สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 11 อุบลราชธานี ร่วมบูรณาการขับเคลื่อนเมืองเกษตรสีเขียวจังหวัดหวัดศรีสะเกษ ด้วยวิสัยทัศน์ “ต้นแบบเมืองเกษตรสีเขียว มีฐานการผลิตด้านการเกษตรที่ปลอดภัยได้มาตรฐาน ด้วยวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นใส่ใจสิ่งแวดล้อมคุณภาพชีวิตและการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนภายในปี 2561”
นายไพฑูรย์ สีลาพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 11 อุบลราชธานี (สศก. 11) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการเมืองเกษตรสีเขียวระดับจังหวัด ณ ห้องประชุม ชั้น 1 อาคารส่งเสริมเกษตรอินทีย์วิถีศรีสะเกษ สำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ ตามโครงการเมืองเกษตรสีเขียว ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ได้ริเริ่มและกำหนดให้เป็นโครงการสำคัญ โดยได้คัดเลือกพื้นที่เป้าหมายจังหวัดที่มีความเชื่อมโยงกับ AEC อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความโดดเด่นในการผลิตสินค้าเกษตรเป็นที่ยอมรับ มีจังหวัดเป้าหมายในภูมิภาคต่างๆ 6 จังหวัด คือ ศรีสะเกษ เชียงใหม่ หนองคาย จันทบุรี ราชบุรี และพัทลุง ดำเนินการใช้กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสอดคล้องกับวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยที่เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดี ประชาชนมีความมั่นคงด้านอาหาร และมีรายได้เพิ่มจากการผลิตสินค้าเกษตร
จังหวัดศรีสะเกษ เป็นจังหวัดที่โดดเด่นในเรื่องการเกษตรผสมผสาน โดยมีพื้นที่การเกษตร 4.07 ล้านไร่ มีสินค้าเกษตรหลักที่สำคัญ เช่น ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา พริก หอมแดง และทุเรียน ซึ่งสามารถพัฒนาเมืองเกษตรสีเขียว ประกอบด้วย กิจกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ มีการพัฒนาปรับปรุงบำรุงดิน การส่งเสริมการใช้สารเคมีและปุ๋ยที่ถูกต้อง การฝึกอบรมเกษตรกรให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง เกษตรที่ดีและเหมาะสม (GAP) ร้านค้าสินค้าเกษตรปลอดภัย (Q shop) การสร้างตลาดสินค้าเกษตร การส่งเสริมงานวิจัยท้องถิ่นเป็นต้น การผลิตและแปรรูปอุตสาหกรรมเกษตรในพื้นที่มีการใช้เทคโนโลยีสะอาดในการผลิตสู่เศรษฐกิจการเกษตรสีเขียว (Green and Cool Agricultural Economy) ส่งเสริมและพัฒนาให้เกษตรกรผลิตสินค้าเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว เชิงเกษตรเชื่อมโยงกับจังหวัดใกล้เคียงต่างๆ ได้
ในการนี้ สศก.11 ได้ร่วมพิจารณาแผนปฏิบัติการร่วมเมืองเกษตรสีเขียว (พ.ศ. 2558-2561) ของจังหวัด ศรีสะเกษ พร้อมด้วยหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์ จังหวัดศรีสะเกษ คือ “ต้นแบบเมืองเกษตรสีเขียว มีฐานการผลิตด้านการเกษตรที่ปลอดภัยได้มาตรฐาน ด้วยวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นใส่ใจสิ่งแวดล้อมคุณภาพชีวิตและการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนภายในปี 2561” ซึ่งคาดว่าจะทำให้การกำหนดทิศทางในการพัฒนาโครงการเมืองเกษตรสีเขียวของจังหวัดศรีสะเกษ เป็นไปอย่างมีส่วนร่วม เกิดความมั่นคงและยั่งยืน และผลักดันการขับเคลื่อนตามแผนปฏิบัติการร่วมเมืองเกษตรสีเขียวจังหวัดสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ต่อไป
นายนพดล ศรีพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 4 ขอนแก่น (สศท.4) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงการติดตามการดำเนินงานของกลุ่มแปลงใหญ่วิสาหกิจชุมชนกลุ่มมะม่วงส่งออกหนองแซง หมู่ที่ 9 ตำบลสำราญ อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ นับเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพการผลิตและแปรรูปมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง เพื่อการส่งออกสู่ตลาดต่างประเทศ ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP ได้รับการรับรองมาตรฐานแหล่งแปรรูปตามมาตรฐาน GMP และได้รับมาตรฐาน อย. ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขเพื่อสร้างความมั่น
กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง จ.พิษณุโลก สินค้าเกษตรที่มีศักยภาพ ทดแทนการผลิตข้าวนาปีในพื้นที่ไม่เหมาะสม สร้างรายได้เกษตรกร
—
นางธัญญ์พิชชา เถระรัชชานนท์ ผู้อำนวยกา...
สศท. 7 เผยผลศึกษาการบริหารจัดการ "ฟางข้าว" ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคกลาง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
—
นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 ช...
'ปลานิล' สินค้าเกษตรทางเลือก จ.นครราชสีมา เสริมรายได้เกษตรกร แนะแปรรูปเพิ่มมูลค่า
—
นางสุจารีย์ พิชา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 5 นครราชสีมา (...
"ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ" สินค้า GI เริ่มออกตลาดปลาย พ.ค. นี้ สศท.11 เชิญชวนเที่ยวงาน "เทศกาลทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ ปี 2565" 9 - 15 มิ.ย. นี้
—
นางประเทือง...
สศท.8 โชว์ "กลุ่มกาแฟบ้านถ้ำสิงห์" จ.ชุมพร แปรรูปกาแฟโรบัสต้า สร้างกำไรกลุ่มปีละ 21 ล้านบาท
—
นายนิกร แสงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 สุร...
'ลองกองวังขุม' แปลงใหญ่ จ.สุราษฎร์ธานี คุณภาพมาตรฐาน GAP รสชาติเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว สศท.8 เชิญชวนบริโภค ขณะนี้ออกตลาดแล้ว
—
นางพัชรารัตน์ ลิ้มศิริกุล ผู้...
ปีนี้อากาศดี ลำไยภาคเหนือติดดอกมาก ผลผลิตรวมกว่า 9.7 แสนตัน ออกตลาดมากสุด ส.ค. 64 สศท.1 เชิญชวนบริโภคลำไยคุณภาพ ช่วยเหลือเกษตรกร
—
นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำ...
กองทุน FTA หนุนเกษตรกรกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงโคเนื้อบ้านแสนแก้ว จ.ศรีสะเกษ สร้างรายได้ ยกระดับมาตรฐานการผลิตโคเนื้อ
—
นายนิกร แสงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงาน...
สศท.7 โชว์แปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะ ศกอ. จ.สุพรรณบุรี ดึงเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
—
นางสาวสมบัติ พุทธา รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจกา...