“สาหร่าย” กู้โลก

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ มจธ. จับมือชมรมสาหร่ายและแพลงก์ตอนแห่งประเทศไทยจัดประชุมแลกเปลี่ยนวิวัฒนาการงานวิจัยสาหร่าย พร้อมเปิดรับโจทย์วิจัยจากภาคเอกชน โดยปีนี้เน้นการศึกษาและพัฒนาสาหร่ายเพื่อสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจของประเทศ 

          วิกฤตพลังงานและสิ่งแวดล้อม เป็นปัญหาระดับโลกซึ่งแต่ละประเทศล้วนกำลังหาแนวทางในการแก้ไขและพัฒนาให้เหมาะสมกับพื้นที่ ประเทศไทยก็เช่นกันร้อยละ 25 ของการใช้พลังงานของประเทศมาจากพลังงานทดแทนซึ่งนับว่ายังน้อย หลายหน่วยงานจึงหันมาให้ความสนใจในเรื่องพลังงานทดแทนที่ผลิตจากพืชหลายชนิด โดยล่าสุดนี้มี “สาหร่าย” เป็นพระเอกที่หลายภาคส่วนจับตามอง และเป็น second generation ของ Bio mass เพื่อนำมาผลิต Bio diesel ที่คาดว่าจะช่วยลดปัญหาพลังงานและสิ่งแวดล้อมได้บ้างในอนาคต
          และเพื่อให้ความสำเร็จเหล่านี้เกิดขึ้นได้นอกจากภาคเอกชนแล้วสถาบันการศึกษาก็ต้องยื่นมือเข้ามาร่วมด้วย อย่างเช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ที่ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่จะสามารถตอบโจทย์ของประเทศได้หลากหลาย อาทิ การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยง คุณสมบัติที่หลากหลายของสาหร่ายโดย รศ. บุษยา บุนนาค ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ มจธ. กล่าวว่า ความก้าวหน้าของประเทศส่วนหนึ่งคือผลลัพธ์ที่มาจากงานวิจัยเป็นตัวขับเคลื่อน มจธ.วิจัยทางด้านสาหร่ายมาเป็นเวลานานโดยศึกษาทั้งด้านการเพาะเลี้ยง สรีรวิทยา และชีวโมเลกุล
          “กว่า 28 ปีแล้วที่ มจธ. มีห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพสาหร่าย ซึ่งศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับสาหร่ายมานาน เหตุผลที่เราหันมาให้ความสำคัญกับสาหร่ายเพราะสาหร่ายเป็นสิ่งมีชีวิตที่เป็น primary producer คือผู้ผลิตขั้นต้นของโลก เป็นสิ่งมีชีวิตที่ทำให้เกิดห่วงโซ่อาหารที่สมบูรณ์ซึ่งส่งผลต่อระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อมของโลกโดยตรง นอกจากนั้นสาหร่ายยังมีประโยชน์ต่อมนุษย์ไม่น้อยทั้งในเรื่องของคุณค่าทางอาหารเป็นแหล่งโปรตีนและสารอาหารอันดับต้นๆ สำหรับมนุษย์รวมถึงการนำมาเป็นส่วนประกอบของเครื่องสำอาง ซึ่งกำลังเป็นกระแสที่มาแรงของโลกในขณะนี้ ขณะที่ประเทศไทยเป็นพื้นที่ที่ค่อนข้างเหมาะสมและมีข้อได้เปรียบในการเพาะเลี้ยงสาหร่ายชนิดต่างๆ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่นักวิจัยควรสนับสนุนหากคนไทยจะหันมาสนใจกับพืชเศรษฐกิจอย่างสาหร่ายมากขึ้น และล่าสุดกับการนำสาหร่ายมาเป็นแหล่งพลังงานทดแทน คือ วัตถุดิบใหม่ในการผลิตน้ำมันไบโอดีเซล” 
          ด้วยเหตุนี้จึงมีการรวมตัวกันของบรรดานักวิจัยที่สนใจในด้านสาหร่ายทั่วประเทศเกิดเป็น “ชมรมสาหร่ายและแพลงก์ตอนแห่งประเทศไทย” ก่อตั้งขึ้นมากว่า 15 ปี โดยชมรมฯ นี้ก่อตั้งขึ้นจากความร่วมมือของหลายสถาบันการศึกษาเมื่อปี 2546 อาทิ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ มจธ. เป็นต้น และเมื่อวันที่ 25-27 มีนาคม 2558 ที่ผ่านมาห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพสาหร่าย สถาบันพัฒนาและ ฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ มจธ. ได้ร่วมกับชมรมฯ เป็นเจ้าภาพใน การจัดประชุมวิชาการสาหร่ายและแพลงก์ตอนแห่งชาติขึ้นเป็นครั้งที่ 7 โดยมี รศ.บุษยา บุนนาค เป็นประธานชมรมฯ ซึ่งการประชุมครั้งนี้จัดขึ้นในหัวข้อ “สาหร่ายและแพลงก์ตอนเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีและเศรษฐกิจที่มั่นคง” โดยวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการ แลกเปลี่ยนและอัพเดทงานวิจัยซึ่งกันและกันเพื่อนำไปสู่การต่อยอดในอนาคต
          “ในการประชุมแต่ละครั้งจะมีนักวิจัยด้านสาหร่ายและแพลงก์ตอนเข้ามาร่วมมากขึ้น ภาคเอกชนก็เข้ามาร่วมและเก็บเกี่ยวผลงานวิจัยจากชมรมฯ เราไปใช้ประโยชน์ไม่น้อย และครั้งนี้ก็มี ภาคเอกชนที่ตั้งโจทย์วิจัยเรื่องเทคโนโลยีการผลิตน้ำมันจากสาหร่ายขึ้นมาอย่างสถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท. มาร่วมด้วย ทำให้เราทราบว่าในสาหร่ายมีน้ำมันมากถึง 20-30 % และมีแนวโน้มในการผลิตน้ำมันได้มากกว่าปาล์มเกือบเท่าตัวแต่ก็ยังจัดว่าเป็นเทคโนโลยีที่มีราคาสูงอยู่มาก ดังนั้นสิ่งที่พวกเรานักวิจัยต้องทำต่อไปคือการศึกษาหาเทคโนโลยีตั้งแต่กระบวนการคัดเลือกสายพันธุ์ การเพาะเลี้ยงสาหร่าย การเก็บเกี่ยว ไปจนถึงกระบวนการผลิตจนได้น้ำมันออกมาในงบประมาณที่คุ้มค่ากับการลงทุน” รศ.บุษยา กล่าว
          นอกจากนี้ มจธ. ยังได้เป็นหนึ่งในหน่วยงานที่เข้าร่วมกลุ่ม “ THINK ALGAE ” ในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับสาหร่ายผลิตน้ำมันกับสถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท. และยังมีอีกหลายหน่วยงาน อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย โดยมีเป้าหมายเพื่อการนำน้ำมันไบโอดีเซลจากสาหร่ายออกสู่อุตสาหกรรมให้สำเร็จในปี 2020 เพื่อบรรเทาปัญหาทรัพยากรพลังงานและสิ่งแวดล้อมในอนาคต
 
 

ข่าวและสิ่งแวดล้อม+แห่งประเทศไทยวันนี้

วว. จับมือพันธมิตรขับเคลื่อนโครงการนวัตกรรมผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงเพื่อแก้ปัญหา PM 2.5 ในพื้นที่ภาคเหนืออย่างยั่งยืน

ดร.พัชทรา มณีสินธุ์ รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านพัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วย ดร.เรวดี อนุวัฒนา รักษาการผู้อำนวยการ ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมวัสดุและทีมวิจัย ร่วมประชุมกับ นายชรินทร์ ทองสุข ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย และนายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานจังหวัดเชียงราย ได้แก่ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เกษตร

วันนี้ (4 มิถุนายน 2568) นายจตุพร บุรุษพั... ปลัดฯ จตุพร นำทีมบอร์ด อ.อ.ป. ประชุมติดตามการดำเนินงานที่สำคัญ ครั้งที่ 3/2568 — วันนี้ (4 มิถุนายน 2568) นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติแ...

บริษัท พี.เอส.พี. สเปเชียลตี้ส์ จำกัด (มห... PSP ชูกลยุทธ์ ESG ขับเคลื่อนองค์กรสู่ความยั่งยืน ตั้งเป้า Net Zero ภายในปี 2593 — บริษัท พี.เอส.พี. สเปเชียลตี้ส์ จำกัด (มหาชน) หรือ PSP เปิดโรดแมป ESG 5 ...

เปิดแล้ว วันนี้....งาน "Thai Water Expo แ... เปิดแล้ว วันนี้....งาน "Thai Water Expo และ Water Forum 2025" — เปิดแล้ว วันนี้....งาน "Thai Water Expo และ Water Forum 2025" ได้รับเกียรติจาก นายปวิช เกศ...

จิบเครื่องดื่มถ้วยโปรดกับวิวสายฝนที่สุดแส... เที่ยวเชียงรายหน้าฝนสุดแสนโรแมนติกที่โรงแรมเฮอริเทจ เชียงราย โฮเทล แอนด์คอนเวนชั่น — จิบเครื่องดื่มถ้วยโปรดกับวิวสายฝนที่สุดแสนโรแมนติกในฤดูกาลแห่งสีเขียว...