สืบเนื่องมาจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 24 พ.ย.2558 มีมติเห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.ความปลอดภัยทางชีวภาพ พ.ศ.… ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว ซึ่งร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ไม่ผ่านความเห็นชอบของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และถูกคัดค้านจากภาคประชาชน กลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ องค์กรภาคประชาสังคม เกษตรกร และภาครัฐประกอบด้วยกระทรวงพาณิชย์และสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
นายวัชรพล แดงสุภา ผู้ประสานงานด้านอาหารและเกษตรกรรมเชิงนิเวศ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า "ร่างพ.ร.บ.นี้เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงทางชีวภาพของประเทศไทย ส่งผลร้ายต่อภาคการเกษตรทั้งเกษตรกรและผู้ส่งออก อีกทั้งยังมีช่องโหว่ที่เอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทเมล็ดพันธุ์ข้ามชาติ" ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่มีการใช้สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) ในเชิงพาณิชย์คือ 20 ปีที่สะท้อนความล้มเหลว (1) เนื่องจาก
ไม่มีพืชจีเอ็มชนิดใดที่ถูกออกแบบมาเพื่อปริมาณผลผลิต พืชดัดแปลงพันธุกรรมคือการประยุกต์อย่างดันทุรังเพื่อแก้ปัญหาความหิวโหยและการขาดสารอาหาร นี่คือการส่งเสริมรูปแบบการเกษตรเชิงอุตสาหกรรมที่ล้มเหลวในการผลิตอาหารให้กับคนทั้งโลก
พืชจีเอ็ม ไม่ใช่คำตอบสำหรับการปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เพราะการปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศนั้นจะต้องอาศัยแนวทางการเกษตรที่ส่งเสริมความหลากหลายและปกป้องรักษาดิน ไม่ใช่ระบบการเกษตรที่ลดทอนความสำคัญของปัจจัยรอบตัวซึ่งพืชจีเอ็มถูกพัฒนามาใช้กับระบบนี้
พืชจีเอ็ม ไม่ปลอดภัยต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ไม่มีโปรแกรมการติดตามเฝ้าระวังผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพในระยะยาวหรือมีไม่เพียงพอ นักวิชาการอิสระชี้แจงว่าถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าถึงวัตถุดิบสำหรับการวิจัย
พืชจีเอ็ม เป็นตัวการของปัญหาวัชพืชและแมลง เพียงไม่กี่ปีหลังจากการนำพืชจีเอ็มออกสู่สิ่งแวดล้อมก็พบปัญหาวัชพืชที่ต้านทานสารกำจัดวัชพืชและอภิแมลง (superpests หรือ แมลงที่ทนต่อยาฆ่าแมลงและสารพิษจากพืชจีเอ็ม) สาเหตุสำคัญของการเกิดปัญหาวัชพืชและอภิแมลงมาจากการใช้พืชจีเอ็ม ที่ต้านทานสารกำจัดวัชพืชและยาฆ่าแมลง ทำให้ต้องใช้สารกำจัดศัตรูพืชมากขึ้น
พืชจีเอ็ม ทำให้เกษตรกรยากจนลง ราคาเมล็ดพันธุ์ถูกควบคุมโดยเจ้าของสิทธิบัตรและราคาได้พุ่งทะยานขึ้นในช่วงยี่สิบปีที่ผ่านมา การเกิดขึ้นของวัชพืชที่ต้านทานสารกำจัดวัชพืชและอภิแมลงเพิ่มค่าใช้จ่ายให้กับเกษตรกรทำให้มีกำไรยิ่งลดน้อยลง
พืชจีเอ็ม ไม่สามารถอยู่ร่วมกับการเกษตรระบบอื่นได้ มีการบันทึกว่าการปนเปื้อนจากพืชจีเอ็ม ได้เกิดขึ้นทั่วโลกเกือบ 400 ครั้ง(2) การทำเกษตรให้ปลอดจากพืชจีเอ็ม เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายให้กับเกษตรกร และบางครั้งก็เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้
พืชจีเอ็ม ไม่ใช่นวัตกรรมที่ดีที่สุดสำหรับระบบอาหาร การผสมพันธุ์พืชโดยวิธีที่ไม่อาศัยการดัดแปลงพันธุกรรมได้สร้างคุณลักษณะที่พืชจีเอ็ม กล่าวอ้างไว้ก่อนแล้ว ไม่ว่าจะเป็นความต้านทานโรค ความทนทานต่อน้ำท่วมและความแห้งแล้ง พืชจีเอ็ม ไม่ได้เป็นเพียงแต่นวัตกรรมที่ไร้ประสิทธิภาพแต่ยังเป็นการปิดกั้นนวัตกรรมเนื่องจากเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่เป็นสิทธิ์ของบริษัทข้ามชาติที่มีจำนวนเพียงหยิบมือ
กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขอเรียกร้องให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ยุติการพิจารณาเพื่อเห็นชอบต่อร่างพระราชบัญญัติความปลอดภัยทางชีวภาพและรับประกันว่าการผลักดันให้มีกฎหมายใดๆ ที่เกี่ยวข้องจะต้องคำนึงถึงหลักการความปลอดภัยไว้ก่อนและการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริง
หมายเหตุ:
(1) http://www.greenpeace.org/international/Global/international/publications/agriculture/2015/Twenty%20Years%20of%20Failure.pdf
(2) Price, B., & Cotter, J. 2014. The GM Contamination Register: a review of recorded contamination incidents associated with genetically modified organisms (GMOs), 1997-2013. International Journal of Food Contamination, 1: 5.
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) นำโดย นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ปกท.ทส.) พร้อมด้วย นายสุรชัย อจลบุญ อธิบดีกรมป่าไม้ และผู้แทนจากกรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงการต่างประเทศ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมถึง นายประสิทธิ์ เกิดโต รักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
อบก. จับมือ กกท. ลงนาม MOU ร่วมรณรงค์ลดก๊าซเรือนกระจก ดันกิจกรรมด้านกีฬาสู่รูปแบบ Carbon Neutral Event ผ่าน 4 องค์กรกีฬา
—
องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระ...
"Electronic Nose" นวัตกรรมตรวจวัดกลิ่น! เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี กรมอนามัย ร่วม MOU กรมควบคุมมลพิษ และ 4 หน่วยงานรัฐ - เอกชน ยกระดับจัดการปัญหากลิ่นเหม็น
—
นายแพทย์ธิต...
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เร่งบริหารจัดการน้ำถึงมือประชาชน มุ่งฟื้นฟูวิกฤตภัยแล้ง จ.ร้อยเอ็ด
—
ดร. เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพย...
29 พันธมิตร รัฐ-เอกชน-การศึกษา หนุนใช้ประโยชน์ขยะอาหาร ชูเว็บไซต์ "ฟู้ดเวสต์ฮับ" เสิร์ฟไอเดียธุรกิจใหม่จากงานวิจัยคนไทย
—
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ก...
รอยัล คลิฟ พัทยา ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม กับการคว้ารางวัล G-Green ระดับดีเยี่ยม
—
รอยัล คลิฟ โฮเต็ล กรุ๊ปได้รับตราสัญลักษณ์ G-Green โรงแรมที่เป...
อ.อ.ป. รับเกียรติบัตร "องค์กรพัฒนาคุณธรรม ประจำปี 2567"
—
นายประสิทธิ์ เกิดโต รักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (รษก.ผอ.อ.อ.ป.) เป็นผู้แทนปลัด...