหว่างชุมชนวิศวกรรมทั่วโลกเพื่อให้อุตสาหกรรมด้านวิศกรรมสะท้อนถึงความหลากหลายของชุมชนที่ทางอุตสาหกรรมได้สนับสนุน
          ผู้ผ่านการคัดเลือกรอบสุดท้ายจะนำเสนอแนวคิดของตนเองแก่คณะกรรมการที่นำทีมโดย มร. ชาร์ลส์ แชมเปี้ยน รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายวิศวกรรม เกณฑ์ในการคัดเลือกจะมุ่งเน้นไปที่ความสำเร็จของความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่สามารถวัดผลได้ ความสามารถในการเปลี่ยนแปลงของแนวคิดและศักยภาพในกระตุ้นความคิดริเริ่มในการสร้างความหลากหลายอื่นๆ
          “ที่แอร์บัส เราเชื่อว่าความหลากหลายคือแรงขับเคลื่อนสำคัญของนวัตกรรมและประสิทธิภาพในการทำงาน” มร. ชาร์ลส์ แชมเปี้ยน กล่าว “ยิ่งมีทีมงานที่หลากหลายมากเท่าไร ก็จะยิ่งเป็นทีมที่มีความคิดทึ่ครอบคลุมมากขึ้นเท่านั้น และเป็นทีมที่ความคิดของทุกคนมีความสำคัญ นี่คือรูปแบบของวัฒนธรรมที่เรานำมาปรับใช้ที่แอร์บัสและผมขอแสดงความยินดีกับผู้ผ่านการคัดเลือกรอบสุดท้ายประจำปี 2557 ทุกท่าน ซึ่งต่างมีผลงานที่แสดงให้เห็นถึงสิ่งที่สามารถบรรลุผลให้สำเร็จผ่านความเชื่อมั่นและเป้าหมายได้”
          “ในปีนี้ เรารู้สึกประทับใจเป็นพิเศษกับจำนวนของผู้ริเริ่มที่ ‘แพร่กระจายไปทั่ว’ - กลุ่มคนที่มีศักยภาพในการเป็นตัวแทนในมหาวิทยาลัยอื่นๆทั่วโลก” จอห์น บีนอน คณบดีคณะวิศกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแอดิเลด ประเทศออสเตรเลียและประธานบริหารสภาคณบดีคณะวิศวกรรมโลก (Global Engineering Deans Council: GEDC) กล่าว “เราต้องการผลักดันให้ผู้นำด้านวิศวกรรมจากทั่วโลกมาเข้าร่วมกับการขับเคลื่อนของเราในการที่จะสร้างชุมชนวิศวกรรมทั่วโลกให้มีความหลากหลายมากขึ้น”
          ชื่อผู้ชนะรางวัลประจำปี 2557 จะได้รับการประกาศในการอภิปรายการศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์ทั่วโลก (World Engineering Education Forum: WEEF) ณ ประเทศดูไบ ในวันที่ 3 ธันวาคม 2557 ซึ่งผู้ที่จะเข้าร่วมงานดังกล่าวคือคณบดีแนวหน้าและตัวแทนอุตสาหกรรมจากทั่วโลก โดยเงินรางวัลจำนวน 10,000 ดอลลาร์สหรัฐจะถูกมอบให้กับผู้ชนะรางวัลเพื่อสนับสนุนและพัฒนาผลงานของเจ้าตัว
          ในเดือนตุลาคม ปี 2556 รางวัลความหลากหลายในการศึกษาด้านวิศวกรรม ถูกมอบให้กับ อานา ลาซาริน จากมหาวิทยาลัยวิชิต้า สเตท (Wichita State University: WSU) สหรัฐอเมริกา ด้วยการแผ่ขยาย การสรรหาบุคลากร และโครงการระยะยาวของเธอ ซึ่งได้เพิ่มจำนวนนักเรียนชนกลุ่มน้อยที่มีจำนวนตัวแทนในระดับต่ำที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิชิต้า สเตท (Wichita State University: WSU) ถึง 91% ภายในช่วง 5 ปัที่ผ่านมา

          ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับสื่อมวลชน กรุณาติดต่อ
          เมธาวรินทร์ มณีกุลพันธ์ + 662 260 5820 ต่อ 115
          ณัฐมน ไกรพจน์ + 662 260 5820 ต่อ 116
          สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: http://diversityinengineering.com
          ภาพผู้ผ่านการคัดเลือกรอบสุดท้ายของรางวัล GEDC Airbus Diversity Award: http://www.airbus.com

ข่าวสภาคณบดีคณะวิศวกรรม+ประเทศออสเตรเลียวันนี้

ประชุมวิชาการระดับชาติ "วิศวศึกษา" ครั้งที่ 20 ระดมแนวคิดการเรียนการสอนวิศวกรรมจะไปต่ออย่างไรในยุค AI

สภาคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม จัดการประชุมวิชาการระดับชาติ "วิศวศึกษา" ครั้งที่ 20 ระดมแนวคิดการเรียนการสอนวิศวกรรมจะไปต่ออย่างไรในยุค AI เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2567 สภาคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม จัดการประชุมวิชาการระดับชาติ "วิศวศึกษา" ครั้งที่ 20 "Engineering Education in AI Era: When the new paradigm has come" ณ โรงแรมรอยัล ออคิด เชอราตัน แอนด์ ทาวเวอร์ส กรุงเทพมหานคร เพื่อให้ผู้บริหาร

Engineering Education in AI EraWhen the n... CEDT & ENGINEERING SPU ขอเชิญชวนส่งบทความและร่วมงานประชุมวิชาการระดับชาติ "วิศวศึกษา" ครั้งที่ 20 เวทีสร้างสรรค์อนาคตวิศวกรรมไทย — Engineering Educati...

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลธิศ เอี่ยมวรวุฒิก... คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ศรีปทุม ต้อนรับ กรรมการผู้จัดการ บริษัท CAK และศิษย์เก่าวิศวกรรมศาสตร์ SPU เข้าสวัสดีปีใหม่ 2024 — ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลธิศ เอ...

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ขอร่วมแสดงความยินดีกับ... 7 อาจารย์วิศวกรตัวจริง SPU กับบทบาทสำคัญในวิชาชีพวิศวกรรม — มหาวิทยาลัยศรีปทุม ขอร่วมแสดงความยินดีกับ 7 คณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยา...

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ผศ... วิศวะมหิดล ยินดีในความสำเร็จของความร่วมมือพัฒนาวิศวศึกษาระหว่างไทย-ญี่ปุ่น (Engineering Education Collaboration) — คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ...

สภาคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย จั... สภาคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ฯ จับมือ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ และสภาวิศวกร MOU ยกระดับมาตรฐานการศึกษา พัฒนากำลังคนในสายวิชาชีพทางวิศวกรรม — สภาคณบดีคณะวิศว...

รศ. ดร.ปิยะบุตร วานิชพงษ์พันธุ์ นายกสภาวิ... สภาวิศวกร จับมือ วสท. และ สควท. ลงนามวิชาการ มุ่งพัฒนาทักษะวิศวกรไทยตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม — รศ. ดร.ปิยะบุตร วานิชพงษ์พันธุ์ นายกสภาวิศวกรสมัยที่ 7 (คนที่ ...

การเสวนา วิศวฯ นวัตกรรม "Smart Building E... เรียนรู้! การออกแบบอาคารอนุรักษ์พลังงาน ที่มีระบบควบคุมอัจฉริยะ ด้วยระบบ AFDD กับ ผศ.ดร. เด่นชัย วรเดชจำเริญ" คณะวิศวกรรมศาสตร์ SPU — การเสวนา วิศวฯ นวัตก...

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกั... ไทยจัดประชุมวิศวศึกษาเอเชียแปซิฟิก มุ่งยกระดับหลักสูตร...สร้างวิศวกรให้ตรงความต้องการพัฒนาประเทศ และการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชากรทุกช่วงวัย — คณะวิศวกรรม...

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลธิศ เอี่ยมวรวุฒิก... คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ SPU รับมอบงานตำแหน่งประธานสภาคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย สมัยที่ 45 — ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลธิศ เอี่ยมวรวุฒิกุล คณบดีคณะว...