ฉันคิดว่าเนปาลได้ถูกทำลายลงแล้ว – หนึ่งเดือนหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เนปาล

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          ‘I Thought Nepal was destroyed’ - Nepal 1 Month Later By Jessica Lomelin and Kunaporn Dejrattanawichai Plan International, Asia Regional Office
          “ตอนเกิดแผ่นดินไหว ฉันกลัวมาก ฉันคิดว่าเนปาลกำลังจะโดนทำลาย” เพอนิมา เด็กหญิงอายุ16ปีกล่าวในจดหมายที่เขียนถึง องค์การแพลนฯ
          หนึ่งเดือนผ่านไป นับตั้งแต่แผ่นดินไหวครงล่าสุดซึ่งเป็นครั้งที่รุนแรง ที่ได้เกิดขึ้นที่เนปาลเมื่อวันที่ 25 เมษายน จากวันนั้นถึงวันนี้ มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 8,000 คน มีผู้บาดเจ็บมากกว่า 10,000 คนและไร้ที่พักพิงอีกนับไม่ถ้วน
          “ไม่ว่าจะในภัยพิบัติใดๆผู้ที่ได้รับผลกระทบมากสุดคือเด็ก เพราะเด็กยากที่จะรับมือกับการสูญเสียและไม่เข้าใจว่าแผ่นดินไหวสร้างความเสียหายได้มากขนาดไหน” Mattias Bryneson ผู้อำนวยการองค์การแพลนเนปาล กล่าวไว้
          หนึ่งในแผนการช่วยเหลือเร่งด่วนในภาวะฉุกเฉินขององค์การแพลนฯ คือการสร้างความมั่นใจว่าเด็กที่อยู่ในพื้นที่ภัยพิบัติจะปลอดภัยและลดความหวาดกลัวและวิตกกังวลจากภัยพิบัติ
          พื้นที่เป็นมิตรสำหรับเด็ก (Child Friendly Spaces) เป็นหนึ่งในกุญแจที่สำคัญที่จะทำให้องค์การแพลนฯ สามารถบรรลุเป้าหมายนี้ อาสาสมัครและเจ้าหน้าที่ขององค์การแพลนฯ ที่ได้รับการฝึกฝน และสถานที่ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้เด็กรู้สึกปลอดภัย พื้นที่เป็นมิตรสำหรับเด็ก จะทำให้สภาพจิตใจของเด็กๆกลับคืนสู่สภาพปกติได้ เด็กๆสามารถเรียนหนังสือต่อได้ถึงแม้ว่าโรงเรียนจะปิด เด็กๆสามารถอยู่กับเพื่อนๆวัยเดียวกัน และเด็กๆยังสามารถร่วมแบ่งปันประสบการณ์ในช่วงเกิดแผ่นดินไหวเจ้าหน้าที่ขององค์การแพลนฯ ได้รับการอบรมเพื่อรับมือในการพูดคุยอย่างเหมาะสม
          “แผ่นดินไหวครั้งแรกน่ากลัวมากๆเลยครับ เพราะนั่นคือวันที่ผมคิดว่า โลกของพวกเราจะไม่คงอยู่ตลอดไปอีกแล้ว” Kulshal เด็กชายวัย 16 ปี กล่าว
          นับตั้งแต่แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 25 เมษายน องค์การแพลนฯ และ กลุ่ม Child Workers in Nepal (CWIN) ได้ร่วมมือกันสร้าง พื้นที่เป็นมิตรสำหรับเด็ก (Child Friendly Spaces) 6 แห่งในเมือง Kathmandu และมีแผนที่จะสร้าง เพิ่มขึ้นอีกในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบรุนแรง ซึ่งรวมถึงเมือง Dolakha และ Sindupalchowk ด้วย ซึ่ง พื้นที่เป็นมิตรสำหรับเด็ก (Child Friendly Spaces) จะจัดสรรสถานที่ที่ปลอดภัยที่จะทำให้เด็กๆ หายจากอาการหวาดกลัวโดยผ่านการทำกิจกรรมสันทนาการต่างๆ เช่น การร้องเพลง เต้นรำ และเล่นเกม
          “ผมชอบอยู่กับเด็กๆ เวลาที่พวกเขาหัวเราะและเล่นสนุกกันครับ” Bibash อาสาสมัครวัย 23 ปี ที่สร้าง พื้นที่เป็นมิตรสำหรับเด็ก (Child Friendly Spaces) เล่าถึงประสบการณ์อันแสนสุขของเขา
          Bibash จบปริญญาตรีจากสาขาวิชาธุรกิจศึกษา และวางแผนจะศึกษาต่อในสาขาปริญญาผู้สำเร็จวิชาการบัญชี เขามาเป็นอาสาสมัครประจำวันประจำ พื้นที่เป็นมิตรสำหรับเด็ก (Child Friendly Spaces) ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม แม่ของ Bibash ผู้ซึ่งเป็นนักสังคมสงเคราะห์ เป็นผู้ให้แรงบันดาลใจกับ Bibash ในการทำสิ่งดีๆ เพื่อช่วยชุมชนหลังจากแผ่นดินไหว
          ไม่ใช่แค่เด็กๆ เท่านั้นที่ได้รับประโยชน์จาก พื้นที่เป็นมิตรสำหรับเด็ก (Child Friendly Spaces) อาสาสมัครและเจ้าหน้าที่ขององค์การแพลนฯ ยังได้ประโยชน์จากพื้นที่นี้ เพื่อเป็นสถานที่ผ่อนความเครียดที่เกิดจากแผ่นดินไหม ที่เด็กๆเละครอบครัวต้องเผชิญอย่างต่อเนื่อง และความเครียดสภาพความเป็นอยู่ที่ย่ำแย่ซึ่งเป็นผลจากความเสียหายของแผ่นดินไหว
          พื้นที่ที่มิตรสำหรับเด็ก (Child Friendly Spaces) ช่วยให้อาสาสมัครและเจ้าหน้าที่ขององค์การแพลนฯ มองเห็นหนทางที่จะช่วยให้เด็กและครอบครัวสามารถฟื้นฟูสภาพจิดใจได้
          “ผมชอบอยู่กับเด็กๆ เพราะถ้าผมอยู่ที่บ้าน ผมคงแค่นั่งเฉยๆ หรือไม่ก็ดูทีวี การเป็นอาสาสมัครที่นี่ช่วนให้ผมเพ่งความสนใจไปที่เด็กๆ มากกว่าที่จะสนใจแค่ตัวเองและครอบครัว” Bibash กล่าว
          “เพื่อนๆ อาสาสมัคร และสภาพแวดล้อมดีๆที่ พื้นที่เป็นมิตรสำหรับเด็ก (Child Friendly Spaces) ช่วยให้ความกลัวของผมหายไป แต่นั่นก็ถึงแค่ตอนเกิดแผ่นดินไหวครั้งต่อไป ” Kulshal กล่าว
          นอกจาก พื้นที่เป็นมิตรสำหรับเด็ก (Child Friendly Spaces) แล้ว องค์การเพลนฯ ยังได้ร่วมมือกับองค์กรพัฒนาเอกชน Save the Children, World Vision International, และ UNICEF จัดการประชุมแลกเปลี่ยนความเห็นกับเด็กๆ และเยาวชนที่อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว เพื่อที่จะได้รู้ว่าความวิตกกังวลด้านไหนที่ส่งผลกระทบกับเด็กๆ มากที่สุด
          ในการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เจ้าหน้าที่องค์การแพลนฯ จะนำให้เด็กๆ สำรวจตัวเองว่ารู้สึกอย่างไรในระหว่างก่อนและหลังเกิดแผ่นดินไหว หลังจากนั้น ให้เด็กๆ สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันว่าปัญหาที่มีอยู่เป็นอย่างไร เราจะแก้ปัญหาได้อย่างไร และใครที่สามารถช่วยแก้ปัญหาได้บ้าง
