บอร์ดบีโอไออนุมัติส่งเสริม 18 โครงการใหญ่ และอีก 2 รายขอแก้ไขเพื่อลงทุนเพิ่ม เงินลงทุน 8.9 หมื่นล้านบาท เป็นโครงการผลิตอีโคคาร์ 2 รวม 5 ราย และโครงการผลิตไฟฟ้ารวม 9 โครงการ ทั้งโรงไฟฟ้าจากพลังงานลม โรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล โรงไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะ และโรงไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ ส่งผลให้อนุมัติส่งเสริมโครงการลงทุนที่ค้างในช่วงก่อนหน้านี้ไปมากกว่าครึ่งแล้ว โดยมีมูลค่าเงินลงทุนจากโครงการที่อนุมัติส่งเสริมไปแล้วกว่า 4.5 แสนล้านบาท จากมูลค่าที่รอการอนุมัติประมาณ 7 แสนล้านบาท
นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) ที่มี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานว่า ที่ประชุมในครั้งนี้ได้อนุมัติส่งเสริมการลงทุน 18 โครงการ และแก้ไขโครงการอีก 2 โครงการ รวมเงินลงทุน 89,713.4 ล้านบาท จึงทำให้ตั้งแต่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช.ได้ตั้งบอร์ดบีโอไอ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2557 ได้อนุมัติส่งเสริมการลงทุนไปแล้วรวมครั้งนี้ด้วย จำนวนทั้งสิ้น 603โครงการ เงินลงทุนรวมประมาณ 458,595 ล้านบาท สำหรับโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในครั้งนี้ ประกอบด้วย
1. บริษัท เต๋อหลง (ไทยแลนด์) จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุนในกิจการผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อน กำลังผลิตปีละประมาณ 600,000 ตัน เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,440.5 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง
2. Mr.CHANG,HSIEN-MING ได้รับส่งเสริมกิจการผลิตชิ้นส่วนเหล็กหล่อ กำลังผลิตปีละประมาณ 80,000 ตัน และชิ้นส่วนเครื่องจักรกลอุตสาหกรรม ปีละประมาณ 4,000 ตัน เงินลงทุนทั้งสิ้น 2,450 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ จังหวัดชลบุรี
3. บริษัท ไทย อาซาฮี คาเซอิ สแปนเด็กซ์ จำกัด ได้รับส่งเสริมการขยายกิจการผลิตเส้นด้ายสแปนเด็กซ์ กำลังผลิตปีละประมาณ 3,700 ตัน เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,200 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ เขตอุตสาหกรรมของบริษัทสหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) จังหวัดชลบุรี
4. บริษัทเอ็มเอ็มทีเอช เอ็นจิ้น จำกัด ได้รับส่งเสริมการขยายกิจการผลิตชิ้นส่วนพลาสติกสำหรับยานพาหนะ เช่น กันชนรถยนต์ เป็นต้น กำลังผลิตปีละประมาณ 1,191,670 ชิ้น เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,089.4 ตั้งอยู่ที่ นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี
5. บริษัท ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับส่งเสริมขยายกิจการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล ระยะที่ 2 (ECO-CAR 2) กำลังผลิตปีละประมาณ 180,000 คัน และเครื่องยนต์ กำลังผลิตปีละประมาณ 2,000 ชุด เงินลงทุนทั้งสิ้น 18,180 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ นิคมอุตสาหกรรมเหมราชอีสเทิร์น ซีบอร์ด จังหวัด ระยอง
6. บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับส่งเสริมขยายกิจการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล ระยะที่ 2 (ECO-CAR 2) กำลังผลิตปีละประมาณ 158,000 คัน เงินลงทุนทั้งสิ้น 13,109 ล้านบาท ตั้งอยุ่ที่ นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยอง
7. บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย ) จำกัด ได้รับการส่งเสริมขยายกิจการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล ระยะที่ 2 (ECO-CAR 2) และชิ้นส่วนยานพาหนะ กำลังผลิตปีละประมาณ 123,000 คัน และชิ้นส่วนยานพาหนะ กำลังการผลิตปีละประมาณ 2,000,000 ชิ้น เงินลงทุนทั้งสิ้น 6,860 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่บางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ
8. บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับการส่งเสริมขยายกิจการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล ระยะที่ 2 (ECO-CAR 2) กำลังการผลิตปีละประมาณ 233,000 คัน เงินลงทุนทั้งสิ้น 4,900 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี
9. บริษัท ทีโอซี ไกลคอล จำกัด ได้รับการส่งเสริมขยายกิจการ ผลิตเอทธิลีนออกไซด์บริสุทธิ์ กำลังการผลิตปีละประมาณ 60,000 ตัน เงินลงทุนทั้งสิ้น 2,826 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก จังหวัดระยอง
10. บริษัท โคราชวินด์เอ็นเนอร์ยี จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุนผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม ขนาด 52.5 เมกะวัตต์ เงินลงทุนทั้งสิ้น 3,690 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา
11. บริษัท อาร์อีเอส นครศรีธรรมราช จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุนในกิจการผลิตไฟฟ้าจากขยะมูลฝอย กำลังการผลิต 9.98 เมกะวัตต์ เงินลงทุนทั้งสิ้น 970 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
12. บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด ได้รับส่งเสริมขยายกิจการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะ (REFUSE DERIVED FUEL) กำลังการผลิต 70 เมกะวัตต์ เงินลงทุนทั้งสิ้น 3,165.7 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี
13. บริษัท น้ำตาลราชบุรี จำกัด ได้รับส่งเสริมขยายกิจการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล กำลังการผลิต 44 เมกะวัตต์ และกำลังการผลิตไอน้ำ 300 ตันต่อชั่วโมง เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,306.6 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
14. บริษํท อุทัยธานี ไปโอ เอเนอยี่ จำกัด ได้รับส่งเสริมขยายกิจการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวลกำลังการผลิตเชื้อเพลิงชีวมวล 35 เมกะวัตต์ เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,050 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่อำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี
15. บริษัท ซีเอชพี 1 จำกัด ได้รับการส่งเสริมกิจการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติและไอน้ำ กำลังการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ 125.8 เมกะวัตต์ กำลังการผลิตไอน้ำ 16 ตันต่อชั่วโมง เงินลงทุนทั้งสิ้น 4,983 ล้านบาท ตั้งที่เขตอุตสาหกรรมของบริษัท 304 อินดัสเตรียลปาร์ค จำกัด จังหวัดปราจีนบุรี
16. บริษัท สหโคเจน ( ชลบุรี ) จำกัด ( มหาชน ) ได้รับการส่งเสริมผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ กำลังการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ 42 เมกะวัตต์ กำลังการผลิตไอน้ำ 30 ตันต่อชั่วโมง เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,350 ล้านบาท ตั้งที่เขตอุตสาหกรรมของบริษัท สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) จังหวัดชลบุรี
17. บริษัท เค.อาร์.วัน จำกัด ได้รับการส่งเสริมผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม กำลังการผลิต 100 เมกะวัตต์ มูลค่าเงินลงทุนทั้งสิ้น 6,203.2 ล้านบาท ตั้งที่อำเภอด่านขุนทด และอำเภอเทพารักษ์ จังหวัดนครราชสีมา
