สศก.15 แจงสถานการณ์ปาล์ม สระบุรี-ปทุมธานี แนะเกษตรกรต้องดูแลและช่วยผสมเกสร

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 15 แจงสถานการณ์ปาล์มน้ำมันในพื้นที่รับผิดชอบจังหวัดสระบุรีและปทุมธานี ระบุ พื้นที่ปลูกปี 2557 รวมประมาณ 1 หมื่น 7 พันไร่ ผลผลิตรวมประมาณ 4 หมื่น 8 พันตัน โดยมีแนวโน้มพื้นเพาะปลูกเพิ่มขึ้น เนื่องจากผลตอบแทนดี เผย ภัยแล้งปีนี้ส่งผล ฉุดผลผลิตออกตลาดน้อยลง แนะเกษตรกรดูแลสวนปาล์มโดยใส่ปุ๋ยบำรุงและช่วยผสมเกสร
          นายสมชาย ครามานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 15 ปทุมธานี (สศก.15) เปิดเผยถึงการติดตามสถานการณ์ผลิตปาล์มน้ำมันในพื้นที่รับผิดชอบจังหวัดสระบุรีและปทุมธานี พบว่า พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันของจังหวัดสระบุรี และปทุมธานี ปี 2557 มีจำนวนทั้งสิน 17,404 ไร่ โดยมีแนวโน้มพื้นเพาะปลูกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากผลตอบแทนดีกว่าพืชอื่นในเขตพื้นที่เดียวกัน และมีการใช้แรงงานในฟาร์มน้อย
          สำหรับผลผลิตปาล์มรวมทั้ง 2 จังหวัด ประมาณ 48,071 ตัน โดยผลผลิตจะออกสู่ตลาดเป็นประจำทุกเดือนเฉลี่ยเดือนละ 4,006 ตัน เนื่องจากปาล์มภาคกลางจะปลูกบนพื้นที่ยกร่องสวน มีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่ในท้องร่องตลอดเวลา โดยเดือนที่ให้ผลผลิตออกสู่ตลาดมากกว่าปรกติจะเป็นช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม
          อย่างไรก็ตาม เนื่องจากปัญหาภัยแล้งในปีนี้ ทำให้ผลผลิตตกต่ำ 2 ช่วง คือเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม โดยผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 3,200-3,500 ตัน เพราะน้ำในร่องสวนมีน้อย การนำผลผลิตออกจากสวนไม่สะดวก ขณะเดียวกันในฤดูแล้งปาล์มจะสร้างเกสรตัวผู้มากกว่าเกสรตัวเมีย ทำให้ผลผลิตที่จะออกในช่วง 4 - 6 เดือนข้างหน้าจะมีจำนวนลดลง ซึ่งในช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายน คาดว่าผลผลิตปาล์มจะอยู่ที่ประมาณเดือนละ 3,200-3,500 ตัน เช่นกัน
          ทั้งนี้ เกษตรกรควรช่วยดูแลสวนปาล์มโดยใส่ปุ๋ยบำรุงต้นปาล์มและช่วยผสมเกสรตัวผู้กับเกสรตัวเมียเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการติดดอกออกผลปาล์ม เพราะแมลงด้วงที่ช่วยผสมเกสรปาล์มตามธรรมชาติในเขตพื้นที่ภาคกลางมีจำนวนน้อย ซึ่งการผสมเกสรจะช่วยให้ปริมาณผลผลิตปาล์มของพื้นที่ไม่ลดจำนวนลงมากนักจากปัญหาภัยแล้ง ผอ.สศก.15 กล่าวในที่สุด


ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่+สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรวันนี้

แปลงใหญ่ยางพารากลุ่มเกษตรกรชาวสวนยา อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ ยกระดับรายได้ด้วยมาตรฐาน EUDR

นางสาวภิรมศรี บุญทน รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 11 อุบลราชธานี (สศท.11) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า "ยางพารา" ถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีศักยภาพสูงของจังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ เนื่องจากตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศยังคงมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์และผลิตภัณฑ์แปรรูปต่าง ๆ อีกทั้งยางพารายังเป็นพืชที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพภูมิอากาศได้ดี ทำให้ปลูกได้อย่างเหมาะสมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

นายนิกร สงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิ... สศท.8 เผยผลศึกษาการเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้จากมังคุด ตามแนวทาง BCG Model เพิ่มรายได้ให้เกษตรกร — นายนิกร สงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 ส...

นางสาวอุษา โทณผลิน ผู้อำนวยการสำนักงานเศร... สศท.3 หนุนสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น 'สับปะรดท่าอุเทน' GI ขึ้นแท่นผลไม้เศรษฐกิจเด่น จ.นครพนม — นางสาวอุษา โทณผลิน ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่...

นายไพฑูรย์ สีลาพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเ... 'กระท้อนนาปริก' จ.สตูล สินค้า GI มุ่งยกระดับคุณภาพ พัฒนาตลาด สร้างรายได้อย่างยั่งยืน — นายไพฑูรย์ สีลาพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 9 สงขลา...

เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลง เฝ้าระวังโรคแมลง... สศท.10 เกาะติดสถานการณ์มะพร้าวผลแก่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ปีนี้ ผลผลิตรวม 252 ล้านผล — เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลง เฝ้าระวังโรคแมลง นายกิจษารธ อ้นเงินทยากร ผู้อำ...

นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษ... สศท. 7 เผยผลศึกษาการบริหารจัดการ "ฟางข้าว" ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคกลาง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม — นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 ช...