นายธรรมยศ ศรีช่วย อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน กล่าวภายหลังการนำคณะสื่อมวลชนเข้าเยี่ยมชมความสำเร็จของโครงการผลิตเชื้อเพลิง RDF จากขยะชุมชนใช้ทดแทนถ่านหิน ดำเนินการโดย บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) ซึ่งคว้ารางวัลดีเด่นด้านพลังงานไทย Thailand Energy Awards 2014และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2ASEAN Energy Awards 2014ประเภทโครงการพลังงานหมุนเวียนที่ไม่เชื่อมโยงกับระบบสายส่งไฟฟ้า (Off-Grid)ว่า โครงการนี้นับเป็นโครงการต้นแบบในการผลิตพลังงานหมุนเวียนจากขยะชุมชนที่มีหน่วยงานรัฐและเอกชนให้ความสนใจโดยเฉพาะการนำขยะซึ่งเปรียบเสมือนขุมทรัพย์พลังงานทดแทนที่จะสร้างความยั่งยืนด้านพลังงานให้กับประเทศ นำไปแปรรูปเป็นพลังงานไฟฟ้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์ เพื่อลดต้นทุนด้านเชื้อเพลิงของหน่วยงาน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และช่วยลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
พพ. ในฐานะหน่วยงานหลักที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาพลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงาน ได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาด้านพลังงานของประเทศ โดยการเร่งรัด ส่งเสริม สนับสนุน ผลักดันให้มีการพัฒนาพลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงาน ในขณะเดียวกันก็มีการเร่งรัดให้ภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจซึ่งเป็นภาคที่มีการใช้พลังงานมาก ให้มีการใช้พลังงานอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ โดยการดำเนินงานดังกล่าวจะสอดคล้องกับแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 10 ปี ของกระทรวงพลังงาน ที่กำหนดให้ประเทศไทยเดินหน้าเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนให้ได้ร้อยละ 25ของการใช้พลังงานทั้งหมดภายในปี 2564 ซึ่งขยะนับเป็นหนึ่งในแผนดังกล่าวด้วย โดยมี การกำหนดเป้าหมายการผลิตพลังงานในรูปของไฟฟ้าจากขยะชุมชน จำนวน 400เมกะวัตต์ และในรูปความร้อน จำนวน 200 ktoe(พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ) เพื่อลดการนำเข้าและลดการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ
ด้าน นายวรวิทย์ เลิศบุษศราคาม รองผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ดำเนินโครงการผลิตเชื้อเพลิง RDF (Refuse Derived Fuel: RDF) จากขยะชุมชนใช้ทดแทนถ่านหิน กล่าวว่า ขยะเป็นปัญหา ทั้งด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม หากเรานำขยะมาผลิตเป็นพลังงานได้ก็จะช่วยลดต้นทุนด้านเชื้อเพลิงและช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้ด้วย ดังนั้น บริษัทฯ จึงมีแนวคิดในการดำเนินโครงการผลิตเชื้อเพลิงทดแทนจากขยะชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อการกำจัดขยะ ซึ่งวัตถุดิบที่ได้จะมาจากขยะภายในโรงงานและจากชุมชนรอบโรงงานในเขตจังหวัดสระบุรีและจังหวัดใกล้เคียง ขยะฝังกลบ (Landfill) และขยะอุตสาหกรรมไม่มีอันตราย (Non-hazardous Industrial Waste)จากโรงงานอุตสาหกรรมและเอกชน นำมาผ่านกระบวนการคัดแยก ย่อย และผลิตเป็น RDF นำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงแทนถ่านหินนำเข้า เพื่อเผาวัตถุดิบในกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์และเป็นเชื้อเพลิงสำหรับโรงไฟฟ้า ขนาด 20 MW ที่ขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแล้วตั้งแต่เดือนมกราคม 2558 และอยู่ในระหว่างการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาด 60 MW ซึ่งจะเริ่มดำเนินการขายไฟฟ้าเข้าระบบเดือนกรกฎาคม 2558 นี้ของ บริษัทฯ ปัจจุบัน บริษัทฯ รับขยะชุมชนปริมาณวันละ 1,200 ตัน และสามารถที่จะรับปริมาณขยะได้เพิ่มขึ้นถึง 4,500 ตัน เมื่อมีการเดินโรงไฟฟ้า 60 MW ขยะที่เข้ามาจะถูกนำมาแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงภายใน 3 ชั่วโมง โดยผ่านกระบวนย่อย คัดแยกโดยเครื่องจักร เพื่อแยกส่วนที่สามารถเป็นเชื้อเพลิงและทำการปรับปรุงคุณภาพ ให้เป็นเชื้อเพลิงคุณภาพดีส่วนที่เป็นสารอินทรีย์ก็นำมาใช้เป็นวัตถุดินในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ และอยู่ในระหว่างการก่อสร้างโรงงาน Mechanical Biological Treatment เพื่อแปลงขยะอินทรีย์ให้เป็นเชื้อเพลิง RDFและปุ๋ยอินทรีย์ต่อไป
นอกจากนั้น บริษัทฯ ยังให้ความร่วมมือกับหน่วยงานราชการ องค์การป้องครองส่วนท้องถิ่น หรือเอกชนผู้ที่หน้าที่ ในการการกำจัดขยะโดยสนับสนุนความรู้ในการแปรรูปขยะเป็นเชื้อเพลิง RDF และเป็นผู้รับซื้อเชื้อเพลิงดังกล่าว เพื่อทำให้เกิดการจัดการขยะโดยการแปรรูปเป็นพลังงานอย่างเป็นรูปธรรมและมีการสร้างอาชีพและรายได้ให้กับชุมชนพร้อมกับลดปัญหาสิ่งแวดล้อมในการกองขยะแบบเดิม
การเคหะแห่งชาติร่วมมือกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT) และกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) จัดโครงการอบรมให้ความรู้การบริหารจัดการพลังงาน หัวข้อ "วิกฤตโลกร้อนและการปรับตัวสู่ทศวรรษพลังงานสีเขียวระดับองค์กรและผู้อยู่อาศัยในชุมชนของการเคหะแห่งชาติ" โดยมี นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และประธานคณะกรรมการด้านการจัดการความรู้และนวัตกรรม เป็นประธานเปิดการอบรม พร้อมด้วย ดร.พระนาย กังวานรัตน์ กรรมการ (ผู้ทรงคุณวุฒิ)
สถาพร เอสเตท (SE) กวาด 4 รางวัล จากเวที Thailand Energy Award 2023
—
สุนทร สถาพร (ที่ 4 จากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สถาพร เอสเตท จำกัด (SE) ผู...
ผู้บริหารบางจากฯ ร่วมผลักดันนวัตกรรมด้านพลังงานรุ่นเยาว์ ผ่านเวทีการประกวด The Young Energy Designer 2023
—
เมื่อเร็วๆ นี้ นางนฤพรรณ สุธรรมเกษม ผู้ช่วยกรร...
TPCH ปลื้ม! โรงไฟฟ้า PTG รับรางวัลดีเด่น ด้านพลังงานทดแทน
—
คุณประเสริฐ สินสุขประเสริฐ (ซ้าย) ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานมอบรางวัลดีเด่น ด้านพลังงานทดแท...
"อาคาร เดอะ ธารา ซีพี ออลล์" คว้า 2 รางวัลใหญ่ด้านอนุรักษ์พลังงาน ทั้งในระดับประเทศและภูมิภาคเอเชีย
—
เมื่อเร็วๆนี้ นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ปลัดกระทรวง...
กรีนเวฟ คว้ารางวัล Thailand Energy Awards 2023 ตอกย้ำคลื่นวิทยุหนึ่งเดียวเพื่อสิ่งแวดล้อม
—
ถือเป็นอีกหนึ่งกำลังใจดีดี วันนี้ ดีเจเฟี้ยต ธัชนนท์ จารุพัชนี...
CMAN คว้ารางวัลสถานประกอบการประหยัดพลังงานดีเด่น
—
นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (ซ้าย) รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้มอบโล่รางวัลสถา...
"SYS" โรงงานเหล็กรายแรกที่คว้ารางวัลเกียรติยศโรงงานที่มีการประหยัดพลังงานดีเด่น สะท้อนความมุ่งมั่นในการบริหารจัดการด้านพลังงานอย่างยั่งยืน
—
SYS เหล็กดีที...
เชลล์คว้า 2 รางวัลดีเด่นระดับประเทศและระดับอาเซียน จากอาคารสร้างสรรค์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
—
บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด โดย นางสาวอรอุทัย ณ เชียงให...
"SYS" คว้ารางวัลเกียรติยศด้านการจัดการพลังงานในโรงงานดีเด่น จากกระทรวงพลังงาน
—
นายสุรศักดิ์ พูลเกิด ผู้จัดการโรงงานห้วยโป่ง บริษัท เหล็กสยามยามาโตะ จำกัด...