          องค์การแพลนฯ เชื่อว่า การประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นนี้มีความสำคัญต่อเด็กๆ มาก เพราะว่า เด็กๆ ต้องการที่จะรู้สึกว่า ตัวเองได้ออกความคิดเห็น และความเห็นและการแสดงออกของตนนั้น สามารถช่วยฟื้นฟูประเทศของตนได้
          กุญแจสำคัญที่จะทำให้แน่ใจว่าโครงการ พื้นที่เป็นมิตรสำหรับเด็ก (Child Friendly Spaces) หรือห้องเรียนชั่วคราว จะประสบความสำเร็จคือ ทำให้มั่นใจว่าข้อเสนอของเด็กๆ เป็นส่วนหนึ่งในการออกแบบกิจกรรมและการเรียนการสอน พื้นที่เช่นนี้ ไม่สามารถสร้างได้ง่ายๆ เนื่องจากพื้นที่เหล่านี้ต้องถูกปรับเปลี่ยนเพื่อให้เข้ากับบริบททางสังคม วัฒนธรรมท้องถิ่น และประสบการณ์ของเด็กๆ
Bibash เสริมว่า ตอนนี้ เด็กๆ เริ่มดีขึ้นแล้ว อย่างไรก็ตาม หลังแผ่นดินไหวครั้งที่ 2 พวกเขาเริ่มกังวลอีกครั้ง เขาบอกพวกเด็กๆว่า แม้แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ไม่ีรู้ และไม่สามารถทำนายเกี่ยวกับแผ่นดินไหวได้ แต่พวกเขาจะปลอดภัยที่ พื้นที่เป็นมิตรสำหรับเด็ก (Child Friendly Spaces)
          “หลังแผ่นดินไหวครั้งที่ 2 ผมนอนข้างนอกตลอดทั้งคืน แต่ในท้ายที่สุดก็กลับเข้าไปนอนข้างใน ผมบอกเด็กๆว่า ถ้าผมอยู่นอนข้างในได้ๆ พวกเขาก็ควรที่จะเข้ามาข้างในเหมือนกัน” Bibash กล่าว
          พื้นที่เป็นมิตรสำหรับเด็ก (Child Friendly Spaces) สำคัญกับเด็กๆ มาก เนื่องจากมันช่วยให้พวกเขาแสดงความกลัวของพวกเขาออกมาซึ่งบางครั้ง พวกเขาไม่สามารถพูดกับพ่อแม่ได้ แต่เพราะ เด็กๆ เห็นพวกเราเป็นเพื่อน และนั่นทำให้พวกเขากล้าคุยกับเรามากขึ้น ที่นี่ พวกเขามีความสุขมากกว่ากังวลใจ”
          นอกจากนี้ เขายังบอกว่า แผ่นดินไหวทำให้เกิดการรวมตัวกันของคนในชุมชน จากที่เมื่อก่อน เพื่อนบ้านทะเลาะและเถียงกัน แต่ตอนนี้ พวกเขาร่วมมือร่วมใจกัน และไม่ทะเลาะกันอีกต่อไป เหตุการณ์นี้ดึงชุมชนมาอยู่ด้วยกัน เพื่อช่วยสร้างชุมชนของพวกเขาใหม่อีกครั้ง
องค์การเพลนฯ อยู่เป็นผู้นำขององค์การที่ทำการช่วยเหลือฉุกเฉินในเหตุการณ์ภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 25 เมษายน เราให้ความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว รวมถึงแนวเทือกเขาและพื้นที่ห่างไกล
เรามุ่งมั่นที่จะช่วยสร้างและให้บริการหลักๆ แก่คนที่ต้องการ รวมถึงการคุ้มครองเด็ก การศึกษา โภชนาการ วิถีชีวิต และ สุขภาพ
          องค์การแพลนฯ ไม่ใช่เป็นแค่เพียงองค์กรที่ช่วยเหลือในภาวะฉุกเฉินเท่านั้น แต่เรายังมุ่งทำงานในระยะยาวอย่างต่อเนื่องเพื่อเร่งฟื้นฟู และช่วยเหลือเด็กๆและชุมชนในประเทศเนปาลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
          รายละเอียดเพิ่มเติม http://plan-international.org/what-you-can-do/emergency-appeals/nepal-earthquake-appeal

