“พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ควรเป็นนายกรัฐมนตรีอีกนานแค่ไหน ?”

11 Jun 2015
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพลสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ควรเป็นนายกรัฐมนตรีอีกนานแค่ไหน ?” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 8 – 9 มิถุนายน 2558 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ทั่วประเทศ กระจายทั่วทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งที่เหมาะสมของนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และแม่น้ำทั้ง 4 สาย อันประกอบไปด้วย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะ อาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยความน่าจะเป็นด้วยวิธีแบบเป็นระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4

จากการสำรวจ เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อระยะเวลาของการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พบว่า ประชาชน ร้อยละ 12.96 ระบุว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ควรลงจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้แล้ว ร้อยละ 30.08 ระบุว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ควรเป็นนายกรัฐมนตรีแค่ตาม Road Map ที่วางไว้ คือเป็นนายกรัฐมนตรีจนกระทั่งมีรัฐธรรมนูญใหม่และกฎหมายประกอบเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ร้อยละ 27.28 ระบุว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ควรเป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปอีก 2 ปีหลังจากมีรัฐธรรมนูญใหม่ เพื่อปฏิรูปประเทศให้พร้อมก่อนการเลือกตั้ง ร้อยละ 18.16 ระบุว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ควรเป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปจนถึง ปี 2563 เพื่อบริหารประเทศให้บรรลุวิสัยทัศน์ประเทศไทย ปี 2558 – 2563 “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ร้อยละ 5.68 ระบุว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ควรเป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะแก้ไขปัญหาบ้านเมืองให้ดีขึ้น และร้อยละ 5.84 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

ด้านความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานขององค์กรต่าง ๆ ว่าควรอยู่ต่อหรือไม่นั้น พบว่า ในส่วนของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 53.87 ระบุว่า ควรอยู่ต่อ ขณะที่ร้อยละ 7.39 ระบุว่า ไม่ควรอยู่ต่อ และร้อยละ 38.73 ระบุว่าขึ้นอยู่กับนายกรัฐมนตรี ด้านสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 50.70 ระบุว่า ควรอยู่ต่อ ขณะที่ร้อยละ 7.39 ระบุว่า ไม่ควรอยู่ต่อ และร้อยละ 41.90 ระบุว่าขึ้นอยู่กับนายกรัฐมนตรี สำหรับสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 51.41 ระบุว่า ควรอยู่ต่อ ขณะที่ร้อยละ 7.57 ระบุว่า ไม่ควรอยู่ต่อ และร้อยละ 41.02 ระบุว่าขึ้นอยู่กับนายกรัฐมนตรี และด้านกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 51.23 ระบุว่า ควรอยู่ต่อ ขณะที่ร้อยละ 7.04 ระบุว่า ไม่ควรอยู่ต่อ และร้อยละ 41.73 ระบุว่าขึ้นอยู่กับนายกรัฐมนตรี

ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อข้อเสนอทำประชามติให้รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อยู่ต่อไปอีก 2 ปี หลังจากมีรัฐธรรมนูญใหม่เพื่อปฏิรูปประเทศให้พร้อมก่อนการเลือกตั้ง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 72.08 ระบุว่า เห็นด้วยกับข้อเสนอ เพราะ ในสังคมมีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ตามระบอบประชาธิปไตย และต้องการทราบว่าประชาชนส่วนใหญ่คิดเห็นอย่างไร เพื่อแสดงถึงความโปร่งใส เป็นการเตรียมความพร้อมให้กับประเทศ เพื่อให้บ้านเมืองเข้าสู่สภาวะปกติ ขณะที่ร้อยละ 21.04 ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอ เพราะ เป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณ ควรจัดการเลือกตั้งให้เร็วที่สุด เพื่อให้รัฐบาลชุดใหม่ เข้ามาแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และร้อยละ 6.88 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 16.48 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ร้อยละ 18.08 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 18.16 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.20 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 14.08 ภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 52.72 เป็นเพศชาย ร้อยละ 47.12 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 0.16 เป็นเพศทางเลือก ตัวอย่างร้อยละ 10.88 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 22.72 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 24.40 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 32.32 มีอายุ 46 – 60 ปี ร้อยละ 8.80 มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป และร้อยละ 0.88 ไม่ระบุอายุ

ตัวอย่างร้อยละ 95.36 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.88 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.96 นับถือศาสนาคริสต์และอื่น ๆ และร้อยละ 0.80 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่าง ร้อยละ 26.40 สถานภาพโสด ตัวอย่างร้อยละ 70.32 สมรสแล้ว ตัวอย่างร้อยละ 2.32 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.96 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 28.48 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ตัวอย่างร้อยละ 30.48 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.52 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ตัวอย่างร้อยละ 28.08 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่าและตัวอย่างร้อยละ 4.56 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 0.88 ไม่ระบุการศึกษา

ตัวอย่างร้อยละ 9.68 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ตัวอย่างร้อยละ 12.64 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ตัวอย่าง ร้อยละ 24.16 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ตัวอย่าง ร้อยละ 16.08 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ตัวอย่างร้อยละ 18.16 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ตัวอย่างร้อยละ 14.24 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ตัวอย่างร้อยละ 3.76 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.16 เป็นพนักงานองค์กรอิสระ ที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 1.12 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่างร้อยละ 14.48 ไม่มีรายได้ ตัวอย่าง ร้อยละ 21.92 มีรายได้เฉลี่ย ต่อเดือนไม่เกิน 10,000 ตัวอย่างร้อยละ 31.44 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อเดือน 10,001 – 20,000 ตัวอย่างร้อยละ 12.00 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ตัวอย่างร้อยละ 5.44 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อเดือน 30,001 – 40,000 ร้อยละ 6.48 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 40,001 บาท ขึ้นไป และร้อยละ 8.24 ไม่ระบุรายได้