สจล. เผยแนวทาง พัฒนากรุงเทพฯ สู่เมืองสีเขียว รับ “วันสิ่งแวดล้อมโลก” พร้อมโชว์ 3 โมเดลสถาปัตย์ฯ เพื่อนักปั่น บอกลาอุบัติเหตุรายวัน

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เผยแนวทางการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเมืองอย่างยั่งยืน รับวันสิ่งแวดล้อมโลก พร้อมผุด 3 ไอเดียสถาปัตยกรรมเพื่อผู้ใช้จักรยานฝีมือนักศึกษา ได้แก่ ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้จักรยานสุวรรณภูมิ พื้นที่พัฒนาความรู้ผู้ใช้จักรยาน ผ่านการแสดงนิทรรศการ และการอบรม ศูนย์ผู้ใช้จักรยานกรุงเทพมหานคร ฮับใหม่ของนักปั่นจักรยาน จอดได้กว่า 2,700 คัน เชื่อมต่อทุกเส้นทางขนส่งสาธารณะ และสนามกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทย สนามกีฬาจักรยานไทยที่มีมาตรฐานทัดเทียมในระดับนานาชาติเพื่อรองรับกลุ่มผู้ใช้จักรยานที่มีศักยภาพในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กรุงเทพฯ พร้อมเสนอการพัฒนาระบบจักรยานที่ดีเพื่อรองรับความต้องการของผู้ใช้จักรยานผ่าน 3 ขั้นตอน ดังนี้ 
          1) การศึกษาปัญหา และความต้องการของผู้ใช้จักรยานอย่างแท้จริง 
          2) การจัดทำแผนแม่บทในการพัฒนาระบบจักรยาน 

          3) เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน 
          ทั้งนี้ ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ใช้จักรยานกว่า 2 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นผู้ใช้จักรยานในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ประมาณ 150,000 คน และเป็นผู้ใช้จักรยานเพื่อการเดินทางท่องเที่ยวประมาณ 260,000 คน และในอนาคตจำนวนผู้ใช้จักรยานน่าจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ดี สจล. ก็ได้มีการจัดกิจกรรม และโครงการวิจัยต่างๆ ที่ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกมากมาย อาทิ การพัฒนาต้นแบบอาคารประหยัดพลังงาน การวิจัยเครื่องรับขยะเพื่อการรีไซเคิลอัตโนมัติเพื่อการจัดการขยะชุมชนในประเทศไทย การพัฒนารถเข็นผลิตพลังงาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการเปิดทดสอบเส้นทางนำร่องรถเมล์ไฟฟ้า สจล. – แอร์พอร์ตลิงค์สถานีลาดกระบัง ซึ่งสอดคล้องภายใต้แนวคิด
 “รากฐานนวัตกรรมสร้างชาติ: The Nation of Innovation” ในการเป็นสถาบันการศึกษาเพื่อเป็นรากฐานในการพัฒนาประเทศไทย
          สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรุงเทพฯ หมายเลขโทรศัพท์ 02-329-8111 หรือเข้าไปที่ www.kmitl.ac.th 

          ดร.ประพัทธ์พงษ์ อุปลา อาจารย์ประจำกลุ่มวิชาการวางแผนภาคและเมือง สาขาวิชาสถาปัตยกรรมและการวางแผน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวว่า ปัจจุบันเทรนด์ของการรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นกระแสสังคมที่เกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ซึ่งสิ่งหนึ่งที่สะท้อนกระแสดังกล่าว คือการปั่นจักรยาน ไม่ว่าจะเป็นการใช้สำหรับการเดินทาง การท่องเที่ยว การออกกำลังกาย หรือในชีวิตประจำวัน จนกลายเป็นกิจกรรมที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป โดยการปั่นจักรยานนอกจากจะช่วยลดการใช้พลังงานน้ำมัน และมลพิษทางอากาศแล้ว ก็ยังช่วยเสริมสร้างให้ผู้ใช้จักรยานมีสุขภาพที่ดี ทั้งร่างกายและจิตใจ ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ใช้จักรยานกว่า 2 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นผู้ใช้จักรยานในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ประมาณ 150,000 คน และเป็นผู้ใช้จักรยานเพื่อการเดินทางท่องเที่ยวประมาณ 260,000 คน และในอนาคตจำนวนผู้ใช้จักรยานน่าจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่การพัฒนากรุงเทพฯให้เป็นเมืองสีเขียว นอกจากนี้การปั่นจักรยานก็ยังมีส่วนช่วยในการบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัดจากการใช้รถยนต์ และรถจักรยานยนต์ที่มีจำนวนกว่า 7 ล้านคันทั่วกรุงเทพฯเป็นการเพิ่มทางเลือกในการสัญจร การปั่นจักรยานไปทำงานประมาณ 
6.5 กิโลเมตรต่อวันยังจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง 900 กิโลกรัมต่อปี ซึ่งหากเราลองศึกษาเมืองหลวงที่มีความเป็นมิตรกับการขี่จักรยาน (Bicycle-Friendly) มากที่สุดในโลกอย่างกรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่ซึ่ง 40 เปอร์เซ็นต์ของการเดินทางในเมืองหลวงเป็นการเดินทางโดยใช้จักรยาน จะพบว่าภายในตัวเมืองอัมสเตอร์ดัมจะมีโครงข่ายเส้นทางจักรยาน สิ่งอำนวยความสะดวกในการจักรยาน และมีการสร้างที่จอดรถจักรยานขนาดใหญ่ในย่านสำคัญของเมือง และบริเวณสถานีรถไฟหลักของเมืองอีกด้วย หรืออย่างกรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ที่มีการทำถนนพื้นเรียบรองรับการเดินทางด้วยจักรยานเป็นระยะทางกว่า 1.2 ล้าน กิโลเมตรต่อวัน อีกทั้งยังมีวัฒนธรรมสนับสนุนให้ใช้รถจักรยานประจำเมือง ด้วยการอนุญาตให้มีการเช่ารถจักรยานสาธารณะได้ฟรี โดยผู้เช่าเสียเพียงค่ามัดจำเท่านั้น รวมไปถึงการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการสนับสนุนการใช้จักรยาน เช่น ไฟสะท้อนแสงบนผิวทาง ป้ายสัญญาณจราจร เครื่องนับจำนวนจักรยาน เป็นต้น ในขณะที่กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน และมีทางจักรยานอยู่รอบเมือง และมีฮับสำหรับให้เช่าจักรยานกว่า 110 แห่ง อำนวยความสะดวกแก่ประชาชน และนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี 
          ดร.ประพัทธ์พงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การจะพัฒนากรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองจักรยานได้นั้น จะต้องอาศัยความร่วมมือของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในการอบรม ให้ความรู้แก่ทั้งผู้ใช้จักรยานและผู้ใช้รถใช้ถนนในเรื่องของกฎจราจร และการใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัยตลอดจนพัฒนาสิ่งก่อสร้างที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้จักรยานอย่างตรงจุด อย่างไรก็ตาม การผลักดันกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองของผู้ใช้จักรยานได้นั้นจำเป็นจะต้องใช้เวลา และความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เนื่องจากในปัจจุบัน ประเทศไทยยังขาดการพัฒนาระบบจักรยานที่ดี สภาพพื้นผิวทางที่ไม่เหมาะสมในการขับขี่ จึงไม่สามารถรองรับความต้องการของผู้ใช้จักรยานได้ ในขณะที่ผู้ใช้จักรยานก็ขาดความเข้าใจและตระหนักถึง กฎระเบียบการใช้ท้องถนน และการขี่จักรยานให้ปลอดภัย ส่วนผู้ใช้รถใช้ถนนยังไม่เคยเปิดโอกาสและเปิดใจรับรู้ว่าจักรยานสามารถเป็นพาหนะหนึ่งที่สามารถใช้สัญจรในกรุงเทพฯ ได้
จนหลายครั้งก่อให้เกิดเป็นอุบัติเหตุที่เราเห็นได้ตามข่าวหนังสือพิมพ์รายวัน ทั้งนี้ สำหรับการเริ่มต้นพัฒนากรุงเทพฯ ไปสู่การเป็นเมืองจักรยานควรดำเนินการตาม 3 ขั้นตอนดังต่อไปนี้
          1. ศึกษาถึงปัญหา และความต้องการของผู้ใช้จักรยาน รวมไปถึงพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาระบบจักรยาน โดยเฉพาะในเขตชุมชนที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นสถานที่ที่มักจะมีคนใช้จักรยานในการดำเนินชีวิตประจำวันอยู่เป็นจำนวนมาก 
          2. จัดทำแผนแม่บทในการพัฒนาระบบจักรยานโดยเน้นความปลอดภัย ความสะดวกและความสบายในการใช้งาน โดยที่แผนแม่บทจะเป็นเหมือนแนวทางการพัฒนาระบบจักรยานที่เห็นเป็นโครงร่างชัดเจน ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการจัดลำดับความสำคัญของโครงการ ลดงบประมาณ และเวลาในการทำงานที่ซ้ำซ้อนของหน่วยงานต่างๆ ที่รับผิดชอบโครงการอันเกี่ยวเนื่องกัน 
          3. เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทั้งก่อน – ระหว่าง – หลัง จากการทำแผนแม่บท นำทุกความคิดเห็นมาปรับใช้ในการพัฒนาทุกขั้นตอน เพื่อให้ได้เมืองจักรยานที่ตอบโจทย์ความต้องการของคนส่วนใหญ่ให้ได้มากที่สุด 
          ด้าน นายจิรวรรธ รุ่งกิติโยธิน นักศึกษาสาขาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 5 เจ้าของผลงานศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้จักรยานสุวรรณภูมิ กล่าวว่า ในสังคมไทยปัจจุบัน การใช้จักรยานในชีวิตประจำวันมีความนิยมที่สูงมากขึ้นแต่สิ่งที่ตามมาหลังจากการที่มีจำนวนผู้ใช้จักรยานสูงมากขึ้น ก็คงจะเป็นเรื่องโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุระหว่างจักรยาน หรือปัญหาความไม่เข้าใจกันของผู้ใช้ยานพาหนะบนท้องถนนร่วมกัน อันจะก่อให้เกิดเป็นทัศนคติที่ไม่ดีต่อกันของผู้ใช้จักรยานกับผู้ใช้รถยนต์ ซึ่งปัญหาต่างๆเหล่านี้ควรได้รับการแก้ไข ด้วยการให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ที่ใช้จักรยาน และผู้ที่ไม่ได้ใช้จักรยาน ให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน โดยโครงการศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ จักรยานสุวรรณภูมิ มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ผ่านการให้ความรู้เชิงนิทรรศการ และการฝึกอบรม 3 รูปแบบคือให้ความรู้เชิงทฤษฎีที่เกี่ยวกับข้อดี และข้อเสียของจักรยาน บอกเล่าถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม แลกเปลี่ยนความรู้ ทัศนคติของผู้ปั่นและผู้ที่ไม่ได้ปั่นจักรยาน ในส่วนที่ 2 คือ ฝึกอบรมเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพกาย สำหรับผู้ใช้จักรยาน และในส่วนที่ 3 คือการจำลองเมืองปั่นจักรยานให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้สัมผัสถึงเหตุการณ์ต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นในได้ในชีวิตจริง เพื่อให้รับรู้ถึงปัญหา และวิธีการแก้ไขนอกจากนี้ก็ยังมีในส่วนของพื้นที่ให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่เดินทางมาใช้บริการของสนามปั่นจักรยานสุวรรณภูมิ เพื่อเป็นการส่งเสริม และเป็นพื้นที่พบปะแลกเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับการใช้จักรยานของผู้ใช้จักรยานในทุกๆ วัยได้เป็นอย่างดี
          นายปกรณ์พรรธน์ เจริญพันธ์ นักศึกษาสาขาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 5 เจ้าของผลงานศูนย์ผู้ใช้จักรยานกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ปัจจุบันกรุงเทพฯ และเมืองต่างๆ ยังขาดสิ่งอำนวยความสะดวกที่จะมารองรับความต้องการของผู้ใช้จักรยานที่มีแนวโน้มว่าจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ในขณะเดียวกันการคมนาคมของกรุงเทพฯ
ก็ยังมีช่องโหว่ของระบบอยู่มากพอสมควร โดยบางแห่งยังไม่มีการเชื่อมต่อที่ทั่วถึงกันของการขนส่งสาธารณะ รวมไปถึงการมีปัญหาการจราจรติดขัด จึงได้เกิดเป็นไอเดียในการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อเป็นจุดเชื่อมต่อการสัญจรระหว่างการใช้จักรยาน และการใช้ระบบคมนาคมขนส่งสาธารณะเข้าด้วยกัน ผ่านโครงการศูนย์ผู้ใช้จักรยานกรุงเทพมหานคร โดยมีแนวความคิดของโครงการที่เน้นความเป็นอาคารประเภท “PARK & RIDE” และ “URBAN SPACE” เป็นหลัก ซึ่งจะเกิดปฏิสัมพันธ์ต่อผู้คนที่เข้ามาใช้ ทั้งผู้ใช้จักรยาน และผู้คนทั่วไปที่เข้ามาใช้โครงการ และตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ทั้งสองประเภท มีพื้นที่ลานขนาดใหญ่กลางอาคารที่เป็นพื้นที่กิจกรรมสำหรับผู้ใช้อาคารต่างๆ เช่น นิทรรศการ การพบปะพูดคุยต่างๆ ของผู้คนในระดับเมือง และมีอาคารจอดจักรยานขนาดใหญ่ซึ่งสามารถจอดจักรยานได้ทั้งหมด 2,720 คัน ในลักษณะการออกแบบให้สามารถจอดซ้อนคันในแนวตั้ง และยังมีระบบรักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง ภายในเขตพื้นที่ภายในรัศมี 10 กิโลเมตร อีกทั้งยังใกล้กับจุดเชื่อมต่อการขนส่งสาธารณะหลายทางเลือกทั้ง รถไฟ รถไฟฟ้า รถไฟใต้ดิน และโดยสารสาธารณะ ตอบสนองแก่ผู้ใช้จักรยานในบริเวณนั้นที่ใช้จักรยานมาจอดพักที่โครงการและเดินทางต่อโดยใช้ระบบคมนาคมขนส่งสาธารณะต่างๆต่อไป โดยโครงการจะตั้งอยู่ในพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทยบริเวณถนนเพชรบุรีด้านข้างของตลาดนัดสวนจตุจักร ซึ่งเป็นทำเลศักยภาพใกล้ศูนย์การค้า และมีความหนาแน่นของผู้คนมากมายที่จะสามารถทำให้โครงการประสบความสำเร็จ
