สศก.7 เผย จับตาเนื้อที่ปลูกข้าวนาปรัง 4 จังหวัดลุ่มเจ้าพระยา ลดต่ำสุดในรอบ 20 ปี

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 เผย เนื้อที่ปลูกข้าวนาปรังจังหวัดในลุ่มเจ้าพระยา ได้แก่ ลพบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท และ อ่างทอง ลดต่ำลงจากปีที่แล้วร้อยละ 72 นับว่าต่ำสุดในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา ตามประกาศให้งดทำนาปรังของกระทรวงเกษตรฯ คาด พฤษภาคมนี้ เกษตรกรจะมีน้ำเพียงพอต่อการทำนา
          นางอัญชนา ตราโช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 ชัยนาท (สศก.7) เปิดเผยถึงปริมาณการผลิตข้าวนาปรัง ปี 2558 ในพื้นที่รับผิดชอบจังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยา ได้แก่ ลพบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท และ อ่างทอง พบว่า เนื้อที่เพาะปลูกข้าวนาปรังทั้ง 4 จังหวัด มีเนื้อที่เพาะปลูกรวม 410,041 ไร่ ถือเป็นตัวเลขเพาะปลูกข้าวที่ต่ำที่สุดในรอบ 20 ปี เนื่องจากปริมาณน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยามีปริมาณไม่เพียงพอต่อการทำนาในฤดูข้าวนาปรัง พร้อมทั้งต้องจัดสรรน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค รักษาระบบนิเวศน์ และสำรองไว้ให้เกษตรกรปลูกข้าวในช่วงฤดูฝน ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ประกาศให้งดทำนาปรังในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและลุ่มแม่น้ำแม่กลอง ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2557 ถึง 30 เมษายน 2558
          หากเปรียบเทียบเนื้อที่เพาะปลูกข้าวนาปรังปี 2558 กับปี 2557 พบว่า เนื้อที่เพาะปลูกข้าวนาปรังปี 2558 ต่ำกว่า คิดเป็นร้อยละ 72 และต่ำกว่าปี 2556 คิดเป็นร้อยละ 76 อย่างไรก็ตาม เกษตรกรส่วนหนึ่งยังเผชิญปัญหาข้าวยืนต้นตายเพราะขาดน้ำ และข้าวกระทบหนาวในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา เนื่องจากอากาศหนาวเย็น นอกจากนี้ ยังเผชิญปัญหาหนูกัดกินต้นข้าวอีกด้วย จึงส่งผลให้ผลผลิตต่อไร่ต่ำกว่าปีที่ผ่านๆ มา
           อย่างไรก็ตาม มีเกษตรกรบางส่วนใน 4 จังหวัดข้างต้น ที่สามารถทำนาปรังได้ เนื่องจากเกษตรกรใช้น้ำจากบ่อบาดาล น้ำนอนคลอง หรือนาใกล้กับแม่น้ำที่สามารถสูบน้ำขึ้นมาใช้ และคาดว่าในเดือนพฤษภาคมนี้ เกษตรกรจะมีน้ำเพียงพอต่อการทำนา ทั้งนี้ ท่านใดสนใจข้อมูลเพิ่มเติมสถานการณ์ด้านการเกษตรต่างๆ สามารถติดต่อศูนย์บริการ ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตรจังหวัดชัยนาท โทรศัพท์ 0-5640-5008 หรือทางเว็บไซต์ http://www2.oae.go.th/infozone7/

ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่+สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรวันนี้

กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง จ.พิษณุโลก สินค้าเกษตรที่มีศักยภาพ ทดแทนการผลิตข้าวนาปีในพื้นที่ไม่เหมาะสม สร้างรายได้เกษตรกร

นางธัญญ์พิชชา เถระรัชชานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 2 พิษณุโลก (สศท.2) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่ากล้วยน้ำว้ามะลิอ่องนับเป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัดพิษณุโลก หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จึงมีนโยบายส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาปลูกกล้วยน้ำว้ามะลิอ่องเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเป็นพืชที่มีโอกาสทางตลาด และมีความต้องการในอุตสาหกรรมการแปรรูป โดยกล้วยน้ำว้าสดที่ใช้เป็นวัตถุดิบมีทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด (สุโขทัย อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร และ ตาก) ซึ่งกล้วยตากบางกระทุ่มเป็นสินค้า GI

นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษ... สศท. 7 เผยผลศึกษาการบริหารจัดการ "ฟางข้าว" ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคกลาง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม — นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 ช...

นางสุจารีย์ พิชา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐ... 'ปลานิล' สินค้าเกษตรทางเลือก จ.นครราชสีมา เสริมรายได้เกษตรกร แนะแปรรูปเพิ่มมูลค่า — นางสุจารีย์ พิชา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 5 นครราชสีมา (...

นายนิกร แสงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐก... สศท.8 โชว์ "กลุ่มกาแฟบ้านถ้ำสิงห์" จ.ชุมพร แปรรูปกาแฟโรบัสต้า สร้างกำไรกลุ่มปีละ 21 ล้านบาท — นายนิกร แสงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 สุร...

นางสาวสมบัติ พุทธา รักษาราชการแทนผู้อำนวย... สศท.7 โชว์แปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะ ศกอ. จ.สุพรรณบุรี ดึงเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต — นางสาวสมบัติ พุทธา รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจกา...

นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษ... 'นมคุณภาพสูงล้านนา' เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ยกระดับมาจรฐานการผลิตน้ำนมโค สู่การเพิ่มรายได้เกษตรกร — นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่...