วันนี้ (๑๗ มิ.ย. ๕๘) เวลา ๐๘.๓๐ น. ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สะพานขาว กรุงเทพฯ พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานการประชุมศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ศปก.พม.) ครั้งที่ ๑๗๙/๕๗-๕๘
เพื่อรับทราบปัญหาทางสังคมต่างๆที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน และร่วมหาแนวทางการแก้ไขและป้องกันปัญหาดังกล่าว โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานในกระทรวงฯ เข้าร่วมประชุม
พลตำรวจเอก อดุลย์ กล่าวว่า การแก้ปัญหาเยาวชนแข่งรถในทางสาธารณะโดยไม่ได้คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ โดยกรมกิจการเด็กและเยาวชน(ดย.)ได้ดำเนินการในด้านต่างๆเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเสนอให้แต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนที่มีพฤติกรรมแข่งขันความเร็วในทางสาธารณะ เพื่อกำหนดมาตรการ และพิจารณาเห็นชอบแผนปฏิบัติการโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหา พร้อมทั้งบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เพื่อให้การแก้ไขปัญหาเห็นผลเป็นรูปธรรม รวมถึงเสริมสร้างความเข้มแข็งสภาเด็กและเยาวชนแก้ปัญหาเด็กแข่งรถในทางสาธารณะโดยจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการสร้างคุณค่า ตระหนักในตนเอง รวมถึงการเรียนรู้โลกของกิจกรรมเพื่อเปิดพื้นที่ในการทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ของเด็กและเยาวชน นอกจากนี้ยังเตรียมแผนการดำเนินการในระยะต่อไปในด้านต่างๆ ได้แก่ ๑) ด้านการป้องกัน จัดอบรมแกนนำสภาเด็กและเยาวชน เพื่อให้ความรู้และตระหนักคุณค่าในตนเอง และจัดอบรมหลักสูตรการเลี้ยงดูเด็กโดยไม่ใช้ความรุนแรง พร้อมทั้งจัดทำคู่มือสำหรับ พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ ในการคุ้มครองเด็กและเยาวชน รวมถึงอบรมวินัยจราจร ๒) ด้านการส่งเสริม เปิดพื้นที่เพื่อจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ ๓) ด้านการคุ้มครอง จะจัดทำฐานข้อมูลกลุ่มเด็กและเยาวชนที่กลับคืนสู่สังคมและจัดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก ติดตามและให้คำแนะนำแก่เด็ก เยาวชนและครอบครัว และ ๔) ด้านการฟื้นฟู จะจัดทำคู่มือ แนวทาง การดำเนินงานการคุ้มครองเด็กและเยาวชนอย่างเป็นระบบ พร้อมทั้งอบรมเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า ๑๘ ปี ที่กระทำความผิด
พลตำรวจเอก อดุลย์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับความคืบหน้าการจัดระเบียบคนขอทาน คนไร้ที่พึ่ง โดยกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ(พส.) เป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบในเรื่องดังกล่าว ซึ่งจากการลงพื้นที่สำรวจในกรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ ๙ – ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๘ พบขอทานจำนวนทั้งสิ้น ๘๒ ราย แบ่งเป็นคนไทย ๗๐ คน และต่างด้าว ๑๒ คน ส่วนคนไร้ที่พึ่งพบจำนวนทั้งสิ้น ๕๒ คน ซึ่งพื้นที่ที่พบขอทานมากที่สุด ๘ อันดับ ได้แก่ ๑.เขตวัฒนา ๒. เขตปทุมวัน ๓.เขตบางกะปิ ๔.เขตพระนคร ๕.เขตจตุจักร ๖.เขตบางรัก ๗.เขตสาทร และ ๘.เขตพญาไท ทั้งนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ โดยกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ(พส.) เตรียมจัดระเบียบขอทาน ครั้งที่ ๔ ระหว่างวันที่ ๒๒-๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๘ นอกจากนี้ในวันพรุ่งนี้ (๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๘) เวลา ๑๗.๐๐ น. เป็นต้นไป จะมีการจัดกิจกรรมรณรงค์ “ให้ทานถูกวิธี ลดวิถีการขอทาน” ณ ลานหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ โดยจะมีการมอบกล่องบริจาค “เงินทุนเพื่อพัฒนาคนไร้ที่พึ่ง คนขอทาน” และเดินรณรงค์ เพื่อสร้างการรับรู้ให้ประชาชนในสังคมและตระหนักถึงปัญหาการขอทาน และร่วมกันแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างยั่งยืนต่อไป
“จากกรณีหญิงชรา อายุ ๖๕ ปี เดินเท้าระยะทางกว่า ๑๐ กิโลเมตร ทุกวัน เพื่อนำผักบุ้งไปขาย นำเงินมาเลี้ยงดูสามีชรา อายุ ๗๒ ปี ป่วยเป็นอัมพาต ลูกชาย อายุ ๔๐ ปี มีอาการทางจิต ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ และลูกสาว อายุ ๓๐ ปี ป่วยเป็นโรคหอบหืด ครอบครัวฐานะยากจน ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตนได้กำชับให้พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (พมจ.พระนครศรีอยุธยา) ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง และให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นตามภารกิจกระทรวงฯ พร้อมประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือด้านการรักษาพยาบาลและพัฒนาคุณภาพชีวิตของครอบครัวในระยะยาว ส่วนกรณีเด็กทารกเพศหญิงผิวขาวผิวพรรณหน้าตาดีและสายรกสายสะดือยังติดอยู่น้ำหนักประมาณ ๓ กิโลกรัม ห่อหุ้มด้วยผ้าขนหนูสีฟ้า ถูกนำมาวางทิ้งไว้ที่หลังรถกระบะ ซึ่งเบื้องต้นเจ้าหน้าที่คาดว่าอาจจะเป็นเด็กใจแตก หรือคนที่ไม่พร้อมจะมีบุตร เมื่อคลอดลูกเองแล้วจึงนำมาทิ้งไว้ที่จังหวัดชลบุรีนั้น ตนได้กำชับให้พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดชลบุรี (พมจ.ชลบุรี) ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง และให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นตามภารกิจกระทรวงฯ พร้อมทั้งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งติดตามหาพ่อแม่เด็ก หากไม่พบพ่อแม่หรือญาติเด็ก กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ
มีสถานสงเคราะห์ไว้รองรับเพื่อดูแลเด็กในระยะยาวต่อไป ” พลตำรวจเอก อดุลย์ กล่าวท้าย
ชูความสำเร็จของโครงการสินเชื่อเพื่อผู้มีรายได้น้อย พร้อมเดินหน้ายกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนอย่างต่อเนื่อง นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานและการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในโครงการเคหะชุมชนและบริการชุมชนเชิงสังคม จังหวัดสุพรรณบุรี (อู่ยา 1) พร้อมส่งมอบบ้านให้กับผู้ได้รับอนุมัติสินเชื่อจากโครงการสินเชื่อเพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย สะสมรวมจำนวน 57 ราย ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มลูกค้าทั่วไป 51 ราย
กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ มอบโล่เกียรติคุณองค์กรสนับสนุนผู้สูงอายุ ให้กับ เคาน์เตอร์เซอร์วิส
—
นายวราวุธ ศิลปอาชา (ขวา) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและค...
การเคหะแห่งชาติสานต่อโครงการดึงเยาวชนในชุมชนเข้าสู่ระบบการศึกษา หวังสร้างงาน สร้างอาชีพ จบแล้วมีงานทำทันที
—
นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ...
การเคหะแห่งชาติพุ่งเป้าปี 2568 พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยรองรับทุกกลุ่มเป้าหมายให้สอดรับกับนโยบายกระทรวง พม.
—
การเคหะแห่งชาติพุ่งเป้าพัฒนาโครงการที่อยู่อาศ...
การเคหะแห่งชาติตั้งเป้าสร้างที่อยู่อาศัยรองรับสังคมผู้สูงอายุ
—
นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ กล่าวว่า นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกร...
พีทีที สเตชั่น คว้ารางวัล Friendly Design Award 2024 ต่อเนื่องปีที่ 5 เติมเต็มทุกความสุขเพื่อคนทั้งมวลอย่างเท่าเทียม
—
คุณสุพจน์ เล็กแข็ง ผู้จัดการฝ่ายวิศ...
มิตรแท้ประกันภัย ร่วมพิธีเปิด "Thailand Friendly Design Expo 2024" ครั้งที่ 8 พร้อมรับมอบใบประกาศเกียรติคุณ
—
คุณสุขเทพ จันทร์ศรีชวาลา ประธานกรรมการบริหาร...
ทรู คอร์ปอเรชั่น คว้าโล่เกียรติยศ "องค์กรสนับสนุนการจ้างงานคนพิการ" ต่อเนื่องปีที่ 2
—
ทรู คอร์ปอเรชั่น คว้าโล่เกียรติยศ "องค์กรสนับสนุนการจ้างงานคนพิการ"...
พม. จัดงานวันคนพิการสากล 2567 มุ่งส่งเสริมการเป็นผู้นำคนพิการ เพื่ออนาคตที่ครอบคลุม-ยั่งยืน
—
วันที่ 4 ธันวาคม 2567 ที่ห้องรอยัล จูบิลี่ บอลรูม อาคารชาเลน...
กระทรวง พม. เตรียมจัดงานวันคนพิการสากล ปี 2567 เปิดเวทีแสดงผลงานนวัตกรรม เพื่อสร้างสังคมที่เท่าเทียมเพื่อคนพิการ
—
นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรว...