พิธีลงนามความร่วมมือโครงการสร้างโรงผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์

09 Jul 2015
พิธีลงนามความร่วมมือโครงการสร้างโรงผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ระหว่าง Thai Appliance Industry Plc. , Pacific Star( China Holding ) Pte Ltd.และ Asiatic Group (Holding )Ltd. โดยการสนับสนุนจากกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ และโทรคมนาคม ของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

รายชื่อผู้บริหารร่วมลงนามความร่วมมือได้แก่

1.Mr. Paul JH Leong ตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท Pacific Star (China Holding) Pte Ltd.

2.Mr. Tan Boon Kheng ตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท Asiatic Group (Holdings) Ltd

3.นายพลศักดิ์ เลิศพุฒิภิญโญ ตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทย แอพพลายแอนซ์ อินดัสตรี้ จำกัด (มหาชน)

ผู้เข้าร่วมงาน ได้แก่ นายวิษณุ ลิ่มวิบูลย์ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าฯ , ดร.ขัติยา ไกรกาญจน์ ประธานกิตติมศักดิ์กลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าฯ กรรมการบริษัทและ ผู้ถือหุ้นบมจ. Thaico และสมาชิกกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าฯ

นายพลศักดิ์ เลิศพุฒิภิญโญ กรรมการผู้จัดการบริษัทไทย แอพพลายแอนซ์ อินดัสตรี้ จำกัด (มหาชน) หรือ " ไทยโก้ "ชื่อภาษาอังกฤษ Thai Appliance Industry Public Company Limited ชือย่อ" Thaico "กล่าวแถลงว่า

บมจ.ไทยโก้ เกิดจากการรวมตัวของสมาชิกในกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม ของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มุงเน้นการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์สู่ความเป็นเลิศด้านคุณภาพ เพื่อคนไทยภายใต้ตราสินค้าไทย " Thaico "โดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อรังสรรค์โอกาสใหม่ๆทางธุรกิจผ่านสมาชิกในกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ฯภายในประเทศ

เรามองเห็นความสำคัญของการร่วมลงทุนจากต่างประเทศ และความจำเป็นระยะยาวทางพลังงานโดยการพัฒนาพลังงานทดแทน เพื่อเป็นการสร้างความมั่นคงในระยะยาวตามแผนธุรกิจของบริษัทฯ เมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมาโดยมติเอกฉันท์จากคณะกรรมการบมจ.Thaico อนุมัติให้ลงทุนในโครงการก่อสร้างโรงผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ตามประกาศราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 13 มีนาคม 2558 เรื่องระเบียบคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ว่าด้วยการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินสำหรับหน่วยราชการและสหกรณ์ภาคการเกษตร ซึ่งมีระยะเวลาของโครงการ 25 ปี

โครงการนี้ได้รับความร่วมมือในการลงทุนจากต่างประเทศ โดยการสนันสนุนจากกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ และโทรคมนาคม ของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเรื่องการหาแหล่งการลงทุนจากต่างประเทศ ที่ได้ร่วมมือกับ PK International โดย คุณพรหมวิทย์ คล้ามไพบูลย์ ทำให้เกิดการร่วมมือลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment " FDI ")ในโครงการการลงทุนก่อสร้างโรงผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เพี่อหน่วยราชการและสหกรณ์ภาคการเกษตร

ลักษณะของโครงการความร่วมมือนี้ จะเป็นการร่วมลงทุนในบริษัทที่ก่อตั้งใหม่ภายใต้ชื่อว่า บริษัท ไทยโก้ เอนเนอร์จี จำกัด "Thaico Energy Company Limitedหรือ "TEC"ซึ่งมีสัดส่วนการลงทุนถือหุ้นดังนี้คือบริษัท ไทย แอพพลายแอนซ์ อินดัสตรี้ จำกัด (มหาชน)และบริษัทในเครือ ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 60 ส่วนบริษัท Pacific Star(China Holding )Pte Ltd และ Partners รวมถึง Asiatic Group (Holding ) Ltd. ผู้จะเป็นผู้ลงทุนโครงการทั้งหมด จะได้รับการถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 40 มีวัตถุประสงค์หลักที่จะดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกับด้านพลังงานทดแทน โดยจะเริ่มต้นที่โครงการก่อสร้างโรงผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับหน่วยราชการและสหกรณ์ภาคการเกษตร ขนาดกำลังผลิตไม่เกืน5 เมกกะวัตต์(MWp )

ในระยะแรกของโครงการ จะเริ่มก่อสร้างโรงผลิตไฟฟ้าจำนวน 10 แห่งซึ่งจะต้องใช้เงินลงทุนแห่งละประมาณ 300 ล้านบาท รวมเป็นกำลังการผลิตไฟฟ้าฯทั้งโครงการขนาดประมาณ 50 เมกกะวัตต์ ใช้เงินลงทุนตลอดโครงการประมาณ 3,000 ล้านบาท ซึ่งใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างแต่ละแห่งประมาณ 4-6 เดือน ตลอดโครงการประมาณ 1 ปี

สรุปย่อตามประกาศราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 13 มีนาคม 2558 ระเบียบคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ว่าด้วยการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินสำหรับหน่วยราชการและสหกรณ์ภาคการเกษตร โครงการนี้เป็นโครงการสร้างโรงผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก(VSPP )มีขนาดกำลังผลิตติดตั้งไม่เกิน 5 เมกะวัตต์ (MWp) รวมกำลังการผลิตไฟฟ้าเต็มตามเป้าหมายของโครงการในประกาศราชกิจจานุเบกษา จำนวน 800 MWp

เจ้าของโครงการฯ คือหน่วยราชการหรือสหกรณ์ภาคการการเกษตร ส่วนผู้สนับสนุนโครงการจะเป็นนักลงทุนที่เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดหรือ บริษัทมหาชนจำกัด โดยมีอัตรารับซื้อไฟฟ้าจาก การไฟฟ้าฯด้วยระบบ Feed-in Tariff ที่ราคา 5.66 บาทต่อหน่วย สำหรับส่วนที่ไม่เกิน Capacity Factor ร้อยละ 16 และที่ราคาอัตราขายส่งเฉลี่ยของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ สำหรับส่วนที่เกิน Capacity Factor ร้อยละ 16 และเปิดโอกาสให้ภาคธุรกิจเอกชนเข้าร่วมลงทุนในการพัฒนาธุรกิจด้านพลังงานทดแทนให้เติบโตและเพิ่มความความมั่นคงและยั่งยืนด้านพลังงานของประเทศ ตลอดจนเป็นการสร้างงานและรายได้ให้แก่ชุมชนและท้องถิ่นในระยะยาวสอดคล้องกับนโยบายภาครัฐในขณะนี้