พพ. รุก หนุนโรงงานอุตสาหกรรม เปลี่ยนใช้เชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด (Wood pellets) แทนการใช้น้ำมันเตา ชี้ผลประหยัดสูงสุดจากขี้เลื่อยอัดเม็ด ลดค่าใช้จ่ายได้สูงกว่า 2.5 ล้านบาทต่อปี หวังเป็นทางเลือกการใช้พลังงานทดแทนจากเชื้อเพลิงชีวมวลในประเทศ ลดค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิงให้ธุรกิจเพิ่มขึ้น มั่นใจหลังทดลองในโรงงานนำร่องได้ผลสัมฤทธิ์ เตรียมขยายผลส่งเสริมการลงทุนเปลี่ยนหัวเผาให้อีก 100 โรงงาน
วันนี้ (2กค.) นายธรรมยศ ศรีช่วย อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน(พพ.) ได้เป็นประธานในการพาสื่อมวลชนเยี่ยมชม โครงการสาธิตการใช้เชื้อเพลิงอัดเม็ดในหม้อน้ำขนาดเล็กเพื่อทดแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในภาคอุตสาหกรรม ณ บริษัท แอล.วาย.อินดัสตรีส์ จำกัด ซึ่งถือเป็นโรงงานอุตสาหกรรมต้นแบบที่ พพ. ได้ทำการศึกษา การเปลี่ยนหัวเผาหม้อไอน้ำจากเดิมใช้น้ำมันเตา ให้ปรับมาใช้หัวเผาที่สามารถใช้เชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด (Wood pellets) แทน เพื่อลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงที่มีต้นทุนสูง และส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนในประเทศมากยิ่งขึ้น
นายธรรมยศ กล่าวว่า การพาสื่อมวลชนมาเยี่ยมชมโครงการฯ ครั้งนี้ เพื่อให้เห็นถึงผลสัมฤทธิ์จากการส่งเสริมให้โรงงานต้นแบบแห่งนี้ ได้ปรับเปลี่ยนมาใช้เชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด (Woodpellets) โดยเบื้องต้นงบประมาณสำหรับการปรับปรุงหม้อไอน้ำไปใช้หัวเผาชีวมวลอัดเม็ด 8.2 ล้านบาท และพพ. ได้ร่วมสนับสนุน 47% ซึ่งจากการศึกษาที่ได้ทดลองใช้เชื้อเพลิงอัดเม็ดจากชีวมวลใน 3 รูปแบบ เพื่อวิเคราะห์ถึงความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม ผลที่ได้รับคือ หากเปลี่ยนมาใช้เป็นเชื้อเพลิงขี้เลื่อยอัดเม็ด จะมีความคุ้มค่าสูงสุด คิดเป็นค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิงที่ลดลง 60% หรือเฉลี่ย 2.5 ล้านบาทต่อปี รองลงมาได้แก่ เชื้อเพลิงจากหญ้าเนเปียร์อัดเม็ด คิดเป็นค่าใช้จ่ายที่ลดลง 51% หรือเฉลี่ย 2.2 ล้านบาทต่อปี และเชื้อเพลิงจากแกลบอัดเม็ด คิดเป็นค่าใช้จ่ายที่ลดลง 49% หรือเฉลี่ย 2.1 ล้านบาทต่อปี
ทั้งนี้ ในส่วนของการขยายผลโครงการศึกษาการเปลี่ยนหัวเผาหม้อไอน้ำเพื่อใช้เชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด (Wood pellets) ดังกล่าว พพ. พบว่ามีความคุ้มค่าในการสนับสนุนให้เกิดการลงทุนเพื่อลดการใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิล โดยเฉพาะการใช้ขี้เลื่อยอัดเม็ด ซึ่งพบว่ามีความคุ้มค่าต่อการลงทุน เพราะมีระยะเวลาคืนทุนเพียง 2.7 ปี ซึ่งในปีงบประมาณ 2559 นี้ พพ. มีแผนการขยายผลสนับสนุนการปลี่ยนหัวเผารูปแบบ Wood pellets นี้ ประมาณ 100 แห่ง และคาดว่าจะมีแพ็คเกจสนับสนุนโครงการ รูปแบบ 30-70 (พพ.ร่วม 30% และผู้ประกอบการ 70%) ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาแนวทางที่เหมาะสมต่อไป
"พพ.เชื่อว่า เชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด หรือ Woodpellets นี้ จะเป็นเชื้อเพลิงซึ่งจะเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นในกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม เพราะจะช่วยให้ลดต้นทุนด้านพลังงาน แม้ในช่วงแรกอาจต้องมีการลงทุนปรับเปลี่ยนอุปกรณ์บ้าง แต่จะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะจะทำให้เกิดการใช้เชื้อเพลิงจากพลังงานทดแทนที่ได้จากในประเทศเอง ลดการเพิ่มมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการเผาเศษวัสดุเหลือใช้จากภาคเกษตร และที่สำคัญสามารถลดความเสี่ยงจากการที่ต้องพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ ซึ่งในอนาคตคาดว่ายังมีโอกาสที่ราคาจะผันผวนรุนแรงได้ทุกเมื่อ" นายธรรมยศกล่าว