ฉันคิดว่าเนปาลได้ถูกทำลายลงแล้ว – หนึ่งเดือนหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เนปาล
ฉันคิดว่าเนปาลได้ถูกทำลายลงแล้ว – หนึ่งเดือนหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เนปาล
ฉันคิดว่าเนปาลได้ถูกทำลายลงแล้ว – หนึ่งเดือนหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เนปาล
ฉันคิดว่าเนปาลได้ถูกทำลายลงแล้ว – หนึ่งเดือนหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เนปาล
 

ข่าวองค์การแพลนฯ+องค์การแพลนวันนี้

ซิตี้ จับมือ องค์การแพลนฯ เปิดโอกาสให้เด็กนักเรียนทำธุรกิจในตลาดนัดสวนจตุจักรเป็นครั้งแรก

มูลนิธิซิตี้ร่วมกับองค์การแพลนอินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) สนับสนุนให้นักเรียนจากจังหวัดอยุธยาและระยองดำเนินธุรกิจของตัวเองที่ตลาดนัดวันหยุด คณะครูและนักเรียนจำนวน 60 คนจาก 6 โรงเรียนในพื้นที่จังหวัดอยุธยาและจังหวัดระยองจะมารวมตัวกันเพื่อฝึกทักษะด้านการทำธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ หลังจากที่ได้ร่วมกิจกรรมในโครงการธนาคารนักเรียน(School Banks) ซึ่งช่วยให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้การออมเงิน พัฒนาทัศนคติเชิงบวกต่อการออมและปลูกฝังทักษะพื้นฐานทางการเงิน นักเรียนจะได้รับความช่วย

พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต จับมือองค์การแพลนฯ ร่วมรณรงค์สร้างความรู้ ป้องกันภัยพิบัติให้เยาวชน

มูลนิธิพรูเด็นซ์ ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลระดับภูมิภาคของพรูเด็นเชียล คอร์ปอเรชั่น เอเชีย ได้เปิดตัวโครงการ “ขั้นตอนรู้รอด ปลอดภัย” (Safe Steps) เมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 ที่ผ่านมา โดยโครงการดังกล่าวเป็น...

องค์การแพลนฯ นำ20 สาวงามอบรมเพศศึกษาให้น้อง ในกิจกรรม “Love yourself and others”สอนน้องเรื่องเพศศึกษาและการป้องกัน นำร่องโรงเรียนวัดปากบ่อ กรุงเทพฯ

จากตัวเลขของคุณแม่วัยใสในปี 2554 ที่มีจำนวนสูงขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งงานวิจัยจากโรงพยาบาล เรื่องการคลอดบุตรของคุณแม่วัยใส ที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี พบว่า...

องค์การแพลนฯ รณรงค์ลดปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร นำ 20 สาวงามมิสไทยแลนด์-ไชนีส คอสมอส 2556 ร่วมกิจกรรม“Love yourself and others”สอนน้องเรื่องเพศศึกษาและการป้องกัน

องค์การแพลนอินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ในฐานะผู้สนับสนุนการประกวดมิสไทยแลนด์-ไชนีส คอสมอส 2556 เดิน...

ปฏิทินข่าวหน่วยงานราชการประจำวันนี้(11 ตุลาคม 2555)

วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม 2555 10.30 น. เทเลวิชชั่น แอนด์ อิเล็กทรอนิกส์ เฟสติวัล ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี 13.00 น. วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานสัมมนา คิดให้ต่างและตีให้แตกสร้าง“ธุรกิจนวัตกรรม” ณ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ...

ปฏิทินข่าวหน่วยงานราชการประจำวันพรุ่งนี้(11 ตุลาคม 2555)

วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม 2555 10.30 น. เทเลวิชชั่น แอนด์ อิเล็กทรอนิกส์ เฟสติวัล ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี 13.00 น. วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานสัมมนา คิดให้ต่างและตีให้แตกสร้าง“ธุรกิจนวัตกรรม” ณ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ...

องค์การแพลนฯ จัดพิธีเปิดงานรณรงค์ส่งเสริมสิทธิและบทบาทของเด็กหญิงและเยาวชนสตรี พร้อมเปิดเผยรายงานการวิจัยสถานการณ์การศึกษาของเยาวชนสตรีในประเทศไทย

ด้วยองค์การแพลนอินเตอร์เนชั่นแนล เป็นองค์การพัฒนาเอกชนระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน ที่ทำงานพัฒนาคุณภาพเด็กและเยาวชนใน 68 ประเทศทั่วโลก ได้จัดโครงการ ‘...

องค์การแพลนฯ pre-launched แคมเปญ “Because I Am A Girl พลังสาวใสวัยทีนเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม” ร่วมกับกิจกรรมการประกวดเยาวสตรีดีเด่น 2552

องค์การแพลน สำนักงานประเทศไทย pre-launch แคมเปญ “Because I Am A Girl” ใน Theme “พลังสาวใสวัยทีนเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม” โดยการสนับสนุนกิจกรรมค่ายเยาวสตรีไทยดี...