คณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2555 มอบหมายให้ กระทรวงอุตสาหกรรมโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กำหนดแนวทางให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมยานยนต์และผู้นำเข้าต้องติดป้ายแสดงการประหยัดพลังงานและปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ควบคู่ไปกับการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ใหม่ทั้งระบบ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2559 เพื่อความโปร่งใสและเป็นธรรม ในการแจ้งชำระภาษีและการให้ข้อเท็จจริงของรถยนต์ต่อประชาชน
นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า “ป้ายข้อมูลรถยนต์ (Eco Sticker) ซึ่ง ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้กล่าวถึงในงาน Motor Expo เมื่อปลายปีที่ผ่านมา เป็นกลไกที่ประเทศอุตสาหกรรมยานยนต์ชั้นนำเกือบทุกประเทศ นำมาใช้ในการให้ข้อเท็จจริงเชิงเปรียบเทียบของรถยนต์เพื่อประกอบการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค รวมทั้งเพื่อส่งเสริมการประหยัดพลังงาน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย” ทั้งนี้ ในช่วงกว่า 2 ปี ที่ผ่านมา สำนักงานฯ ได้หารือร่วมกับผู้ผลิตรถยนต์ และได้จัดเตรียมระบบงานเพื่อรองรับมติ ครม. 18 ธันวาคม 2555 ที่ให้ ‘กระทรวงอุตสาหกรรม กำหนดแนวทางให้ ผู้ประกอบอุตสาหกรรมยานยนต์และผู้นำเข้าต้องติดป้ายแสดงการประหยัดพลังงานและปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์’ โดย สำนักงานฯ ได้ร่วมกับ บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และกลุ่มบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ ในการออกแบบและสร้างขึ้นเป็นระบบ Cloud Based Application อย่างสมบูรณ์แบบ เพื่อนำมาใช้แทนระบบการยื่นเอกสารและการติดต่อราชการแบบเดิม
การจัดสัมมนา เรื่อง ระบบป้ายแสดงข้อมูลรถยนต์เพื่อรองรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตใหม่ โดยมีท่านปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธาน เมื่อวันอังคารที่ 13 มกราคม 2558ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจในการใช้งานของระบบ Cloud Based Application ของ Eco Sticker และเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้ผลิตรถยนต์ในการเข้าใช้งานระบบ โดยงานสัมมนาดังกล่าว มีผู้แทนจากบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ทุกรายเข้าร่วมด้วย รวมทั้งสิ้นประมาณ 150 ท่าน และสำนักงานฯ ยังได้จัดเตรียมการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการแบบลงรายละเอียดเป็นกลุ่มย่อยรายบริษัท ในช่วงวันที่ 21-27 มกราคมนี้ เพื่อให้ผู้ประกอบการได้ทดลองระบบและทำความคุ้นเคยกับระบบนี้ ก่อนการใช้งานจริง”
การริเริ่มระบบ Eco Sticker ในประเทศไทย ร่วมกับการเริ่มใช้โครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ใหม่ ที่มีการเปลี่ยนหลักเกณฑ์การให้สิทธิลดหย่อนอัตราภาษีจาก รถยนต์ที่มีขนาด “ซี.ซี.ต่ำ-แรงม้าน้อย” มาเป็นรถยนต์ที่มี “ความสะอาด-ประหยัด-ปลอดภัย” โดยจะมีผลในวันที่ 1 มกราคม 2559 ถือเป็นพลวัตทางนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ที่สำคัญ ที่นอกจากจะแก้ไขปัญหาการบิดเบือนโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ เพื่อสร้างความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีรถยนต์ และเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ให้สอดคล้องกับทิศทาง การพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์โลกแล้ว ยังช่วยส่งเสริมให้รถยนต์ที่จำหน่ายในประเทศไทยมีอัตราการประหยัดพลังงานที่ดีขึ้น มีสมรรถนะด้านความปลอดภัยที่ดีขึ้น และปล่อยมลพิษลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยผู้บริโภคสามารถรับทราบและเปรียบเทียบข้อมูลคุณสมบัติของรถยนต์เหล่านี้ได้จาก Eco Sticker นี้ เพื่อประกอบการตัดสินใจซื้อรถยนต์
ข้อมูลที่จะแสดงบน Eco Sticker ของรถยนต์แต่ละคัน จะประกอบด้วย อัตราการใช้เชื้อเพลิงอ้างอิงเปรียบเทียบ และอัตราการปล่อยก๊าซ CO2 ที่วัดตามมาตรฐานสากล (ของ United Nation) UN ECE Reg.101 มาตรฐานความปลอดภัยของระบบเบรก ที่วัดตามมาตรฐานสากล UN ECE Reg.13H มาตรฐานความปลอดภัยผู้โดยสารในกรณีที่เกิดการชนด้านหน้าและด้านข้าง ที่วัดตามมาตรฐานสากล UN ECE Reg.94 และ 95 รวมถึงข้อมูลพื้นฐานของรถยนต์แต่ละคัน
นายอุดมฯ กล่าวต่อว่า “ปัจจุบันระบบ Eco Sticker มีใช้อยู่อย่างแพร่หลายในประเทศอุตสาหกรรมยานยนต์ชั้นนำทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น กลุ่มสหภาพยุโรป ออสเตรเลีย ซาอุดิอาระเบีย แอฟริกาใต้ บราซิล อินเดีย จีน และอีกหลายประเทศ ซึ่งจะรวมถึงประเทศไทยในอนาคตอันใกล้นี้”
สศอ. สรุปผลสำเร็จ FTA รอบ 10 ปี เพิ่มขึ้นแต่ยังไม่น่าพอใจ หันให้ความสนใจระดับภูมิภาคมากกว่า ทวิภาคี เผยไทยยังใช้สิทธิประโยชน์ FTA ไม่เต็มที่ ทั้งภาคส่งออกและนำเข้า ย้ำต้องผลักดันให้ไปสู่ความเป็น Trading Nation ให้ได้ เตือนให้เฝ้าจับตา FTA สหรัฐ และ EU ทวิภาคีใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า เนื่องในโอกาสที่การจัดทำ FTA หรือข้อตกลงการค้าเสรีของไทยที่ทำกับประเทศต่างๆ ครบรอบ 10 ปีในปีนี้ หากมองย้อนถึงความสำ
สศอ.ชี้ทิศทางอุตสาหกรรมไทยปี 2558 โต 3%
—
สศอ. ชี้ทิศทางอุตสาหกรรมไทย ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ( GDP) ของภาคอุตสาหกรรมปีนี้ ยังคงอัตราการเติบโตใน...
สศอ.ชี้แนวทางลงทุนในอุตสาหกรรมแรงงานเข้มข้น ขยายฐานการผลิตแฟชั่นไปต่างแดน
—
สศอ. เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาอุตสาหกรรมแฟชั่นใช้แรงงานเข้มข้นในฐานการผลิตต่างแดน เ...