สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 ลงพื้นที่ติดตามโครงการสร้างรายได้และพัฒนาการเกษตรฯ จังหวัดจันทบุรี ระบุ พื้นที่เป้าหมายแล้งซ้ำซาก อำเภอสอยดาว โครงการเดินหน้าแล้วใน 2 ตำบล เพื่อพัฒนาปรับปรุงแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร และปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ตามความต้องการของชุมชน
นางบุบผา ภู่ละออ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 ชลบุรี (สศท.6) เปิดเผยถึงการติดตามการดำเนินงานโครงการสร้างรายได้และพัฒนาการเกษตรแก่ชุมชนเพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้ง (1 ตำบล 1 ล้านบาท) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ได้ดำเนินการช่วยเหลือเพื่อสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรและชุมชนเกษตรในพื้นที่แล้งซ้ำซาก โดยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตร และเพิ่มประสิทธิภาพการเกษตรของชุมชน เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนจากภัยแล้งในระยะยาว โดยมีระยะเวลาดำเนินกิจกรรมระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – มิถุนายน 2558 และระยะเวลาดำเนินโครงการระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – กันยายน 2558 ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร รับผิดชอบในการติดตามและประเมินผลโครงการในครั้งนี้
สำหรับพื้นที่ จังหวัดจันทบุรี ซึ่งในส่วนพื้นที่รับผิดชอบของ สศท.6 มีพื้นที่เป้าหมายเพียงอำเภอเดียว คืออำเภอสอยดาว ซึ่งจากการลงพื้นที่ติดตาม พบว่า ความต้องการของเวทีประชาคมหมู่บ้าน ในการโครงการและขอรับการสนับสนุนงบประมาณผ่านศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล (ศบกต.) สู่การดำเนินงานในกิจกรรมต่าง ๆ เกิดประโยชน์ร่วมกันของชุมชน มีการดำเนินการ 2 ตำบล เสร็จเรียบร้อยแล้ว ดังนี้ ตำบลทับช้าง ได้รับจัดสรรงบประมาณ 1 ล้านบาท ผ่านการพิจารณาดำเนินการ 2 โครงการ ได้แก่ โครงการซ่อมแซมและขุดฝังท่อน้ำดิบบ้านคลองพอกและบ้านคลองกลาง จำนวน 1 แสนบาท เป็นการซ่อมแซมท่อน้ำดิบ 800 เมตรที่ส่งมาจากภูเขาเพื่อใช้ประโยชน์ในการอุปโภค บริโภค และเพื่อการเกษตร ของ 2 หมู่บ้าน คือ บ้านคลองพอกและบ้านคลองกลาง เนื่องจากประสบปัญหาท่อน้ำดิบแตกเสียหายอันเกิดจากช้างป่าเหยียบท่อแตก และต้นไม้ใหญ่หักโค่นล้มทับ และโครงการฝายดินเรียงหินยาแนว จำนวน 9 แสนบาท ดำเนินการใน 9 หมู่บ้าน ประมาณหมู่บ้านละ 1 แสนบาทต่อฝาย 1 ตัว เพื่อชะลอและกักเก็บน้ำในลำคลองสาธารณะในแต่ละหมู่บ้านเป็นการจัดการแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรของชุมชน ทั้งนี้ จากการติดตามประเมินผลผู้นำชุมชนและเกษตรกรที่ร่วมโครงการตำบลทับช้างเป็นตำบลใหญ่มีหมู่บ้านเกือบ 20 หมู่บ้านยังคงต้องการโครงการสร้างรายได้และพัฒนาการเกษตรแก่ชุมชนเพื่อบรรเทาภัยแล้งเพื่อสร้างประโยชน์ให้ทั่วถึงทุกหมู่บ้าน
ตำบลทุ่งขนาน ดำเนินกิจกรรม 4 โครงการ คือ ประเภทโครงการจัดการแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรของชุมชน ได้แก่ โครงการขุดลอกสระน้ำสาธารณะประโยชน์หมู่ที่ 12 และโครงการขุดสระน้ำสาธารณประโยชน์ หมู่ที่ 4 บนพื้นที่เกือบ 3 ไร่ ที่คนในชุมชนเสียสละพื้นที่สวนลำไยกว่า 200 ต้น ยกให้เป็นที่สาธารณะประโยชน์เพื่อสร้างแหล่งกักเก็บน้ำให้ชุมชนมาใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตร รวมทั้งเพื่อเป็นแหล่งน้ำสำรองของ อบต.ทุ่งขนาน ในการใช้ป้องกันอัคคีภัยและน้ำเพื่ออุปโภคให้กับหมู่บ้านอื่นในตำบล จากการลงทุนขุดสระเพียง 4 แสนบาทต่อโครงการ และประเภทโครงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ได้แก่ โครงการปรับปรุงอาคารสถานที่ของกลุ่มดอกไม้จันแบบครบวงจร และโครงการต่อเติมอาคารจักสานหญ้าแฝกเพื่อสร้างรายได้เสริมให้กับสมาชิกในช่วงว่างงานในช่วงภัยแล้ง และมีผลิตภัณฑ์จำหน่ายในตำบลและพื้นที่ใกล้เคียง งบประมาณ 1 แสนกว่าบาทต่อโครงการ ซึ่ง จากการติดตามผล พบว่าสมาชิกและผู้นำชุมชนใส่ใจดำเนินการเพื่อพัฒนาชุมชนสนับสนุนเงินทุนเพิ่มเติมต่อยอดจากโครงการนี้ นับได้ว่า โครงการสร้างรายได้และพัฒนาการเกษตรแก่ชุมชนเพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้ง (1 ตำบล 1 ล้านบาท) เป็นการจุดประกายความคิดที่เกิดจากคนในชุมชนเพื่อชุมชนของเขาเอง
ทั้งนี้ ปัจจุบันมีจำนวนตำบลที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากโครงการฯ ทั่วประเทศรวม 3,044 ตำบล จาก 3,051 ตำบล ใน 58 จังหวัด โดยประมาณการจำนวนครัวเรือนเกษตรกรที่ได้ประโยชน์คือ 2,660,201 ครัวเรือน คาดว่าจะมีเกษตรกรที่ใช้แรงงาน 360,659 ราย ซึ่งการดำเนินกิจกรรมจะมีลักษณะต่างๆ ตามความต้องการของชุมชน เช่น การจัดการแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร การผลิตทางการเกษตรและการแปรรูปผลผลิตเกษตรฯ การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และการจัดการเพื่อลดความสูญเสียผลผลิตเกษตร โดย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร จะมีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงแนวทางการช่วยเหลือเกษตรกรได้อย่างถูกต้องและตรงตามความต้องการต่อไป
นายนพดล ศรีพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 4 ขอนแก่น (สศท.4) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงการติดตามการดำเนินงานของกลุ่มแปลงใหญ่วิสาหกิจชุมชนกลุ่มมะม่วงส่งออกหนองแซง หมู่ที่ 9 ตำบลสำราญ อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ นับเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพการผลิตและแปรรูปมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง เพื่อการส่งออกสู่ตลาดต่างประเทศ ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP ได้รับการรับรองมาตรฐานแหล่งแปรรูปตามมาตรฐาน GMP และได้รับมาตรฐาน อย. ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขเพื่อสร้างความมั่น
กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง จ.พิษณุโลก สินค้าเกษตรที่มีศักยภาพ ทดแทนการผลิตข้าวนาปีในพื้นที่ไม่เหมาะสม สร้างรายได้เกษตรกร
—
นางธัญญ์พิชชา เถระรัชชานนท์ ผู้อำนวยกา...
สศท. 7 เผยผลศึกษาการบริหารจัดการ "ฟางข้าว" ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคกลาง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
—
นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 ช...
'ปลานิล' สินค้าเกษตรทางเลือก จ.นครราชสีมา เสริมรายได้เกษตรกร แนะแปรรูปเพิ่มมูลค่า
—
นางสุจารีย์ พิชา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 5 นครราชสีมา (...
"ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ" สินค้า GI เริ่มออกตลาดปลาย พ.ค. นี้ สศท.11 เชิญชวนเที่ยวงาน "เทศกาลทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ ปี 2565" 9 - 15 มิ.ย. นี้
—
นางประเทือง...
สศท.8 โชว์ "กลุ่มกาแฟบ้านถ้ำสิงห์" จ.ชุมพร แปรรูปกาแฟโรบัสต้า สร้างกำไรกลุ่มปีละ 21 ล้านบาท
—
นายนิกร แสงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 สุร...
'ลองกองวังขุม' แปลงใหญ่ จ.สุราษฎร์ธานี คุณภาพมาตรฐาน GAP รสชาติเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว สศท.8 เชิญชวนบริโภค ขณะนี้ออกตลาดแล้ว
—
นางพัชรารัตน์ ลิ้มศิริกุล ผู้...
ปีนี้อากาศดี ลำไยภาคเหนือติดดอกมาก ผลผลิตรวมกว่า 9.7 แสนตัน ออกตลาดมากสุด ส.ค. 64 สศท.1 เชิญชวนบริโภคลำไยคุณภาพ ช่วยเหลือเกษตรกร
—
นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำ...
กองทุน FTA หนุนเกษตรกรกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงโคเนื้อบ้านแสนแก้ว จ.ศรีสะเกษ สร้างรายได้ ยกระดับมาตรฐานการผลิตโคเนื้อ
—
นายนิกร แสงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงาน...
สศท.7 โชว์แปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะ ศกอ. จ.สุพรรณบุรี ดึงเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
—
นางสาวสมบัติ พุทธา รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจกา...