-- ผู้นำในเทคโนโลยีเครื่องแยกอ็อกซิเจนด้วยเมมเบรนแลกเปลี่ยนโปรตอน ได้รับคำสั่งซื้อจากยูทีซี แอโรสเปซ ซิสเท็มส์ สำหรับชุดเซลล์ผลิตอ๊อกซิเจนสำหรับเรือดำน้ำสหรัฐ อังกฤษ และฝรั่งเศส
Proton OnSite ผู้นำระดับโลกในเทคโนโลยีเครื่องแยกอ็อกซิเจนจากเมมเบรนแลกเปลี่ยนโปรตอน (Proton Exchange Membrane: PEM) เปิดเผยว่า บริษัทได้รับคำสั่งซื้อชุดเซลล์แยกอ็อกซิเจนสำหรับกองทัพเรือจากยูทีซี แอโรสเปซ ซิสเท็มส์ (UTC Aerospace Systems) ผู้นำด้านการรวมระบบอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศและอวกาศ คำสั่งซื้อชุดเซลล์ 17 ชุดซึ่งจะใช้ระยะเวลาในส่งมอบเป็นเวลาหลายปี จะนำเสนอเครื่องกำเนิดอ็อกซิเจนสำหรับเรือดำน้ำของกองทัพเรือสหรัฐ อังกฤษ และฝรั่งเศส คำสั่งซื้อมูลค่าหลายล้านดอลลาร์ที่ได้รับในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมานี้ช่วยส่งเสริมสถานะของProton ให้มีความแข็งแกร่งขึ้น ในฐานะผู้จัดหาเครื่องกำเนิดอ็อกซิเจนให้กับฝูงเรือนานาชาติเพียงรายเดียวของสหรัฐ คำสั่งซื้อดังกล่าวจะสนับสนุนการผลิตอ็อกซิเจนในเรื่อดำน้ำชั้นเวอร์จิเนียของสหรัฐ ชั้นแวนการ์ดและชั้นแอสตูทของอังกฤษ และชั้นบาร์ราคูดาของฝรั่งเศส รวมทั้งสนับสนุนการจัดหาอุปกรณ์ให้กับฝูงเรือดังกล่าวซึ่งมีประวัติที่ยาวนานมาตั้งแต่ปี 2551
โรเบิร์ต ไฟร์แลนด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Proton OnSite กล่าวว่า "เราได้ทำงานร่วมกับยูทีซี แอโรสเปซ ซิสเท็มส์ ในการพัฒนาและผลิตชุดเซลล์กำเนิดออกซิเจนที่ออกแบบได้อย่างทันสมัยที่สุดสำหรับลูกค้ากองทัพเรือทั้ง 3 ประเทศมานานกว่า 10 ปี การทำสัญญาครั้งนี้นับเป็นการเพิ่มความสัมพันธ์ครั้งสำคัญกับยูทีซี แอโรสเปซ ซิสเท็มส์ และแสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งและน่าเชื่อถือของเทคโนโลยี PEM ที่ถูกนำมาใช้ในตลาดที่สำคัญนี้"
Proton OnSite มีประวัติที่ยาวนานในการจัดหา ชุดเซลล์กำเนิดอ็อกซิเจน PEM บนเรือดำน้ำของกองทัพเรือ จนถึงปัจจุบัน Proton OnSite ได้ส่งมอบชุดเซลล์ให้กับยูทีซี แอโรสเปซ ซิสเท็มส์ ทั้งหมด 22 ชุดสำหรับลูกค้ากองทัพเรือของบริษัท ซึ่งลูกค้าเหล่านี้ได้นำเซลล์ PEM ที่เป็นเทคโนโลยีทางเลือกที่ดีที่สุดไปใช้ในการผลิตอ็อกซิเจนให้กับเรือดำน้ำ บนพื้นฐานประวัติความน่าเชื่อถือและความแข็งแกร่งที่ยาวนาน ความสำเร็จในการเป็นพันธมิตรระหว่าง Proton และ ยูทีซี แอโรสเปซ ซิสเท็มส์ มาจากความเชี่ยวชาญด้านการผลิตชุดเซลล์ของ Proton และสถานะความเป็นผู้นำของยูทีซี แอโรสเปซ ซิสเท็มส์ ในเรื่องการรวมระบบและผู้จัดหาโซลูชั่นให้กับลูกค้ากองทัพทั่วโลก เทคโนโลยีชุดเซลล์ที่ได้รับการพัฒนาร่วมกันระหว่าง Proton และ ยูทีซี แอโรสเปซ ซิสเท็มส์ สำหรับลูกค้ากองทัพเรือได้ถูกรวมเข้ากับเครื่องกำเนิดอ็อกซิเจนในเชิงพาณิชย์ภายใต้ผลิตภัณฑ์ C-Series(R) ของ Proton มรดกทางทหารและประสิทธิภาพของเซลล์นั้น สามารถรับประกันได้ว่าลูกค้าของ Proton จะได้รับความน่าเชื่อถือและความทนทานในการนำเครื่องกำเนิดอ็อกซิเจนไปใช้ในแอพพลิเคชั่นเพื่อพาณิชย์อย่างหาที่เปรียบได้ยาก
"โครงการเรือดำน้ำชั้นเวอร์จิเนียร์เป็นโครงการที่สำคัญสำหรับสำหรับกองทัพเรือสหรัฐ และเรารู้สึกภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ การแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการส่งมอบฮาร์ดแวร์ที่มีคุณภาพได้ทันเวลาของ Proton OnSite นับเป็นสิ่งสำคัญในความสำเร็จของเรา ระบบนาวีของยูทีซี แอโรสเปซ ซิสเท็มส์ มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมาหลายทศวรรษในด้านการทำงานที่ปลอดภัยและน่าเชื่อถือ และสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าของเรา เรารอคอยที่จะทำงานร่วมกับ Proton ไม่เพียงแต่การรักษาประสิทธิภาพที่แข็งแกร่งของเราเท่านั้น แต่ยังมองไปถึงอนาคต เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าโซลูชั่นเครื่องกำเนิดอ็อกซิเจนของเราเป็นระดับเวิลด์คลาสและสามารถเป็นเจ้าของได้" คาร์ล นันซิเอโต ผู้จัดการทั่วไปของมาริไทม์ ซิสเท็มส์ กล่าว