18. บริษัท บางปะอิน โคเจนเนอเรชั่น จำกัด ได้รับการส่งเสริมผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ และ ไอน้ำ กำลังการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ 117.5 เมกะวัตต์ และไอน้ำ 20 ตันต่อชั่วโมง เงินลงทุนทั้งสิ้น5,340 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
อนุมัติอีก 2 ราย ขอแก้ไขโครงการเพื่อลงทุนเพิ่ม
19. บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับการส่งเสริมให้เพิ่มกำลังการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล (ECO-CAR ระยะที่ 1 และระยะที่ 2) โดยลงทุนประมาณ 7,700 ล้านบาท และจะมีกำลังการผลิตเพิ่มจาก 180,000 คัน เป็น 220,000 คัน เพื่อรองรับการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล ทั้งรุ่นที่ 1 และ 2 สำหรับความต้องการตลาดต่างประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น
20. บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับการส่งเสริมให้เพิ่มกำลังการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากลระยะที่ 2 โดยจะลงทุนเพิ่ม 1,900 ล้านบาท และจะมีกำลังการผลิตเพิ่มจากเดิม 100,000 คัน เป็น 160,000 คัน (ECO-CAR เดิมและECO-CAR รุ่นที่ 2) โดยเป็นการขยายกำลังการผลิตเพื่อรองรับความต้องการสำหรับตลาดในประเทศและต่างประเทศ
กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโรงไฟฟ้ากลุ่มน้ำตาลครบุรี หรือ KBSPIF ประกาศจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยในอัตรา 0.2450 บาทต่อหน่วย หลังเงินรับตามสัญญาโอนผลประโยชน์จากการเข้าลงทุนในกิจการโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลของ KPP ในไตรมาส 3/2563 อยู่ที่ประมาณ 74.27 ล้านบาท สอดคล้องตามประมาณการที่เสนอขายหน่วยลงทุน จากจุดแข็งกระแสเงินสดที่มั่นคงจากการผลิตกระแสไฟฟ้าให้คู่สัญญา กฟผ. และ บมจ.น้ำตาลครบุรี นางชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้จัดการกองทุน KBSPIF
กองทุนรวม KBSPIF เข้าเทรดในตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นวันแรก ชูโครงสร้างรายได้จากการขายไฟฟ้าให้ภาครัฐระยะยาว ประมาณ 20 ปี
—
กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโรงไฟฟ้ากลุ่...
กองทุน KBSPIF พร้อมนำหน่วยลงทุนเข้าเทรดในตลาดหลักทรัพย์ฯ วันที่ 24 ส.ค. นี้ ชูโครงสร้างรายได้จากการขายไฟฟ้าให้ภาครัฐ ด้วยสัญญาระยะยาว 20 ปี
—
กองทุนรวมโคร...
“กองทุน KBSPIF” เปิดจองซื้อหน่วยลงทุน 4-7 ส.ค. นี้ ผ่านธนาคารกรุงไทย และ เว็บไซต์ Money Connect
—
นับเป็นอีกหนึ่งโอกาสสำหรับนักลงทุนที่ต้องการกระจายความเ...
กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโรงไฟฟ้ากลุ่มน้ำตาลครบุรี ระดมทุนไม่เกิน 2,800 ล้านบาท เข้าลงทุนในสิทธิประโยชน์การขายไฟฟ้าโรงไฟฟ้าชีวมวล รวม 25.5 MW
—
กองทุนรวมโค...
วว.จัดสัมมนาวิชาการผลิตพลังงานทดแทนชีวมวลขยะชุมชนโดยเทคโนโลยีสะอาด พร้อมแนะนำศูนย์สาธิตการผลิตพลังงานทดแทนจากชีวมวล/ขยะ @ สถานีวิจัยลำตะคอง
—
ดร.ชุติมา เ...
“SAAM” ส่งซิกปี 2562 คาดรายได้เติบโตแข็งแกร่ง เดินหน้าพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเพื่อจำหน่ายอีก 60 MW
—
"เอสเอเอเอ็ม เอ็นเนอร์ยี่ ดีเวลลอปเมนท์"...
“SAAM” เปิดเทรดวันแรก 1.70 บาท พร้อมผงาดในเวทีโลก หนุนการเติบโตในอนาคต
—
"เอสเอเอเอ็ม เอ็นเนอร์ยี่ ดีเวลลอปเมนท์" เข้าซื้อขายวันแรกราคาเปิดที่ระดับ 1.70 บ...
FPI ซดกำไรโรงไฟฟ้าเต็มเหนี่ยว หลัง COD โครงการชีวมวล 1 MW จ.แพร่ หนุนกำลังการผลิตแตะ 8.5 MW
—
FPI โชว์สเต็ปเทพ แจกข่าวดี! โรงไฟฟ้าชีวมวล 1 MW ใน จ.แพร่ CO...