สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 4 ติดตามสถานการณ์การปลูกข้าวนาปรัง ปี 58 ในพื้นที่ภาคอีสานตอนกลาง 4 จังหวัด พบ เกษตรกรปรับลดพื้นที่ปลูกข้าวนาปรังลงเฉลี่ยร้อยละ 60 ตามประกาศให้งดทำนาปรังของกระทรวงเกษตรฯ และหันไปปลูกพืชอื่นที่ใช้น้ำน้อยทดแทน
นางราตรี พูนพิริยะทรัพย์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 4 (สศก.4) ขอนแก่น เปิดเผยว่า จากการติดตามสถานการณ์การปลูกข้าวนาปรัง ของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด และกาฬสินธุ์ จากปัญหาน้ำในเขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น และน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติมีน้อย ซึ่งกรมชลประทานได้ประเมินสถานการณ์น้ำในเขื่อนและประกาศงดทำนาปรัง โดยให้สำรองน้ำไว้ให้เพียงพอถึงต้นฤดูฝน ปี 2558
จากการติดตามสถานการณ์ พบว่า เกษตรกรมีการลดปลูกข้าวนาปรังเฉลี่ยร้อยละ 60 ซึ่งเกษตรกรที่ยังปลูกข้าวนาปรังส่วนใหญ่ขณะนี้ ข้าวอยู่ในระยะเจริญเติบโต โดยจังหวัดที่มีเนื้อที่ปลูกข้าวนาปรังลดลงมากที่สุดคือจังหวัดมหาสารคาม ลดลงถึงร้อยละ 94 จากเนื้อที่ปลูกปีที่แล้ว 190,322 ไร่ และคาดว่าปีนี้จะมีเนื้อที่ปลูกประมาณ 12,000 ไร่ จังหวัดขอนแก่นปลูกข้าวนาปรังลดลงร้อยละ 85 จากเนื้อที่ปลูกปีที่แล้วประมาณ 235,798 ไร่ คาดว่าจะมีเนื้อที่ปลูกในปีนี้ประมาณ 35,000ไร่ จังหวัดร้อยเอ็ดปลูกข้าวนาปรังลดลงร้อยละ 47 จากเนื้อที่ปลูกปีที่แล้วประมาณ 247,369 ไร่ โดยคาดว่าจะมีเนื้อที่ปลูกในปีนี้ประมาณ 130,000ไร่
สำหรับจังหวัดกาฬสินธุ์เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่รับน้ำจากเขื่อนลำปาว มีเนื้อที่ปลูกข้าวนาปรังลดลงน้อยที่สุดคือลดลงเพียงร้อยละ 25 จากพื้นที่ปลูกปีที่แล้วประมาณ 278,880 ไร่ และคาดว่าปีนี้จะมีเนื้อที่ปลูกประมาณ 210,000 ไร่ เนื่องจากสถานการณ์น้ำในเขื่อนลำปาวมีเพียงพอต่อการทำนาปรังไม่ส่งผลกระทบต่อการปลูกข้าวนาปรังมากนักอย่างไรก็ตาม นับว่าได้รับความร่วมมือจากเกษตรกรในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางในการลดพื้นที่ปลูกข้าวนาปรัง โดยเกษตรกรมีการหันไปปลูกพืชอื่นที่ใช้น้ำน้อยทดแทนบางส่วน ทั้งนี้ ในส่วนของการปลูกพืชใช้น้ำน้อยทดแทน เกษตรกรที่สนใจ สามารถสอบถามข้อมูลคำแนะนำเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตรที่ 4 ขอนแก่น โทร. 043 261 513 ในวันและเวลาราชการ
นายนพดล ศรีพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 4 ขอนแก่น (สศท.4) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงการติดตามการดำเนินงานของกลุ่มแปลงใหญ่วิสาหกิจชุมชนกลุ่มมะม่วงส่งออกหนองแซง หมู่ที่ 9 ตำบลสำราญ อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ นับเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพการผลิตและแปรรูปมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง เพื่อการส่งออกสู่ตลาดต่างประเทศ ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP ได้รับการรับรองมาตรฐานแหล่งแปรรูปตามมาตรฐาน GMP และได้รับมาตรฐาน อย. ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขเพื่อสร้างความมั่น
กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง จ.พิษณุโลก สินค้าเกษตรที่มีศักยภาพ ทดแทนการผลิตข้าวนาปีในพื้นที่ไม่เหมาะสม สร้างรายได้เกษตรกร
—
นางธัญญ์พิชชา เถระรัชชานนท์ ผู้อำนวยกา...
สศท. 7 เผยผลศึกษาการบริหารจัดการ "ฟางข้าว" ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคกลาง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
—
นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 ช...
'ปลานิล' สินค้าเกษตรทางเลือก จ.นครราชสีมา เสริมรายได้เกษตรกร แนะแปรรูปเพิ่มมูลค่า
—
นางสุจารีย์ พิชา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 5 นครราชสีมา (...
"ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ" สินค้า GI เริ่มออกตลาดปลาย พ.ค. นี้ สศท.11 เชิญชวนเที่ยวงาน "เทศกาลทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ ปี 2565" 9 - 15 มิ.ย. นี้
—
นางประเทือง...
สศท.8 โชว์ "กลุ่มกาแฟบ้านถ้ำสิงห์" จ.ชุมพร แปรรูปกาแฟโรบัสต้า สร้างกำไรกลุ่มปีละ 21 ล้านบาท
—
นายนิกร แสงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 สุร...
'ลองกองวังขุม' แปลงใหญ่ จ.สุราษฎร์ธานี คุณภาพมาตรฐาน GAP รสชาติเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว สศท.8 เชิญชวนบริโภค ขณะนี้ออกตลาดแล้ว
—
นางพัชรารัตน์ ลิ้มศิริกุล ผู้...
ปีนี้อากาศดี ลำไยภาคเหนือติดดอกมาก ผลผลิตรวมกว่า 9.7 แสนตัน ออกตลาดมากสุด ส.ค. 64 สศท.1 เชิญชวนบริโภคลำไยคุณภาพ ช่วยเหลือเกษตรกร
—
นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำ...
กองทุน FTA หนุนเกษตรกรกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงโคเนื้อบ้านแสนแก้ว จ.ศรีสะเกษ สร้างรายได้ ยกระดับมาตรฐานการผลิตโคเนื้อ
—
นายนิกร แสงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงาน...
สศท.7 โชว์แปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะ ศกอ. จ.สุพรรณบุรี ดึงเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
—
นางสาวสมบัติ พุทธา รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจกา...