สังเกตตัวเอง...เลี่ยงหลอดเลือดสมองตีบ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          คนใกล้ตัวอาจต้องช่วยอีกแรงเมื่อพบความผิดปกติเช่นแขนขาอ่อนแรงคอแข็งพูดไม่รู้เรื่องต้องเร่งนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วเพื่อตัดโอกาสอัมพฤกษ์อัมพาตการรักษาด้วยเวลาที่รวดเร็วบวกกับการตรวจวินิจฉัยและรักษาที่มีประสิทธิภาพจะช่วยผู้ป่วยให้กลับมาเหมือนเดิมได้ดีที่สุด
          เปิดเผยถึงอันตรายจากภาวะหลอดเลือดสมองตีบซึ่งตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยต้องเผชิญกับการเป็นอัมพฤกษ์ - อัมพาตเพราะรักษาไม่ทัน ซึ่งผู้ใกล้ชิดเท่านั้นที่จะมีโอกาสสังเกตเห็นอาการของผู้ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ อาทิ ผู้ป่วยมีอาการแขนขาอ่อนแรง คอแข็ง พูดไม่ออก ฟังไม่เข้าใจ พูดคุยไม่รู้เรื่อง โดยที่บางรายอาจเกิดอาการในช่วงที่ไม่มีคนใกล้ชิดอยู่ด้วย หรือเกิดขึ้นขณะที่เป็นเวลาพักผ่อนทำให้แพทย์ระบุเวลาที่เกิดอาการได้ยาก ส่งผลให้ผู้ป่วยบางรายในกลุ่มนี้อาจต้องสูญเสียโอกาสในการรักษาไป
ยังนับว่าเป็นโชคดีที่วิวัฒนาการก้าวหน้าทางการแพทย์ในปัจจุบันได้ช่วยให้แพทย์มีเครื่องมือที่สามารถตรวจสอบได้ว่าสมองของผู้ป่วย มีการขาดเลือดไปเลี้ยงนานเพียงใด ส่งผลให้การวินิจฉัยอาการเป็นไปอย่างแม่นยำและรักษาได้ทันท่วงทีมากขึ้น โดยที่เครื่องมือดังกล่าวจะมีซอฟแวร์พิเศษที่ช่วยให้แพทย์มองเห็นบริเวณที่สมองขาดเลือดแล้วจึงนำผู้ป่วยไปเข้าตรวจเพิ่มเติมด้วยการฉีดสีหลอดเลือดสมอง ซึ่งให้ผลการตรวจเป็นภาพ 2 มิติ และ 3 มิติสามารถหมุนดูได้ 360 องศาและเห็นลักษณะของหลอดเลือดได้ทุกมุม จึงช่วยให้การวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยในขั้นตอนต่อไปเปี่ยมด้วยประสิทธิภาพมากขึ้น
          การรักษาภาวะหลอดเลือดส่วนปลายตีบในอดีตอาจทำได้เพียงวินิจฉัยจากบริเวณที่เส้นเลือดตาย หากโชคดีเส้นเลือดที่ตายเป็นเส้นเลือดเล็กก็จะส่งผลเพียงทำให้ผู้ป่วยกลายเป็นอัมพฤกษ์ชั่วคราว ซึ่งยังสามารถฟื้นตัวได้หากทำกายภาพบำบัดอย่างสม่ำเสมอแต่บางกรณีที่ผู้ป่วยโชคร้ายเพราะเกิดอาการขึ้นที่เส้นเลือดใหญ ่ก็ต้องเผชิญกับภาวะอัมพาตอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงและอาจช่วยได้โดยเพียงรักษาตามอาการซึ่งไม่ได้แก้ปัญหาเรื่องเส้นเลือดอุดตัน
          ปัจจุบันแพทย์สามารถพิจารณาการรักษาที่ต้นเหตุของปัญหาคือการอุดตันของเส้นเลือดด้วยการให้ยาละลายลิ่มเลือดในบริเวณที่ตันโดยตรงหรือรักษาโดยการใส่สายสวนร่วมกับการใช้บอลลูนขยายหลอดเลือดแต่มีข้อจำกัดว่าผู้ป่วยต้องมาถึงมือแพทย์ภายใน 8 ชั่วโมง เพราะหากช้ากว่านี้สมองของผู้ป่วยอาจตายไปแล้วทำให้ประสิทธิภาพในการรักษาด้อยลง
          ด้วยเหตุนี้บุคคลใกล้ชิดจึงถือว่ามีความสำคัญต่อผู้ป่วยภาวะหลอดเลือดสมองตีบอย่างมากเพราะมีโอกาสสังเกตเห็นอาการผิดปกติของผู้ป่วยได้ก่อนใครซึ่งหากรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยเร็วจะช่วยเพิ่มโอกาสช่วยเหลือหรือรักษาผู้ป่วยได้มาก วิธีสังเกตง่ายๆ คือหากพบว่าคนใกล้ชิดมีการอ่อนแรงเฉียบพลัน หรือมีอาการเปลี่ยนแปลงไม่ว่ากรณีใดๆ ควรรีบนำส่งแพทย์เป็นดีที่สุดเพราะหากได้รับการรักษาอย่างถูกที่ถูกเวลาแล้วโอกาสที่ผู้ป่วยจะหายและกลับสู่สภาพปกติก็จะเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย

สายด่วนสุขภาพโทร 0-2743-9999
www.ram-hosp.co.th
www.facebook.com/ramhospital

สังเกตตัวเอง...เลี่ยงหลอดเลือดสมองตีบ

ข่าวโรงพยาบาลรามคำแหง+โรคหลอดเลือดสมองวันนี้

สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมองตีบ

โรคหลอดเลือดสมองเกิดจากเลือดไปเลี้ยงเนื้อสมองไม่ได้ จากการตีบตันหรือแตกของหลอดเลือด หากปล่อยไว้นานเกินไปเนื้อสมองเสียหายถาวร ก็จะตามมาด้วยการเป็นอัมพาตหรือสูญเสียการทำงานบางอย่างของร่างกายไป เช่น การพูดอย่าละเลยสัญญาณเตือนจากอาการที่อาจมาจากโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อที่เราจะได้รักษาอย่างทันท่วงที อ่านเพิ่มเติมเรื่อง "สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมองและวิธีการรักษา" คลิก https://goo.gl/oV88QZสายด่วนสุขภาพโทร 0-2743

AF มีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดสมอง…3 เท่า โรค... อันตรายจาก หัวใจเต้นผิดจังหวะ — AF มีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดสมอง…3 เท่า โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะมีอาการแสดงตั้งแต่ไม่มีอาการ หรือมีใจสั่นเล็กน้อยไปจนถึง...

43% ที่ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจะกลายเป็นโ... โรคหลอดเลือดสมองกับโรคซึมเศร้า เกี่ยวกันได้อย่างไร — 43% ที่ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจะกลายเป็นโรคซึมเศร้า นั่นเพราะผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมอง ที่อยู่ในอากา...

โรคสมองขาดเลือดชั่วคราวคืออาการที่สมองขาด... สมองขาดเลือดชั่วคราว เป็นแล้วหายเองได้ ปล่อยไว้อันตรายมาเยือน — โรคสมองขาดเลือดชั่วคราวคืออาการที่สมองขาดเลือดมาเลี้ยงชั่วคราว ผู้เป็นโรคนี้มักจะมีอาการ แ...

ดร. ฤกขจี กาญจนพิทักษ์ CEO กลุ่มบริษัท โร... ดร.ฤกขจี กาญจนพิทักษ์ ได้รับรางวัล Best Women CEO in Strategic Leadership - Healthcare — ดร. ฤกขจี กาญจนพิทักษ์ CEO กลุ่มบริษัท โรงพยาบาลรามคำแหงและบริษัท...

สภากาชาดไทย ร่วมกับ โรงพยาบาลรามคำแหง เชิ... สภากาชาดไทย ร่วมกับ โรงพยาบาลรามคำแหง เชิญร่วมบริจาคโลหิต ครั้งที่ 53 — สภากาชาดไทย ร่วมกับ โรงพยาบาลรามคำแหง เชิญร่วมบริจาคโลหิต ครั้งที่ 53 วันอังคารที่...

เพราะสุขภาพไตดี..เท่ากับสุขภาพดี มาดูแลไต... World Kidney Day 2025 ชวนกันมาฟังเรื่องไต! "ดูแลไตอย่างไรให้แข็งแรง" — เพราะสุขภาพไตดี..เท่ากับสุขภาพดี มาดูแลไตให้แข็งแรงกันเถอะ โรงพยาบาลรามคำแหงขอเชิญช...

อบรมครรภ์คุณภาพ 2025 "Healthy Moms and Ba... อบรมครรภ์คุณภาพ 2025 "Healthy Moms and Babies" สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ 1-6 เดือน — อบรมครรภ์คุณภาพ 2025 "Healthy Moms and Babies" สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ 1-6 ...

สภากาชาดไทย ร่วมกับ โรงพยาบาลรามคำแหง เชิ... สภากาชาดไทย ร่วมกับ โรงพยาบาลรามคำแหง เชิญร่วมบริจาคโลหิต ครั้งที่ 52 — สภากาชาดไทย ร่วมกับ โรงพยาบาลรามคำแหง เชิญร่วมบริจาคโลหิต ครั้งที่ 52 วันจันทร์ที่...