เกี่ยวกับ Proton OnSite
Proton OnSite เป็นผู้นำระดับโลกด้านการออกแบบและผลิตโซลูชั่นพลังงานไฮโดรเจนและก๊าซเชิงนวัตกรรม บริษัทได้พัฒนาและนำเทคโนโลยีเครื่องแยกอ็อกซิเจน PEM มาใช้ในเชิงสร้างสรรค์และสามารถนำไปใช้ได้จริง ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของลูกค้ามากที่สุดมาตั้งแต่ปี 2539 ปัจจุบันบริษัทได้เพิ่มเครื่องกำเนิดไนโตรเจน อากาศ และอ็อกซิเจนในข้อเสนอ และยังได้ขยายการบริการให้ครอบคลุมแพ็คเก็จโซลูชั่นที่รวมอยู่ในถัง เครื่องอัดแรงดัน และอุปกรณ์ช่วยอื่นๆ ระบบแยกสารเคมีด้วยกระแสไฟ PEM ที่มีความก้าวหน้าของบริษัท รวมทั้งการเอาใจใส่ในเรื่องบริการและคุณภาพ ซึ่งช่วยให้ Proton OnSite สามารถจัดส่ง ติดตั้ง และสนับสนุนหน่วยผลิตก๊าซสำหรับฐานลูกค้าที่หลากหลายทั่วโลก สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.protononsite.com
ยูทีซี แอโรสเปซ ซิสเท็มส์ เป็นบริษัทในเครือของบริษัทยูไนเต็ด เทคโนโลยีส์ คอร์ป (United Technologies Corp.) (NYSE: UTX) ซึ่งทำการออกแบบ ผลิต และให้บริการระบบรวมและส่วนประกอบแก่อุตสาหกรรมอวกาศและการป้องกันประเทศ ยูทีซี แอโรสเปซ ซิสเท็มส์ สนับสนุนฐานลูกค้าทั่วโลกด้วยโรงงานผลิตและให้บริการแก่ลูกค้าที่สำคัญทั่วโลก
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) และกองทัพเรือ (ทร.) จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ว่าด้วย "การจัดตั้งและขับเคลื่อนองค์กรจัดการความรู้ทางทะเลของประเทศไทย" เพื่อวางรากฐานในการเป็นศูนย์กลางองค์ความรู้ทางทะเลระดับประเทศ เมื่อวันศุกร์ที่ 11 เมษายน 2568 ณ ห้องประชุม 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ โดยมี พล.ต.ต.สุรสิทธิ์ สังขพงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวเปิดงาน จากนั้นผู้แทนจากทั้งสามหน่วยงาน ได้แก่ ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร
วว. ต้อนรับกองทัพเรือ ในโอกาสหารือความร่วมมือการทดสอบอากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนทางทะเลระยะที่ 2
—
ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม สถาบั...
เกษตรฯ เตือนชาวสวนกล้วยไม้ เตรียมรับมือช่วงแล้ง เฝ้าระวังน้ำเค็มรุก
—
นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตร สร้างการรับ...
กลุ่มเซ็นทรัล เทิดทูนสถาบัน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ส่งมอบบ้าน 72 หลัง ยกระดับคุณภาพชีวิตให้กลุ่มเปราะบาง
—
ในโอกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็...
สวทช. และ กองทัพเรือ โดยกรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ ร่วมวิจัยจุลินทรีย์ประสิทธิภาพสูง หนุนนโยบาย Green Navy ด้วยนวัตกรรมสะอาด
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสต...
ASIMAR ส่งซิก Q4/67 โตโดดเด่น รับรู้รายได้งานต่อเรือปฏิบัติการอุทกศาสตร์ กางแผนปี 2568 ปีทอง มีโอกาสคว้างานโครงการใหญ่ที่มีศักยภาพสูง
—
"บมจ.เอเชียน มารีน...
กทม. พร้อมเฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูง-น้ำเค็มรุกล้ำ ป้องกันชุมชนนอกแนวคันกั้นน้ำ-จุดฟันหลอ
—
นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าว...
บางจากฯ ร่วมปันน้ำใจช่วยผู้ประสบอุทกภัยภาคใต้
—
นางกลอยตา ณ ถลาง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ งานบริหารความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น...
ASIMAR ฟอร์มสวย Q3/67 กำไรโตกว่า 42% ดีมานด์ซ่อมเรือสูง ต่อเรือรับรู้รายได้ตามเป้า หนุนรายได้โต 50% ตามคาด
—
"บมจ.เอเชียน มารีน เซอร์วิสส์ หรือ ASIMAR" งบ...