ผลสำรวจแกรนท์ ธอนตัน เผยนักธุรกิจไทยตื่นตัว M&A มากขึ้น แต่ยังคงน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของค่าเฉลี่ยทั่วโลก

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          ผลสำรวจล่าสุดจากการสำรวจธุรกิจนานาชาติของแกรนท์ ธอร์นตัน หรือ Grant Thornton’s International Business Report (IBR) ซึ่งเป็นการสำรวจทั่วโลกในกลุ่มผู้นำธุรกิจกว่า 5,400 บริษัทในเขตเศรษฐกิจชั้นนำกว่า 35 แห่ง พบว่ากระแสการควบรวมและซื้อขายกิจการ (Merger and Acquisition : M&A) เพิ่มจำนวนมากขึ้นและมีทีท่าว่าจะเติบโตขึ้นอีกในช่วง 12 เดือนข้างหน้า ทั้งนี้แผนในการควบรวมกิจการของธุรกิจต่างๆ ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่มีการคาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตกำลังได้รับความสนใจอย่างมาก เนื่องจากความตั้งใจในการขายกิจการนั้นพุ่งขึ้นสูงสุดในรอบ 5 ปี ทำให้บริษัทที่สนใจขายกิจการ มีการปรับปรุงคุณภาพของตนมากขึ้น เพื่อสร้างความสนใจและดึงดูดบริษัทที่จะมาซื้อ
          รายงานธุรกิจระหว่างประเทศของแกรนท์ ธอนตัน เปิดเผยว่าร้อยละ 43 ของผู้นำธรุกิจได้พิจารณาอย่างจริงจังเกี่ยวกับโอกาสในการควบรวมกิจการอย่างน้อย 1 ครั้งในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา และร้อยละ 39 ก็มีการพิจารณาไปแล้วในช่วงก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 33 ของธุรกิจกำลังวางแผนที่จะเติบโตผ่านการควบรวมกิจการในช่วง 3 ปีข้างหน้าโดยแสดงให้เห็นการเติบโตอย่างมั่นคงจากร้อยละ 31 ในปี 2556 และร้อยละ 28 ในปี 2555 ผู้นำธุรกิจในภูมิภาคอเมริกาเหนือยังคงมั่นใจและมีความหวังในอนาคตมากที่สุดในการวางแผนที่จะเติบโตผ่านการควบรวมกิจการ (ร้อยละ 45) ซึ่งนำภูมิภาคอเมริกากลาง (ร้อยละ 38) ตามด้วยทวีปยุโรป (ร้อยละ 32) ภูมิภาคอาเซียน (ร้อยละ 28) และภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ร้อยละ 22)
          สำหรับประเทศไทย ผู้นำธุรกิจได้วางแผนที่จะเติบโตด้วยการควบรวมกิจการในช่วง 3 ปีข้างหน้าโดยมีจำนวนถึงร้อยละ 16 เพิ่มขึ้นสองเท่าจากผลสำรวจในปีที่แล้ว ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ในอาเซียนอย่างสิงคโปร์อยู่ที่ร้อยละ 32 มาเลเซียที่ร้อยละ 38 และอินโดนีเซียที่ร้อยละ 28 (เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 15 จากปีก่อน) ซึ่งแม้ว่าผลสำรวจของประเทศไทยนั้นจะยังคงน้อยที่สุด เมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศในอาซียนอื่นๆ ที่เข้าร่วมสำรวจ แต่ก็ถือว่าเป็นตัวเลขสูงสุดของไทยนับตั้งแต่เริ่มจัดทำการสำรวจนี้ขึ้นมา ในทางกลับกัน ร้อยละ 12 ของธุรกิจในไทยคาดหวังว่าจะมีการขายหรือเปลี่ยนแปลงเจ้าของธุรกิจในช่วง 3 ปีข้างหน้า ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนจากร้อยละ 5 ในการสำรวจครั้งก่อน ขณะที่ประเทศอื่นๆ ในปีนี้อย่างสิงคโปร์ (ร้อยละ 13) มาเลเซีย (ร้อยละ 15) และอินโดนีเซีย (ร้อยละ 22) ก็ยังคงมีผลสำรวจที่สูงกว่าประเทศไทยเช่นเดิม
          คุณจุฬาภรณ์ นำชัยศิริ กรรมการผู้จัดการสายงานธุรกิจการเงินของบริษัท แกรนท์ ธอนตันในประเทศไทย ให้ความเห็นว่า “ถึงแม้ตัวเลขของประเทศไทยจะยังอยู่ในระดับต่ำ แต่ก็เพิ่มขึ้นจากผลสำรวจในปีที่แล้ว ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดีที่บ่งชี้ว่าทุกคนได้เริ่มตระหนักถึงความสำคัญของการเติบโตทางธุรกิจผ่านกลยุทธ์ M&A ที่สามารถช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้แก่ธุรกิจอย่างมากโดยเฉพาะในตลาดเกิดใหม่ ซึ่งหากเทียบกับบริษัทที่ขยายธุรกิจด้วยการเริ่มต้นหรือจัดตั้งธุรกิจใหม่เลย บริษัทที่ขยายด้วยวิธีกลยุทธ์ M&A จะใช้ช่วยประหยัดเวลาและสามารถเริ่มดำเนินธุรกิจได้เร็วกว่า”