สำหรับ เชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ดหรือ Wood pellets ปัจจุบันประเทศไทยเริ่มมีการผลิตอยู่แล้วผู้ผลิตส่วนใหญ่หันไปทำตลาดส่งออกเกือบทั้งหมด เนื่องจากปริมาณการใช้ในประเทศยังไม่นิยม แต่ปัจจุบันตลาดการส่งออกเริ่มตรึงตัว และคาดว่าจะมีการใช้เพิ่มในประเทศเพิ่มขึ้น โดย Wood pellets ผลิตจากวัตถุดิบที่หาได้ในประเทศไทย เช่น เปลือกไม้ยูคา ขี้เลื่อย ซังข้าวโพด และหญ้าเนเปียร์ เป็นต้น คุณสมบัติเบื้องต้นจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8-10 มิลลิเมตร และยาว 20-50 มิลลิเมตร มีค่าความร้อน (Heat value) สูงประมาณ 4,000-4,500 kcal/kg (กิโลแคลรอรี่) มีค่าความชื้นต่ำ (Moister content) 8-15% มีขี้เถ้าน้อยเพียง 3-5% ที่สำคัญจะมีการเผาไหม้ที่สมบูรณ์จึงทำให้การเผาเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ดนี้ สามารถช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ได้อย่างดี นอกจากนี้ยังพบว่ามีราคาน้อยกว่าเชื้อเพลิงฟอสซิลอื่นๆ เช่น ก๊าซ LPG หรือ น้ำมันเตา โดยเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด 2-3 กิโลกรัม ให้ค่าความร้อนเท่ากับน้ำมันเตาปริมาณ 1 ลิตร เป็นต้น
การเคหะแห่งชาติร่วมมือกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT) และกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) จัดโครงการอบรมให้ความรู้การบริหารจัดการพลังงาน หัวข้อ "วิกฤตโลกร้อนและการปรับตัวสู่ทศวรรษพลังงานสีเขียวระดับองค์กรและผู้อยู่อาศัยในชุมชนของการเคหะแห่งชาติ" โดยมี นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และประธานคณะกรรมการด้านการจัดการความรู้และนวัตกรรม เป็นประธานเปิดการอบรม พร้อมด้วย ดร.พระนาย กังวานรัตน์ กรรมการ (ผู้ทรงคุณวุฒิ)
สถาพร เอสเตท (SE) กวาด 4 รางวัล จากเวที Thailand Energy Award 2023
—
สุนทร สถาพร (ที่ 4 จากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สถาพร เอสเตท จำกัด (SE) ผู...
ผู้บริหารบางจากฯ ร่วมผลักดันนวัตกรรมด้านพลังงานรุ่นเยาว์ ผ่านเวทีการประกวด The Young Energy Designer 2023
—
เมื่อเร็วๆ นี้ นางนฤพรรณ สุธรรมเกษม ผู้ช่วยกรร...
TPCH ปลื้ม! โรงไฟฟ้า PTG รับรางวัลดีเด่น ด้านพลังงานทดแทน
—
คุณประเสริฐ สินสุขประเสริฐ (ซ้าย) ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานมอบรางวัลดีเด่น ด้านพลังงานทดแท...
"อาคาร เดอะ ธารา ซีพี ออลล์" คว้า 2 รางวัลใหญ่ด้านอนุรักษ์พลังงาน ทั้งในระดับประเทศและภูมิภาคเอเชีย
—
เมื่อเร็วๆนี้ นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ปลัดกระทรวง...
กรีนเวฟ คว้ารางวัล Thailand Energy Awards 2023 ตอกย้ำคลื่นวิทยุหนึ่งเดียวเพื่อสิ่งแวดล้อม
—
ถือเป็นอีกหนึ่งกำลังใจดีดี วันนี้ ดีเจเฟี้ยต ธัชนนท์ จารุพัชนี...
CMAN คว้ารางวัลสถานประกอบการประหยัดพลังงานดีเด่น
—
นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (ซ้าย) รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้มอบโล่รางวัลสถา...
"SYS" โรงงานเหล็กรายแรกที่คว้ารางวัลเกียรติยศโรงงานที่มีการประหยัดพลังงานดีเด่น สะท้อนความมุ่งมั่นในการบริหารจัดการด้านพลังงานอย่างยั่งยืน
—
SYS เหล็กดีที...
เชลล์คว้า 2 รางวัลดีเด่นระดับประเทศและระดับอาเซียน จากอาคารสร้างสรรค์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
—
บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด โดย นางสาวอรอุทัย ณ เชียงให...