สสค.ย้ำงานวิจัยมาจากเสียงสะท้อนของครู-เป็นไปตามหลักวิชาการ ชี้ควรใช้ผลศึกษาให้เป็นประโยชน์ปรับปรุงหน่วยงานให้ดีขึ้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์การศึกษา สสค. ให้สัมภาษณ์ถึงผลสำรวจกิจกรรมภายนอกชั้นเรียนที่กระทบต่อการจัดการเรียนการสอนของครูว่า ผลสำรวจของสสค.มาจากเสียงสะท้อนของครูและเป็นไปตามหลักวิชาการ โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างครูสอนดี 427 คน จากประชากรครูสอนดี 18,000 คนทั่วประเทศ ซึ่งมีความอาวุโสมากกว่าครูทั่วไปเล็กน้อยแต่มีการกระจายตัวอยู่ทุกตำบลและมีความแม่นยำ เพราะมีฐานข้อมูลและตัวตนครูที่แน่นอน สิ่งที่ค้นพบก็ไม่ได้มุ่งหวังเจาะจงหรือศึกษาเฉพาะหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง และใช้วิธีสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ซึ่งเป็นวิธีที่เพิ่มความแม่นยำ เพราะมีการสอบถามความเข้าใจจากครูโดยตรง ทำให้สามารถพูดคุยกับครูได้อย่างละเอียด โดยมีครูตอบกลับเกือบ 100%
          ดร.ไกรยส กล่าวว่า กรณีของสมศ.ก็มาจากปากคำของครู โดยพบว่า ในจำนวนครู 427 คน มีครูที่ไม่ถูกประเมินจากสมศ.อยู่ 120 คน คิดเป็น 28% ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่ใกล้เคียงกับการประเมินของสมศ.ที่เข้ามาประเมินโรงเรียนเฉลี่ยปีละ 20% เพราะสมศ.ประกาศว่าจะมีการประเมินโรงเรียนครบ 100% ใน 5 ปี ส่วนเวลา 9 วันคือเวลาเฉลี่ยที่ครูใช้ไปกับการประเมินของสมศ.ในเวลา 1 ปีจึงมีทั้งครูที่ถูกประเมินและไม่ถูกประเมิน ซึ่งการใช้เวลาของครูก็ไม่ได้นับเฉพาะวันที่หน่วยงานนั้นเข้ามาประเมิน แต่นับรวมวันที่ครูต้องใช้เวลาเตรียมเอกสารและการเตรียมการล่วงหน้าเพื่อรองรับการประเมิน ซึ่งพบว่ามีครูที่ตอบว่าใช้เวลา 3 วันอยู่ 93 คน หรือครูบางคนต้องใช้เวลาเตรียมงานตั้งแต่ 30 วันขึ้นไปอยู่ 63 คน ทั้งหมดนี้เป็นการทำงานวิจัยตามหลักวิชาการ และเป็นครั้งแรกที่สะท้อนปากเสียงจากครูเพื่อหวังให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำข้อมูลไปปรับปรุงให้ดีขึ้น ทั้งนี้สสค.ยินดีที่จะชี้แจงข้อมูลงานวิจัย แต่ที่ผ่านมาไม่ได้รับจดหมายเชิญร่วมงานแถลงข่าวจากสมศ.แต่อย่างใด
          นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า หากมองแบบเป็นกลางจะพบว่าทั้งข้อมูลการวิจัยของสสค. และประเด็นที่สมศ.ยกขึ้นมาชี้แจงนั้นไม่ใช่ตัวเลขจริงทั้งหมด แต่เป็นตัวเลขการสำรวจครูบางกลุ่ม ฉะนั้นต้องยอมรับว่า ไม่มีงานวิจัยใดที่สมบูรณ์จึงไม่ควรเสียเวลาเรื่องวันที่ใช้มากน้อยเพียงใด แต่สิ่งสำคัญคือ ความรู้สึกกังวลใจ และความทุกข์ของครูที่เกิดขึ้นจริงผ่านกระบวนการประเมิน สิ่งที่ควรทำคือ การช่วยกันทบทวนการประเมิน เรื่องตัวชี้วัดต่างๆว่ามีคุณภาพเพียงพอ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างมีคุณภาพได้ และไม่เป็นภาระให้ครูน่าจะเป็นทางออกร่วมกันที่สมศ.และทุกฝ่ายที่เข้าไปทำกิจกรรมกับครู


ข่าวไกรยส ภัทราวาท+เศรษฐศาสตร์วันนี้

"อุปสรรคคือความรู้และเป็นครูให้กับเรา" ออม-สุเมธชัย อินทกรณ์ กับแบรนด์ Siam ปลากระป๋องและน้ำผึ้งสัญชาติไทย

ท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจที่ยังดูไร้ทิศทางของไทยในขณะนี้ ผู้คนจึงรัดเข็มขัดประหยัดเงินในกระเป๋ามากขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจต่างๆ เริ่มซบเซาจนอาจล้มระเนระนาดดังโดมิโนในไม่ช้า อันที่จริงตามหลักเศรษฐศาสตร์ ถ้าคนรัดเข็มขัดกันมากเกินไป ก็จะทำให้ไม่มีกระแสเงินเข้ามาหมุนเวียนในตลาดเลย นี่ต่างหากจะยิ่งทำให้เศรษฐกิจเลวร้ายลง ดังนั้นคนเราจึงไม่ควรประหยัดมากเกินไป ขณะเดียวกันก็อย่าใช้เงินเกินพอดี หรือที่เรียกว่า "สมฐานะ" นั่นเอง และถ้าใครที่มีรายได้ค่อนข้างน้อย ก็อาจเลือกกินอาหารที่ราคาย่อมเยา แต่มีคุณภาพ

ลดข้อจำกัดงบและหนี้สาธารณะผ่านโครงการ PPP ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ผ่อนคลายกฎระเบียบลดต้นทุนธุรกิจ แก้ปัญหาจีนเทาและการสวมสิทธิส่งออก

รศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ อดีตกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง กล่าวว่า ประเทศ...

สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์กา... OKMD ลงนามบันทึกข้อตกลง กสศ. พัฒนาศักยภาพ ลดความเลื่อมล้ำด้านการศึกษา — สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) หรือ OKMD โดย ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร(...

ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะก... อาชีวะ จับมือ กสศ. ผนึกกำลังวางแผนลดความเลื่อมล้ำ ตอบสนองความต้องการกำลังคนอาชีวศึกษา — ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ให้กา...

บริษัท เงินติดล้อ จำกัด โดย นายปิยะศักดิ์... ภาพข่าว : เงินติดล้อ จับมือ CVC หนึ่งในผู้ถือหุ้นหลัก สนับสนุนโครงการสู้วิกฤตให้น้องอิ่ม — บริษัท เงินติดล้อ จำกัด โดย นายปิยะศักดิ์ อุกฤษฎ์นุกูล กรรมการผ...