เอสซีจี เปเปอร์ สานต่อความเป็นเพื่อนคู่คิดเกษตรกรไทย ชวนปลูกยูคาฯ คุ้มค่า มีอนาคต ชูจุดเด่น “ลงทุนน้อย ปลูกง่าย ขายได้ทั้งปี”

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

           เอสซีจี เปเปอร์ ตอกย้ำหนึ่งในเป้าหมายความเป็นเพื่อนคู่คิดเกษตรกรไทย ชี้ไม้ยูคาลิปตัสยังเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีค่า มีความต้องการในตลาดสูง และเป็นโอกาสดีในการสร้างรายได้ จึงชวนเกษตรกรร่วมปลูกยูคาลิปตัสผ่านโปรแกรมส่งเสริมการปลูก “ลงทุนน้อย ปลูกง่าย ขายได้ทั้งปี” ที่คุ้มค่าและสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
          นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี เปเปอร์ กล่าวว่า “ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ให้ความสนใจกับการนำไม้ยูคาลิปตัสซึ่งเป็นไม้อุตสาหกรรมมาเป็นทรัพยากรหมุนเวียนที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มหาศาล ทั้งในแง่การสร้างคุณค่าและความสมดุลตลอดวงจรการใช้ไม้ ซึ่งมีมูลค่ารวมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำสูงถึง 100,000 ล้านบาท และในแง่การนำมาเป็นทรัพยากรทดแทนทรัพยากรเดิมที่กำลังจะหมดไป ยูคาลิปตัสจึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต และช่วยสร้างความเจริญเติบโตให้กับเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก”
          ในภาพรวมของปี 2557 ตลาดไม้ยูคาลิปตัสมีมูลค่ารวมประมาณ 17,000 ล้านบาท ใช้ในประเทศประมาณ 60% และส่งออก 40% มีอัตราการเติบโตประมาณ 5% และตลาดยังมีความต้องการไม้สูงกว่าปริมาณที่ผลิตได้ไปอีกถึง 5 ปีข้างหน้า ปัจจุบัน เอสซีจี เปเปอร์ ซื้อไม้ประมาณ 2,700,000 ตันต่อปี โดยใช้ในประเทศ 2,300,000 ตันต่อปี และส่งออก 400,000 ตันต่อปี และมีแนวโน้มการใช้สูงขึ้น นอกจากการใช้ไม้เพื่อผลิตเยื่อกระดาษ เอสซีจี เปเปอร์ ยังมุ่งสร้างประโยชน์จากไม้ยูคาลิปตัสให้เกิดคุณค่าสูงสุดและใช้ให้ได้ทุกส่วน บริษัทฯ จึงลงทุนและขยายกิจการไปสู่ธุรกิจใหม่ ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการเพิ่มมูลค่าไม้ยูคาลิปตัสที่ได้ดำเนินการแล้วในปีนี้ ได้แก่ ธุรกิจกระบะไม้ (Wood Pallet) ด้วยการนำไม้ท่อนใหญ่มาผ่านกระบวนการแปรรูปที่มีมาตรฐาน จนได้เป็นกระบะไม้คุณภาพสูง แข็งแรง สามารถรับน้ำหนักได้มาก ธุรกิจเชื้อเพลิงไม้อัดเม็ด (Wood Pellet) เป็นการผลิตเชื้อเพลิงจากเปลือกไม้ยูคาลิปตัสซึ่งเป็นเศษเหลือใช้จากกระบวนการผลิตมาอัดเป็นเม็ด นำไปเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลซึ่งให้ค่าความร้อนสูงเพื่อทดแทนพลังงานอื่น ๆ และธุรกิจพลังงานขนาดเล็กเพื่อชุมชน จากการนำกิ่งไม้ปลายไม้และเศษไม้ที่เหลือใช้จากการแปรรูปมาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าเพื่อใช้ในชุมชน”
          “นอกจากนี้ เอสซีจี เปเปอร์ ยังลงทุนพัฒนาสายพันธุ์ยูคาลิปตัสและนำเสนอบริการใหม่ ๆ การขยายเครือข่ายความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่เกษตรกรเครือข่ายที่ปัจจุบันมีอยู่ถึง 100,000 ราย รวมทั้งเกษตรกรรายใหม่ ๆ นอกจากนี้ ยังมีโปรแกรมส่งเสริมการปลูกอย่างต่อเนื่องที่จะทำให้เกษตรกรเกิดความมั่นใจและมาร่วมปลูกยูคาลิปตัสกับเอสซีจี เปเปอร์” รุ่งโรจน์กล่าว
          นายจุมพฏ ตัณมณี กรรมการผู้จัดการ บริษัทสยามฟอเรสทรี จำกัด ในเอสซีจี เปเปอร์ กล่าวว่า “บริษัทสยาม ฟอเรสทรี จำกัด ในเอสซีจี เปเปอร์ ผู้ดำเนินธุรกิจวิจัยพัฒนาพันธุ์ต้นยูคาลิปตัส ตลอดจนส่งเสริมการปลูกและรับซื้อไม้ ได้เล็งเห็นโอกาสทางการตลาดของยูคาลิปตัสที่ยังเติบโตและมีตลาดรับซื้อที่ชัดเจน จากการเป็นเพื่อนคู่คิดเกษตรกรไทย บริษัทฯ จึงเสนอทางเลือกให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มด้วยการมาร่วมปลูกยูคาลิปตัสกับเอสซีจี เปเปอร์ ผ่านโปรแกรมส่งเสริมการปลูก “ลงทุนน้อย ปลูกง่าย ขายได้ทั้งปี” ที่รับรองความคุ้มค่า และมีอนาคตแน่นอนจากรายได้ที่ต่อเนื่องและยั่งยืน 
          ด้านลงทุนน้อย เกษตรกรที่ปลูกยูคาลิปตัสกับเอสซีจี เปเปอร์ ไม่จำเป็นต้องมีแปลงที่ดินหรือเงินทุนจำนวนมาก เพียงแค่มีพื้นที่ริมคันนา หรือริมคลอง ก็สามารถปลูกยูคาลิปตัสของเอสซีจี เปเปอร์ ได้ ทั้งยังสามารถปลูกควบคู่กับพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ เพื่อสร้างรายได้เสริมได้ด้วย โดยการลงทุนปลูกครั้งแรกกับเอสซีจี เปเปอร์ ใช้เงินทุนน้อยมากประมาณ 500 - 2,000 บาทต่อไร่เท่านั้น ไม่ต้องใช้แรงงานคนเพื่อดูแลเท่าพืชอื่น ๆ เพราะสายพันธุ์ของเอสซีจี เปเปอร์ ผ่านการพัฒนามาแล้ว ทำให้ภายใน 4 ปี ก็สามารถตัดขายได้ราคาต้นละ 60-80 บาท และหลังจากตัดแล้ว ยูคาลิปตัสสามารถแตกหน่อใหม่ในรอบที่ 2 และ 3 ได้เอง จึงถือว่าคุ้มค่าเมื่อเทียบกับเงินทุนและเวลาที่ใช้ในการปลูก ยิ่งไปกว่านั้น ทุกจุดการรับซื้อยูคาลิปตัสของเอสซีจี เปเปอร์ จ่ายค่าไม้ให้กับเกษตรกรเป็นเงินสดทันที ทำให้เกษตรกรมีเงินทุนหมุนเวียนและวางแผนการเงินได้ดียิ่งขึ้น
          ด้านการปลูกง่าย เอสซีจี เปเปอร์ พัฒนาสายพันธุ์ที่เหมาะสมกับพื้นที่ในประเทศไทยมากถึง 10 สายพันธุ์ สามารถครอบคลุมชนิดดินได้เกือบทั้งประเทศเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น และยังลดปัญหาเรื่องพืชและแมลงศัตรูพืชซึ่งสร้างปัญหาให้กับเกษตรกรเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังได้ผลผลิตทั้งน้ำหนักและจำนวนผลผลิตที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ เอสซีจี เปเปอร์ ยังมีบริการแนะนำวิธีการปลูกอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรมีความรู้และได้ผลผลิตที่น่าพอใจมากยิ่งขึ้น
          สุดท้ายในด้านขายได้ทั้งปี เกษตรกรสามารถเลือกขายได้ทั้งปี ไม่ขึ้นกับฤดูกาลหรือช่วงเวลาขาย และสามารถขายให้กับเอสซีจี เปเปอร์ ได้ทั้งต้น เพราะทุกส่วนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด นอกจากนี้ เอสซีจี เปเปอร์ ยังเพิ่มความสะดวกสบายให้เกษตรกรโดยการสร้างเครือข่ายและเพิ่มช่องทางในการรับซื้อไม้ ซึ่งมีกระจายตามจุดต่าง ๆ มากถึง 250 จุดทั่วประเทศ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้เกษตกรไม่ต้องลำบากในการขนส่งไม้เพื่อนำมาขาย
          ด้วยความใส่ใจและเข้าใจถึงปัญหาที่เกษตรกรผู้ปลูกยูคาลิปตัสต้องพบอยู่ในปัจจุบัน การเป็นเพื่อนคู่คิดเกษตรกรไทยจึงเป็นหนึ่งในเป้าหมายของเอสซีจี เปเปอร์ ที่จะช่วยชี้ช่องทางและหาทางออกให้กับเกษตรกรให้มีรายได้ที่ยั่งยืน ด้วยการร่วมปลูกยูคาลิปตัสในโปรแกรม “ลงทุนน้อย ปลูกง่าย ขายได้ทั้งปี” ประกอบกับบริการเฉพาะที่นำเสนอพิเศษให้กับเกษตรกรจะช่วยตอบโจทย์ให้กับเกษตรกรมีรายได้และสร้างมูลค่าจากที่ดินได้มากยิ่งขึ้น โดยเกษตรกรที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่ศูนย์อีสาน โทร. 043-433-355 ศูนย์ตะวันตกและเหนือ โทร. 034-615-040 หรือ http://paper.scg.co.th
 
