ฟิทช์ เรตติ้งส์ กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงนโยบายโดยจะลดอัตราสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายของประเทศไทยจะส่งผลให้ความจำเป็นในการก่อหนี้ของโรงกลั่นน้ำมันของไทยลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งน่าเป็นประโยชน์ต่อโรงกลั่นน้ำมันที่มีสัดส่วนหนี้สินที่สูง เช่น บมจ. ไออาร์พีซี จำกัด หรือ IRPC (A-(tha)/แนวโน้มเครดิตเป็นลบ/F2(tha)) และ บมจ. เอสโซ่ (ประเทศไทย) หรือ ESSO (F1(tha) สำหรับโครงการตั๋วแลกเงินของบริษัทฯ)
ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2558 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้มีมติเห็นชอบในหลักการให้ลดอัตราสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายให้เหลือจำนวนวันสำรองประมาณ 25 วัน (คิดเป็นร้อยละ 7 ของปริมาณการบริโภคน้ำมันในประเทศ โดยแบ่งเป็นน้ำมันดิบร้อยละ 6 และน้ำมันสำเร็จรูปร้อยละ 1) จาก 43 วัน (คิดเป็นร้อยละ 12) เนื่องจาก สถานการณ์ที่เกิดภาวะปริมาณน้ำมันดิบล้นตลาด ซึ่งลดความเสี่ยงการขาดแคลนน้ำมันในประเทศ อย่างไรก็ตาม ทาง กพช. ยังไม่ได้มีการกำหนดวันที่มีผลในการลดอัตราสำรองน้ำมันที่ชัดเจน
การลดอัตราสำรองน้ำมันตามกฏหมายจะส่งผลให้ความต้องการใช้เงินทุนหมุนเวียนลดลง และช่วยลดระดับหนี้สินให้แก่โรงกลั่นน้ำมัน นอกจากนี้การลดปริมาณน้ำมันสำรองยังช่วยลดความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาน้ำมันให้แก่โรงกลั่นน้ำมันอีกด้วย ทั้งนี้ราคาน้ำมันดิบที่ลดลงอย่างรวดเร็วส่งผลให้โรงกลั่นน้ำมันเกิดผลขาดทุนจากปริมาณน้ำมันสำรองในครึ่งปีหลังของปี 2558
ฟิทช์คาดว่าการลดอัตราสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฏหมายจะลดความต้องการใช้หนี้สำหรับเงินทุนหมุนเวียนของโรงกลั่นน้ำมันในประเทศไทยได้ประมาณ 31,000 ล้านบาท โดยคำนวณจากราคาน้ำมันที่ 65 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และปริมาณการกลั่นน้ำมันในประเทศในปี 2557 โดยปริมาณหนี้สินที่คาดการณ์ว่าจะลดลงคิดเป็นประมาณร้อยละ 9 ของปริมาณหนี้สินโดยรวมที่ปรับปรุงแล้วของโรงกลั่นน้ำมันที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 5 แห่ง ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 87 ของปริมาณการกลั่นทั้งหมดในประเทศ อย่างไรก็ตาม ผลดีที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันในแต่ละโรงกลั่นน้ำมัน ขึ้นอยู่กับระดับการสำรองน้ำมันที่มีอยู่, นโยบายในการสำรองน้ำมัน, ต้นทุนต่อหน่วยในการจัดเก็บน้ำมัน และต้นทุนทางการเงินในการบริหารสินค้าคงคลังแต่ละของบริษัท
เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ลดต้นทุนเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติผลิตไฟฟ้าเทียบเท่า 6,000 ล้านบาท มุ่งช่วยเหลือประชาชน มั่นใจไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ ดูแลผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างสมดุล นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) มีมติเห็นชอบแนวนโยบายการบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ เพื่อลดภาระค่าไฟฟ้าในช่วงวิกฤตราคาพลังงาน (ตั้งแต่มกราคม เมษายน 2566) และขอความร่วมมือ ปตท
รู้ไหม...กพช.เห็นชอบแนวทางการเปิดเสรีก๊าซธรรมชาติ และเตรียมโครงสร้างพื้นฐานรับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า พร้อมทบทวนโครงสร้างค่าไฟฟ้าใหม่อย่างไรบ้าง ?
—
เมื่อวันที่...
กระทรวงพลังงาน โดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จัดสัมมนาที่จังหวัดนครศรีธรรมราช สร้างความรู้ ความเข้าใจ ต่อแผนพัฒนาต่อ แผน PDP 2018
—
กระทรวงพลังงาน...
สนพ. จัดกิจกรรมสัมมนา “สร้างความรู้ ความเข้าใจ ต่อแผนPDP 2018” จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
—
กระทรวงพลังงาน โดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จัดกิจกรรมสัม...
นักลงทุนข้ามชาติ ห่วงรัฐไม่เร่งต่อสัญญา SPPกระทบอุตสาหกรรม ฉุด EEC สะดุด
—
หลังผลประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) วันที่ 9 สิงหาคม 2561 ระบุว่า ...