          “โดยปกตินั้น การทำ M&A หรือควบรวมกิจการจะมีด้วยกัน 2 รูปแบบ แบบแรกคือการควบกิจการในแนวนอน (Horizontal merger)1 โดยเป็นการรวมกิจการที่เกิดขึ้นระหว่างบริษัทที่ดำเนินงานในอาณาเขตเดียวกัน มักจะเป็นกรณีที่คู่แข่งเสนอสินค้าหรือบริการแบบเดียวกัน การควบกิจการในแนวนอนจะพบได้ทั่วไปในอุตสาหกรรมต่างๆ ที่มีเพียงไม่กี่บริษัทเนื่องจากมักจะมีอัตราการแข่งขันสูง โดยการควบรวมดังกล่าวจะช่วยให้ได้ส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้น ในขณะที่การรวมกิจการในแนวตั้ง (Vertical merger) 2 จะเกิดขึ้นเมื่อมีบริษัทสองบริษัทหรือมากกว่าที่ดำเนินงานในขั้นตอนหรือลำดับที่ต่างกัน ในห่วงโซ่อุปทานหรืออุตสาหกรรมเดียวกันควบกิจการดำเนินงานเข้าด้วยกัน ซึ่งเป็นการควบรวมเพื่อมุ่งส่งเสริมกิจการระหว่างกันและทำให้กระบวนการทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น และการควบรวมกิจการในแนวตั้งนี้ ก็ถือเป็นกิจกรรม M&A ที่พบได้มากที่สุดในประเทศไทย”
          คุณจุฬาภรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “จากการสำรวจทั้งหมดทั่วโลกของเรา อุตสาหกรรมทางด้านเหมืองแร่มีแนวโน้มมากที่สุดที่จะเติบโตด้วยการควบรวมกิจการ ซึ่งตรงกันข้ามกับประเทศไทยที่เรามองว่าอุตสาหกรรมด้านการบริการจะเติบโตผ่านการควบรวมกิจการมากที่สุดในปีนี้ อย่างไรก็ตาม ความผันผวนของค่าเงินและความไม่แน่นอนทางด้านเศรษฐกิจยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทุกธุรกิจต้องคำนึงถึง หากไม่พิจารณาอย่างเพียงพอแล้ว อาจกลายเป็นปัญหาในภายหลังและอาจทำให้การควบรวมกิจการนั้นล้มเหลว”
          รายงานธุรกิจระหว่างประเทศของแกรนท์ ธอนตัน ยังระบุว่า ผู้นำธุรกิจต่างมุ่งไปที่ธนาคารในฐานะแหล่งระดมทุนเพื่อการเติบโต โดยร้อยละ 62 คาดหวังว่ากำไรสะสม (Retained earnings) จะเป็นแหล่งเงินทุนที่ใหญ่ที่สุด แต่สัดส่วนนักธุรกิจที่วางแผนจะใช้วิธีกู้ยืมจากธนาคารเพื่อจัดหาเงินทุนในการทำธุรกรรมได้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 57 โดยสูงขึ้นจากร้อยละ 48 ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน อีกทั้งความเชื่อมั่นก็เพิ่มขึ้นในฐานะคู่ค้า โดยร้อยละ 14 ของผู้นำธุรกิจวางแผนที่จะขายกิจการใน 3 ปีข้างหน้า ซึ่งเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 11 ในปี 2556 และร้อยละ 8 ในปี 2555
          คุณจุฬาภรณ์ กล่าวต่อว่า “ผลสำรวจ IBR อาจยืนยันได้ว่าตลาดของการควบรวมกิจการได้ฟื้นตัวอีกครั้ง โดยเฉพาะธุรกิจที่ต้องการเติบโตหรือขยายกิจการ (Dynamic businesses) ซึ่งต่างยอมรับว่ากลยุทธ์ M&A ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่ตอบโจทย์มากที่สุด แม้จะมีความท้าทายและความไม่แน่นอนอยู่บ้าง แต่การเติบโตของกลุ่มเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วในหลายภูมิภาคต่างยังคงแข็งแกร่งอยู่ ขณะที่ตัวชี้วัดที่สำคัญอื่นๆ เช่น อัตราดอกเบี้ย การจ้างงาน และความพร้อมของเงินทุนนั้นก็มีภาพรวมในเชิงบวก”
          “ในอดีต ตลาดธุรกรรมนี้มีลักษณะเป็นวัฎจักร แต่จากการสำรวจของเรา เราอาจจะอยู่ในจุดที่วัตถุประสงค์และการประเมินมูลค่าของผู้ซื้อและผู้ขายนั้นสอดคล้องกันเป็นส่วนใหญ่ อุปทานของเป้าหมายที่มีนั้นถือเป็นกุญแจสำคัญสำหรับตลาดการควบรวมกิจการที่ประสบความสำเร็จ แต่เมื่อไม่กี่ปีมานี้ ความมั่นใจของคู่ค้าในการบรรลุผลสำเร็จในการออกจากธุรกิจนั้นอยู่ในระดับที่ต่ำ โดยขับเคลื่อนด้วยผลการดำเนินงานทางการเงินที่ไม่ได้ดีมากนัก อีกทั้งความกังวลด้านการประเมินมูลค่า และมีมุมมองว่าธุรกรรมมีความเสี่ยง เช่น การระดมทุนจากผู้ซื้อ”
          “นอกจากนี้เรายังพบความเปลี่ยนแปลงอย่างมากในลักษณะของการระดมทุนโดยธนาคารที่ให้บริการรับฝากเงินและปล่อยสินเชื่อเป็นแหล่งระดมทุนหลักที่เข้าถึงได้มากกว่ารวมทั้งการมีทางเลือกอื่นในการกู้ยืมด้วย” คุณจุฬาภรณ์ สรุป