 
 

ข่าวรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส+เอสซีจี เปเปอร์วันนี้

ภาพข่าว: เอสซีจี เปเปอร์ ปรับแบรนด์สู่ เอสซีจี แพคเกจจิ้ง รุกตลาดอาเซียน พร้อมชูนวัตกรรมเพิ่มคุณค่าด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร

รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส (ที่ 3 จากขวา) กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี แพคเกจจิ้ง สุรศักดิ์ อัมมวรรธน์ (ที่ 5 จากขวา) กรรมการผู้จัดการ บริษัทฟินิคซ พัลพ แอนด์ เพเพอร์ จำกัด (มหาชน) ปรเมษฐ ลานรุ่งโรจน์ (ที่ 4 จากขวา) กรรมการผู้จัดการ บริษัทกลุ่มสยามบรรจุภัณฑ์ จำกัด วิชาญ จิตร์ภักดี (ที่ 2 จากขวา) กรรมการผู้จัดการ บริษัทสยามคราฟท์อุตสาหกรรม จำกัด มนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ (ขวา) ผู้อำนวยการสำนักงานการตลาด เอสซีจี แพคเกจจิ้ง และวีนัส อัศวสิทธิถาวร (ซ้าย) ผู้อำนวยการสำนักงานสื่อสารองค์กร เอสซีจี ร่วมประกาศปรับ

เอสซีจี เปเปอร์ ปรับแบรนด์สู่ เอสซีจี แพคเกจจิ้ง รุกตลาดอาเซียน พร้อมชูนวัตกรรมเพิ่มคุณค่าด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร

เอสซีจี เปเปอร์ ปรับแบรนด์เป็น “เอสซีจี แพคเกจจิ้ง” คู่คิดสร้างคุณค่าและนวัตกรรมสินค้าและบริการด้านบรรจุภัณฑ์ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายของลูกค้าและผู้มีส่วน...

เอสซีจี แต่งตั้งผู้บริหารระดับสูง

คณะกรรมการบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ เอสซีจี มีมติอนุมัติแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูง เพื่อให้เหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจ ดังนี้ นายธนวงษ์ อารีรัชชกุล ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ – การบริหารกลาง ไปดำรงตำแหน่งเป็น กรรมการผู้จัดการใหญ่เอสซีจี เปเปอร์ แทนนายรุ่งโรจน์...

ภาพข่าว: เอสซีจี เปเปอร์ เปิดสายการผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์แห่งใหม่ พร้อมเป็นผู้ผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์รายใหญ่ที่สุดในอาเซียน

ดร.อรรชกา สีบุญเรือง (ที่ 3 จากขวา) ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม คุณสุรพล แสวงศักดิ์ (ที่ 5 จากขวา) ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส (กลาง) กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี เป...

ภาพข่าว: เอสซีจี จัดงาน Thank Press 2014 ขอบคุณสื่อมวลชนในโอกาสครบรอบ 101 ปี

นายกานต์ ตระกูลฮุน (กลาง) กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส (ที่ 4 จากซ้าย) รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี และกรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี เปเปอร์ นายขจรเดช แสงสุพรรณ (ขวา) ที่ปรึกษา เอสซีจี นายธนวงษ์...

ภาพข่าว: เอสซีจี เปเปอร์ สานต่อความเป็นเพื่อนคู่คิดเกษตรกรไทย ชวนปลูกยูคาฯ คุ้มค่า มีอนาคต ชูจุดเด่น “ลงทุนน้อย ปลูกง่าย ขายได้ทั้งปี”

นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส (กลาง) กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี เปเปอร์ นายจุมพฏ ตัณมณี (ที่ 2 จากซ้าย) กรรมการผู้จัดการ บริษัทสยามฟอเรสทรี จำกัด ในเอสซีจี เปเปอร์ ดร...

ภาพข่าว: เอสซีจี เปเปอร์ ลงทุนปรับปรุงเครื่องจักร ผลิตกระดาษกลาสซีนรายแรกในอาเซียน

นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส (ที่ 3 จากซ้าย) กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี เปเปอร์ และ มร.ฮันนุ ที เปี๊ยะติละ (ที่ 4 จากซ้าย) หัวหน้าคณะบริหารภาคพื้นเอเชีย บริษัท วาลเมท จำกัด ร่วมพิธีลงนามในสัญญาปรับปรุงและติดตั้ง...

ภาพข่าว: เอสซีจี ปลื้ม อาคารเอสซีจี 100 ปี ได้รับมาตรฐานสูงสุด LEED Platinum ต้นแบบอาคารประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

นายกานต์ ตระกูลฮุน (กลาง) กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี นายธนวงษ์ อารีรัชชกุล (ซ้าย) ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ – การบริหารกลาง เอสซีจี และนายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส (ขวา)...

ภาพข่าว: เอสซีจีมอบเงิน 5 ล้านเปโซแก่กาชาดฟิลิปปินส์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหว

นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส(ที่ 3 จากขวา)กรรมการผู้จัดการใหญ่เอสซีจี เปเปอร์ และ ประธานคณะกรรมการการพัฒนาอย่างยั่งยืน เอสซีจีมอบเงิน 5 ล้านเปโซ หรือประมาณ 3.6 ล้านบาท แก่กาชาดฟิลิปปินส์เพื่อช่วยเหลือบรร...