          นายอิศเรศ สุวรรณณัฐวิภา นักศึกษาสาขาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 5 เจ้าของผลงานสนามกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้ตื่นตัวในการสนับสนุนส่งเสริม และพัฒนากีฬาจักรยาน
กันมากขึ้น เพราะนอกจากการเสริมสร้างสุขภาพประชากรให้มีสุขภาพดี และช่วยลดพลังงาน และรักษาสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังเป็นการสร้างชื่อเสียงเกียรติยศให้กับประเทศชาติอีกด้วย โดยประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่หันมาส่งเสริมด้านกีฬาจักรยานโดยมีการจัดการ แข่งขันทั้งในประเทศ และระดับสากลอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการเข้าร่วมกีฬาต่างๆ เช่น โอลิมปิก เอเชี่ยนเกมส์ เป็นต้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยให้ความสำคัญกับกีฬาจักรยานเป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ดี ในปี พ.ศ.2557 ประเทศไทยมีสนามกีฬาจักรยานลู่ทั้งหมด 4 สนามคือ สนามกีฬาหัวหมาก สนามโรงเรียนกีฬาสุพรรณบุรี สนามกีฬา 700 ปี เชียงใหม่ และสนามเวโลโดมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา นครราชสีมา ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นสนามกีฬากลางแจ้ง และยังไม่เป็นสนามแบบนานาชาติ โดยสนามกีฬาจักรยานลู่ตามมาตรฐานระดับนานาชาติ ที่กำหนดโดยสหพันจักรยานนานาชาติ (Union Cyclist International หรือ UCI) ในเบื้องต้น จะต้องเป็นสนามระบบปิด ที่มีความยาวสนาม 250 เมตร และมี 3000-5000 ที่นั่ง ทั้งนี้ จึงนำเสนอให้มีโครงการสนามกีฬาจักรยานโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองให้แก่ผู้ที่มีความสนใจด้านกีฬาจักรยานเพื่อการเพิ่มทักษะ การออกกำลังกาย และแข่งขันในระดับต่างๆ ที่มีอัฒจันทร์สำหรับผู้ชม 3,000 ที่นั่งตามมาตรฐาน ลู่จักรยานแบบสากลแห่งแรกของประเทศไทย พร้อมศูนย์อบรมฝึกซ้อม จัดนิทรรศการ ให้ความรู้ และคำปรึกษาที่ถูกต้องเกี่ยวกับกีฬาจักรยาน ตลอดจนเป็นพื้นทีพักผ่อนของประชาชนที่มีความสนใจอีกด้วย
          ด้าน ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ รักษาการแทนอธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า สจล. ในฐานะสถาบันชั้นนำด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ที่ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมาอย่างยาวนาน ได้เล็งเห็นศักยภาพของกรุงเทพฯ และประเทศไทยในการพัฒนาไปสู่แนวคิดการเป็น
เมืองสีเขียว (Green City) ที่มีหลักสำคัญในการพัฒนาเมือง และวิถีการดำเนินชีวิตควบคู่ไปกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และเป็นองค์รวม ผ่านการนำองค์ความรู้ด้านสถาปัตยกรรมมาสนับสนุนการใช้จักรยานของคนในกรุงเทพฯ จึงเกิด 3 เป็นไอเดียจากฝีมือนักศึกษา ได้แก่ สนามกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทย ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้จักรยานสุวรรณภูมิ และศูนย์ผู้ใช้จักรยานกรุงเทพมหานคร อย่างไรก็ดี ในตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สจล. ก็ได้มีการจัดกิจกรรม และโครงการวิจัยต่างๆ ที่ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อาทิ การพัฒนาต้นแบบอาคารประหยัดพลังงาน การวิจัยเครื่องรับขยะเพื่อการรีไซเคิลอัตโนมัติ เพื่อการจัดการขยะชุมชนในประเทศไทย การพัฒนารถเข็นผลิตพลังงาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยล่าสุดได้มีการร่วมมือกับ ขสมก. ในการเปิดทดสอบเส้นทางนำร่องรถเมล์ไฟฟ้า สจล. – แอร์พอร์ตลิงค์สถานีลาดกระบัง เพื่อศึกษาทางเลือกของการสัญจรที่ประหยัดพลังงาน ไร้มลพิษ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเพื่อเป็นการตอบโจทย์ความตั้งใจในการเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกในประเทศไทยที่จะมีการเปิดใช้เส้นทางรถเมล์ไฟฟ้าสำหรับนักศึกษา และบุคลากร อันสอดคล้องภายใต้แนวคิด “รากฐานนวัตกรรมสร้างชาติ: The Nation of Innovation” ในการเป็นสถาบันการศึกษาเพื่อเป็นรากฐานในการพัฒนาประเทศไทย
          สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรุงเทพฯ หมายเลขโทรศัพท์ 02-329-8111 หรือเข้าไปที่ www.kmitl.ac.th
 

ข่าวสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง+พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังวันนี้

TOA จับมือ สถาปัตย์ ลาดกระบัง เปิดตัวโครงการ "EMPOWERING FUTURE CREATORS" ปลุกพลังนักสร้างสรรค์แห่งอนาคต สู่การเรียนรู้เชิงปฏิบัติจริง เพื่อพัฒนาทักษะพร้อมใช้งานในโลกยุคใหม่

บริษัท ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ TOA ผู้นำนวัตกรรมสี วัสดุปกป้องพื้นผิวครบวงจร เดินหน้าโครงการปั้นนักออกแบบรุ่นใหม่ ล่าสุดจับมือคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) ประกาศความร่วมมือทางวิชาการอย่างเป็นทางการ ผ่านพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) เปิดตัวโครงการพิเศษ "EMPOWERING FUTURE CREATORS: TOA X KMITL ACADEMIC PARTNERSHIP" ที่จะเชื่อมระหว่างโลกการศึกษาและอุตสาหกรรมจริง เพื่อผลักดันและพัฒนาทักษะนักศึกษาคณะสถาปัตย์ฯ อย่างรอบด้าน

คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเท... AAD สจล. จับมือ TOA สร้างสรรค์อนาคตนักออกแบบไทยผ่านนวัตกรรมสี — คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (AAD KMITL...

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดก... สจล. จัดวิ่งเทรลครั้งแรก "KMITL DANCHANG Trail 2025" เปิดประสบการณ์วิ่งท่ามกลางธรรมชาติที่สุพรรณบุรี — สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล...

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดก... สจล. ปูพื้นฐานแน่น! พัฒนาหลักสูตร AI สู่ความเข้าใจเชิงลึก ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมในยุค Generative AI — สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.)...

คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเก... วิศวะลาดกระบัง ขนทัพนวัตกรรมแสดงในงาน World EXPO 2025 OSAKA, KANSAI, JAPAN — คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ร่วมก...