“ปีติพงศ์” ย้ำในโอกาสครบรอบ 43 ปีวันก่อตั้งกลุ่มเกษตร เกษตรกรควรรวมกลุ่มขนาดใหญ่เอื้อให้ภาครัฐยื่นความช่วยเหลือครอบคลุม พร้อมดึงเข้าร่วมตลาดเกษตรกรหวังเข้าถึงความต้องการผู้บริโภค

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยในโอกาสเป็นประธานพิธีเปิดการประชุมสัมมนา “43 ปีวันก่อตั้งกลุ่มเกษตรกร” ว่า ปัจจุบันมีกลุ่มเกษตรกรในทุกจังหวัดทั่วประเทศจำนวน 5,282 กลุ่ม ดำเนินธุรกิจ 4,296 กลุ่ม มีสมาชิก 6.1 แสนคน ทุนดำเนินงานกว่า 1,600 ล้านบาท และมีปริมาณธุรกิจกว่า 13,000 ล้านบาท เป็นกลุ่มที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของกรมส่งเสริมสหกรณ์คิดเป็นร้อยละ 86.18 ซึ่งนับว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งในการพัฒนากลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง และมีศักยภาพในการดำเนินงาน แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การขับเคลื่อนทิศทางในการพัฒนากลุ่มเกษตรกรสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่ให้ความสำคัญอย่างมากกับการร่วมกลุ่มของเกษตรกร และยกระดับไปถึงการเป็นสถาบันเกษตรกรเพื่อสร้างอำนาจการต่อรองในด้านการแข่งขันสินค้าเกษตร รวมถึงการเข้าถึงแผนงาน โครงการนโยบายในการช่วยเหลือของภาครัฐ ในโอกาสนี้จึงได้ฝากประเด็นสำคัญใน 4 เรื่องให้กลุ่มเกษตรกรทั่วประเทศเข้ามามีส่วนร่วมและมีบทบาทสำคัญ ประกอบด้วย 1. การรวมกลุ่มเกษตรกรในขนาดที่เหมาะสม ไม่ใช่เป็นเพียงกลุ่มเล็กๆ ที่อาจจะยากกับการเข้าถึงมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐผ่านโครงการต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะเริ่มย่างเข้าสู่ฤดูกาลเพาะปลูกในปีนี้ที่ใกล้จะมาถึง หากเกษตรกรมีการรวมกลุ่มขนาดที่ใหญ่ขึ้นและเป็นประเภทการเพาะปลูกที่ใกล้เคียงกันมาทำการเกษตรกรในระบบแปลงใหญ่ก็จะช่วยให้เครื่องมือหรือกลไกต่างๆที่ภาครัฐเข้าไปสนับสนุนดูแลเกิดความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเรื่องของการบริหารจัดการน้ำ การสนับสนุนเมล็ดพันธุ์และปัจจัยการผลิต เป็นต้น
          2. การมีส่วนร่วมในโครงการตลาดเกษตรกรที่พบว่าสินค้าเกษตรโดยส่วนใหญ่ยังไม่ใช่สินค้าในกลุ่มพรีเมี่ยมหรือได้รับการรับรองมาตรฐาน Q มากนัก ดังนั้น กลุ่มเกษตรกรที่มีการรวมกลุ่มและผลิตสินค้าที่มีคุณภาพอยู่แล้วก็สามารถที่จะเข้ามาร่วมดำเนินการในโครงการนี้ได้ ซึ่งนอกจากจะเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าเกษตรไปยังผู้บริโภคกลุ่มรายได้ปานกลางถึงสูงแล้ว ยังเป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญที่จะทำให้กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตสินค้าเกษตรได้รับทราบถึงความต้องการของผู้บริโภคได้โดยตรงว่าต้องการสินค้าประเภทใด ควรจะปรับปรุงรูปแบบสินค้าไปในทิศทางไหนเพื่อให้การผลิตสินค้าตรงตามความต้องการของตลาดได้
          3. การให้ข้อมูลเกษตรกรที่ควรจะได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐอย่างแท้จริง ซึ่งคาดว่าในอีกประมาณ 2 – 3 เดือนข้างหน้านี้จะได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมสหกรณ์และกรมส่งเสริมการเกษตรจะลงพื้นที่สำรวจข้อมูลเกษตรกรที่ยากจนจริงๆ และยังไม่เคยได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐผ่านโครงการต่างๆ ที่ก่อนหน้านี้รัฐบาลได้ดำเนินการไปแล้ว เช่น ช่วยเหลือชาวนา และชาวสวนยางไร่ละ 1 พันบาท หรือโครงการสร้างรายได้และ พัฒนาการเกษตรแก่ชุมชน เพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้งระดับจังหวัด หรือโครงการเกษตรแก้ภัยแล้งตำบลละล้านบาท ที่พบว่าโดยส่วนใหญ่เป็นในเรื่องโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ซึ่งกลุ่มเกษตรกรในหลายๆ กลุ่มได้รับประโยชน์จากโครงการดังกล่าว แต่ก็ได้เน้นย้ำแนวคิดในการนำเสนอโครงการหากภาครัฐมีโครงการช่วยเหลือดังกล่าวในอนาคตอีกว่า ควรจะเป็นโครงการที่สร้างประโยชน์ในหลายระดับไม่เพียงแค่การจ้างงานและเก็บเกี่ยวผลผลิตเท่านั้น แต่น่าจะช่วยเพิ่มรายได้และลดต้นทุนไปควบคู่กันด้วย
          “รัฐบาลชุดปัจจุบันให้ความสำคัญกับการรวมกลุ่มเกษตรกรเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นรากฐานในการพัฒนาการเกษตร และเป็นกุญแจสำคัญในการเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ไปถึงหน่วยงานภาครัฐ และการเข้าถึงมาตรการโครงการช่วยเหลือต่างๆ ซึ่งหลายโครงการที่จะดำเนินการต่อไปนั้นขณะนี้อยู่ในระหว่างการนำเสนอคณะรัฐมนตรี เช่น การจัดตั้งศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวให้เพียงพอต่อความต้องการในการผลิตแต่ละปี หากผ่านมติครม.แล้วก็จะมีการประกาศแนวทางการให้ความช่วยเหลือที่ชัดเจนต่อไป แต่ทั้งนี้ เกษตรกรต้องร่วมกลุ่มกันในขนาดที่พอเหมาะไม่ใช่เพียงแค่ 10 – 20 คน เพื่อให้การเข้าถึงมาตรการต่างๆ ได้ประโยชน์ถึงเกษตรกรรายย่อยอย่างแท้จริง” นายปีติพงศ์ กล่าว
 
 
 

ข่าวการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์+กระทรวงเกษตรและสหกรณ์วันนี้

รอง พด. สุรชาติ ร่วมคณะรมช.เกษตรฯ ลงพื้นที่ จ.สกลนคร มอบนโยบาย พบปะเกษตรกร และรับฟังปัญหาด้านการเกษตรในพื้นที่ พร้อมมอบปัจจัยการผลิตด้านการเกษตร

นายสุรชาติ มาลาศรี รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดินด้านปฏิบัติการ พร้อมด้วย นายบุญช่วย ช่วยระดม ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 นายสมาน ก้อนศรีษะ ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินสกลนคร และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมคณะ นายอิทธิ ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจราชการจังหวัดสกลนคร เพื่อมอบนโยบาย พบปะเกษตรกร และรับฟังปัญหาด้านการเกษตรในพื้นที่ พร้อมมอบปัจจัยการผลิตด้านการเกษตร ตลอดจนเยี่ยมชมนิทรรศการของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมี นายประยูร อินสกุล

ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) โดย ด... ไอแบงก์เปิดงาน Thailand Islamic Finance Forum 2025 (TIFF 2025) ผลักดันระบบนิเวศน์ของการเงินอิสลามในประเทศไทย สู่ความยั่งยืน — ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไ...

นางกาญจนา แดงรุ่งโรจน์ รองเลขาธิการสำนักง... รองฯ กาญจนา ร่วมเปิดงานมหกรรม จากพันธุกรรม สู่ความยั่งยืน — นางกาญจนา แดงรุ่งโรจน์ รองเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ร่วมเปิด...

"กลุ่มเหล็กสหวิริยา" (SSI-TCRSS-TCS-WCE-B... เหล็กสหวิริยาพัฒนาประมงบางสะพานยั่งยืน ผนึกกำลังเครือข่ายประมง-ทิ้งซั้งบอกรักทะเล — "กลุ่มเหล็กสหวิริยา" (SSI-TCRSS-TCS-WCE-BSBM-PPC) เครือข่ายชาวประมงบาง...

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาต... มกอช.ร่วมงานวันเกษตรภาคอีสาน ประจำปี 2568 — สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ร่วมจัดนิทรรศการ ในงานวันเกษตรภาคอีสาน ประจำปี 2568 ภายใต้...

ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระ... ปักหมุด เตรียมเช็คอิน ร่วมส่งความสุขปีใหม่มอบให้เกษตรกร ปี 2568 กับกรมส่งเสริมการเกษตร — ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนิ...

นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการ... กรมวิชาการเกษตร นำร่องสร้างกลุ่มแปลงใหญ่ทุเรียนอินทรีย์แห่งแรกในภาคตะวันออก — นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า กรมวิชาการเกษตร เล...

"รมว.นฤมล" เร่งผลักดันจัดทำข้อเสนอกรอบนโย... รมว.นฤมล ผลักดันกฎระเบียบว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่าของสหภาพยุโรป (EUDR) — "รมว.นฤมล" เร่งผลักดันจัดทำข้อเสนอกรอบนโยบายระดับชาติในการปฏิบัติต...

นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการ... กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่ — นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเก...

"รมว.นฤมล"นำทีมกระทรวงเกษตรฯ ลงพื้นที่นคร... รมว.นฤมล ลงพื้นที่นครศรีธรรมราช มอบถุงยังชีพ บรรเทาความเดือดร้อนประชาชน — "รมว.นฤมล"นำทีมกระทรวงเกษตรฯ ลงพื้นที่นครศรีธรรมราช มอบถุงยังชีพ บรรเทาความเดือด...