ข่าวแกรนท์ ธอร์นตัน+แกรนท์ ธอนตันวันนี้

ทัศนคติด้านบวกธุรกิจไทยไตรมาส 4 ปรับลงแรง เศรษฐกิจโลกปี 2558 อาจผันผวนจากปัจจัยรุมเร้า

รายงานผลการสำรวจธุรกิจนานาชาติของแกรนท์ ธอร์นตัน หรือ Grant Thornton’s International Business Report (IBR) สำหรับไตรมาสที่ 4 ของปี 2557 พบว่าทัศนคติด้านบวกของธุรกิจไทยและ ASEAN ปรับลดลงอย่างมากจากไตรมาสก่อนหน้า ถึงแม้ว่าโดยรวมแล้วกลุ่มประเทศที่ทำการสำรวจจะมีทัศนคติด้านบวกลดลง แต่ทัศนคติด้านบวกในประเทศไทยได้ลดลงกว่าร้อยละ 44 จากเดิมร้อยละ 71 ในไตรมาสที่ 3 มาอยู่ที่ร้อยละ 27 ในไตรมาสที่ 4 ซึ่งถือว่ามีการลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลก (จากร้อยละ 43 เป็นร้อยละ 35) และ ASEAN

ภายหลังการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภา... ประเทศไทยภายหลัง "ช่วงเวลาแห่งความไร้ทิศทาง" — ภายหลังการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคมที่ผ่านมา ประเทศไทยได้มีการดำเนินการเพื่อฟื้นคืนความมั่นคงทาง...

ผลสำรวจ IBR เผยความเชื่อมั่นทางธุรกิจในไทยฟื้นตัวแรง ส่วนความเชื่อมั่นในเยอรมนีดิ่งแรง

รายงานผลการสำรวจธุรกิจนานาชาติของแกรนท์ ธอร์นตัน หรือ Grant Thornton’s International Business Report (IBR) เผยผลสำรวจสำหรับไตรมาสที่ 3 ว่าความเชื่อมั่นทางธุรกิจในประเทศไทยปรับตัวสูงขึ้นอย่างมากในช่วงระหว่าง...

แกรนท์ ธอร์นตัน เติบโตในประเทศไทย เผยรายรับรวมทั่วโลกอยู่ที่ 4.5 พันล้านเหรียญ

วันนี้ แกรนท์ ธอร์นตัน ในประเทศไทย แถลงผลประกอบการประจำปีว่ามีการเติบโตที่ 11% ในขณะที่บริษัทแม่ ในนามแกรนท์ ธอร์นตัน อินเตอร์เนชั่นแนล รายงานว่ามีรายรับรวมจากทั่วโลกที่ 4.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมีการเติบโตที่ 8.1% ...

ความเชื่อมั่นธุรกิจไทยลดลงถึงจุดต่ำสุดนับจากปี 2011

ผลการสำรวจล่าสุดจากรายงาน Focus on: Thailand ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรายงานผลการสำรวจธุรกิจนานาชาติของแกรนท์ ธอร์นตัน (The Grant Thornton International Business Report: IBR) ที่สำรวจทัศนคติของผู้บริหารธุรกิจกว่า 3,000 คนจาก 45 กลุ่มเศรษฐกิจทั่วโลกราย...

ระดับความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจของนักธุรกิจไทยต่ำกว่า ASEAN และทั่วโลก

ผลการสำรวจล่าสุดจากรายงานผลการสำรวจธุรกิจนานาชาติของแกรนท์ ธอร์นตัน (The Grant Thornton International Business Report: IBR) พบว่าทัศนคติด้านบวกของผู้บริหารธุรกิจในประเทศไทยยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าช่วงก่อนการเกิดเหตุการณ์อุทกภัย...

74% ของธุรกิจไทยต้องการคำแนะนำด้านภาษีแม้ว่ามีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 68% แต่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของ ASEAN ที่ 86%

บริษัทส่วนใหญ่ระบุว่ายินดีที่จะให้เจ้าหน้าที่ทางด้านภาษีช่วยแนะนำการวางแผนทางภาษีที่ครอบคลุมในต่างประเทศว่าสิ่งใดสามารถกระทำได้หรือไม่ได้ แม้ว่าจะทำให้โอกาส...

ผลสำรวจทั่วโลกชี้ชัดเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิกแนวโน้มสดใส ธุรกิจไทยเตรียมจ้างงานเพิ่มขึ้นสูงเป็นอับดับ 2 ของโลก

ทัศนคติด้านบวกของนักธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) ในช่วงเวลา 3 เดือนที่ผ่านมาเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากจาก 35% เป็น 48% จากผลการสำรวจธุรกิจนานาชาติของแกรนท์ ธอร์นตัน (The Grant Thornton...

เส้นทางสำหรับผู้หญิงสู่ตำแหน่งผู้บริหารสูงสุด

เนื่องในโอกาสวันสตรีสากล ปี 2013 ซึ่งตรงกับวันที่ 8 มีนาคมนี้ รายงานผลการสำรวจธุรกิจนานาชาติของแกรนท์ ธอร์นตัน (The Grant Thornton International Business Report: IBR) เผยผลสำรวจล่าสุดว่าในขณะนี้ ทั่วโลกมีสตรีที่กำลังก้าว...